จงมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้
จงมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้
“การเกี่ยวเป็นงานใหญ่ แต่คนงานมีน้อย.”—มัด. 9:37
1. คุณจะพรรณนาความเร่งด่วนอย่างไร?
คุณมีเอกสารที่จะต้องมอบให้ใครคนหนึ่งก่อนจะสิ้นสุดวันนั้น. คุณจะทำอย่างไร? คุณเขียนที่ซองเอกสารว่า “ด่วน!” คุณมีนัดสำคัญ แต่คุณออกเดินทางสาย. คุณจะทำอย่างไร? คุณบอกคนขับรถว่า “ด่วนเลยครับ ผมต้องรีบไปให้ทัน!” เมื่อคุณมีงานที่ต้องทำให้เสร็จ และเวลากำลังจะหมด คุณรู้สึกตึงเครียดและกระวนกระวาย. ร่างกายคุณเริ่มหลั่งสารอะดรีนาลิน และคุณทำงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้. นั่นแหละคือความเร่งด่วน!
2. งานที่เร่งด่วนที่สุดที่คริสเตียนแท้ในทุกวันนี้ต้องทำคืองานอะไร?
2 สำหรับคริสเตียนแท้ในปัจจุบัน ไม่มีอะไรจะเร่งด่วนไปกว่าการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรและการสอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวก. (มัด. 24:14; 28:19, 20) สาวกมาระโกอ้างคำตรัสของพระเยซู และเขียนว่าต้องทำงานนี้ “ก่อน” ซึ่งหมายถึงก่อนอวสานมาถึง. (มโก. 13:10) แน่นอนว่าควรเป็นอย่างนั้น. พระเยซูตรัสว่า “การเกี่ยวเป็นงานใหญ่ แต่คนงานมีน้อย.” การเก็บเกี่ยวรอไม่ได้ และต้องทำก่อนจะหมดฤดูเกี่ยว.—มัด. 9:37
3. หลายคนตอบสนองความจำเป็นอันเร่งด่วนที่จะประกาศอย่างไร?
3 เนื่องจากงานประกาศเป็นงานสำคัญสำหรับเราถึงขนาดนั้น เราจึงสมควรจะทุ่มเทเวลา, กำลัง, และความสนใจแก่งานนี้ให้มากเท่าที่จะทำได้. น่าชมเชยที่หลายคนกำลังทำอย่างนั้น. บางคนได้ทำให้ชีวิตของพวกเขาเรียบง่ายเพื่อจะทำงานรับใช้เต็มเวลาเป็นไพโอเนียร์หรือมิชชันนารีหรือรับใช้ที่เบเธล. ชีวิตของพวกเขามีงานยุ่งมาก. พวกเขาอาจต้องเสียสละหลายสิ่ง และพวกเขาต้องรับมือปัญหาหลายอย่าง. แต่พวกเขาก็ได้รับพระพรจากพระยะโฮวาอย่างอุดม. เรายินดีที่พวกเขาทำเช่นนั้น. (อ่านลูกา 18:28-30) คนอื่น ๆ แม้ว่าจะเป็นผู้ประกาศเต็มเวลาไม่ได้ แต่พวกเขาก็ได้อุทิศเวลามากเท่าที่จะทำได้ในการทำงานช่วยชีวิตนี้ ซึ่งรวมถึงการช่วยลูกให้รอด.—บัญ. 6:6, 7
4. ทำไมบางคนอาจมีแนวโน้มที่จะสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วน?
