“เจ้าทั้งหลายมีผู้นำแต่ผู้เดียวคือพระคริสต์”
“เจ้าทั้งหลายมีผู้นำแต่ผู้เดียวคือพระคริสต์”
“อย่าให้ผู้อื่นเรียกเจ้าว่า ‘ผู้นำ’ เพราะเจ้าทั้งหลายมีผู้นำแต่ผู้เดียว คือพระคริสต์.”—มัด. 23:9, 10
1. พยานพระยะโฮวายอมรับใครเป็นผู้นำ และเพราะเหตุใด?
คริสตจักรต่าง ๆ แห่งคริสต์ศาสนจักรมีผู้นำเป็นมนุษย์ เช่น โปปแห่งโรม, พระมหาเถระและสังฆราชแห่งคริสตจักรออร์โทด็อกซ์ตะวันออก, และประมุขของศาสนาอื่น ๆ. พยานพระยะโฮวาไม่ยอมรับมนุษย์คนใดเป็นผู้นำของพวกเขา. พวกเขาไม่ใช่สาวกหรือผู้ติดตามมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นใคร. เรื่องนี้สอดคล้องกับคำพยากรณ์ของพระยะโฮวาเกี่ยวกับพระบุตรของพระองค์ที่ว่า “ดูเถิด เรากระทำให้ท่านเป็นพยานต่อชนชาติทั้งหลาย เป็นหัวหน้า และเป็นผู้บัญชาการเพื่อชนชาติทั้งปวง.” (ยซา. 55:4, ฉบับ R73) ประชาคมนานาชาติแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิมและ “แกะอื่น” สหายของพวกเขาไม่ต้องการผู้นำอื่นใดนอกเหนือจากที่พระยะโฮวาประทานให้พวกเขา. (โย. 10:16) พวกเขาเห็นด้วยกับคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เจ้าทั้งหลายมีผู้นำแต่ผู้เดียวคือพระคริสต์.”—มัด. 23:10
กายวิญญาณผู้เป็นเจ้าแห่งอิสราเอล
2, 3. พระบุตรของพระเจ้าทรงมีบทบาทอะไรในชาติอิสราเอล?
2 หลายศตวรรษก่อนตั้งประชาคมคริสเตียน พระยะโฮวาทรงตั้งทูตสวรรค์องค์หนึ่งให้เป็นผู้นำชนชาติอิสราเอล. หลังจากนำชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ พระยะโฮวาทรงบอกพวกเขาว่า “นี่แหละ, เราจะใช้ทูตของเราไปข้างหน้าพวกเจ้า, เพื่อรักษาพวกเจ้าตามทาง, นำไปถึงที่นั่นซึ่งเราได้เตรียมไว้. จงสนใจนำพาต่อทูตนั้นและจงเชื่อฟังคำของท่าน; อย่าทำให้ท่านโกรธเคือง; เพราะท่านจะไม่ยกความผิดของเจ้าเลย ด้วยพระนามของเราอยู่กับท่าน.” (เอ็ก. 23:20, 21) มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าทูตสวรรค์องค์นี้ซึ่ง ‘พระนามพระยะโฮวาอยู่กับท่าน’ คือพระบุตรหัวปีของพระเจ้า.
