ได้รับกำลังเพื่อเอาชนะการทดสอบ
ได้รับกำลังเพื่อเอาชนะการทดสอบ
“ข้าพเจ้ามีกำลังสำหรับทุกสิ่งโดยพระองค์ผู้ทรงประทาน กำลังแก่ข้าพเจ้า.”—ฟิลิป. 4:13
1. เหตุใดประชาชนของพระยะโฮวาจึงเผชิญความทุกข์ยากมากมาย?
ประชาชนของพระยะโฮวามักเผชิญความทุกข์ยากไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง. การทดสอบบางอย่างเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของตัวเราเองหรือเป็นผลมาจากระบบของโลกที่เรามีชีวิตอยู่นี้. การทดสอบอื่น ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างคนที่รับใช้พระเจ้ากับคนที่ไม่รับใช้. (เย. 3:15) ตั้งแต่ตอนต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์ พระเจ้าทรงช่วยผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ให้ทนการข่มเหงทางศาสนา, ต้านทานแรงกดดันให้ทำสิ่งที่ไม่ดีจากคนรอบข้าง, และอดทนความทุกข์ยากอื่น ๆ ทุกอย่าง. พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์สามารถประทานกำลังให้เราทำอย่างเดียวกันได้.
ได้รับความช่วยเหลือ ให้ทนการข่มเหงทางศาสนา
2. จุดมุ่งหมายของการข่มเหงทางศาสนาคืออะไร และอาจทำในรูปแบบใดบ้าง?
2 การข่มเหงทางศาสนาเป็นการจงใจทำให้ผู้คนต้องอับอายขายหน้าหรือเกิดความเสียหายเพราะความเชื่อของพวกเขา. จุดประสงค์ของการข่มเหงก็คือเพื่อทำลายความเชื่อและขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาหรือทำลายความซื่อสัตย์จงรักภักดีของคนที่นับถือศาสนานั้น. การข่มเหงมีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบที่ทำอย่างโจ่งแจ้งและซ่อนเร้น. คัมภีร์ไบเบิลเปรียบการโจมตีของซาตานเหมือนกับการโจมตีของสิงโตหนุ่มและงูเห่า.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 91:13
3. การข่มเหงที่เป็นเหมือนการจู่โจมของสิงโตและงูเห่ามีลักษณะเช่นไร?
เพลง. 94:20) ในหนังสือประจำปี ซึ่งพรรณนาการงานของพยานพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันมีรายงานหลายเรื่องเกี่ยวกับการใช้ยุทธวิธีเช่นนั้น. ฝูงชนที่ก่อความวุ่นวายอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งบางกลุ่มนำโดยนักเทศน์นักบวชหรือพวกหัวรุนแรงทางการเมือง ได้ทำทารุณต่อประชาชนของพระเจ้าในหลายแห่ง. การโจมตีแบบสิงโตนี้ทำให้บางคนเลิกรับใช้พระยะโฮวา. เช่นเดียวกับงูเห่า พญามารยังอาจจู่โจมจากที่ซ่อนเพื่อปล่อยพิษเข้าในจิตใจผู้คนและล่อลวงให้ทำตามความประสงค์ของมัน. การจู่โจมแบบนี้มุ่งหมายที่จะทำให้ความเชื่อของเราอ่อนลงหรือละเมิดมาตรฐานของพระเจ้า. แต่โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราสามารถยืนหยัดต้านทานการข่มเหงทั้งสองรูปแบบนี้ได้.
3 เช่นเดียวกับสิงโตที่ดุร้าย บ่อยครั้งซาตานโจมตีซึ่ง ๆ หน้าโดยใช้ความรุนแรง, การคุมขัง, หรือการสั่งห้าม. (4, 5. วิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมตัวให้พร้อมจะรับมือการข่มเหงคืออะไร และเพราะเหตุใด? จงยกตัวอย่าง.
4 การนึกภาพว่าอาจเกิดการข่มเหงขึ้นอย่างไรบ้างในวันข้างหน้าไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมตัวรับมือการข่มเหง. ข้อเท็จจริงก็คือ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเราอาจเผชิญการข่มเหงเช่นไรในอนาคต ดังนั้น แทบไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะกังวลในเรื่องที่อาจไม่เกิดขึ้นเลย. อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งที่เราทำได้. คนที่อดทนการข่มเหงได้สำเร็จส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกเขาได้ใคร่ครวญแนวทางที่ซื่อสัตย์ของผู้รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดีที่มีบันทึกในพระคัมภีร์ รวมทั้งคำสอนและตัวอย่างของพระเยซู. นี่ทำให้พวกเขามีความรักที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อพระยะโฮวา. แล้วความรักนั้นก็จะช่วยพวกเขาให้ต้านทานการทดสอบใด ๆ ก็ตามที่พวกเขาเผชิญ.
5 ขอให้พิจารณาตัวอย่างพี่น้องหญิงสองคนในมาลาวี. ฝูงชนที่ใช้ความรุนแรงซึ่งพยายามบังคับให้พวกเธอซื้อบัตรพรรคการเมืองได้ทุบตี, เปลื้องเสื้อผ้า, และขู่ว่าจะข่มขืนพวกเธอ. ฝูงชนกลุ่มนี้โกหกพวกเธอว่าแม้แต่สมาชิกครอบครัวเบเธลก็ซื้อบัตรพรรคการเมืองแล้ว. พี่น้องหญิงตอบอย่างไร? “เรารับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น. ถึงพี่น้องที่สำนักงานสาขาซื้อบัตรแล้ว เราก็จะไม่ซื้อ. เราจะไม่อะลุ่มอล่วยแม้พวกคุณจะฆ่าเรา!” หลังจากยืนหยัดอย่างกล้าหาญเช่นนั้น พี่น้องหญิงของเราก็ถูกปล่อย.
6, 7. พระยะโฮวาประทานกำลังแก่ผู้รับใช้ของพระองค์เพื่อเผชิญการข่มเหงอย่างไร?
6 อัครสาวกเปาโลให้ข้อสังเกตว่าคริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเกยอมรับข่าวสารแห่งความจริง “แม้ต้องทุกข์ลำบากมาก” แต่ “ได้รับความยินดีจากพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (1 เทส. 1:6) จริงทีเดียว คริสเตียนหลายคนทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ถูกข่มเหงและสามารถเอาชนะการข่มเหงเหล่านั้นเล่าว่า ในช่วงที่ยากลำบากที่สุดของการทดสอบ พวกเขามีสันติสุขภายในซึ่งเป็นแง่หนึ่งของผลพระวิญญาณของพระเจ้า. (กลา. 5:22) แล้วสันติสุขนั้นก็จะช่วยปกป้องหัวใจและจิตใจ. ใช่แล้ว พระยะโฮวาทรงใช้พลังปฏิบัติการของพระองค์เพื่อประทานกำลังแก่ผู้รับใช้ให้รับมือการทดสอบและประพฤติอย่างสุขุมเมื่อประสบความทุกข์ยาก. *
7 ผู้คนที่สังเกตดูรู้สึกประหลาดใจที่เห็นความตั้งใจแน่วแน่ของประชาชนของพระเจ้าที่รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดีแม้เผชิญการต่อต้านอย่างโหดร้าย. ดูเหมือนว่าพยานฯ ได้รับพลังความเข้มแข็งเหนือมนุษย์ และพวกเขาเป็นอย่างนั้นจริง ๆ. อัครสาวกเปโตรรับรองกับเราว่า “ถ้าท่านทั้งหลายถูกติเตียนเพราะพระนามพระคริสต์ ท่านทั้งหลายก็มีความสุข เพราะพระวิญญาณที่ทำให้มีเกียรติซึ่งก็คือพระวิญญาณของพระเจ้านั้นอยู่กับท่านทั้งหลาย.” (1 เป. 4:14) การที่เราถูกข่มเหงเพราะยึดมั่นมาตรฐานอันชอบธรรมแสดงว่าเราเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. (มัด. 5:10-12; โย. 15:20) ข้อพิสูจน์นี้ที่ว่าเราได้รับพระพรจากพระยะโฮวาช่างทำให้เรายินดีจริง ๆ!
ได้รับความช่วยเหลือเพื่อรับมือแรงกดดันจากคนรอบข้าง
8. (ก) อะไรทำให้ยะโฮซูอะและคาเลบต้านทานแรงกดดันจากคนรอบข้างได้? (ข) เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของยะโฮซูอะและคาเลบ?
8 การต่อต้านในรูปแบบที่แยบยลกว่าที่คริสเตียนต้องรับมือก็คือแรงกดดันให้ทำสิ่งที่ไม่ดีจากคนรอบข้าง. แต่เนื่องจากพระวิญญาณของพระยะโฮวามีพลังยิ่งกว่าน้ำใจของโลกมาก เราจึงสามารถต้านทานคนที่เยาะเย้ยเรา, คนที่แพร่เรื่องเท็จเกี่ยวกับพวกเรา, หรือคนที่พยายามบังคับเราให้ทำตามมาตรฐานของพวกเขา. ตัวอย่างเช่น อะไรทำให้ยะโฮซูอะและคาเลบไม่คล้อยตามความคิดเห็นของคนสอดแนมอีกสิบคนที่ถูกส่งไปดูแผ่นดินคะนาอัน? พระวิญญาณบริสุทธิ์กระตุ้นพวกเขาให้มี “ใจ” หรือน้ำใจที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ.—อ่านอาฤธโม 13:30; 14:6-10, 24
9. เหตุใดคริสเตียนต้องไม่ลังเลที่จะแตกต่างจากคนหมู่มาก?
9 เช่นเดียวกัน พระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานกำลังแก่เหล่าอัครสาวกของพระเยซูเพื่อจะเชื่อฟังพระเจ้า ไม่ใช่เชื่อฟังคนเหล่านั้นที่หลายคนยกย่องว่าเป็นผู้สอนศาสนาแท้. (กิจ. 4:21, 31; 5:29, 32) คนส่วนใหญ่ชอบทำตามคนหมู่มากเพื่อไม่ต้องเผชิญหน้าหรือขัดแย้งกับคนอื่น. แต่บ่อยครั้งคริสเตียนแท้จำเป็นต้องยืนหยัดในสิ่งที่พวกเขารู้ว่าถูกต้อง. ถึงกระนั้น เพราะความเข้มแข็งที่ได้รับจากพลังปฏิบัติการของพระเจ้า พวกเขาไม่กลัวที่จะแตกต่าง. (2 ติโม. 1:7) ขอพิจารณากรณีหนึ่งที่เราต้องไม่ยอมแพ้แก่แรงกดดันจากคนอื่น.
10. คริสเตียนบางคนอาจเผชิญสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นไร?
10 หนุ่มสาวบางคนอาจเผชิญสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกถ้ารู้ว่าเพื่อนทำผิดหลักการพระคัมภีร์. พวกเขาอาจรู้สึกว่าการขอให้ผู้ปกครองช่วยเพื่อนเป็นการทรยศเพื่อน; พวกเขาจึงไม่ยอมพูดถึงความผิดนั้นเนื่องจากมีความคิดผิด ๆ ในเรื่องความหมายของความภักดี. คนที่ทำผิดอาจถึงกับกดดันเพื่อนให้ช่วยปกปิดความผิดของเขาด้วยซ้ำ. แน่นอน ปัญหาเช่นนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับคนหนุ่มสาว. ผู้ใหญ่บางคนก็อาจรู้สึกว่ายากที่จะเข้าหาผู้ปกครองในประชาคมเพื่อบอกเรื่องที่เพื่อนหรือคนในครอบครัวทำผิด. แต่คริสเตียนแท้ควรทำอย่างไรเมื่อถูกกดดันเช่นนั้น?
11, 12. อะไรเป็นแนวทางที่ดีที่สุดหากสมาชิกของประชาคมขอให้คุณปกปิดความผิดของเขา และเพราะเหตุใด?
11 ขอให้นึกภาพสถานการณ์ต่อไปนี้. สมมุติว่าอะเล็กซ์ พี่น้องหนุ่มคนหนึ่ง รู้ว่าสตีฟเพื่อนในประชาคมเดียวกันดูสื่อลามกเป็นประจำ. อะเล็กซ์บอกสตีฟว่าเขาเป็นห่วงสตีฟมากที่ทำอย่างนั้น. แต่สตีฟไม่สนใจคำพูดของเขาเลย. เมื่ออะเล็กซ์ขอให้สตีฟไปคุยกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาตอบกลับมาว่าถ้าอะเล็กซ์เป็นเพื่อนแท้ เขาต้องไม่บอกเรื่องนี้กับผู้ปกครอง. อะเล็กซ์ควรกลัวว่าจะเสียเพื่อนไหม? เขาอาจสงสัยว่าผู้ปกครองจะเชื่อใครถ้าสตีฟปฏิเสธทุกอย่าง. กระนั้น สถานการณ์จะไม่มีทางดีขึ้นถ้าอะเล็กซ์เก็บเรื่องนั้นไว้เป็นความลับ. ที่จริง นั่นอาจทำให้สตีฟสูญเสียสายสัมพันธ์ที่เขามีกับพระยะโฮวา. อะเล็กซ์ควรจำไว้ว่า “การกลัวคนนั้นนำไปถึงบ่วงแร้ว; แต่สุภา. 29:25) อะเล็กซ์อาจทำอะไรอีกได้? เขาอาจไปคุยกับสตีฟอีกครั้งหนึ่งด้วยความรักและชี้ให้เห็นความผิดอย่างตรงไปตรงมา. นั่นต้องใช้ความกล้า. แต่อาจเป็นได้ว่าคราวนี้สตีฟจะยอมไปคุยเรื่องปัญหาของเขากับผู้ปกครอง. อะเล็กซ์ควรสนับสนุนสตีฟอีกครั้งหนึ่งให้พูดกับผู้ปกครองและบอกเขาว่าถ้าเขายังไม่ทำภายในเวลาอันควร อเล็กซ์ก็จะไปบอกผู้ปกครองเอง.—เลวี. 5:1
ผู้ที่ยำเกรงพระยะโฮวาจะปลอดภัย.” (12 ถ้าคุณเคยรับมือสถานการณ์เช่นนั้น ตอนแรกเพื่อนของคุณอาจไม่เห็นค่าที่คุณพยายามช่วยเขา. แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาอาจตระหนักว่าสิ่งที่คุณทำนั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของเขา. ถ้าผู้ทำผิดได้รับความช่วยเหลือและตอบรับ เขาอาจซาบซึ้งในความกล้าหาญและความภักดีของคุณตลอดไป. ในทางตรงกันข้าม ถ้าเขาโกรธคุณไม่หาย เขาเป็นเพื่อนอย่างที่คุณอยากคบด้วยจริง ๆ ไหม? การทำให้พระยะโฮวามิตรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราพอพระทัยเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ. เมื่อเราให้พระองค์มาเป็นอันดับแรก คนอื่น ๆ ที่รักพระองค์ก็จะนับถือเราเพราะความภักดีและจะกลายมาเป็นเพื่อนแท้ของเรา. เราไม่ควรเปิดช่องให้พญามารเข้ามาในประชาคมคริสเตียน. ถ้าเราทำอย่างนั้น จริง ๆ แล้วเราทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาโศกเศร้า. อย่างไรก็ตาม เราทำสอดคล้องกับพระวิญญาณด้วยการพยายามรักษาประชาคมคริสเตียนให้บริสุทธิ์สะอาด.—เอเฟ. 4:27, 30
ได้รับกำลังเพื่อทน ความทุกข์ยากทุกอย่าง
13. ประชาชนของพระยะโฮวาเผชิญความทุกข์ยากแบบใดบ้าง และเหตุใดสิ่งเหล่านั้นจึงมีอยู่ทั่วไป?
13 ความทุกข์ยากเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น ความผันผวนทางการเงิน, การตกงาน, ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, ความตายของผู้เป็นที่รัก, ปัญหาร้ายแรงด้านสุขภาพ, และอื่น ๆ. เนื่องจากเรามีชีวิตอยู่ใน “วิกฤตกาล” จึงคาดหมายได้เลยว่าไม่ช้าก็เร็วเราทุกคนจะต้องรับมือการทดสอบบางอย่าง. (2 ติโม. 3:1) ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น นับว่าสำคัญที่จะไม่ตื่นตระหนก. พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถให้ฤทธิ์แก่เราที่จะอดทนความทุกข์ยากใด ๆ ก็ตาม.
14. อะไรทำให้โยบมีกำลังที่จะอดทนความทุกข์ยากได้?
14 โยบประสบความทุกข์ยากอย่างแล้วอย่างเล่า. ท่านสูญเสียปัจจัยในการดำรงชีวิต, ลูก ๆ, เพื่อน, และสุขภาพ อีกทั้งภรรยาของท่านก็สูญเสียความเชื่อมั่นในพระยะโฮวา. (โยบ 1:13-19; 2:7-9) กระนั้น โยบได้การปลอบโยนที่แท้จริงจากอะลีฮู. ประเด็นที่อะลีฮูต้องการสื่อ รวมทั้งสาระสำคัญของพระดำรัสที่พระยะโฮวาตรัสแก่โยบ คือ “ให้ท่านยืนสงบนิ่งอยู่, และตรึกตรองราชกิจอันน่ามหัศจรรย์ของพระเจ้า.” (โยบ 37:14) อะไรช่วยโยบให้อดทนการทดสอบได้? และอะไรจะช่วยเราให้อดทนการทดสอบที่เราประสบ? การจดจำและใคร่ครวญวิธีต่าง ๆ ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์และฤทธิ์ของพระยะโฮวาปรากฏให้เห็นจะช่วยเราให้อดทนได้. (โยบ 38:1-41; 42:1, 2) เราอาจระลึกถึงช่วงเวลาในชีวิตเมื่อเราเห็นหลักฐานว่าพระเจ้าสนพระทัยเราเป็นส่วนตัว. พระองค์ยังคงสนพระทัยพวกเรา.
15. อะไรเสริมกำลังอัครสาวกเปาโลให้อดทนการทดสอบได้?
15 อัครสาวกเปาโลอดทนความทุกข์ยากหลายอย่างที่คุกคามชีวิตเพื่อเห็นแก่ความเชื่อของท่าน. (2 โค. 11:23-28) ท่านรักษาความสมดุลและความมั่นคงด้านอารมณ์ ในสภาพการณ์ที่ยากลำบากที่สุดได้อย่างไร? โดยการอธิษฐานและไว้วางใจพระยะโฮวา. ในช่วงเวลาแห่งการทดสอบซึ่งดูเหมือนจะถึงจุดสุดยอดด้วยการสละชีวิตเพื่อความเชื่อ เปาโลเขียนว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงยืนอยู่ใกล้ข้าพเจ้าและทรงประทานกำลังแก่ข้าพเจ้า เพื่อให้ข้าพเจ้าประกาศเรื่องพระองค์ให้สำเร็จครบถ้วน และชนต่างชาติทั้งปวงจะได้ยินเรื่องนี้. พระองค์ยังทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดจากปากสิงโตด้วย.” (2 ติโม. 4:17) ด้วยเหตุนั้น จากประสบการณ์ของตัวท่านเอง เปาโลสามารถรับรองกับเพื่อนร่วมความเชื่อว่าไม่จำเป็นต้อง “วิตกกังวลกับสิ่งใด.”—อ่านฟิลิปปอย 4:6, 7, 13
16, 17. จงยกตัวอย่างวิธีที่พระยะโฮวาประทานกำลังแก่ประชาชนของพระองค์ให้รับมือความทุกข์ยากในปัจจุบัน.
16 ไพโอเนียร์คนหนึ่งชื่อร็อกซานาได้เห็นวิธีที่พระยะโฮวาทรงดูแลประชาชนของพระองค์. เมื่อเธอขอลาหยุดงานจากนายจ้างเพื่อเข้าร่วมการประชุมภาค เขาตอบด้วยความโมโหว่าถ้าเธอไปเขาจะไล่เธอออก. แต่ร็อกซานาก็ยังไปร่วมประชุม และเธออธิษฐานอย่างแรงกล้าขอให้ไม่ตกงาน. หลังจากนั้น เธอรู้สึกสงบใจ. แต่แล้วก็เป็นอย่างที่นายจ้างขู่ไว้ ในวันจันทร์หลังการประชุมภาคนายจ้างไล่เธอออกจากงาน. ร็อกซานารู้สึกวิตกกังวล. เธอจำเป็นต้องทำงานนั้นเพื่อจุนเจือครอบครัว แม้ว่าจะได้ค่าแรงไม่มาก. เธออธิษฐานอีกครั้ง และใคร่ครวญข้อเท็จจริงที่ว่าในเมื่อพระเจ้าทรงดูแลให้เธอได้รับสิ่งจำเป็นฝ่ายวิญญาณ ณ การประชุมภาค พระองค์ย่อมสามารถดูแลความจำเป็นด้านร่างกายของเธอด้วย. ขณะเธอเดินกลับบ้าน ร็อกซานาเห็นป้าย “รับสมัคร” ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์ เธอจึงเข้าไปสมัคร. แม้ผู้จัดการรู้ว่าเธอไม่มีประสบการณ์แต่ก็ยังรับเธอให้เข้าทำงาน อีกทั้งให้ค่าจ้างเกือบสองเท่าของที่เธอเคยได้. ร็อกซานารู้สึกว่าคำอธิษฐานของเธอได้รับคำตอบ. อย่างไรก็ตาม พระพรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการที่เธอสามารถบอกข่าวดีแก่เพื่อนร่วมงานหลายคน. มีห้าคน รวมทั้งผู้จัดการด้วย ตอบรับความจริงและรับบัพติสมา.
17 บางครั้ง คำอธิษฐานของเราดูเหมือนไม่ได้รับคำตอบ อย่างน้อยก็ไม่ได้รับในทันทีหรือในวิธีที่เราคาดหมาย. ถ้าเป็นอย่างนั้น คงต้องมีเหตุผลที่ดีอย่างแน่นอน. พระยะโฮวาทรงทราบดีในเรื่องนี้ แต่เราอาจต้องอดใจรอจนกว่าเราจะเข้าใจเหตุผลของพระองค์ในที่สุด. สิ่งหนึ่งที่เรามั่นใจได้ก็คือ พระเจ้าไม่ทรงละทิ้งผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์.—ฮีบรู 6:10
ได้รับความช่วยเหลือให้เอาชนะการทดสอบและการล่อใจ
18, 19. (ก) เหตุใดเราจึงคาดหมายได้ว่าจะเผชิญการทดสอบและการล่อใจ? (ข) คุณจะเอาชนะการทดสอบได้อย่างไร?
18 ประชาชนของพระยะโฮวาไม่แปลกใจที่เผชิญการล่อใจ, ความท้อแท้, การข่มเหง, และแรงกดดันจากคนรอบข้าง. ผู้คนในโลกโดยทั่วไปเป็นปฏิปักษ์ต่อเรา. (โย. 15:17-19) กระนั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถช่วยเราให้เอาชนะปัญหาใด ๆ ก็ตามที่เราอาจเผชิญในการรับใช้พระเจ้า. พระยะโฮวาจะไม่ปล่อยให้เราถูกล่อใจเกินกว่าจะทนได้. (1 โค. 10:13) พระองค์จะไม่มีวันละทิ้งหรือทอดทิ้งเรา. (ฮีบรู 13:5) การเชื่อฟังพระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจของพระองค์ช่วยปกป้องและเสริมกำลังเรา. นอกจากนั้น พระวิญญาณของพระเจ้าสามารถกระตุ้นเพื่อนร่วมความเชื่อให้ช่วยเหลือเราในยามที่เราจำเป็นมากที่สุด.
19 ขอให้เราทุกคนอธิษฐานและศึกษาพระคัมภีร์อยู่เสมอเพื่อจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์. ขอให้เรา “ได้รับกำลังมากพอจากฤทธิ์เดชอันใหญ่ยิ่งของ [พระเจ้า] ต่อ ๆ ไปเพื่อจะเพียรอดทนได้จนถึงที่สุดและอดกลั้นไว้นานด้วยความยินดี.”—โกโล. 1:11
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 สำหรับตัวอย่าง โปรดดูหอสังเกตการณ์ 1 พฤษภาคม 2001 หน้า 16 และตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) 8 กุมภาพันธ์ 1993 หน้า 21-22.
คุณจะตอบอย่างไร?
• คุณจะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อทนการข่มเหงได้อย่างไร?
• คุณควรทำอย่างไรถ้ามีใครขอให้คุณปกปิดความผิดของเขา?
• เมื่อเผชิญความทุกข์ยากใด ๆ ก็ตามคุณมั่นใจได้ในเรื่องใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 28]
เราเรียนอะไรได้จากยะโฮซูอะและคาเลบ?
[ภาพหน้า 29]
คุณจะช่วยเพื่อนที่ทำผิดได้อย่างไร?