รับใช้พระยะโฮวาด้วยความจริงจังอย่างเต็มที่
รับใช้พระยะโฮวาด้วยความจริงจังอย่างเต็มที่
“สิ่งใดที่ควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง . . . จงใคร่ครวญสิ่งเหล่านั้นต่อ ๆ ไป.” —ฟิลิป. 4:8
1, 2. อะไรทำให้หลายคนในโลกนี้มีทัศนะต่อชีวิตแบบที่ไม่จริงจัง และนั่นทำให้เกิดคำถามอะไร?
เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยปัญหาและโศกนาฏกรรมยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในประวัติศาสตร์มนุษย์. สำหรับคนที่ไม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา การรับมือ “วิกฤตกาลซึ่งยากจะรับมือได้” นี้อาจเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้. (2 ติโม. 3:1-5) พวกเขาผ่านพ้นแต่ละวันไปได้ด้วยกำลังความแข็งแกร่งของตนเองเท่านั้น แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะปัญหาได้อย่างเต็มที่. เพื่อจะไม่เคร่งเครียดเกินไปกับชีวิต หลายคนหันไปแสวงหาความสนุกเพลิดเพลินจากโลกบันเทิงซึ่งมีออกมามากมายไม่ขาดสาย.
2 เพื่อจะรับมือความเครียดในชีวิต ผู้คนมักจัดให้ความปรารถนาที่จะได้ความเพลิดเพลินเป็นเรื่องสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด. หากไม่ระวัง คริสเตียนอาจเริ่มดำเนินชีวิตในแนวทางเดียวกันนี้ได้. เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร? นั่นหมายความว่าเราจำเป็นต้องจริงจังตลอดเวลาไหม? เราจะหาจุดที่สมดุลระหว่างความเพลิดเพลินกับหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างไร? หลักการอะไรในพระคัมภีร์ที่น่าจะชี้นำเราเพื่อเราจะไม่เคร่งเครียดเกินไปขณะที่เราใช้ชีวิตอย่างสุขุม?
เป็นคนจริงจังในโลกที่รักความสนุกสนาน
3, 4. พระคัมภีร์ช่วยเราอย่างไรให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องเป็นคนเอาจริงเอาจัง?
3 เห็นได้ชัดว่า โลกนี้ให้ความสำคัญมากเกินไปในเรื่อง ‘การรักความสนุกสนาน.’ (2 ติโม. 3:4) ทัศนะของโลกที่เน้นในเรื่องความสนุกสนานอาจเป็นอันตรายต่อสภาพฝ่ายวิญญาณของเรา. (สุภา. 21:17) ด้วยเหตุนั้น จึงมีเหตุผลที่ดีที่จดหมายของอัครสาวกเปาโลถึงติโมเธียวและทิทุสมีคำแนะนำในเรื่องความเอาจริงเอาจังรวมอยู่ด้วย. การทำตามคำแนะนำนั้นจะช่วยเราให้ต้านทานทัศนะของโลกที่ไม่จริงจังกับชีวิต.—อ่าน 1 ติโมเธียว 2:1, 2; ทิทุส 2:2-8
4 หลายศตวรรษก่อนหน้านั้น โซโลมอนเขียนเกี่ยวกับคุณค่าของการละเว้นความสนุกสนานในบางครั้งเพื่อจะพินิจพิจารณาอย่างจริงจังในเรื่องชีวิต. (ผู้ป. 3:4; 7:2-4) จริงทีเดียว เพราะชีวิตคนเราสั้น เราจึงจำเป็นต้อง “บากบั่นพยายาม” เพื่อจะได้รับความรอด. (ลูกา 13:24) เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ เราจำเป็นต้องใคร่ครวญทุกสิ่ง “ที่ควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง” อยู่เสมอ. (ฟิลิป. 4:8, 9) นั่นหมายถึงการใส่ใจในทุกแง่มุมของชีวิตคริสเตียน.
5. ขอบเขตหนึ่งในชีวิตที่เราควรเอาจริงเอาจังคืออะไร?
5 ตัวอย่างเช่น คริสเตียนทำตามแบบอย่างของพระยะโฮวาและพระเยซูโดยเอาจริงเอาจังในหน้าที่รับผิดชอบที่จะทำงานหนัก. (โย. 5:17) ผลก็คือ บ่อยครั้งพวกเขาได้รับคำชมเชยว่าเป็นคนมีจรรยาบรรณที่ดีในการทำงานและไว้ใจได้. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวหน้าครอบครัวเอาจริงเอาจังในการทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว. ที่จริง การที่ใครคนหนึ่งไม่เลี้ยงดูคนในครอบครัวด้านวัตถุก็เท่ากับ “ปฏิเสธความเชื่อ”!—1 ติโม. 5:8
เอาจริงเอาจังในการนมัสการแต่ก็ยินดี
6. เรารู้ได้อย่างไรว่าเราควรถือว่าการนมัสการพระยะโฮวาเป็นเรื่องจริงจัง?
6 พระยะโฮวาทรงถือว่าการนมัสการพระองค์อย่างถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญเสมอ. ตัวอย่างเช่น ชาวอิสราเอลยโฮ. 23:12, 13) ในศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช สาวกของพระคริสต์จำเป็นต้องต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อรักษาการนมัสการแท้ให้ปราศจากคำสอนและทัศนคติที่เสื่อมทราม. (2 โย. 7-11; วิ. 2:14-16) ในทุกวันนี้ คริสเตียนแท้ก็ยังคงถือว่าการนมัสการของพวกเขาเป็นเรื่องจริงจัง.—1 ติโม. 6:20
จะประสบผลเสียหายร้ายแรงตามที่พระบัญญัติของโมเซกล่าวไว้เมื่อพวกเขาหันเหจากการนมัสการพระยะโฮวา. (7. เปาโลเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการประกาศอย่างไร?
7 งานประกาศทำให้เรายินดี. อย่างไรก็ตาม เพื่อจะรักษาความยินดีในงานประกาศ เราต้องคิดถึงงานนี้อย่างจริงจังและเตรียมตัวล่วงหน้า. เปาโลอธิบายให้เห็นว่าท่านคำนึงถึงคนที่ท่านสอนอย่างไร. ท่านเขียนว่า “เมื่อข้าพเจ้าติดต่อกับคนแบบใดข้าพเจ้าก็ทำตัวเป็นคนแบบนั้น เพื่อข้าพเจ้าจะช่วยคนให้รอดได้บ้างไม่ว่าจะโดยวิธีใด. ข้าพเจ้าทำทุกสิ่งเพื่อข่าวดี ข้าพเจ้าจะได้ประกาศข่าวดีนี้แก่คนอื่น ๆ.” (1 โค. 9:22, 23) เปาโลมีความยินดีในการช่วยผู้คนให้มีสายสัมพันธ์กับพระเจ้า และท่านคิดอย่างจริงจังถึงวิธีที่ท่านจะสนองความจำเป็นเฉพาะอย่างของผู้ฟัง. โดยวิธีนี้ ท่านสามารถหนุนใจและกระตุ้นพวกเขาให้มานมัสการพระยะโฮวา.
8. (ก) เราควรมีทัศนคติเช่นไรต่อผู้คนที่เราสอนในงานรับใช้? (ข) การนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอาจเสริมความยินดีในงานรับใช้อย่างไร?
8 เปาโลเอาจริงเอาจังขนาดไหนในงานรับใช้? ท่านยอม “เป็นทาส” ของพระยะโฮวาและของคนที่ฟังข่าวสารเกี่ยวกับความจริง. (โรม 12:11; 1 โค. 9:19) เมื่อเรารับหน้าที่รับผิดชอบในการสอนพระคำของพระเจ้าแก่ผู้คน—ไม่ว่าจะในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน, ในการประชุมคริสเตียน, หรือในการนมัสการประจำครอบครัว—เราสำนึกถึงหน้าที่รับผิดชอบที่มีต่อคนที่เราสอนไหม? เราอาจรู้สึกว่าการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำเป็นภาระที่หนักเกินไปสำหรับเรา. จริงอยู่ เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ ตามปกติแล้วเราจำเป็นต้องสละเวลาที่เราใช้กับเรื่องส่วนตัวและอุทิศเวลานั้นเพื่อช่วยคนอื่น. แต่นั่นเป็นน้ำใจที่สอดคล้องกับคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ” มิใช่หรือ? (กิจ. 20:35) เมื่อเราสอนคนอื่น ๆ ให้รู้วิธีที่จะรอดชีวิต เราจะมีความสุขอย่างที่ไม่มีกิจกรรมอื่นใดอาจเทียบได้เลย.
9, 10. (ก) การเป็นคนจริงจังหมายความว่าเราจะพักผ่อนหย่อนใจและสนุกสนานกับผู้คนไม่ได้ไหม? จงอธิบาย. (ข) อะไรจะช่วยผู้ปกครองวางตัวแบบที่ทำให้พี่น้องได้กำลังใจและกล้าเข้าหาเขา?
9 การเป็นคนเอาจริงเอาจังไม่ได้หมายความว่าเราจะพักผ่อนหย่อนใจและสนุกสนานกับคนอื่นไม่ได้. พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้อย่างสมบูรณ์แบบเกี่ยวกับการใช้เวลาไม่เฉพาะในการสอนเท่านั้น แต่ในการพักผ่อนหย่อนใจและพัฒนาสายสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ๆ ด้วย. (ลูกา 5:27-29; โย. 12:1, 2) การเป็นคนเอาจริงเอาจังไม่ได้หมายความด้วยว่าเราควรมีท่าทีที่เคร่งขรึมตลอดเวลา. ถ้าพระเยซูทรงมีบุคลิกลักษณะที่เคร่งขรึมหรือจริงจังเกินไป ประชาชนคงไม่อยากเข้ามาหาพระองค์แน่ ๆ. แม้แต่เด็ก ๆ ก็รู้สึกสบายใจเมื่ออยู่กับพระองค์. (มโก. 10:13-16) เราจะเลียนแบบการวางตัวที่สมดุลของพระเยซูได้อย่างไร?
10 พี่น้องชายคนหนึ่งกล่าวถึงผู้ปกครองคนหนึ่งว่า “เขาคาดหมายจากตัวเองมาก แต่ไม่เคยคาดหมายความสมบูรณ์จากผู้อื่น.” คนอื่นจะพูดถึงคุณอย่างเดียวกันนี้ได้ไหม? นับว่าเหมาะที่จะคาดหมายจากคนอื่นอย่างสมเหตุผล. ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ตอบสนองดีเมื่อพ่อแม่ตั้งเป้าหมายที่สมเหตุผลและช่วยลูกให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น. คล้ายกัน ผู้ปกครองอาจสนับสนุนพี่น้องในประชาคมให้เติบโตฝ่ายวิญญาณและให้ข้อเสนอแนะที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับวิธีที่จะทำอย่างนั้น. นอกจากนั้น เมื่อผู้ปกครองมีทัศนะที่สมดุลต่อตัวเอง เขาก็จะมีท่าทีที่อบอุ่นและทำให้ผู้อื่นสดชื่น. (โรม 12:3) พี่น้องหญิงคนหนึ่งกล่าวว่า “ดิฉันไม่อยากให้ผู้ปกครองมองอะไรเป็นเรื่องตลกไปเสียหมด. แต่ถ้าเขาจริงจังตลอดเวลา พี่น้องก็จะไม่กล้าเข้าหาเขา.” พี่น้องอีกคนหนึ่งกล่าวว่าเธอรู้สึกว่าผู้ปกครองบางคน “ดูน่ากลัวมากเพราะพวกเขามีนิสัยที่จริงจังเอามาก ๆ.” แน่นอน ผู้ปกครองไม่ต้องการทำให้ความยินดีที่ผู้เชื่อถือทุกคนควรมีต่อการนมัสการพระยะโฮวา “พระเจ้าผู้มีความสุข” ลดน้อยลง.—1 ติโม. 1:11
รับหน้าที่รับผิดชอบในประชาคม
11. ‘การพยายาม’ จะได้ทำหน้าที่ในประชาคมหมายถึงอะไร?
11 เมื่อเปาโลสนับสนุนพี่น้องชายในประชาคมให้พยายามเพื่อจะมีคุณสมบัติเหมาะจะรับหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้น ท่านไม่ได้มีเจตนาจะสนับสนุนใครให้สนองความทะเยอทะยานของตัวเอง. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ท่านเขียนว่า “ถ้าชายคนใดพยายามจะได้ทำหน้าที่ผู้ดูแล เขาก็ปรารถนาการงานที่ดี.” (1 ติโม. 3:1, 4) เพื่อจะ “พยายาม” ได้ทำหน้าที่ ผู้ชายคริสเตียนต้องพัฒนาความปรารถนาอันแรงกล้าในการลงมือทำอย่างเต็มที่เพื่อจะมีคุณสมบัติฝ่ายวิญญาณที่จำเป็นในการรับใช้พี่น้อง. ถ้าพี่น้องชายคนใดรับบัพติสมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปีและมีคุณสมบัติพอสมควรสำหรับการเป็นผู้ช่วยงานรับใช้ตามที่พระคัมภีร์กำหนดไว้ใน 1 ติโมเธียว 3:8-13 เขาอาจได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่นี้. ขอให้สังเกตว่าใน ข้อ 8 มีการกล่าวไว้อย่างเจาะจงดังนี้: “เช่นเดียวกัน ผู้ช่วยงานรับใช้ควรเป็นคนเอาจริงเอาจัง.”
12, 13. จงบอกวิธีที่พี่น้องชายอาจพยายามเพื่อจะได้หน้าที่รับผิดชอบ.
12 คุณเป็นพี่น้องชายที่รับบัพติสมาแล้วซึ่งอายุเกือบ ๆ ยี่สิบปีและเอาจริงเอาจังในงานรับใช้ไหม? มีหลายวิธีที่คุณสามารถพยายามเพื่อจะได้ทำหน้าที่. วิธีหนึ่งก็คือโดยปรับปรุงการมีส่วนร่วมในงานประกาศ. คุณชอบทำงานประกาศกับพี่น้องทุกวัยไหม? คุณกำลังพยายามหาคนที่คุณจะสามารถนำการศึกษาพระคัมภีร์ไหม? เมื่อคุณนำการศึกษาพระคัมภีร์ตามคำแนะนำที่ได้รับจากการประชุมคริสเตียน ความสามารถในการสอนของคุณก็จะดีขึ้น. นอกจากนั้น คุณจะเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจคนที่กำลังเรียนรู้แนวทางของพระยะโฮวา. เมื่อนักศึกษาของคุณเริ่มเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา คุณจะเรียนรู้ด้วยความอดทนและผ่อนหนักผ่อนเบาที่จะช่วยเขาให้ใช้หลักการในคัมภีร์ไบเบิล.
13 พี่น้องหนุ่มทั้งหลาย คุณสามารถทำตัวให้อยู่พร้อมจะช่วยผู้สูงอายุในประชาคมด้วยวิธีต่าง ๆ ที่คุณทำได้. คุณยังสนใจสภาพของหอประชุมราชอาณาจักรได้ด้วย โดยช่วยในการดูแลรักษาหอประชุมให้สะอาดเรียบร้อย. เมื่อคุณเสนอตัวเพื่อจะช่วยด้วยวิธีใดก็ตามที่คุณทำได้ ความเต็มใจของคุณให้หลักฐานว่าคุณเอาจริงเอาจังในงานรับใช้. เช่นเดียวกับติโมเธียว คุณสามารถเรียนรู้ที่จะดูแลความจำเป็นของประชาคมอย่างแท้จริง.—อ่านฟิลิปปอย 2:19-22
14. พี่น้องหนุ่มอาจถูก “ทดลองดูความเหมาะสม” เพื่อจะรับใช้ในประชาคมได้อย่างไร?
14 ผู้ปกครองทั้งหลาย ขอให้คุณตื่นตัวที่จะมอบงานให้พี่น้องหนุ่มทั้งหลายที่กำลังพยายาม “หนีจากความปรารถนาซึ่งมักเกิดขึ้นในวัยหนุ่มสาว” และแสวงหา “ความชอบธรรม ความเชื่อ ความรัก สันติสุข” รวมทั้งคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ดี. (2 ติโม. 2:22) ด้วยการมอบหมายงานให้พวกเขาทำในประชาคม คุณจะสามารถ “ทดลองดูความเหมาะสม” ในการทำหน้าที่รับผิดชอบของพวกเขา เพื่อ ‘ความก้าวหน้าของพวกเขาจะปรากฏแก่ทุกคน.’—1 ติโม. 3:10; 4:15
จงแสดงให้เห็นว่าคุณเอาจริงเอาจังในประชาคมและในครอบครัว
15. ตามที่ 1 ติโมเธียว 5:1, 2 กล่าวไว้ เราอาจแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเราเป็นคนเอาจริงเอาจังเมื่อเรามองผู้อื่น?
15 ความเอาจริงเอาจังยังรวมถึงการที่เราให้เกียรติพี่น้อง. ในคำแนะนำที่เปาโลให้แก่ติโมเธียว ท่านกล่าวถึง1 ติโมเธียว 5:1, 2) เรื่องนี้สำคัญเป็นพิเศษในการปฏิบัติต่อคนที่เป็นเพศตรงข้าม. ตัวอย่างของโยบในการให้เกียรติสตรีโดยเฉพาะต่อคู่สมรสของท่านนั้นน่าเลียนแบบ. ท่านพยายามอย่างจริงจังที่จะไม่จ้องมองหญิงสาวคนอื่น ๆ อย่างมีราคะตัณหา. (โยบ 31:1) ถ้าเรามีความนับถือต่อพี่น้อง เราย่อมจะไม่เกี้ยวพวกเขาเล่น ๆ หรือทำสิ่งที่ทำให้พี่น้องรู้สึกอึดอัดเมื่ออยู่ใกล้. การให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่งสำคัญเป็นพิเศษเมื่อคนสองคนกำลังมีสายสัมพันธ์อันหวานชื่นและมีแผนการที่จะแต่งงาน. คริสเตียนที่เอาจริงเอาจังจะไม่ทำเล่น ๆ กับความรู้สึกของคนที่เป็นเพศตรงข้ามอย่างเด็ดขาด.—สุภา. 12:22
ความจำเป็นที่ต้องมองคนอื่น ๆ ด้วยความนับถือ. (อ่าน16. จงบอกความแตกต่างระหว่างทัศนะของโลกกับทัศนะของคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องบทบาทของสามีและบิดา.
16 นอกจากนั้น เรายังจำเป็นต้องรักษาทัศนะที่จริงจังต่อบทบาทในครอบครัวที่พระเจ้าประทานแก่เรา. โลกของซาตานกำลังเย้ยหยันบทบาทของสามีและบิดา. อุตสาหกรรมบันเทิงชอบลดบทบาทของหัวหน้าครอบครัวให้กลายเป็นเพียงเรื่องที่น่าหัวเราะเยาะ และไม่น่านับถือ. อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์วางหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญอย่างยิ่งไว้กับสามี โดยมอบหมายให้สามีเป็น “ประมุขของผู้หญิง.”—เอเฟ. 5:23; 1 โค. 11:3
17. จงอธิบายว่าการทำส่วนของเราในการนมัสการประจำครอบครัวอาจแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเราเอาจริงเอาจังในเรื่องหน้าที่รับผิดชอบของเรา.
17 สามีอาจเลี้ยงดูครอบครัวด้านร่างกาย. แต่ถ้าเขาไม่ชี้นำครอบครัวทางฝ่ายวิญญาณ นั่นย่อมแสดงว่าเขาขาดดุลยพินิจและสติปัญญา. (บัญ. 6:6, 7) ด้วยเหตุนั้น 1 ติโมเธียว 3:4 กล่าวว่าถ้าคุณเป็นหัวหน้าครอบครัวและกำลังพยายามเพื่อจะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นในประชาคม คุณต้องเป็นคนที่ “ปกครองครอบครัวของตนอย่างดี โดยที่ลูก ๆ ยอมเชื่อฟังเขาด้วยความนับถืออย่างแท้จริง.” ในเรื่องนี้ จงถามตัวเองว่า ‘ผมจัดเวลาไว้เป็นประจำเพื่อนมัสการกับครอบครัวไหม?’ ภรรยาคริสเตียนบางคนแทบจะต้องอ้อนวอนสามีให้นำหน้าฝ่ายวิญญาณ. สามีแต่ละคนควรตรวจสอบอย่างจริงจังในเรื่องทัศนะที่เขาเองมีต่อหน้าที่รับผิดชอบนี้. แน่นอน ภรรยาคริสเตียนควรสนับสนุนการจัดเตรียมในเรื่องการนมัสการประจำครอบครัวและร่วมมือกับสามีเพื่อจะทำได้สำเร็จ.