3 ก่อนจะประสูติเป็นมนุษย์ เห็นได้ชัดว่าพระบุตรของพระเจ้าทรงมีพระนามว่ามิคาเอล. หนังสือดานิเอลเรียกมิคาเอลว่า “เจ้า” แห่งชาติอิสราเอล. (ดานิ. 10:21, ล.ม.) สาวกยูดาระบุว่ามิคาเอลมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการต่าง ๆ ของชาติอิสราเอลมานานแล้วก่อนสมัยดานิเอล. หลังจากโมเซ เสียชีวิต ดูเหมือนซาตานตั้งใจว่าจะใช้ศพของท่านเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของตัวมันเองด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง อาจเป็นได้ว่าเพื่อยุยงให้ชาติอิสราเอลไหว้รูปเคารพ. มิคาเอลเข้ามาขัดขวางไม่ให้มันทำอย่างนั้น. ยูดาบอกว่า “เมื่อมิคาเอลอัครทูตสวรรค์มีข้อขัดแย้งกับพญามารและโต้แย้งเรื่องกายของโมเซนั้น ท่านมิได้บังอาจกล่าวพิพากษาพญามารด้วยถ้อยคำหยาบหยามแต่กล่าวว่า ‘ขอให้พระยะโฮวาทรงว่ากล่าวเจ้าเถิด.’ ” (ยูดา 9) หลังจากนั้นไม่นาน ก่อนจะปิดล้อมเมืองเยริโค ไม่มีข้อสงสัยว่ามิคาเอล “นายพลโยธาแห่งพระยะโฮวา” คือผู้ที่มาปรากฏแก่ยะโฮซูอะเพื่อรับรองกับท่านว่าพระเจ้าจะทรงช่วยเหลือชาติอิสราเอล. (อ่านยะโฮซูอะ 5:13-15) เมื่อปิศาจตนหนึ่งซึ่งเป็นเทพผู้พิทักษ์ (เจ้า) พยายามขัดขวางไม่ให้ทูตสวรรค์องค์หนึ่งส่งข่าวสำคัญแก่ผู้พยากรณ์ดานิเอล อัครทูตสวรรค์มิคาเอลได้มาช่วยทูตสวรรค์องค์นั้น.—ดานิ. 10:5-7, 12-14
ผู้นำที่บอกไว้ล่วงหน้ามาปรากฏ
4. มีคำพยากรณ์บอกไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมาของพระมาซีฮา?
4 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว พระยะโฮวาทรงส่งทูตสวรรค์กาบรีเอลไปหาผู้พยากรณ์ดานิเอลเพื่อนำสารส่งให้ท่านซึ่งเป็นคำพยากรณ์เกี่ยวกับการมาของ “พระมาซีฮาผู้นำ.” (ดานิ. 9:21-25, ล.ม.) * ตรงตามที่บอกไว้ล่วงหน้า ในฤดูใบไม้ร่วงสากลศักราช 29 พระเยซูทรงขอรับบัพติสมาจากโยฮัน. พระวิญญาณบริสุทธิ์เทลงบนพระเยซู ทำให้พระองค์เป็นผู้ถูกเจิม คือพระคริสต์หรือพระมาซีฮา. (มัด. 3:13-17; โย. 1:29-34; กลา. 4:4) ในฐานะพระมาซีฮา พระองค์จะเป็นผู้นำที่ไม่มีใครเทียบได้.
5. พระคริสต์ทรงทำหน้าที่เป็นผู้นำอย่างไรระหว่างที่รับใช้บนแผ่นดินโลก?
5 ตั้งแต่ทรงเริ่มงานรับใช้บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงพิสูจน์พระองค์เองว่าเป็น “พระมาซีฮาผู้นำ.” ภายในเวลาไม่กี่วัน พระองค์ทรงเริ่มรวบรวมสาวก และทรงทำการอัศจรรย์ครั้งแรก. (โย. 1:35–2:11) เหล่าสาวกติดตามพระองค์ไปขณะที่ทรงเดินทางไปทั่วทั้งแผ่นดิน ประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร. (ลูกา 8:1) พระองค์ทรงอบรมพวกเขาให้ทำงานประกาศและนำหน้าในการประกาศและการสอนโดยวางตัวอย่างที่ดี. (ลูกา 9:1-6) คริสเตียนผู้ปกครองในปัจจุบันควรเลียนแบบพระองค์ในเรื่องนี้.
6. พระคริสต์ทรงพิสูจน์อย่างไรว่าพระองค์เป็นผู้เลี้ยงแกะและผู้นำ?
6 พระเยซูทรงชี้ถึงอีกแง่มุมหนึ่งของการเป็นผู้นำของพระองค์โดยทรงเปรียบพระองค์เองว่าเป็นผู้เลี้ยงแกะที่เปี่ยมด้วยความรัก. ผู้เลี้ยงแกะในแถบตะวันออกนำฝูงแกะในความหมายตามตัวอักษร. ดับเบิลยู. เอ็ม. ทอมสัน เขียนไว้ในหนังสือแผ่นดินนั้นและพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) ว่า “ผู้เลี้ยงแกะเดินไปก่อน ไม่เพียงเพื่อชี้ทาง แต่เพื่อจะดูให้แน่ใจด้วยว่าแกะสามารถเดินในทางนั้นได้และเป็นทางที่ปลอดภัย. . . . เขาจะใช้ไม้เท้าต้อนฝูงแกะและนำไปยังทุ่งหญ้าที่เขียวขจี และปกป้องแกะให้ปลอดภัยจากศัตรู.” พระเยซูทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะและผู้นำที่แท้จริงโดยประกาศว่า “เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน. แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา เรารู้จักแกะเหล่านั้นและแกะเหล่านั้นก็ตามเรา.” (โย. 10:11, 27) เป็นเช่นนั้นจริงตามที่พระเยซูตรัส พระองค์ทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อประโยชน์ของฝูงแกะ แต่พระยะโฮวา “ทรงตั้งพระองค์ไว้ . . . ให้เป็นองค์พระผู้นำและองค์พระผู้ช่วยให้รอด.”—กิจ. 5:31, ฉบับ R73; ฮีบรู 13:20
ผู้ดูแลในประชาคมคริสเตียน
7. พระเยซูทรงดูแลประชาคมคริสเตียนโดยทางใด?
7 ไม่นานก่อนเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระเยซูผู้ถูกปลุกให้คืนพระชนม์บอกเหล่าสาวกว่า “อำนาจทั้งสิ้นในสวรรค์และบนแผ่นดินโลกได้ทรงมอบแก่เราแล้ว.” (มัด. 28:18) พระยะโฮวาทรงโปรดให้พระเยซูถ่ายทอดพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์เพื่อเสริมให้เหล่าสาวกของพระบุตรเข้มแข็งยิ่งขึ้นในความจริง. (โย. 15:26) พระเยซูทรงเทพระวิญญาณนี้ลงเหนือคริสเตียนยุคแรกในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33. (กิจ. 2:33) การเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ดังกล่าวเป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีการก่อตั้งประชาคมคริสเตียน. พระยะโฮวา ทรงมอบอำนาจให้พระบุตรผู้อยู่ในสวรรค์เป็นประมุขของประชาคมบนแผ่นดินโลก. (อ่านเอเฟโซส์ 1:22; โกโลซาย 1:13, 18) พระเยซูทรงนำประชาคมคริสเตียนโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา และพระองค์ทรงมีเหล่าทูตสวรรค์ที่ “อยู่ใต้อำนาจพระองค์” คอยรับใช้.—1 เป. 3:22
8. ในศตวรรษแรกพระคริสต์ทรงใช้ใครให้นำเหล่าสาวกของพระองค์ และปัจจุบันพระองค์ทรงใช้ใคร?
8 นอกจากนั้น โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระคริสต์ทรงให้ “ของประทานในลักษณะมนุษย์” โดยที่บางคน “เป็นผู้บำรุงเลี้ยงและผู้สอน” ในประชาคม. (เอเฟ. 4:8, 11) อัครสาวกเปาโลกระตุ้นคริสเตียนผู้ดูแลว่า “จงเอาใจใส่ตัวท่านเองและแกะทั้งฝูงซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ตั้งพวกท่านให้เป็นผู้ดูแล ให้บำรุงเลี้ยงประชาคมของพระเจ้า.” (กิจ. 20:28) เมื่อประชาคมคริสเตียนเริ่มต้นขึ้น ผู้ดูแลเหล่านี้ทั้งหมดเป็นผู้ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณ. อัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในประชาคมที่กรุงเยรูซาเลมทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการปกครอง. พระคริสต์ทรงใช้คณะกรรมการนี้นำ “พี่น้อง” ผู้ถูกเจิมทั้งกลุ่มที่อยู่บนแผ่นดินโลก. (ฮีบรู 2:11; กิจ. 16:4, 5) ในเวลาอวสานนี้ พระคริสต์ทรงมอบ “ทรัพย์สมบัติทั้งหมดของ” พระองค์ ซึ่งได้แก่ผลประโยชน์ทั้งหมดของราชอาณาจักรบนแผ่นดินโลก ไว้กับ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” และคณะกรรมการปกครองที่เป็นตัวแทนซึ่งเป็นกลุ่มคริสเตียนผู้ถูกเจิม. (มัด. 24:45-47) ผู้ถูกเจิมและแกะอื่นสหายของพวกเขาตระหนักว่า การติดตามการนำของคณะกรรมการปกครองในสมัยปัจจุบันแท้ที่จริงแล้วคือการติดตามพระคริสต์ ผู้นำของพวกเขา.
พระคริสต์ทรงริเริ่มงานประกาศ
9, 10. พระคริสต์ทรงกำกับดูแลให้ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างไร?
9 ตั้งแต่แรกเริ่มเลย พระเยซูทรงกำกับดูแลการประกาศ และการสอนทั่วโลกด้วยพระองค์เอง. พระองค์ทรงจัดการให้ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรส่งผ่านไปถึงประชากรโลกตามลำดับ. ระหว่างที่ทรงรับใช้ พระองค์ทรงสั่งเหล่าสาวกว่า “อย่าไปตามถนนของชนต่างชาติ และอย่าเข้าไปในเมืองของชาวซะมาเรีย แต่จงไปหาแกะที่หลงหายของเรือนอิสราเอลต่อ ๆ ไป. ขณะที่พวกเจ้าไป จงประกาศว่า ‘ราชอาณาจักรสวรรค์มาใกล้แล้ว.’ ” (มัด. 10:5-7) พวกเขาประกาศเรื่องนี้อย่างกระตือรือร้นท่ามกลางชาวยิวและผู้เปลี่ยนมาถือศาสนายิว โดยเฉพาะหลังวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33.—กิจ. 2:4, 5, 10, 11; 5:42; 6:7
10 ต่อมา โดยอาศัยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเยซูทรงแผ่ขยายงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรไปถึงชาวซะมาเรียแล้วก็คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ชาวยิว. (กิจ. 8:5, 6, 14-17; 10:19-22, 44, 45) โดยประสงค์จะส่งเสริมให้ข่าวดีแพร่ไปยังชาติต่าง ๆ พระเยซูเองทรงกระตุ้นเซาโลชาวเมืองทาร์ซัสให้มาเป็นคริสเตียน. พระเยซูทรงสั่งสาวกอะนานีอัสว่า “จงลุกขึ้นไปยังถนนที่ชื่อถนนตรงและไปที่บ้านยูดาแล้วตามหาชายชื่อเซาโลซึ่งมาจากเมืองทาร์ซัส. . . . จงไปเถิด เพราะชายผู้นี้เป็นภาชนะที่เราเลือกไว้เพื่อประกาศนามของเราแก่ชนต่างชาติรวมทั้งกษัตริย์ทั้งหลายและชนอิสราเอล.” (กิจ. 9:3-6, 10, 11, 15) “ชายผู้นี้” ได้กลายมาเป็นอัครสาวกเปาโล.—1 ติโม. 2:7
11. พระคริสต์ทรงใช้พระวิญญาณบริสุทธิ์ขยายงานประกาศอย่างไร?
กิจ. 13:2, 3) พระเยซูเองทรงเรียกเซาโลชาวเมืองทาร์ซัสให้มาเป็น ‘ภาชนะที่พระองค์ทรงเลือกไว้’ เพื่อประกาศพระนามของพระองค์แก่ชนชาติต่าง ๆ; ด้วยเหตุนั้น แรงผลักดันใหม่นี้ในงานประกาศมาจากพระคริสต์ ประมุขประชาคมคริสเตียน. หลักฐานที่ว่าพระเยซูทรงใช้พระวิญญาณบริสุทธิ์ชี้นำงานนี้เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่อาจเข้าใจผิดได้ในการเดินทางรอบที่สองของเปาโลในฐานะมิชชันนารี. บันทึกกล่าวว่า “พระเยซูทรงใช้พระวิญญาณ” ชี้นำเปาโลและเพื่อนร่วมเดินทางในการกำหนดแผนการเดินทาง และมีนิมิตที่นำพวกเขาให้ย้ายไปที่ยุโรป.—อ่านกิจการ 16:6-10
11 เมื่อถึงเวลาที่จะขยายงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรท่ามกลางชนชาติที่ไม่ใช่ชาวยิว พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาชี้นำเปาโลขณะเดินทางเผยแพร่ในฐานะมิชชันนารีในเอเชียไมเนอร์และต่อไปจนถึงยุโรป. บันทึกของลูกาในหนังสือกิจการกล่าวว่า “ขณะที่คนเหล่านี้ [ผู้พยากรณ์และผู้สอนที่เป็นคริสเตียนในประชาคมอันทิโอกในแคว้นซีเรีย] รับใช้พระยะโฮวาและอดอาหารอยู่ พระวิญญาณบริสุทธิ์ตรัสว่า ‘จงตั้งบาร์นาบัสกับเซาโลไว้สำหรับงานที่เราจะให้พวกเขาทำ.’ ดังนั้น เมื่อคนเหล่านี้อดอาหาร อธิษฐาน และวางมือบนบาร์นาบัสกับเซาโลแล้วจึงให้เขาทั้งสองไป.” (พระเยซูทรงนำประชาคมคริสเตียน
12, 13. หนังสือวิวรณ์แสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระคริสต์ทรงติดตามดูแลความเป็นไปของแต่ละประชาคมอย่างใกล้ชิด?
12 พระเยซูทรงคอยติดตามดูแลความเป็นไปในประชาคมต่าง ๆ ของสาวกผู้ถูกเจิมในศตวรรษแรกแห่งสากลศักราชอย่างใกล้ชิด. พระองค์ทรงรู้สภาพฝ่ายวิญญาณของแต่ละประชาคมอย่างละเอียด. เราเห็นเรื่องนี้ได้เมื่ออ่านวิวรณ์บท 2 และบท 3. พระองค์ตรัสออกชื่อประชาคมต่าง ๆ เจ็ดประชาคม ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเอเชียไมเนอร์. (วิ. 1:11) มีเหตุผลหนักแน่นที่ทำให้เราเชื่อได้ว่าพระองค์ทรงรู้สภาพฝ่ายวิญญาณในประชาคมอื่น ๆ ของสาวกพระองค์บนแผ่นดินโลกในเวลานั้นเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน.—อ่านวิวรณ์ 2:23
13 พระเยซูทรงชมเชยบางประชาคมในเรื่องความอดทน, ความซื่อสัตย์เมื่อเผชิญการทดสอบ, การทำตามคำของพระองค์อย่างภักดี, และการปฏิเสธพวกผู้ออกหาก. (วิ. 2:2, 9, 13, 19; 3:8) ในทางตรงกันข้าม พระองค์ประทานคำแนะนำอย่างหนักแน่นแก่หลายประชาคมเนื่องจากความรักที่พวกเขามีต่อพระองค์ลดน้อยลง, พวกเขายอมให้กับการไหว้รูปเคารพและการผิดประเวณี, และปล่อยให้มีการแบ่งแยกนิกายเกิดขึ้น. (วิ. 2:4, 14, 15, 20; 3:15, 16) ในฐานะผู้ดูแลสภาพฝ่ายวิญญาณที่เปี่ยมด้วยความรัก—แม้แต่กับประชาคมที่พระองค์ทรงให้คำแนะนำอย่างหนักแน่น—พระเยซูตรัสว่า “เราว่ากล่าวและตีสอนผู้ที่เรารัก. ฉะนั้น จงกระตือรือร้นและกลับใจ.” (วิ. 3:19) แม้ว่าทรงอยู่ในสวรรค์ พระเยซูทรงนำประชาคมต่าง ๆ ของเหล่าสาวกที่อยู่บนแผ่นดินโลกโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์. ในตอนท้ายของข่าวสารที่ส่งไปถึงประชาคมเหล่านั้น พระองค์ทรงประกาศว่า “ผู้มีหูจงฟังสิ่งซึ่งพระวิญญาณตรัสกับประชาคมทั้งหลายเถิด.”—วิ. 3:22
14-16. (ก) พระเยซูทรงพิสูจน์อย่างไรว่าทรงเป็นผู้นำที่กล้าหาญของประชาชนของพระยะโฮวาบนแผ่นดินโลก? (ข) ผลเป็นเช่นไรจากการที่พระเยซูทรง “อยู่กับ” เหล่าสาวก “เสมอจนถึงช่วงสุดท้ายของยุค”? (ค) เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
14 เราได้เห็นแล้วว่ามิคาเอล (พระเยซู) ทรงเป็นทูตสวรรค์ที่กล้าหาญซึ่งเป็นผู้นำชาติอิสราเอล. ต่อมา พระ
เยซูทรงเป็นผู้นำที่กล้าหาญและเป็นผู้บำรุงเลี้ยงที่เปี่ยมด้วยความรักของเหล่าสาวกรุ่นแรก. ระหว่างที่ทรงรับใช้บนแผ่นดินโลก พระองค์นำหน้าในงานประกาศ. และหลังจากถูกปลุกให้คืนพระชนม์ พระองค์ทรงดูแลการเผยแพร่ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด.15 โดยใช้พระวิญญาณบริสุทธิ์ ในที่สุดพระเยซูก็จะขยายงานประกาศไปจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก. ก่อนเสด็จสู่สวรรค์ พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกว่า “พวกเจ้าจะได้รับฤทธิ์เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์มาบนเจ้า และเจ้าจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเลมและทั่วแคว้นยูเดียกับแคว้นซะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” (กิจ. 1:8; อ่าน 1 เปโตร 1:12) ด้วยการชี้นำจากพระคริสต์ จึงมีการประกาศอย่างใหญ่โตในศตวรรษแรก.—โกโล. 1:23
16 แต่พระเยซูเองทรงชี้ว่างานนี้จะทำกันต่อไปจนกระทั่งเวลาอวสาน. หลังจากมอบหมายให้เหล่าสาวกประกาศและสอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวก พระเยซูทรงสัญญากับพวกเขาว่า “เราจะอยู่กับพวกเจ้าเสมอจนถึงช่วงสุดท้ายของยุค.” (มัด. 28:19, 20) ตั้งแต่ได้รับอำนาจเป็นกษัตริย์ในปี 1914 พระคริสต์ทรง “อยู่กับ” เหล่าสาวกยิ่งกว่าสมัยใด ๆ และทรงนำพวกเขาอย่างขันแข็ง. บทความถัดไปจะพิจารณาเกี่ยวกับการงานที่พระองค์ทรงทำอย่างเข้มข้นนับตั้งแต่ปี 1914.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 สำหรับการพิจารณาคำพยากรณ์นี้ โปรดดูบท 11 ของหนังสือจงเอาใจใส่คำพยากรณ์ของดานิเอล!
เพื่อทบทวน
• พระบุตรของพระเจ้าทรงพิสูจน์ให้เห็น อย่างไรว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำชาติอิสราเอลที่ขันแข็ง?
• พระคริสต์ทรงนำประชาคมของพระองค์บนแผ่นดินโลกโดยทางใด?
• พระคริสต์ทรงชี้นำการเผยแพร่ข่าวดีอย่างไร?
• อะไรแสดงว่าพระคริสต์ทรงติดตามดูแลสภาพฝ่ายวิญญาณของแต่ละประชาคมอย่างใกล้ชิด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
“เราจะใช้ทูตของเราไปข้างหน้าพวกเจ้า”
[ภาพหน้า 23]
เช่นเดียวกับในสมัยอดีต พระคริสต์ทรงใช้ “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เพื่อบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระองค์