จงดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณเพื่อจะมีชีวิตและสันติสุข
จงดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณเพื่อจะมีชีวิตและสันติสุข
“[จง] ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ ไม่ใช่ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกาย.”—โรม 8:4
1, 2. (ก) การที่คนขับรถถูกรบกวนสมาธิอาจก่อผลเสียหายร้ายแรงเช่นไร? (ข) การถูกชักนำให้เขวไปจากการนมัสการพระเจ้าอาจก่อให้เกิดอันตรายอะไร?
“คนขับรถถูกรบกวนสมาธิเป็นปัญหาที่กำลังขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ และดูเหมือนจะเลวร้ายยิ่งขึ้นทุกปี.” ข้อความดังกล่าวเป็นการประเมินของเลขาธิการกระทรวงการขนส่งของสหรัฐ. โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่อาจทำให้คนขับรถเขวไปจากสิ่งที่เขาควรใส่ใจในขณะนั้น นั่นคือการขับรถ. ในการสำรวจครั้งหนึ่ง มีมากกว่าหนึ่งในสามของคนที่ถูกสัมภาษณ์กล่าวว่าพวกเขาถูกชนหรือเกือบถูกชนเพราะคนขับที่กำลังใช้โทรศัพท์มือถือ. การทำสิ่งอื่นไปด้วยขณะขับรถอาจดูเหมือนว่าสะดวกและประหยัดเวลา แต่ผลที่ตามมาอาจเป็นความหายนะ.
2 เป็นเช่นนั้นด้วยกับสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของเรา. เช่นเดียวกับคนขับรถที่ถูกรบกวนสมาธิมักไม่สังเกตเห็นสัญญาณอันตราย คนที่ถูกชักนำให้เขวไปจากการนมัสการ1 ติโม. 1:18, 19) อัครสาวกเปาโลเตือนให้ระวังอันตรายนี้เมื่อท่านเขียนถึงคริสเตียนในกรุงโรมว่า “การใฝ่ใจกับการสนองความปรารถนาทางกายหมายถึงความตาย แต่การใฝ่ใจกับพระวิญญาณหมายถึงชีวิตและสันติสุข.” (โรม 8:6) เปาโลหมายถึงอะไร? เราจะ “ใฝ่ใจกับพระวิญญาณ” และหลีกเลี่ยง “การใฝ่ใจกับการสนองความปรารถนาทางกาย” ได้อย่างไร?
พระเจ้าก็อาจก้าวเข้าสู่แนวทางที่เป็นอันตรายได้โดยง่าย. ถ้าเราปล่อยให้ตัวเราเองลอยห่างจากแนวทางของคริสเตียนและกิจกรรมตามระบอบของพระเจ้า นั่นอาจส่งผลทำให้ความเชื่อของเราพังทลายเหมือนเรืออับปาง. (“ไม่มีการตัดสินลงโทษ” พวกเขา
3, 4. (ก) เปาโลเขียนถึงการต่อสู้อะไรที่ท่านเองต้องรับมือ? (ข) เหตุใดเราควรสนใจการต่อสู้ของเปาโล?
3 ในจดหมายถึงคริสเตียนในกรุงโรม เปาโลเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้ของตัวท่านเอง คือความขัดแย้งระหว่างกายกับใจ. (อ่านโรม 7:21-23) เปาโลไม่หมกมุ่นอยู่กับการพิสูจน์ว่าตัวเองชอบธรรม หรือสงสารตัวเองราวกับว่าท่านบาปหนาจนไม่อาจช่วยตัวท่านเองได้. ที่จริง ท่านเป็นคริสเตียนที่ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณและเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายวิญญาณ ซึ่งได้รับเลือกให้เป็น “อัครสาวกที่ถูกส่งมายังชนต่างชาติ.” (โรม 1:1; 11:13) ถ้าอย่างนั้น ทำไมเปาโลเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้ของตัวท่านเอง?