4 ดังที่เราได้เห็นแล้ว การสำนึกถึงความเร่งด่วนมักเชื่อมโยงกับเวลาที่มีจำกัด, เส้นตาย, และตอนจบ. เรากำลังมีชีวิตอยู่ในเวลาอวสาน และมีหลักฐานมากมายที่ยืนยันเรื่องนี้ทั้งจากพระคัมภีร์และจากประวัติศาสตร์. (มัด. 24:3, 33; 2 ติโม. 3:1-5) ถึงกระนั้น ไม่มีใครรู้เวลาที่แน่ชัดว่าอวสานจะมาเมื่อไร. เมื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับ “สัญญาณ” ที่ระบุ “ช่วงสุดท้ายของยุค” พระเยซูตรัสอย่างเจาะจงว่า “วันเวลานั้นไม่มีใครรู้ แม้ทูตสวรรค์หรือพระบุตรก็ไม่รู้ พระบิดาเท่านั้นที่ทรงรู้.” (มัด. 24:36) ในเมื่อเป็นอย่างนั้น หลายคนอาจรู้สึกว่ายากที่จะยังสำนึกถึงความเร่งด่วนอยู่เรื่อย ๆ ปีแล้วปีเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาทำเช่นนั้นอยู่นานหลายปี. (สุภา. 13:12) คุณเคยรู้สึกอย่างนั้นไหม? อะไรจะช่วยเราให้พัฒนาหรือสำนึกถึงความเร่งด่วนเสมอต่องานที่พระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ทรงประสงค์ให้เราทำในทุกวันนี้?
จงพิจารณาพระเยซูแบบอย่างของเรา
5. พระเยซูทรงแสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระองค์สำนึกถึงความเร่งด่วนในงานรับใช้?
5 ในบรรดาคนที่ทำงานรับใช้พระเจ้าอย่างที่สำนึกถึงความเร่งด่วน พระเยซูคริสต์ทรงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดอย่างแน่นอน. เหตุผลหนึ่งที่พระองค์ทรงสำนึกถึงความเร่งด่วนก็คือพระองค์มีสิ่งที่ต้องทำมากมายในช่วงเวลาแค่สามปีครึ่ง. อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงทำงานให้สำเร็จมากกว่าใครในการนมัสการแท้. พระองค์ทรงเปิดมัด. 9:35) ไม่มีใครทำงานให้สำเร็จได้มากขนาดนั้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แค่นั้น. พระเยซูทรงทำงานหนักอย่างเต็มที่.—โย. 18:37
เผยพระนามและพระประสงค์ของพระบิดา, ประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร, เปิดโปงความหน้าซื่อใจคดและคำสอนเท็จของพวกหัวหน้าศาสนา, และสนับสนุนอำนาจสูงสุดในการปกครองของพระยะโฮวาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์. พระองค์ทรงทุ่มเทตัวเต็มที่ เดินทางไปทั่วประเทศเพื่อสอน, ช่วยเหลือ, และรักษาประชาชน. (6. พระเยซูเน้นเรื่องอะไรในชีวิตพระองค์?
6 อะไรกระตุ้นพระเยซูให้ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอดช่วงที่พระองค์ทรงทำงานรับใช้? จากคำพยากรณ์ของดานิเอล พระเยซูทรงรู้ว่ามีเวลาเท่าไรที่ต้องทำงานให้สำเร็จตามตารางเวลาของพระยะโฮวา. (ดานิ. 9:27) ดังที่กล่าวไปแล้ว งานรับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลกจะสิ้นสุดลงเมื่อถึง “กึ่งหนึ่ง” ของสัปดาห์หรือหลังจากสามปีครึ่ง. ในฤดูใบไม้ผลิสากลศักราช 33 ไม่นานหลังจากพระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมอย่างผู้มีชัย พระองค์ตรัสว่า “ถึงเวลาที่บุตรมนุษย์จะได้รับเกียรติยศแล้ว.” (โย. 12:23) ถึงแม้พระเยซูทรงทราบว่าใกล้จะสิ้นพระชนม์ แต่พระองค์ไม่คิดถึงแต่เรื่องนี้และไม่ได้ให้เรื่องนี้เป็นเหตุผลหลักที่พระองค์ทำงานหนัก. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงใช้ทุกโอกาสเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระบิดาและแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์. ความรักนั้นกระตุ้นพระองค์ให้รวบรวมและฝึกอบรมเหล่าสาวก และส่งพวกเขาออกไปประกาศ. พระองค์ทำอย่างนี้เพื่อพวกเขาจะทำงานที่พระองค์ทรงเริ่มต้นไว้ต่อไปและจะทำงานใหญ่กว่าที่พระองค์ทำ.—อ่านโยฮัน 14:12
7, 8. เหล่าสาวกรู้สึกอย่างไรตอนที่พระเยซูทรงชำระพระวิหารให้สะอาด และทำไมพระเยซูทรงทำเช่นนั้น?
7 มีเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตพระเยซูที่แสดงอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงมีใจแรงกล้า. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงแรกที่พระองค์ทำงานรับใช้ ในเทศกาลปัศคา สากลศักราช 30. พระเยซูและเหล่าสาวกของพระองค์มาที่กรุงเยรูซาเลมและเห็น “คนขายวัว แกะ และนกพิราบ และพบพวกพ่อค้ารับแลกเงินนั่งอยู่” ที่พระวิหาร. พระเยซูแสดงปฏิกิริยาอย่างไร และนั่นทำให้เหล่าสาวกรู้สึกเช่นไร?—อ่านโยฮัน 2:13-17
8 สิ่งที่พระเยซูทำและตรัสในโอกาสนั้นทำให้เหล่าสาวกนึกถึงคำพยากรณ์หนึ่งในบทเพลงสรรเสริญที่ดาวิดเขียนว่า “ด้วยใจเร่าร้อนรักพระวิหารของพระองค์นั้นเผาข้าพเจ้าจนเกรียมไป.” (เพลง. 69:9) เพราะเหตุใด? เพราะสิ่งที่พระเยซูทรงทำนั้นเป็นเรื่องเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง. ที่จริง พวกผู้มีอำนาจในพระวิหาร คือปุโรหิต, อาลักษณ์, และคนอื่น ๆ อยู่เบื้องหลังธุรกิจที่ค้ากำไรโดยมิชอบนี้. โดยเปิดโปงและขัดขวางแผนการของคนพวกนี้ พระเยซูทรงตั้งตัวเป็นศัตรูกับพวกหัวหน้าศาสนาสมัยนั้น. ดังที่เหล่าสาวกลงความเห็นไว้อย่างถูกต้อง พระเยซูทรงมี ‘ใจเร่าร้อนรักพระวิหารของพระเจ้า’ หรือมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้ อย่างเห็นได้ชัด. แต่ความมีใจแรงกล้าคืออะไร? ความมีใจแรงกล้าต่างกับความสำนึกถึงความเร่งด่วนไหม?
การสำนึกถึงความเร่งด่วนกับ ความมีใจแรงกล้าต่างกันอย่างไร?
9. อาจพรรณนาใจแรงกล้าว่าอย่างไร?
9 พจนานุกรมเล่มหนึ่งให้คำจำกัดความของ “ใจแรงกล้า” ว่า “ความกระตือรือร้นและความสนใจอย่างยิ่งในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ” และยังให้คำที่มีความหมายคล้ายกันด้วย เช่น ใจเร่าร้อน, ความเอาจริงเอาจัง, และความกระตือรือร้น. งานรับใช้ของพระเยซูมีลักษณะตามคำพรรณนาเหล่านี้อย่างแน่นอน. ดังนั้น พระคัมภีร์ฉบับแปลที่เราใช้กันอยู่จึงแปลข้อนี้ว่า “ใจเร่าร้อนรักพระวิหารของพระองค์นั้นเผาข้าพเจ้าจนเกรียมไป.” น่าสนใจ ภาษาในโลกตะวันออกบางภาษา คำว่า “ใจแรงกล้า” ประกอบด้วยคำสองคำที่มีความหมายตรงตัวว่า “ใจ” กับ “ร้อน” ราวกับว่าหัวใจกำลังลุกไหม้อยู่. จึงไม่แปลกที่เหล่าสาวกนึกถึงคำพูดของกษัตริย์ดาวิดเมื่อเห็นสิ่งที่พระเยซูทำ ณ พระวิหาร. แต่อะไรทำให้พระทัยของพระเยซูราวกับลุกเป็นไฟ และผลักดันหรือกระตุ้นให้พระองค์ทำอย่างนั้น?
10. คำ “ใจแรงกล้า” ที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมีความหมายเช่นไร?
10 คำ “ใจเร่าร้อน” ในเพลงสรรเสริญของดาวิดมาจากคำภาษาฮีบรูซึ่งในส่วนอื่น ๆ ของคัมภีร์ไบเบิลมักแปลไว้ว่า “หึงหวง” หรือ “หวงแหน.” บางครั้งฉบับแปลโลกใหม่ แปลคำนี้ว่า “เรียกร้องให้นมัสการพระองค์แต่เพียงผู้เดียว.” พจนานุกรมอธิบายคัมภีร์ไบเบิลเล่มหนึ่งกล่าวว่าคำนี้ “มักใช้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสายสัมพันธ์ในชีวิตสมรส . . . เช่นเดียวกับที่ความหึงหวงของสามีหรือภรรยาเป็นการยืนยันอย่างหนักแน่นถึงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ตนมี พระเจ้าก็ทรงยืนยันสิทธิที่พระองค์มีต่อประชาชนที่เป็นทรัพย์สมบัติของพระองค์แต่ผู้เดียวและทรงปกป้องสิทธินั้น.” (มโก. 12:28-30; ลูกา 4:8) ด้วยเหตุนั้น ความมีใจแรงกล้าตามความหมายในพระคัมภีร์จึงเป็นมากกว่าความเอาจริงเอาจังหรือความกระตือรือร้นเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นเดียวกับที่แฟนกีฬาแสดงออกต่อกีฬาโปรดของตน. ความมีใจแรงกล้าของดาวิดเป็นความหวงแหนซึ่งมีความหมายในแง่ดี. ความหวงแหนนั้นคือการไม่ยอมทนให้มีใครมาตั้งตัวเป็นคู่แข่งหรือยอมทนคำตำหนิ เป็นแรงกระตุ้นที่มีพลังเพื่อปกป้องชื่อเสียงที่ดีหรือเพื่อแก้ไขสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหาย.
11. อะไรกระตุ้นพระเยซูให้ทุ่มเทตน?
11 เหล่าสาวกของพระเยซูเข้าใจถูกต้องที่เชื่อมโยงคำพูดของดาวิดเข้ากับสิ่งที่เขาเห็นพระเยซูทรงทำ ณ พระวิหาร. พระเยซูทรงทุ่มเทตนไม่ใช่เพียงเพราะพระองค์มีเวลาที่กำหนดไว้ตายตัวซึ่งต้องทำงานให้เสร็จ แต่เพราะพระองค์มีใจแรงกล้า หรือความหวงแหน เพื่อพระนามของพระบิดาและเพื่อการนมัสการบริสุทธิ์ด้วย. เมื่อพระองค์ทรงเห็นพระนามของพระเจ้าถูกตำหนิและถูกหมิ่นประมาทอย่างมาก พระองค์ทรงมีใจแรงกล้าหรือความหวงแหนอย่างถูกต้อง และทรงลงมือกระทำเพื่อแก้ไขเรื่องนั้น. เมื่อพระเยซูทรงเห็นคนถ่อมถูกพวกหัวหน้าศาสนากดขี่และขูดรีด ความมีใจแรงกล้ากระตุ้นพระองค์ให้ช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อนของผู้คนและประณามพวกหัวหน้าศาสนาอย่างรุนแรง.—มัด. 9:36; 23:2, 4, 27, 28, 33
จงมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้
12, 13. หัวหน้าศาสนาของคริสต์ศาสนจักรสมัยปัจจุบันทำอะไรในเรื่อง (ก) พระนามของพระเจ้า? (ข) ราชอาณาจักรของพระเจ้า?
12 ทัศนคติและการกระทำของผู้คนในปัจจุบันที่อ้างว่านมัสการพระเจ้าก็เลวร้ายพอ ๆ กับผู้คนในสมัยพระเยซูหรือเลวร้ายกว่า. ตัวอย่างเช่น อย่าลืมว่าสิ่งแรกที่พระเยซูสอนเหล่าสาวกให้อธิษฐานนั้นเกี่ยวข้องกับพระนามของพระเจ้า: “ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์.” (มัด. 6:9) เราเห็นว่าพวกหัวหน้าศาสนา โดยเฉพาะนักบวชแห่งคริสต์ศาสนจักร สอนผู้คนให้รู้จักพระนามพระเจ้าและทำให้พระนามนั้นเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์ไหม? ตรงกันข้าม พวกเขาบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าโดยสอนผิด ๆ เช่นสอนเรื่อง ตรีเอกานุภาพ, มนุษย์มีวิญญาณอมตะ, และไฟนรก ซึ่งทำให้พระเจ้าเป็นบุคคลลี้ลับ, ยากจะเข้าใจ, โหดร้าย, และแม้กระทั่งชอบทรมาน. พวกเขายังทำให้พระเจ้าถูกตำหนิเพราะเรื่องอื้อฉาวและความหน้าซื่อใจคดของพวกเขา. (อ่านโรม 2:21-24) นอกจาก นั้น พวกเขายังทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อปิดบังพระนามของพระเจ้า ถึงขนาดลบพระนามออกจากพระคัมภีร์ฉบับแปลต่าง ๆ ของพวกเขา. ด้วยวิธีนั้น พวกเขาขัดขวางผู้คนไว้ไม่ให้เข้าใกล้พระเจ้าและทำให้ไม่อาจพัฒนาสายสัมพันธ์เป็นส่วนตัวกับพระองค์ได้.—ยโก. 4:7, 8
13 นอกจากนั้น พระเยซูยังสอนเหล่าสาวกให้อธิษฐานเพื่อราชอาณาจักรของพระเจ้า: “ขอให้ราชอาณาจักรของพระองค์มาเถิด. ขอให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จบนแผ่นดินโลกเช่นเดียวกับในสวรรค์.” (มัด. 6:10) แม้ว่าพวกหัวหน้าศาสนาแห่งคริสต์ศาสนจักรมักท่องจำคำอธิษฐานดังกล่าว แต่พวกเขากระตุ้นผู้คนให้สนับสนุนการเมืองและสถาบันอื่น ๆ ของมนุษย์. นอกจากนั้น พวกเขาดูถูกคนที่พยายามประกาศและพูดเรื่องราชอาณาจักร. ผลคือ ในหมู่ผู้คนมากมายที่อ้างตัวว่าเป็นคริสเตียน ราชอาณาจักรของพระเจ้าไม่ได้เป็นหัวข้อสนทนาของพวกเขาอีกต่อไป โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงความเชื่อของพวกเขาในเรื่องนี้.
14. พวกนักเทศน์นักบวชแห่งคริสต์ศาสนจักรได้ทำให้พระคำของพระเจ้าอ่อนลงอย่างไร?
14 พระเยซูตรัสอย่างชัดเจนในคำอธิษฐานถึงพระเจ้าว่า “คำของพระองค์เป็นความจริง.” (โย. 17:17) และก่อนพระเยซูจะไปจากโลกนี้ พระองค์ทรงบอกไว้ว่าพระองค์จะทรงแต่งตั้ง “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” เพื่อให้อาหารฝ่ายวิญญาณแก่ประชาชนของพระองค์. (มัด. 24:45) แม้นักเทศน์นักบวชแห่งคริสต์ศาสนจักรอ้างว่าสอนพระคำของพระเจ้าแก่ประชาชน แต่พวกเขาได้ทำงานที่นายมอบหมายแก่พวกเขาอย่างซื่อสัตย์ไหม? ไม่เลย. พวกเขามักจะบอกว่าเรื่องที่คัมภีร์ไบเบิลสอนเป็นนิทานหรือนิยาย. แทนที่จะให้อาหารฝ่ายวิญญาณแก่ฝูงแกะ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้รับการปลอบโยนและความสว่างฝ่ายวิญญาณ พวกนักเทศน์นักบวชได้สอนปรัชญาของมนุษย์ที่ผู้คนชอบฟัง. พวกเขายังทำให้มาตรฐานด้านศีลธรรมของพระเจ้าอ่อนลงเพื่อสนองสิ่งที่เรียกกันว่าศีลธรรมแบบใหม่.—2 ติโม. 4:3, 4
15. คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่นักเทศน์นักบวชได้ทำในพระนามของพระเจ้า?
15 เพราะทุกสิ่งที่ได้มีการทำกันโดยอ้างว่าทำในนามแห่งพระเจ้าของคัมภีร์ไบเบิล ผู้คนมากมายที่สุจริตใจจึงรู้สึกผิดหวังหรือไม่เชื่อพระเจ้าและคัมภีร์ไบเบิลอีกต่อไป. พวกเขาตกเป็นเหยื่อของซาตานและยุคที่ชั่วช้า. เมื่อคุณเห็นและได้ยินสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นวันแล้ววันเล่า คุณรู้สึกอย่างไร? ในฐานะผู้รับใช้พระยะโฮวา เมื่อคุณเห็นว่าพระนามของพระเจ้าถูกตำหนิและถูกหมิ่นประมาทอย่างมาก คุณรู้สึกถูกกระตุ้นให้ทำสิ่งที่คุณทำได้เพื่อแก้ไขไหม? เมื่อคุณเห็นผู้คนที่จริงใจและมีหัวใจสุจริตถูกหลอกและถูกขูดรีด คุณรู้สึกถูกกระตุ้นให้ปลอบโยนคนที่ถูกกดขี่มิใช่หรือ? เมื่อพระเยซูทรงเห็นประชาชนสมัยพระองค์ “ถูกขูดรีดมัด. 9:36; มโก. 6:34) เราควรมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้แบบเดียวกับพระเยซู.
และถูกทิ้งขว้างเหมือนแกะไม่มีผู้เลี้ยง” พระองค์ไม่เพียงแค่รู้สึกสงสารพวกเขา. พระองค์ “ทรงสอนพวกเขาหลายเรื่อง.” (16, 17. (ก) อะไรควรผลักดันเราให้ทุ่มเทในการรับใช้? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
16 เมื่อเรามีทัศนะต่องานประกาศของเราอย่างนั้น คำพูดของอัครสาวกเปาโลที่ 1 ติโมเธียว 2:3, 4 จะมีความหมายเป็นพิเศษ. (อ่าน) เราทำงานหนักในการประกาศไม่เพียงเพราะเรารู้ว่าเราอยู่ในสมัยสุดท้าย แต่เพราะตระหนักด้วยว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า. พระองค์ทรงประสงค์ให้ผู้คนรู้ความจริงเพื่อพวกเขาจะสามารถเรียนรู้ที่จะนมัสการและรับใช้พระองค์และได้รับการอวยพรด้วย. เราถูกกระตุ้นให้ทุ่มเทเพื่องานรับใช้ไม่เพียงเพราะมีเวลาจำกัด แต่เพราะเราต้องการจะทำให้พระนามพระเจ้าได้รับความนับถือและช่วยผู้คนให้รู้พระประสงค์ของพระองค์. เรามีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้.—1 ติโม. 4:16
17 ในฐานะประชาชนของพระยะโฮวา เรารู้ความจริงเกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติและแผ่นดินโลก. เรามีวิธีช่วยผู้คนให้พบความสุขและมีความหวังที่แน่นอนสำหรับอนาคต. เราสามารถชี้ให้พวกเขาเห็นวิธีที่จะได้รับการปกป้องเมื่อระบบของซาตานถูกทำลาย. (2 เทส. 1:7-9) แทนที่จะรู้สึกหงุดหงิดหรือท้อแท้เพราะดูเหมือนวันของพระยะโฮวาล่าช้า เราควรดีใจที่ยังมีเวลาให้เรารับใช้พระเจ้าด้วยใจแรงกล้า. (มีคา 7:7; ฮบา. 2:3) เราจะมีใจแรงกล้าเช่นนั้นให้มากขึ้นได้อย่างไร? เราจะพิจารณาเรื่องนี้ในบทความถัดไป.
คุณจะอธิบายได้ไหม?
• อะไรกระตุ้นพระเยซูให้ทำงานรับใช้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตั้งแต่ต้นจนจบ?
• “ใจแรงกล้า” ตามความหมายที่คัมภีร์ไบเบิลใช้คืออะไร?
• เราเห็นอะไรในทุกวันนี้ที่น่าจะกระตุ้นเราให้มีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 8]
พระเยซูทรงมุ่งทำตามพระประสงค์ของพระบิดาและแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์
[ภาพหน้า 10]
เรามีเหตุผลมากมายที่จะมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการแท้