ได้รับฤทธิ์เพื่อต่อสู้การล่อใจและรับมือความท้อแท้
ได้รับฤทธิ์เพื่อต่อสู้การล่อใจและรับมือความท้อแท้
“พวกเจ้าจะได้รับฤทธิ์เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์มาบนเจ้า.”—กิจ. 1:8
1, 2. พระเยซูทรงสัญญาว่าจะช่วยเหล่าสาวกอย่างไร และเหตุใดพวกเขาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือนั้น?
พระเยซูทรงรู้ว่าเหล่าสาวกไม่สามารถทำทุกสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้พวกเขาทำโดยอาศัยกำลังของตนเอง. เมื่อคำนึงถึงขอบเขตของงานประกาศที่พวกเขาได้รับมอบหมาย, ความแข็งแกร่งของคู่ต่อสู้, และความอ่อนแอของมนุษย์ เห็นได้ชัดว่าพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการเสริมกำลังจากแหล่งที่เหนือกว่ามนุษย์. ด้วยเหตุนั้น ก่อนพระเยซูจะเสด็จขึ้นสวรรค์ พระองค์ทรงรับรองกับเหล่าสาวกว่า “พวกเจ้าจะได้รับฤทธิ์เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์มาบนเจ้า และเจ้าจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเลมและทั่วแคว้นยูเดียกับแคว้นซะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.”—กิจ. 1:8
2 คำสัญญานั้นเริ่มสำเร็จเป็นจริงในวันเพนเทคอสต์ สากลศักราช 33 เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานฤทธิ์แก่เหล่าสาวกของพระเยซูคริสต์เพื่อจะประกาศไปทั่วกรุงเยรูซาเลม. ไม่มีการต่อต้านใด ๆ จะยับยั้งงานนี้ได้. (กิจ. 4:20) “จนถึงช่วงสุดท้ายของยุค” เหล่าสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระเยซู รวมทั้งพวกเราด้วย จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับกำลังเสริมอย่างเดียวกันจากพระเจ้า.—มัด. 28:20
3. (ก) จงอธิบายความแตกต่างระหว่างพระวิญญาณบริสุทธิ์กับฤทธิ์. (ข) ฤทธิ์ที่มาจากพระยะโฮวาช่วยให้เราทำอะไรได้?
3 พระเยซูทรงสัญญาแก่เหล่าสาวกว่า ‘พวกเขาจะได้รับฤทธิ์ เมื่อพระวิญญาณ บริสุทธิ์มาบนพวกเขา.’ คำ “ฤทธิ์” และ “พระวิญญาณ” มีความหมายแตกต่างกันอย่างชัดเจน. พระวิญญาณของพระเจ้า หรือพลังปฏิบัติการของพระองค์ เป็นพลังที่ถ่ายทอดไปถึงผู้คนหรือสิ่งต่าง ๆ เพื่อทำให้สำเร็จตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. แต่อาจให้คำจำกัดความของฤทธิ์ได้ว่าเป็น “ความสามารถที่จะกระทำหรือก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.” ฤทธิ์อาจสงบนิ่งอยู่ในตัวใครคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนกระทั่งมีความจำเป็นที่ฤทธิ์นั้นจะก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง. ดังนั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์อาจเปรียบได้กับกระแสไฟฟ้าที่ให้พลังงานแก่ถ่านชาร์จหรือแบตเตอรี่ ส่วนฤทธิ์อาจเทียบได้กับพลังงานแฝงซึ่งถูกเก็บไว้ในถ่านหรือแบตเตอรี่. ฤทธิ์ที่พระยะโฮวาประทานแก่ผู้รับใช้ของพระองค์โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้เราแต่ละคนมีความสามารถที่จะทำให้สำเร็จตามการอุทิศตัวของเราในฐานะคริสเตียน และเมื่อจำเป็น ก็ช่วยต้านทานพลังที่ผลักดันเราไปในทางที่ไม่ดี.—อ่านมีคา 3:8; โกโลซาย 1:29
4. เราจะพิจารณาอะไรในบทความนี้ และเพราะเหตุใด?
4 ฤทธิ์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานแก่เราปรากฏให้เห็นอย่างไร? พระวิญญาณบริสุทธิ์อาจกระตุ้นเราให้ทำหรือแสดงปฏิกิริยาแบบใด? เมื่อเราพยายามรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ เราพบอุปสรรคมากมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับเราเพราะซาตาน, ระบบของมัน, หรือความไม่สมบูรณ์ของตัวเราเอง. เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นเพื่อจะเพียรอดทนในฐานะคริสเตียน, ร่วมทำงานรับใช้เป็นประจำ, และรักษาสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา. ให้เรามาพิจารณาว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ช่วยเราอย่างไรให้ต่อสู้การล่อใจและรับมือความเหนื่อยล้าและความท้อแท้.
ได้รับฤทธิ์เพื่อต่อสู้การล่อใจ
5. การอธิษฐานจะช่วยเราได้อย่างไร?
5 พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกให้อธิษฐานว่า “ขออย่ามัด. 6:13) พระยะโฮวาจะไม่ละทิ้งผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ที่ร้องขอเช่นนี้. ในอีกโอกาสหนึ่ง พระเยซูตรัสว่า “พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์.” (ลูกา 11:13) เรารู้สึกอุ่นใจจริง ๆ ที่พระยะโฮวาทรงสัญญาว่าจะประทานพระวิญญาณนี้แก่เราเพื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง! แน่นอน นี่ไม่ได้หมายความว่าพระยะโฮวาจะปกป้องเราไว้ไม่ให้ถูกล่อใจ. (1 โค. 10:13) แต่เมื่อเราถูกล่อใจ ตอนนั้นแหละที่เราควรอธิษฐานอย่างแรงกล้ายิ่งขึ้น.—มัด. 26:42
ให้พวกข้าพเจ้าพ่ายแพ้การล่อใจ แต่ขอทรงช่วยพวกข้าพเจ้าให้รอดพ้นจากตัวชั่วร้าย.” (6. พระเยซูทรงตอบข้อเสนอที่ล่อใจของซาตานโดยอาศัยอะไร?
6 พระเยซูทรงยกข้อความจากพระคัมภีร์เพื่อตอบข้อเสนอที่ล่อใจของพญามาร. เห็นได้ชัดเลยว่าพระคำของพระเจ้าอยู่ในความคิดของพระเยซูเมื่อพระองค์ตรัสตอบว่า “มีคำเขียนไว้ว่า . . . มีคำเขียนไว้อีกว่า . . . ไปให้พ้น เจ้าซาตาน! เพราะมีคำเขียนไว้ว่า ‘จงนมัสการพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า และจงทำงานรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ถวายพระองค์ผู้เดียว.’ ” ความรักต่อพระยะโฮวาและต่อพระคำของพระองค์กระตุ้นพระเยซูให้ปฏิเสธสิ่งล่อใจที่ผู้ล่อลวงเสนอแก่พระองค์. (มัด. 4:1-10) หลังจากที่พระเยซูทรงต้านทานการล่อใจครั้งแล้วครั้งเล่า ซาตานจึงจากพระองค์ไป.
7. พระคัมภีร์ช่วยให้เราต้านทานการล่อใจได้อย่างไร?
7 แม้แต่พระเยซูเองก็ยังหมายพึ่งพระคัมภีร์เพื่อต้านทานการล่อใจของพญามาร มีเหตุผลมากยิ่งกว่านั้นสักเท่าไรที่เราควรทำอย่างนั้น! แน่นอน เพื่อเราจะต้านทานพญามารและตัวแทนของมันได้ ก่อนอื่นเราต้องรู้จักมาตรฐานของพระเจ้าเป็นอย่างดีและทำตามมาตรฐานนั้นอย่างเต็มที่. หลายคนถูกกระตุ้นให้ดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิลเมื่อพวกเขาศึกษาพระคัมภีร์และเห็นคุณค่าของสติปัญญาและความชอบธรรมของพระเจ้า. จริงทีเดียว “พระคำของพระเจ้า” ทรงพลังและสามารถ “หยั่งรู้ความคิดและความมุ่งหมายในใจ.” (ฮีบรู 4:12) ยิ่งเราอ่านและไตร่ตรองพระคัมภีร์มากขึ้น เราก็จะ ‘เข้าใจความจริงของพระยะโฮวา’ มากยิ่งขึ้น. (ดานิ. 9:13, ฉบับแปลคิงเจมส์) เมื่อเป็นอย่างนั้น เราควรใคร่ครวญข้อคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดที่เราอ่อนแอ.
8. เราจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้โดยวิธีใดบ้าง?
8 นอกจากจะรู้พระคัมภีร์แล้ว พระเยซูยังทรงต้านทานการล่อใจได้เพราะพระองค์ “ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (ลูกา 4:1) เพื่อจะมีกำลังและความสามารถคล้าย ๆ กันนั้น เราต้องเข้าใกล้พระยะโฮวาด้วยการรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากวิธีต่าง ๆ ที่พระยะโฮวาประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ เช่น การศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, การอธิษฐาน, และการคบหาสมาคมกับเพื่อนร่วมความเชื่อ. (ยโก. 4:7, 8) หลายคนยังเห็นคุณค่าของการรักษาตารางเวลาในการทำกิจกรรมของคริสเตียนอย่างครบถ้วน ซึ่งช่วยให้จดจ่ออยู่กับแง่คิดที่หนุนใจฝ่ายวิญญาณ.
9, 10. (ก) คริสเตียนอาจประสบการล่อใจอะไรซึ่งมีอยู่ทั่วไป? (ข) การใคร่ครวญและการอธิษฐานจะทำให้คุณได้รับฤทธิ์เพื่อต่อสู้การล่อใจแม้แต่ตอนที่คุณรู้สึกเหนื่อยล้าได้อย่างไร?
9 คุณต้องต้านทานสิ่งล่อใจอะไรบ้าง? คุณเคยถูกล่อใจให้เกี้ยวพานคนอื่นที่ไม่ใช่คู่สมรสของคุณเล่น ๆ ไหม? ถ้าคุณยังไม่แต่งงาน คุณเคยอยากมีนัดกับคนที่ไม่เชื่อไหม? เมื่อดูโทรทัศน์หรือใช้อินเทอร์เน็ต คริสเตียนอาจถูกล่อใจให้ดูสิ่งที่ไม่สะอาดซึ่งปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างไม่คาดคิด. เคยเกิดเหตุการณ์แบบนั้นกับคุณไหม และถ้าเคยคุณทำอย่างไร? คงดีที่จะใคร่ครวญว่าการก้าวพลาดไปขั้นหนึ่งอาจทำให้ก้าวพลาดอีกขั้นหนึ่ง แล้วในที่สุดก็อาจถึงขั้นทำผิดร้ายแรงได้. (ยโก. 1:14, 15) ขอให้คิดว่าการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์จะทำให้พระยะโฮวา, ประชาคม, และครอบครัวของคุณเจ็บปวดขนาดไหน. ในทางกลับกัน การรักษาความภักดีต่อหลักการของพระเจ้าจะทำให้คุณมีสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาด. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 119:37; สุภาษิต 22:3) เมื่อไรก็ตามที่คุณเผชิญการทดสอบเช่นนั้น จงตั้งใจแน่วแน่ว่าจะอธิษฐานขอกำลังเพื่อต้านทานการทดสอบเหล่านั้น.