18. เด็ก ๆ อาจเรียนรู้ที่จะเป็นคนเอาจริงเอาจังได้อย่างไร?
18 เด็ก ๆ ก็ได้รับการสนับสนุนให้เอาจริงเอาจังกับชีวิต. (ผู้ป. 12:1) ไม่มีผลเสียอะไรที่เด็ก ๆ จะเรียนรู้ในเรื่องการทำงานหนัก โดยช่วยทำงานบ้านที่เหมาะกับอายุ และความสามารถของพวกเขา. (ทุกข์. 3:27) เมื่อกษัตริย์ดาวิดยังเป็นเด็ก ท่านเรียนรู้ที่จะเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี. ท่านเรียนรู้ที่จะเป็นนักดนตรีและนักประพันธ์อีกด้วย ซึ่งเป็นความสามารถที่ทำให้ท่านได้รับใช้ผู้ปกครองชาติอิสราเอล. (1 ซามู. 16:11, 12, 18-21) ไม่ต้องสงสัย ตอนที่ยังเป็นเด็กหนุ่มดาวิดรู้จักเล่นสนุกสนาน แต่ท่านก็เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ด้วยซึ่งในภายหลังท่านใช้ในการสรรเสริญพระยะโฮวา. ความสามารถของท่านในฐานะ คนเลี้ยงแกะช่วยท่านในการนำชาติอิสราเอลอย่างอดทน. เยาวชนทั้งหลาย คุณกำลังเรียนรู้ทักษะที่เป็นประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้คุณรับใช้พระผู้สร้างของคุณและพร้อมสำหรับหน้าที่รับผิดชอบในอนาคต?
จงมีทัศนะที่สมดุล
19, 20. คุณตั้งใจจะรักษาทัศนะที่สมดุลเช่นไรต่อตัวเองและการนมัสการ?
19 เราทุกคนสามารถพยายามมีทัศนะที่สมดุลเกี่ยวกับตัวเราเอง โดยไม่จริงจังกับตัวเองเกินไป. เราคงไม่อยาก “เป็นคนชอบธรรมเกินไป.” (ผู้ป. 7:16, ฉบับ R73) การมีอารมณ์ขันบ้างอาจช่วยสลายความตึงเครียดได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน, ที่ทำงาน, หรือเมื่อติดต่อกับพี่น้องคริสเตียน. สมาชิกครอบครัวควรระวังที่จะไม่วิพากษ์วิจารณ์มากเกินไป เพื่อเขาจะไม่เซาะกร่อนความสงบสุขในครอบครัวซึ่งเป็นบรรยากาศที่ควรจะมีในบ้าน. ในประชาคม ทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะสนุกสนานและเพลิดเพลินด้วยกัน พูดคุยและสอนอย่างที่เสริมสร้างและให้กำลังใจกัน.—2 โค. 13:10; เอเฟ. 4:29
20 เรามีชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่ให้ความสำคัญแก่พระยะโฮวาและกฎหมายของพระองค์. ตรงกันข้าม ประชาชนของพระยะโฮวาสนใจอย่างยิ่งในเรื่องการเชื่อฟังพระเจ้าและภักดีต่อพระองค์. ช่างน่ายินดีจริง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่แห่งประชาชนที่นมัสการพระยะโฮวาด้วยความจริงจังอย่างเต็มที่! ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาทัศนะที่จริงจังเกี่ยวกับชีวิตและการนมัสการของเรา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดเราควรต้านทานทัศนะของโลกที่ไม่จริงจังกับชีวิต?
• เราจะยินดีแต่ก็เอาจริงเอาจังในงานรับใช้ของเราได้อย่างไร?
• ทัศนะของเราต่อการรับหน้าที่รับผิดชอบแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเราเป็นคนเอาจริงเอาจังหรือไม่?
• จงอธิบายว่าทำไมการให้เกียรติพี่น้องและคนในครอบครัวเป็นเรื่องจริงจัง.
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
สามีต้องเลี้ยงดูครอบครัวทั้งด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณ