คุณจะเป็นเหมือนฟีนะฮาศได้ไหมเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ?
คุณจะเป็นเหมือนฟีนะฮาศได้ไหมเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ?
การรับใช้ในฐานะผู้ปกครองประชาคมเป็นสิทธิพิเศษล้ำค่าอย่างหนึ่ง. แต่พระคำของพระเจ้ายอมรับว่าการเป็นผู้ปกครองไม่ใช่เรื่องง่าย. ในบางโอกาส พวกเขาต้องจัดการกรณีที่มีการทำผิดซึ่งพวกเขา “พิพากษาตัดสิน . . . สำหรับพระยะโฮวา.” (2 โคร. 19:6) หรือผู้ปกครองอาจได้รับงานมอบหมายอย่างหนึ่งซึ่งเขาคิดว่าตัวเองไม่พร้อมจะทำ เหมือนกับโมเซที่ถามด้วยความถ่อมใจเกี่ยวกับงานมอบหมายหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ใดเล่าที่จะไปทูลกษัตริย์ฟาโร?”—เอ็ก. 3:11
พระคัมภีร์ ซึ่งเขียนโดยได้รับการโน้มนำจากพลังปฏิบัติการเดียวกันกับพลังปฏิบัติการที่แต่งตั้งผู้ปกครอง ให้ตัวอย่างของผู้ดูแลที่รับมือการทดสอบได้เป็นอย่างดี. ฟีนะฮาศเป็นบุตรชายของอะลีอาซาและเป็นหลานของอาโรน และด้วยเหตุนี้จึงจะได้เป็นมหาปุโรหิตในวันข้างหน้า. มีสามเหตุการณ์ในชีวิตของเขาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองในปัจจุบันต้องรับมือข้อท้าทายต่าง ๆ ด้วยความกล้าหาญ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และความไว้วางใจพระยะโฮวา.
‘เขาก็ลุกขึ้น’
ฟีนะฮาศอยู่ในวัยหนุ่มตอนที่ชาวอิสราเอลตั้งค่ายอยู่ ณ ที่ราบโมอาบ. คัมภีร์ไบเบิลรายงานว่า “พวกยิศราเอลได้ประพฤติผิดล่วงประเวณีกับหญิงชาวเมืองโมอาบ. . . . แลพวกยิศราเอลไปกินด้วย, แลกราบไหว้แก่รูปเคารพของเขานั้น.” (อาฤ. 25:1, 2) พระยะโฮวาทรงบันดาลให้เกิดโรคร้ายที่ทำให้พวกผู้กระทำผิดเหล่านั้นล้มตาย. คุณนึกภาพออกไหมว่ารายงานเกี่ยวกับการกระทำผิดดังกล่าวและโรคร้ายที่เป็นผลมาจากการทำผิดนั้นคงต้องส่งผลอย่างไรต่อฟีนะฮาศ?
เรื่องราวที่บันทึกไว้กล่าวต่อไปว่า “คนหนึ่งในพวกยิศราเอลก็พาหญิงคนหนึ่งชาติมิตยานมาถึงพวกพ้องของตนมาตรงหน้าโมเซ, แลตรงหน้าบรรดาพวกยิศราเอลที่ประชุมกันร้องไห้อยู่ตรงประตูพลับพลาชุมนุม.” (อาฤ. 25:6) ปุโรหิตฟีนะฮาศจะทำอย่างไร? เขายังค่อนข้างหนุ่ม และชายชาวอิสราเอลที่ทำผิดเป็นหัวหน้าคนหนึ่งที่นำหน้าประชาชนในการนมัสการ.—อาฤ. 25:14
แต่ฟีนะฮาศเกรงกลัวพระยะโฮวา ไม่ใช่กลัวมนุษย์. เมื่อเขาเห็นสองคนนั้น เขาก็คว้าทวนแล้วตามชายคนนั้นเข้าไปในเต็นท์และแทงผู้ชายทะลุถึงผู้หญิง. พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่อความกล้าหาญและความเด็ดขาดของฟีนะฮาศ? พระยะโฮวาทรงทำให้โรคร้ายหยุดทันทีและประทานบำเหน็จแก่ฟีนะฮาศโดยทรงทำสัญญากับเขาว่าตำแหน่งปุโรหิตจะคงอยู่กับเชื้อสายของเขา “ต่อไปเป็นนิตย์.”—อาฤ. 25:7-13
แน่นอน คริสเตียนผู้ปกครองในปัจจุบันไม่ใช้ความรุนแรง. แต่เช่นเดียวกับฟีนะฮาศ ผู้ปกครองต้องพร้อมจะทำอย่างเด็ดขาดและกล้าหาญ. ตัวอย่างเช่น กิลเยอร์เม ซึ่งเพิ่งรับใช้เป็นผู้ปกครองมาได้ไม่กี่เดือน ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ในคณะกรรมการตัดสินความ. คนที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกับกรณีนี้คือผู้ปกครองคนหนึ่งซึ่งเคยช่วยกิลเยอร์เมตอนที่เขายังเป็นเยาวชน. เขากล่าวว่า “ผมรู้สึกลำบากใจมากที่ต้องมาทำหน้าที่นี้จนนอนไม่ค่อยหลับ. ผมพยายามคิดหาวิธีที่จะทำหน้าที่โดยไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วน1 ติโม. 4:11, 12
ตัวเข้ามาแทรกและขัดขวางการตัดสินตามมาตรฐานของพระยะโฮวา. ผมอธิษฐานอยู่หลายวันและค้นคว้าจากหนังสือต่าง ๆ ขององค์การที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก.” การทำอย่างนี้ช่วยเขาให้มีความกล้าที่จำเป็นในการทำหน้าที่ในกรณีที่ไม่ธรรมดาเช่นนี้ และทำให้เขาช่วยพี่น้องที่ทำผิดให้ฟื้นตัวฝ่ายวิญญาณได้.—ด้วยการทำหน้าที่อย่างกล้าหาญและเด็ดขาดเมื่อประชาคมอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นเช่นนั้น ผู้ปกครองก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความเชื่อและความภักดี. แน่นอน คริสเตียนคนอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องกล้าหาญด้วย โดยรายงานการกระทำผิดร้ายแรงที่พวกเขาทราบ. คล้ายกัน ต้องมีความภักดีด้วยเพื่อจะตัดสายสัมพันธ์และไม่คบหากับเพื่อนหรือญาติที่ถูกตัดสัมพันธ์อีกต่อไป.—1 โค. 5:11-13
ความเข้าใจที่ลึกซึ้งช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์
ความกล้าหาญของฟีนะฮาศไม่ได้เป็นเพียงความมุทะลุดุดันแบบที่คนหนุ่มมักแสดงออก. ขอให้พิจารณาว่าเขาแสดงให้เห็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งด้วยการกระทำอย่างสุขุมรอบคอบอย่างไร เมื่อเขาได้ยินรายงานอีกเรื่องหนึ่ง. ตระกูลรูเบน และฆาดกับอีกครึ่งตระกูลมะนาเซสร้างแท่นบูชาขึ้นใกล้ ๆ แม่น้ำจอร์แดน. ชาวอิสราเอลคนอื่น ๆ ลงความเห็นว่าแท่นนั้นสร้างขึ้นเพื่อนมัสการพระเท็จ และเตรียมพร้อมจะยกทัพไปทำสงคราม.—ยโฮ. 22:11, 12
ฟีนะฮาศแสดงปฏิกิริยาอย่างไร? ด้วยความสุขุม ฟีนะฮาศและหัวหน้าตระกูลชาวอิสราเอลได้ไปพูดกับคนเหล่านั้นที่สร้างแท่นบูชา. ตระกูลที่ถูกกล่าวหาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้โดยอธิบายว่าจริง ๆ แล้วแท่นนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อการ “ปฏิบัติพระยะโฮวา.” เหตุการณ์ที่คับขันจึงคลี่คลายไป.—ยโฮ. 22:13-34
หากคริสเตียนได้ยินข้อกล่าวหาหรือรายงานในแง่ลบเกี่ยวกับเพื่อนผู้รับใช้พระยะโฮวา นับว่าฉลาดสุขุมสักเพียงไรที่จะเลียนแบบฟีนะฮาศ! ความเข้าใจที่ลึกซึ้งช่วยให้เราไม่ขุ่นเคืองและไม่กล่าวถึงพี่น้องของเราอย่างไร้ความปรานี.—สุภา. 19:11
ความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะช่วยผู้ปกครองให้ทำแบบเดียวกับฟีนะฮาศได้อย่างไร? ไฮเม ซึ่งเป็นผู้ปกครองมาสิบกว่าปีกล่าวว่า “เมื่อผู้ประกาศพูดถึงปัญหาที่เขามีกับพี่น้องอีกคนหนึ่ง ผมจะรีบขอพระยะโฮวาช่วยผมไม่ให้เข้าข้างคนใดคนหนึ่ง แต่จะให้การชี้นำตามหลักพระคัมภีร์แก่เขา. ครั้งหนึ่งมีพี่น้องหญิงคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาปัญหาส่วนตัวกับผมเกี่ยวกับวิธีที่พี่น้องชายคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในอีกประชาคมหนึ่งปฏิบัติต่อเธอ. เนื่องจากพี่น้องชายคนนั้นเป็นเพื่อนสนิทของผมเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่ผมจะพูดเรื่องนี้กับเขา. แต่แทนที่จะทำอย่างนั้น ผมพิจารณาหลักการหลายข้อในคัมภีร์ไบเบิลกับพี่น้องหญิงคนนี้. เธอตกลงว่าจะไปคุยกับพี่น้องชายคนนั้นด้วยตัวเธอเองก่อน. (มัด. 5:23, 24) แต่สันติสุขก็ยังไม่กลับคืนมา. ผมจึงแนะนำให้เธอพิจารณาหลักการข้ออื่น ๆ ในคัมภีร์ไบเบิล. เธอตัดสินใจที่จะอธิษฐานอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้และพยายามให้อภัย.”
ผลเป็นอย่างไร? ไฮเมเล่าว่า “หลายเดือนต่อมา พี่น้องหญิงคนนี้เข้ามาหาผม. เธอบอกว่า ในที่สุดพี่น้องชายคนสุภา. 25:8) ผู้ปกครองที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจะสนับสนุนคริสเตียนที่มีปัญหากันเป็นส่วนตัวให้ใช้หลักการในพระคัมภีร์เพื่อส่งเสริมให้มีสันติสุข.
นั้นก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เขาพูด. เขานัดทำงานรับใช้ด้วยกันกับเธอและกล่าวชมเชยเธอ. เรื่องจบลงด้วยดี. ผลจะออกมาดีอย่างนี้ได้ไหมถ้าผม ซึ่งดูเหมือนว่าจะลำเอียง เข้าไปยุ่งกับข้อขัดแย้งนี้อย่างไม่เหมาะสม?” คัมภีร์ไบเบิลแนะนำว่า “อย่าด่วนออกไปถกเถียงกับใคร ๆ.” (เขาทูลถามพระยะโฮวา
ฟีนะฮาศมีสิทธิพิเศษได้รับใช้ในฐานะปุโรหิตของประชาชนที่พระเจ้าทรงเลือก. ดังที่กล่าวไปแล้ว เขามีความกล้าหาญอย่างมากและมีความเข้าใจลึกซึ้งแม้แต่ตอนที่อายุยังค่อนข้างน้อย. อย่างไรก็ตาม การที่เขาประสบผลสำเร็จในการรับมือปัญหาเป็นเพราะเขาไว้วางใจพระยะโฮวา.
หลังจากเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่ผู้ชายชาวเมืองฆิบอาแห่งตระกูลเบ็นยามินข่มขืนเมียน้อยของชาวเลวีจนตาย ตระกูลอื่น ๆ ก็รวมตัวกันจะทำสงครามกับตระกูลเบ็นยามิน. (วินิจ. 20:1-11) พวกเขาอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาก่อนออกไปรบ แต่พวกเขาพ่ายแพ้สองครั้งสองคราและสูญเสียรี้พลไปมากมาย. (วินิจ. 20:14-25) พวกเขาจะลงความเห็นไหมว่าคำอธิษฐานของพวกเขาไม่เกิดผล? พระยะโฮวาสนพระทัยจริง ๆ ไหมที่เห็นพวกเขาตอบโต้การกระทำผิดเช่นนั้น?
ด้วยความเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ฟีนะฮาศซึ่งตอนนี้เป็นมหาปุโรหิตของชาติอิสราเอลมีบทบาทเด่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง. เขาอธิษฐานว่า “พระองค์จะให้ข้าพเจ้าไปทำศึกต่อเผ่าพันธุ์เบ็นยามินพี่น้องข้าพเจ้าอีกหรือ ๆ จะให้เลิกเสีย?” พระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานโดยให้พวกเบ็นยามินตกอยู่ในมือพวกเขา และเมืองฆิบอาก็ถูกเผาจนราบเป็นหน้ากลอง.—วินิจ. 20:27-48
เราอาจเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้? ปัญหาบางอย่างในประชาคมอาจไม่หมดไปง่าย ๆ แม้ว่าผู้ปกครองพยายามอย่างแข็งขันและอธิษฐานขอการช่วยเหลือจากพระเจ้า. ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้ปกครองควรจำคำตรัสของพระเยซูไว้ที่ว่า “จงขอ [หรืออธิษฐาน] ต่อ ๆ ไปแล้วจะได้รับ จงหาต่อ ๆ ไปแล้วจะพบ จงเคาะต่อ ๆ ไปแล้วจะเปิดให้.” (ลูกา 11:9) แม้ว่าคำตอบสำหรับคำอธิษฐานอาจดูเหมือนล่าช้า ผู้ดูแลมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะทรงตอบในเวลาที่พระองค์ทรงเห็นว่าเหมาะสม.
ตัวอย่างเช่น ประชาคมหนึ่งที่ประเทศไอร์แลนด์มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีหอประชุมราชอาณาจักร แต่เจ้าหน้าที่ผังเมืองในท้องถิ่นไม่อนุมัติ. เขาคัดค้านคำขอทั้งหมดที่พี่น้องได้ยื่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างหอประชุม. ดูเหมือนว่า มีเพียงเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถอนุมัติตามคำขอได้ คือหัวหน้าแผนกผังเมืองของทั้งมณฑล. การอธิษฐานจะช่วยได้เช่นเดียวกับในสมัยของฟีนะฮาศไหม?
ผู้ปกครองคนหนึ่งในท้องถิ่นเล่าว่า หลังจากที่เราอธิษฐานและวิงวอนกันอย่างมาก เราก็เดินทางไปสำนักงานใหญ่แผนกผังเมือง. มีคนบอกผมว่าอาจต้องรอหลายสัปดาห์กว่าเราจะพบหัวหน้าได้. อย่างไรก็ตาม เราหาวิธีพบเขาจนได้และได้คุยกับเขาห้านาที. หลังจากที่เขาเห็นแบบพิมพ์เขียวที่ปรับแล้ว เขาก็อนุมัติอย่างรวดเร็วให้เราดำเนินการต่อได้ และหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ผังเมืองในท้องถิ่นก็ช่วยเราเป็นกรณีพิเศษ. ประสบการณ์นี้ทำให้เรารู้สึกประทับใจในพลังของคำอธิษฐาน. ใช่แล้ว พระยะโฮวาจะทรงตอบคำอธิษฐานที่จริงใจของผู้ปกครองที่ไว้วางใจพระองค์.
ฟีนะฮาศมีภาระหนักที่ต้องรับผิดชอบในชาติอิสราเอลโบราณ แต่ด้วยความกล้าหาญ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และความไว้วางใจในพระเจ้า ท่านสามารถรับมือข้อท้าทายต่าง ๆ ได้. และการที่ฟีนะฮาศดูแลประชาคมของพระเจ้าอย่างขยันขันแข็งทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย. ประมาณ 1,000 ปีต่อมา เอษราได้รับการดลใจให้เขียนว่า “ฝ่ายฟีนะฮาศบุตรเอละอาซารครั้งก่อนเป็นนายบังคับบัญชาเขา, และพระยะโฮวาทรงดำรงอยู่กับท่าน.” (1 โคร. 9:20) ขอให้เป็นอย่างนั้นด้วยกับทุกคนที่นำหน้าประชาชนของพระเจ้าในทุกวันนี้. อันที่จริง ขอให้เป็นอย่างนั้นกับคริสเตียนทุกคนที่รับใช้พระเจ้าอย่างภักดี.