10 มีสิ่งอื่นด้วยที่ควรจำไว้เกี่ยวกับการล่อใจของพญาลูกา 4:13) ซาตานมองหาโอกาสเหมาะที่จะทดสอบความซื่อสัตย์จงรักภักดีของเราด้วย. ดังนั้น จึงสำคัญมากที่เราจะรักษาความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณไว้เสมอ. ซาตานมักโจมตีเมื่อมันรู้ว่าคนที่เป็นเป้าหมายของมันอยู่ในสภาพอ่อนแอที่สุด. ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึกเหนื่อยล้าหรือท้อแท้ เราควรตั้งใจแน่วแน่มากขึ้นที่จะทูลวิงวอนขอการปกป้องจากพระยะโฮวาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์.—2 โค. 12:8-10
มาร. ซาตานเข้าหาพระเยซูหลังจากพระองค์อดพระกระยาหารนาน 40 วันในถิ่นทุรกันดาร. พญามารคงคิดแน่ ๆ ว่านี่เป็น “โอกาส” เหมาะเป็นพิเศษที่จะทดสอบความซื่อสัตย์จงรักภักดีของพระเยซู. (ได้รับฤทธิ์เพื่อรับมือ ความเหนื่อยล้าและความท้อแท้
11, 12. (ก) เหตุใดหลายคนในทุกวันนี้จึงท้อแท้? (ข) อะไรจะช่วยเสริมให้เรามีกำลังต้านทานความท้อแท้ได้?
11 เนื่องจากเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ บางครั้งเราท้อแท้. อาจเป็นอย่างนั้นโดยเฉพาะในทุกวันนี้เนื่องจากเรามีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่ตึงเครียดเป็นพิเศษ. เรากำลังผ่านช่วงเวลาที่อาจเป็นยุคสมัยที่ยากลำบากที่สุดเท่าที่มนุษยชาติทั้งสิ้นเคยประสบ. (2 ติโม. 3:1-5) ขณะที่อาร์มาเก็ดดอนใกล้เข้ามา ความกดดันด้านเศรษฐกิจ, ด้านอารมณ์, และด้านอื่น ๆ กำลังเพิ่มขึ้น. ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่บางคนรู้สึกว่าการทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลและหาเลี้ยงครอบครัวเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อย ๆ. พวกเขารู้สึกเหนื่อย, หนักใจ, และหมดแรง. ถ้าคุณเป็นอย่างนั้น คุณจะรับมือความกดดันเช่นนั้นได้อย่างไร?
12 จำไว้ว่า พระเยซูทรงรับรองกับเหล่าสาวกว่าพระองค์จะประทานผู้ช่วยผู้หนึ่งให้แก่พวกเขา ซึ่งก็คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า. (อ่านโยฮัน 14:16, 17) พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพลังที่ทรงพลังที่สุดในเอกภพ. โดยใช้พระวิญญาณนี้ พระยะโฮวาทรงสามารถประทานความเข้มแข็ง “มากมาย” ซึ่งเราจำเป็นต้องมีเพื่อจะอดทนการทดสอบได้. (เอเฟ. 3:20) โดยหมายพึ่งพระวิญญาณ อัครสาวกเปาโลกล่าวว่าเราจะได้รับ “กำลังที่มากกว่าปกติ” แม้ว่าเรา “ถูกกดดันทุกด้าน.” (2 โค. 4:7, 8) พระยะโฮวาไม่ได้สัญญาว่าจะขจัดความเครียดให้หมดไป แต่พระองค์ทรงรับรองกับเราว่าโดยทางพระวิญญาณ พระองค์จะประทานความเข้มแข็งแก่เราเพื่อจะรับมือความเครียดได้.—ฟิลิป. 4:13
13. (ก) พี่น้องสาวคนหนึ่งได้รับพลังที่จะรับมือสถานการณ์ที่ยากลำบากโดยวิธีใด? (ข) คุณรู้จักใครซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีคล้าย ๆ กันนี้ไหม?
13 ขอให้พิจารณาตัวอย่างของสเตฟานี ไพโอเนียร์ประจำวัย 19 ปี. เมื่ออายุได้ 12 ขวบ เธอมีอาการเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตันและแพทย์วินิจฉัยว่าเธอมีเนื้องอกบทเพลงสรรเสริญ 41:3 ซึ่งเธอคิดว่าเป็นจริงกับตัวเธอเอง.
ในสมอง. ตั้งแต่นั้นมาเธอได้รับการผ่าตัดสองครั้ง, รักษาด้วยรังสี, และมีอาการเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตันอีกสองครั้ง ซึ่งทำให้ร่างกายซีกซ้ายเป็นอัมพฤกษ์และการมองเห็นจำกัด. สเตฟานีต้องเก็บแรงไว้สำหรับสิ่งที่เธอถือว่าสำคัญกว่า เช่น การประชุมคริสเตียนและงานประกาศ. ถึงกระนั้น เธอรู้สึกได้ว่าพระหัตถ์ที่เสริมกำลังของพระยะโฮวาช่วยให้เธออดทนในหลาย ๆ วิธี. หนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักซึ่งมีประสบการณ์ของเพื่อนคริสเตียนช่วยให้กำลังใจเธอเมื่อรู้สึกหดหู่ใจ. พี่น้องช่วยหนุนใจเธอโดยเขียนจดหมายถึงเธอหรือพูดให้กำลังใจเธอก่อนและหลังการประชุม. ผู้สนใจก็แสดงด้วยว่าพวกเขาเห็นคุณค่าสิ่งที่สเตฟานีสอนโดยที่พวกเขาไปหาเธอที่บ้านเพื่อศึกษาพระคัมภีร์กับเธอ. สเตฟานีรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณพระยะโฮวาอย่างยิ่งสำหรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด. ข้อคัมภีร์ประจำใจของเธอคือ14. เราต้องหลีกเลี่ยงอะไรเมื่อเราเหนื่อยล้าหรือถูกกดดัน และเพราะเหตุใด?
14 เมื่อเราเหนื่อยล้าหรือถูกกดดัน เราต้องไม่ชักเหตุผลว่าวิธีรับมือความเครียดก็คือทำกิจกรรมฝ่ายวิญญาณให้น้อยลง. นั่นเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดที่เราอาจทำได้. เพราะเหตุใด? เพราะกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การศึกษาส่วนตัวและการศึกษาครอบครัว, การประกาศ, และการเข้าร่วมการประชุมเป็นวิธีที่เราจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งทำให้กระปรี้กระเปร่าขึ้น. กิจกรรมของคริสเตียนทำให้สดชื่นเสมอ. (อ่านมัดธาย 11:28, 29) มีอยู่บ่อยครั้งที่พี่น้องมาถึงการประชุมด้วยความรู้สึกอิดโรย แต่เมื่อถึงเวลากลับบ้านก็เหมือนกับว่าพวกเขาได้พลังกลับคืนมา แบตเตอรี่ฝ่ายวิญญาณถูกชาร์จจนเต็มอีกครั้งหนึ่ง!
15. (ก) พระยะโฮวาทรงสัญญาไหมว่าการเป็นคริสเตียนไม่ต้องใช้ความพยายาม? จงอธิบายโดยอาศัยพระคัมภีร์. (ข) พระเจ้าทรงสัญญาอะไรกับเรา และนั่นทำให้เกิดคำถามอะไร?
15 แน่นอน นี่ไม่ได้หมายความว่าการติดตามพระคริสต์เป็นเรื่องง่าย. เราต้องพยายามเพื่อจะเป็นคริสเตียนที่ซื่อสัตย์. (มัด. 16:24-26; ลูกา 13:24) อย่างไรก็ตาม โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระยะโฮวาทรงสามารถประทานกำลังแก่คนที่อิดโรย. ผู้พยากรณ์ยะซายาห์เขียนว่า “ผู้ที่คอยท่าพระยะโฮวาจะได้รับกำลังเพิ่มขึ้น; เขาจะกางปีกบินขึ้นไปดุจนกอินทรี; เขาจะวิ่งไป, และไม่รู้จักอ่อนเปลี้ย, เขาจะเดินไป, และไม่รู้จักอิดโรย.” (ยซา. 40:29-31) เมื่อเป็นเช่นนั้น เราควรถามตัวเองว่า อะไรเป็นเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้เราอ่อนล้าฝ่ายวิญญาณ?
16. เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้าหรือความท้อแท้?
16 พระคำของพระยะโฮวากระตุ้นเราให้ “ตรวจดูให้แน่ใจว่าสิ่งไหนสำคัญกว่า.” (ฟิลิป. 1:10) โดยเปรียบวิถีชีวิตคริสเตียนว่าเหมือนกับการวิ่งแข่งระยะไกล เปาโลได้รับการดลใจให้แนะนำว่า “ให้เราปลดของหนักทุกอย่างออกจากตัว . . . และให้เราวิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรา.” (ฮีบรู 12:1) จุดสำคัญที่ท่านต้องการชี้ก็คือเราต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือของหนักที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะทำให้เราหมดเรี่ยวแรง. อาจเป็นได้ว่าพวกเราบางคนทำให้ชีวิตยุ่งขึ้นไปอีกโดยพยายามทำหลายสิ่งหลายอย่างมากเกินไป. ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยและตึงเครียดบ่อย ๆ นับว่าดีที่คุณจะคิดทบทวนวิธีที่คุณใช้กำลังไปกับงานอาชีพ, ความถี่ในการเดินทางไปเที่ยว, และความเอาจริงเอาจังในการเล่นกีฬาหรือการทำกิจกรรมยามว่างอื่น ๆ. ความมีเหตุผลและความเจียมตัวควรกระตุ้นเราทุกคนให้รู้ข้อจำกัดของเราและทำกิจกรรมที่ไม่จำเป็นให้น้อยที่สุด.
17. เหตุใดบางคนอาจรู้สึกท้อใจ แต่พระยะโฮวาทรงรับรองไว้อย่างไรในเรื่องนี้?
17 อาจเป็นได้ด้วยที่บางคนในพวกเรารู้สึกท้อใจอยู่บ้างสุภา. 13:12) แต่คนที่รู้สึกอย่างนี้สามารถได้รับการหนุนใจจากถ้อยคำที่พบในฮะบาฆูค 2:3 ที่ว่า “มีเวลากำหนดไว้สำหรับนิมิตนั้น, แต่เมื่อสิ้นเวลาแล้วความฝันจะผุดปรากฏ, และจะไม่กล่าวเท็จเลย, แม้นเวลาจะช้านานก็จงคอยท่า, ด้วยว่าไม่เนิ่นช้าคงจะมีมาเป็นแน่.” พระยะโฮวาทรงรับรองกับเราว่าอวสานของระบบนี้จะมาตามเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดไว้!
เพราะอวสานของระบบนี้ไม่ได้มาเร็วอย่างที่เราคาดหมายไว้. (18. (ก) คำสัญญาอะไรบ้างที่เสริมกำลังคุณ? (ข) บทความถัดไปจะเป็นประโยชน์แก่เราอย่างไร?
18 แน่นอน ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาทุกคนคอยท่าวันนั้นเมื่อความเหนื่อยล้าและความท้อแท้จะหมดไป เมื่อทุกคนที่มีชีวิตอยู่จะมี “กำลังเหมือนเมื่อยังหนุ่ม.” (โยบ 33:25, ฉบับ R73) แม้แต่ในเวลานี้สภาพภายในของเราก็ได้รับการเสริมกำลังได้โดยการดำเนินกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์เมื่อเรามีส่วนร่วมในกิจกรรมฝ่ายวิญญาณที่ทำให้สดชื่น. (2 โค. 4:16; เอเฟ. 3:16) อย่าให้ความเหนื่อยล้าทำให้คุณพลาดพระพรถาวร. การทดสอบทุกอย่าง—ไม่ว่าเกิดจากการล่อใจ, ความเหนื่อยล้า, หรือความท้อใจ—จะหมดไป ถ้าไม่ใช่ในทันทีก็ในโลกใหม่ของพระเจ้า. ในบทความถัดไป เราจะพิจารณาวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ให้กำลังแก่คริสเตียนเพื่อจะอดทนการข่มเหง, ต้านทานแรงกดดันจากคนรอบข้างที่ก่อความเสียหาย, และอดทนความทุกข์ยากอื่น ๆ.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเสริมกำลังเราอย่างไร?
• การอธิษฐานและการใคร่ครวญเสริมกำลังเราอย่างไร?
• คุณจะขจัดสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ท้อใจได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 24]
การประชุมคริสเตียนช่วยให้เราสดชื่นฝ่ายวิญญาณ