4 เปาโลยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าโดยลำพังตัวท่านเองนั้นท่านไม่สามารถทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างที่อยากจะทำ. เหตุผลคืออะไร? ท่านกล่าวว่า “ทุกคนได้ทำบาปและไม่ได้แสดงคุณลักษณะอันยอดเยี่ยมของพระเจ้าอย่างที่ควรจะแสดง.” (โรม 3:23) เนื่องจากเปาโลเป็นลูกหลานของอาดาม ท่านจึงต้องรับผลของบาปที่มีต่อกายที่ไม่สมบูรณ์. เราเข้าใจคำพูดของท่านได้ เพราะเราทุกคนล้วนไม่สมบูรณ์และต้องพยายามอย่างหนักในการต่อสู้คล้าย ๆ กันนั้นทุกวัน. นอกจากนั้น มีการล่อใจมากมายที่อาจหันเหความสนใจของเราและพาเราออกไปจาก “ทางแคบ . . . ที่นำไปสู่ชีวิต.” (มัด. 7:14) อย่างไรก็ตาม เปาโลยังไม่หมดหวัง และเราก็เช่นกัน.
5. เปาโลได้รับความช่วยเหลือและการบรรเทาจากที่ไหน?
5 เปาโลเขียนว่า “ใครจะช่วยข้าพเจ้า . . . ? ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา!” (โรม 7:24, 25) จากนั้น ท่านก็กล่าวกับคนที่ “เป็นสาวกพระคริสต์เยซู” ซึ่งเป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิม. (อ่านโรม 8:1, 2) โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระยะโฮวาทรงรับพวกเขาเป็นบุตร เรียกพวกเขาให้มา “รับมรดกร่วมกับพระคริสต์.” (โรม 8:14-17) พระวิญญาณของพระเจ้าและความเชื่อของพวกเขาในเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์ช่วยให้พวกเขาได้รับชัยชนะในการต่อสู้ที่เปาโลพรรณนาถึง และด้วยเหตุนั้น จึง “ไม่มีการตัดสินลงโทษ” พวกเขา. พวกเขาเป็นอิสระ “พ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย.”
6. เหตุใดผู้รับใช้ทุกคนของพระเจ้าควรสนใจสิ่งที่เปาโลเขียน?
6 เปาโลกล่าวกับคริสเตียนผู้ถูกเจิม แต่สิ่งที่ท่านกล่าวเกี่ยวกับพระวิญญาณของพระเจ้าและเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์เป็นประโยชน์ต่อผู้รับใช้ทุกคนของพระยะโฮวาไม่ว่าพวกเขาจะมีความหวังเช่นไร. แม้ว่าเปาโลได้รับการดลใจจากพระเจ้าให้เขียนคำแนะนำดังกล่าวถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิม แต่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้รับใช้ทุกคนของพระเจ้าจะเข้าใจสิ่งที่ท่านเขียนและพยายามได้รับประโยชน์จากคำแนะนำของท่าน.
วิธีที่พระเจ้า “ตัดสินลงโทษบาปของมนุษย์”
7, 8. (ก) พระบัญญัติ “อ่อนกำลังเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์” ในความหมายเช่นไร? (ข) พระเจ้าทรงทำอะไรให้สำเร็จโดยทางพระวิญญาณและค่าไถ่?
7 ในโรมบท 7 เปาโลยอมรับว่าบาปมีอำนาจครอบงำมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์. ในบท 8 ท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องพลังของพระวิญญาณบริสุทธิ์. ท่านอัครสาวกอธิบายวิธีที่พระวิญญาณของพระเจ้าสามารถช่วยคริสเตียนให้ต่อสู้อำนาจของบาปเพื่อจะสามารถดำเนินชีวิตประสานกับพระประสงค์ของพระยะโฮวาและได้รับความพอพระทัยจากพระองค์. เปาโลชี้ว่าโดยทางพระวิญญาณของพระเจ้าและเครื่องบูชาไถ่ของพระบุตร พระเจ้าได้ทำบางสิ่งให้สำเร็จซึ่งพระบัญญัติของโมเซทำไม่ได้.
โรม 8:3, 4) จริงทีเดียว พวกเขาต้องทำเช่นนั้นอย่างซื่อสัตย์จนกระทั่งสิ้นชีวิตบนแผ่นดินโลกเพื่อจะได้รับ “มงกุฎแห่งชีวิต.”—วิ. 2:10
8 พระบัญญัติ ซึ่งมีพระบัญชามากมายหลายข้อ ตัดสินลงโทษคนบาป. นอกจากนั้น มหาปุโรหิตของชาติอิสราเอลที่อยู่ใต้พระบัญญัติเป็นคนไม่สมบูรณ์และไม่สามารถถวายเครื่องบูชาชำระบาปที่มีค่ามากพอ. ดังนั้น พระบัญญัติ “อ่อนกำลังเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์.” แต่ “โดยส่งพระบุตรของพระองค์มาในสภาพอย่างมนุษย์ที่ผิดบาป” เพื่อเป็นค่าไถ่ พระเจ้าทรง “ตัดสินลงโทษบาปของมนุษย์” ซึ่งโดยวิธีนี้จึงแก้ไขจุดอ่อนของการที่ “พระบัญญัติขาดพลัง.” ผลก็คือ คริสเตียนผู้ถูกเจิมถูกนับว่าชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อของพวกเขาในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู. พวกเขาถูกกระตุ้นให้ “ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ ไม่ใช่ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกาย.” (อ่าน9. คำว่า “กฎ” ในโรม 8:2 หมายถึงอะไร?
9 นอกจาก “พระบัญญัติ” แล้ว เปาโลยังกล่าวถึง “กฎแห่งพระวิญญาณ” และ “กฎแห่งบาปและความตาย” ด้วย. (โรม 8:2) กฎเหล่านี้คืออะไร? คำว่า “กฎ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกฎข้อใดข้อหนึ่ง เช่น กฎที่อยู่ในพระบัญญัติของโมเซ. หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งกล่าวว่า “คำภาษากรีกสำหรับคำว่ากฎในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ชี้นำการประพฤติของคนเรา ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ซึ่งควบคุมพวกเขาเหมือนกับเป็นกฎ. คำนี้ยังอาจหมายถึงมาตรฐานที่ชี้นำชีวิตคนเราด้วย.”
10. เราอยู่ใต้กฎแห่งบาปและความตายอย่างไร?
10 อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “บาปเข้ามาในโลกเพราะคนคนเดียวและความตายเกิดขึ้นเพราะบาปนั้น และความตายจึงลามไปถึงทุกคนเพราะทุกคนเป็นคนบาปอยู่แล้ว.” (โรม 5:12) เนื่องจากเราทุกคนเป็นลูกหลานของอาดาม เราจึงอยู่ใต้กฎแห่งบาปและความตาย. กายที่ผิดบาปของเรากระตุ้นเราอยู่เรื่อย ๆ ให้ทำสิ่งที่พระเจ้าไม่พอพระทัย ซึ่งมีแต่จะนำเราไปสู่ความตาย. ในจดหมายที่เขียนถึงคริสเตียนในเมืองกาลาเทีย เปาโลเรียกการกระทำและนิสัยเช่นนั้นว่าเป็น “การกระทำที่เกิดจากความปรารถนาของกายที่มีบาป.” แล้วท่านก็กล่าวอีกว่า “ผู้ที่ทำการเหล่านี้เป็นอาจิณจะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้า.” (กลา. 5:19-21) คนแบบนี้เป็นเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกาย. (โรม 8:4) สิ่งที่ชี้นำการประพฤติของพวกเขา และมาตรฐานที่ชี้นำชีวิตของพวกเขาเป็นไปตามความปรารถนาทางกายอย่างสิ้นเชิง. แต่คนที่ทำผิดประเวณี บูชารูปเคารพ เกี่ยวข้องกับลัทธิผีปิศาจ หรือทำผิดร้ายแรงอย่างอื่นเป็นคนกลุ่มเดียวเท่านั้นไหมที่ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกาย? ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะการกระทำที่เกิดจากความปรารถนาของกายที่มี บาปยังรวมถึงสิ่งที่บางคนอาจถือว่าเป็นเพียงข้อบกพร่องในบุคลิกภาพ เช่น การริษยากัน การบันดาลโทสะ การชิงดีชิงเด่นกัน และการอิจฉากัน. มีใครบ้างที่กล่าวได้ว่าเขาหลุดพ้นจากการดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกายอย่างสิ้นเชิง?
11, 12. พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมอะไรเพื่อช่วยเราให้หลุดพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย และเราต้องทำอะไรเพื่อทำให้พระเจ้าพอพระทัย?
11 เรามีความสุขสักเพียงไรที่พระยะโฮวาทรงทำให้เป็นไปได้ที่เราจะเอาชนะกฎแห่งบาปและความตาย! พระเยซูตรัสว่า “พระเจ้าทรงรักโลกมากจนถึงกับประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่แสดงความเชื่อในพระบุตรจะไม่ถูกทำลาย แต่จะมีชีวิตนิรันดร์.” ด้วยการยอมรับความรักของพระเจ้าและแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์ เราสามารถหลุดพ้นจากการตัดสินลงโทษซึ่งเป็นผลมาจากบาปที่เราได้รับตกทอดมา. (โย. 3:16-18) ด้วยเหตุนั้น เราคงจะกล่าวด้วยความยินดีเหมือนกับเปาโลว่า “ขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา!”
12 สภาพของเราคล้ายกับคนป่วยหนักที่กำลังได้รับการเยียวยา. ถ้าเราอยากหายขาด เราต้องทำตามที่แพทย์สั่ง. แม้ว่าการแสดงความเชื่อในค่าไถ่สามารถทำให้เราเป็นอิสระพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย แต่เราก็ยังคงไม่สมบูรณ์และผิดบาป. เพื่อเราจะมีสุขภาพฝ่ายวิญญาณที่ดีและได้รับความโปรดปรานและพระพรจากพระเจ้า เราต้องทำมากกว่านั้น. เปาโลยังกล่าวถึงการดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณด้วย.
ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ—โดยวิธีใด?
13. การดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณหมายความอย่างไร?
13 เมื่อเราเดิน เราก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง. ดังนั้น เพื่อเราจะดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณเราต้องก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณอย่างสม่ำเสมอ. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรผิดพลาดไม่ได้. (1 ติโม. 4:15) ในแต่ละวัน เราต้องพยายามดำเนินชีวิตตามการทรงนำของพระวิญญาณให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้. “การดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ” ทำให้พระเจ้าพอพระทัย.—กลา. 5:16
14. คนที่ “ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกาย” มีแนวโน้มเช่นไร?
14 ในจดหมายที่เขียนถึงคริสเตียนในกรุงโรม เปาโลกล่าวถึงคนสองชนิดที่มีทัศนคติแตกต่างกัน. (อ่านโรม 8:5) กายที่กล่าวถึงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกายจริง ๆ. ในคัมภีร์ไบเบิล บางครั้งคำว่า “กาย” ใช้หมายถึงความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์เรา. ความไม่สมบูรณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกายกับใจดังที่เปาโลกล่าวถึงก่อนหน้านี้. อย่าง ไรก็ตาม คนที่ “ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกาย” มีทัศนคติต่างกับเปาโล. พวกเขาไม่พยายามต่อสู้กับแนวโน้มที่ผิดบาปเสียด้วยซ้ำ. แทนที่จะพิจารณาว่าพระเจ้าทรงประสงค์ให้พวกเขาทำอะไรและยอมรับความช่วยเหลือจากพระองค์ พวกเขามีแนวโน้มที่จะ “สนใจแต่สิ่งที่สนองความปรารถนาทางกาย.” พวกเขามักสนใจแต่เรื่องความสะดวกสบายด้านร่างกายและมุ่งสนองความปรารถนาทางวัตถุ. ตรงกันข้าม คนที่ “ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ” มีแนวโน้มที่จะสนใจแต่ “สิ่งที่เป็นของพระวิญญาณ” ซึ่งก็คือสิ่งต่าง ๆ ที่พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมให้และกิจกรรมของคริสเตียน.
15, 16. (ก) การสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลต่อทัศนคติของคนเราอย่างไร? (ข) เราอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้สนใจคืออะไร?
15 อ่านโรม 8:6. ถ้าคนเราคิดจะทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี เขาต้องสนใจในเรื่องนั้น. คนที่สนใจแต่สิ่งที่สนองความปรารถนาทางกายอยู่เสมอไม่นานก็จะมีทัศนคติหรือแนวโน้มที่เน้นแต่สิ่งที่สนองความปรารถนาทางกาย. ความรู้สึกนึกคิด ความสนใจ และความชื่นชอบของพวกเขาก็มักจะอยู่กับสิ่งเหล่านี้.
16 คนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้หมกมุ่นอยู่กับอะไร? อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “ทุกสิ่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นความปรารถนาทางกาย ความปรารถนาทางตา หรือการโอ้อวดทรัพย์สมบัติ ไม่ได้มาจากพระบิดา แต่มาจากโลก.” (1 โย. 2:16) ความปรารถนาเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความสำส่อนทางเพศ ความมีชื่อเสียง และทรัพย์สินเงินทอง. หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยเรื่องที่มีเนื้อหาแบบนี้ ซึ่งเหตุผลหลักก็คือผู้คนส่วนใหญ่สนใจและต้องการสิ่งเหล่านี้จริง ๆ. อย่างไรก็ตาม “การใฝ่ใจกับการสนองความปรารถนาทางกายหมายถึงความตาย” กล่าวคือความตายฝ่ายวิญญาณในขณะนี้และความตายจริง ๆ ในภายหลัง. เพราะเหตุใด? “เพราะการใฝ่ใจกับการสนองความปรารถนาทางกายหมายถึงการเป็นศัตรูกับพระเจ้า ด้วยว่าความปรารถนาทางกายไม่เป็นไปตามพระบัญญัติของพระเจ้า และที่จริงแล้วก็ไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้. ดังนั้น ผู้ที่ดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกายจึงไม่อาจทำให้พระเจ้าพอพระทัยได้.”—โรม 8:7, 8
17, 18. เราจะใฝ่ใจกับพระวิญญาณได้อย่างไร และจะเกิดผลเช่นไรเมื่อเราทำอย่างนั้น?
17 ในทางตรงกันข้าม “การใฝ่ใจกับพระวิญญาณหมายถึงชีวิตและสันติสุข” นั่นคือชีวิตตลอดไปในอนาคตรวมทั้งความสงบใจและสันติสุขกับพระเจ้าในเวลานี้. เราจะ “ใฝ่ใจกับพระวิญญาณ” ได้อย่างไร? โดยสนใจสิ่งที่เป็นของพระวิญญาณอยู่เสมอและพัฒนาแนวโน้มและทัศนคติฝ่ายวิญญาณในตัวเรา. เมื่อเราทำอย่างนี้ ทัศนคติของเราก็จะ “เป็นไปตามพระบัญญัติของพระเจ้า” และสอดคล้องกับความคิดของพระองค์. เมื่อถูกล่อใจ เราจะไม่ลังเลว่าควรทำอย่างไร. เราจะถูกกระตุ้นให้เลือกอย่างถูกต้อง อย่างที่สอดคล้องกับพระวิญญาณ.
18 ด้วยเหตุนั้น นับว่าสำคัญมากที่จะสนใจสิ่งที่เป็นของพระวิญญาณ. เราทำอย่างนี้โดย “ทำจิตใจให้เข้มแข็งและพร้อมจะทำงาน” เสริมสร้างชีวิตเราด้วยการทำกิจวัตรฝ่ายวิญญาณเป็นประจำ เช่น การอธิษฐาน การอ่านและศึกษาคัมภีร์ไบเบิล การเข้าร่วมการประชุม และการประกาศ. (1 เป. 1:13) แทนที่จะปล่อยให้สิ่งที่สนองความปรารถนาทางกายทำให้เราเขว ขอให้เราสนใจแต่สิ่งที่เป็นของพระวิญญาณ. โดยทำอย่างนั้น เราจะดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณต่อ ๆ ไป. การทำอย่างนี้จะทำให้เราได้รับพระพร เพราะการใฝ่ใจกับพระวิญญาณหมายถึงชีวิตและสันติสุข.—กลา. 6:7, 8
คุณอธิบายได้ไหม?
• “พระบัญญัติขาดพลัง” อย่างไร และพระเจ้าทรงแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร?
• “กฎแห่งบาปและความตาย” คืออะไร และเราจะหลุดพ้นจากกฎนี้ได้อย่างไร?
• เราต้องทำอะไรเพื่อจะ “ใฝ่ใจกับพระวิญญาณ” มากขึ้น?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12, 13]
คุณดำเนินชีวิตตามความปรารถนาทางกายหรือตามพระวิญญาณ?