พระยะโฮวาทรงอารักขาเราไว้ให้ได้รับความรอด
พระยะโฮวาทรงอารักขาเราไว้ให้ได้รับความรอด
“เนื่องด้วยความเชื่อ [พวกท่าน] ได้รับการอารักขาไว้โดยฤทธิ์ของพระเจ้าเพื่อให้ได้รับความรอดซึ่งจะปรากฏในช่วงเวลาสุดท้าย.”—1 เป. 1:5
คุณจะตอบอย่างไร?
พระยะโฮวาทรงชักนำเรามายังการนมัสการแท้อย่างไร?
เราจะให้พระยะโฮวานำเราด้วยคำแนะนำของพระองค์ได้อย่างไร?
พระยะโฮวาทรงชูใจเราอย่างไร?
1, 2. (ก) เราได้รับคำรับรองเช่นไรว่าพระเจ้าจะช่วยเราให้รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดี? (ข) พระยะโฮวาทรงรู้จักเราแต่ละคนดีขนาดไหน?
“ผู้ที่เพียรอดทนจนถึงที่สุดจะได้รับการช่วยให้รอด.” (มัด. 24:13) โดยตรัสอย่างนั้น พระเยซูทรงแสดงให้เห็นชัดว่าเพื่อเราจะได้รับการคุ้มครองให้รอดชีวิตเมื่อพระเจ้าทรงสำเร็จโทษโลกของซาตาน เราต้องรักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดีจนถึงที่สุด. แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าพระยะโฮวาทรงคาดหมายให้เราอดทนโดยอาศัยสติปัญญาหรือความเข้มแข็งของเราเอง. คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่า “พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ พระองค์จะไม่ทรงให้พวกท่านถูกล่อใจเกินกว่าจะทนได้ แต่เมื่อพวกท่านถูกล่อใจ พระองค์จะทรงให้มีทางออกด้วยเพื่อพวกท่านจะทนได้.” (1 โค. 10:13) คำตรัสนี้บอกเป็นนัย ๆ ถึงอะไร?
2 เพื่อพระยะโฮวาจะแน่ใจว่าเราจะไม่ถูกล่อใจเกินที่จะทนได้ พระองค์ต้องรู้ทุกสิ่งเกี่ยวกับตัวเรา รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เราเผชิญอยู่ องค์ประกอบของเราแต่ละคน และเราจะทนรับการล่อใจได้มากขนาดไหน. พระเจ้าทรงรู้จักเราดีถึงขนาดนั้นจริง ๆ หรือ? ใช่แล้ว. พระคัมภีร์เปิดเผยว่าพระยะโฮวาทรงรู้จักเราแต่ละคนอย่างถ่องแท้. พระองค์ทรงรู้กิจวัตรประจำวันและนิสัยของเราเป็นอย่างดี. พระองค์ทรงดูออกว่าเรามีความคิดและความมุ่งหมายในใจอย่างไรด้วยซ้ำ.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 139:1-6
3, 4. (ก) ประสบการณ์ของดาวิดแสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระยะโฮวาใฝ่พระทัยแต่ละคนเป็นส่วนตัว? (ข) พระยะโฮวากำลังทำอะไรให้สำเร็จอย่างน่าทึ่งในทุกวันนี้?
3 ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อไหมที่พระเจ้าจะแสดงความสนใจเช่นนั้นต่อมนุษย์ที่ต่ำต้อย? ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญใคร่ครวญคำถามนี้ และทูลพระยะโฮวาว่า “ครั้นข้าพเจ้าพิจารณาท้องฟ้า, ที่เป็นพระหัตถกิจของพระองค์, คือดวงจันทร์กับดวงดาวซึ่งพระองค์ได้ทรงประดิษฐานไว้; มนุษย์เป็นผู้ใดเล่าที่พระองค์ทรงระลึกถึงเขา?” (เพลง. 8:3, 4) ดาวิดอาจถามอย่างนี้เพราะท่านเองเคยได้รับความใฝ่พระทัยจากพระยะโฮวา. พระยะโฮวาได้พบ “บุรุษผู้หนึ่งตามชอบพระทัยของพระองค์” คือดาวิดซึ่งเป็นลูกคนเล็กของยิซัย และได้นำเขา “จากการไปตามแกะ ตั้งเป็นหัวหน้า” ปกครองชาติอิสราเอล. (1 ซามู. 13:14; 2 ซามู. 7:8) ขอให้นึกภาพว่าดาวิดคงต้องรู้สึกอย่างไรเมื่อรู้ว่าพระผู้สร้างเอกภพทรงสนพระทัยความคิดและความรู้สึกของเด็กเลี้ยงแกะคนหนึ่ง!
4 เป็นเรื่องน่าพิศวงไม่น้อยกว่ากันเมื่อเราคิดทบทวนว่าพระยะโฮวาทรงสนพระทัยพวกเราในทุกวันนี้เป็นส่วนตัว. พระองค์กำลังรวบรวม “สิ่งน่าปรารถนาจากชาติทั้งปวง” มายังการนมัสการแท้ และพระองค์กำลังช่วยผู้รับใช้ของพระองค์ให้รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดี. (ฮาฆี 2:7, ล.ม.) เพื่อจะเข้าใจได้ดีขึ้นว่าพระยะโฮวาทรงช่วยเราให้รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดีอย่างไร ก่อนอื่น ขอให้เราพิจารณาวิธีที่พระองค์ชักนำผู้คนให้เข้ามาสู่การนมัสการแท้.
พระเจ้าทรงชักนำเรา
5. พระยะโฮวาทรงชักนำผู้คนให้มาหาพระบุตรของพระองค์อย่างไร? จงยกตัวอย่าง.
5 พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีใครจะมาหาเราได้เว้นแต่พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะชักนำเขา.” (โย. 6:44) คำตรัสนี้บอกเป็นนัย ๆ ว่าเพื่อจะเป็นสาวกของพระคริสต์เราต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้า. พระยะโฮวาทรงชักนำคนเยี่ยงแกะให้มาหาพระบุตรของพระองค์อย่างไร? โดยการประกาศข่าวดีและการดำเนินกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์. ตัวอย่างเช่น เมื่อเปาโลและเพื่อนมิชชันนารีอยู่ในเมืองฟิลิปปอย พวกเขาพบสตรีคนหนึ่งชื่อลิเดียและเริ่มประกาศข่าวดีแก่นาง. บันทึกที่มีขึ้นโดยการดลใจกล่าวว่า “พระยะโฮวาทรงเปิดใจนางให้สนใจเรื่องที่เปาโลพูด.” ใช่แล้ว พระเจ้าประทานพระวิญญาณเพื่อช่วยนางให้เข้าใจข่าวสารนั้น ซึ่งยังผลให้นางและครอบครัวรับบัพติสมา.—กิจ. 16:13-15
6. พระเจ้าทรงชักนำเราทุกคนให้มายังการนมัสการแท้อย่างไร?
6 ประสบการณ์ของลิเดียพิเศษกว่าของคนอื่นไหม? ไม่เลย. ถ้าคุณเป็นคริสเตียนที่อุทิศตัว คุณก็ได้รับการชักนำจากพระเจ้าให้มายังการนมัสการแท้ด้วย. เช่นเดียวกับที่พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ทรงเห็นสิ่งที่มีค่าในหัวใจของลิเดีย พระองค์ทรงเห็นส่วนดีในตัวคุณ. เมื่อคุณเริ่มรับฟังข่าวดี พระยะโฮวาทรงช่วยคุณให้เข้าใจข่าวดีนั้นด้วยการประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์. (1 โค. 2:11, 12) เมื่อคุณพยายามใช้สิ่งที่คุณเรียนรู้ พระองค์ทรงอวยพรความพยายามของคุณในการทำตามพระประสงค์ของพระองค์. เมื่อคุณอุทิศชีวิตแด่พระองค์ คุณทำให้พระทัยของพระองค์ยินดี. อันที่จริง นับตั้งแต่ที่คุณเริ่มต้นเดินบนเส้นทางสู่ชีวิต พระยะโฮวาทรงอยู่กับคุณในทุกย่างก้าว.
7. เรารู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้าจะทรงช่วยเหลือเราให้รักษาความซื่อสัตย์?
7 เมื่อช่วยเหลือเราให้เริ่มดำเนินกับพระองค์แล้ว พระยะโฮวาจะไม่ทิ้งเราให้รักษาความซื่อสัตย์ตามลำพัง. พระองค์ทรงรู้ว่าเช่นเดียวกับที่เราไม่สามารถเข้ามาในความจริงด้วยตัวเราเอง เราก็ไม่สามารถรักษาตัวอยู่ในความจริงได้ด้วยตัวเราเอง. อัครสาวกเปโตรเขียนถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิมว่า “เนื่องด้วยความเชื่อ [พวกท่าน] ได้รับการอารักขาไว้โดยฤทธิ์ของพระเจ้าเพื่อให้ได้รับความรอดซึ่งจะปรากฏในช่วงเวลาสุดท้าย.” (1 เป. 1:5) หลักการในถ้อยคำดังกล่าวใช้ได้กับคริสเตียนทุกคนและพวกเราแต่ละคนในปัจจุบันควรสนใจ. เพราะเหตุใด? เพราะว่า เราทุกคนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อจะรักษาความซื่อสัตย์ต่อพระองค์.
เหนี่ยวรั้งไว้ไม่ให้ก้าวพลาด
8. เหตุใดเราจำเป็นต้องระวังเพื่อจะไม่ก้าวพลาด?
8 ความกดดันในชีวิตและความไม่สมบูรณ์ของตัวเราเองอาจทำให้เราไม่จดจ่อกับสิ่งฝ่ายวิญญาณและอาจทำให้เราก้าวพลาดโดยไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ. (อ่านกาลาเทีย 6:1) เรื่องนี้เห็นได้จากเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตของดาวิด.
9, 10. พระยะโฮวาทรงเหนี่ยวรั้งดาวิดอย่างไรไม่ให้ทำผิด และพระองค์ทรงทำอะไรเพื่อช่วยเราในทุกวันนี้?
9 ในช่วงที่ถูกกษัตริย์ซาอูลตามล่า ดาวิดควบคุมตนเองได้อย่างดีเยี่ยมโดยไม่แก้แค้นกษัตริย์จอมอิจฉา. (1 ซามู. 24:2-7) แต่ไม่นานหลังจากนั้น ดาวิดก็พ่ายแพ้แก่แรงกระตุ้นที่ไม่สมบูรณ์ของตัวเอง. ท่านจำเป็นต้องหาเสบียงอาหารสำหรับคนของท่าน จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจากนาบาล เพื่อนร่วมชาติชาวอิสราเอล ด้วยความนับถือ. เมื่อนาบาลตอบอย่างดูหมิ่น ดาวิดโกรธมากและจะแก้แค้นนาบาลกับคนในครัวเรือนของเขาทั้งหมด โดยไม่คิดเลยว่าการฆ่าคนบริสุทธิ์จะทำให้ท่านมีความผิดฐานทำให้โลหิตตกเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า. ถ้าไม่เป็นเพราะอะบีฆายิล ภรรยาของนาบาล เข้ามาห้ามไว้ได้ทันเวลาพอดีดาวิดคงทำผิดอย่างที่ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงไปแล้ว. เพราะตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงปกป้องท่าน ดาวิดจึงพูดกับนางว่า “สาธุการแด่พระยะโฮวาพระเจ้าของพวกยิศราเอลที่ทรงโปรดให้เจ้ามาพบเราวันนี้. ขอบคุณสติปัญญาของเจ้าและขอบคุณซึ่งเจ้าได้หน่วงเหนี่ยวเราไว้วันนี้ให้พ้นจากบาปฆ่าคน, และมิให้แก้แค้นด้วยมือของตนเอง.”—1 ซามู. 25:9-13, 21, 22, 32, 33
10 เราอาจได้บทเรียนอะไรจากเรื่องนี้? พระยะโฮวาทรงใช้อะบีฆายิลให้เหนี่ยวรั้งดาวิดไว้ไม่ให้ทำผิด. พระองค์ทรงทำอย่างเดียวกันนั้นเพื่อช่วยเราในทุกวันนี้. แน่นอน เราไม่ควรคาดหมายว่าพระเจ้าจะส่งใครบางคนให้มาห้ามเราไว้เมื่อไรก็ตามที่เรากำลังจะทำผิด. อีกทั้งเราไม่ควรทึกทักว่าเรารู้อย่างแน่ชัดว่าพระเจ้าจะทรงทำอย่างไรในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือพระองค์จะยอมให้เกิดอะไรขึ้นเพื่อทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ. (ผู้ป. 11:5) อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงรู้สภาพการณ์ของเราเสมอและจะทรงช่วยเราให้รักษาความซื่อสัตย์ต่อพระองค์. พระองค์ทรงรับรองกับเราว่า “เราจะแนะนำและสอนเจ้าถึงทางที่เจ้าควรจะเดินไป. เราจะให้คำปรึกษาแก่เจ้าด้วยจับตาเจ้าอยู่.” (เพลง. 32:8, ฉบับ R73) พระยะโฮวาทรงแนะนำเราอย่างไร? เราจะได้รับประโยชน์จากคำแนะนำนั้นได้อย่างไร? และเหตุใดเราจึงมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวากำลังนำประชาชนของพระองค์ในทุกวันนี้? ขอให้สังเกตว่าหนังสือวิวรณ์ตอบคำถามนี้อย่างไร.
ปกป้องเราด้วยคำแนะนำ
11. พระยะโฮวาทรงรู้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประชาคมแห่งประชาชนของพระองค์มากขนาดไหน?
11 ในนิมิตที่บันทึกไว้ในวิวรณ์บท 2 และ 3 พระเยซูคริสต์ผู้ได้รับเกียรติยศแล้วทรงตรวจตราประชาคมทั้งเจ็ดในเอเชียไมเนอร์. นิมิตนั้นเผยให้เห็นว่าพระคริสต์ทรงเห็นไม่เพียงแค่แนวโน้มโดยทั่วไปแต่ทรงเห็นรายละเอียดปลีกย่อยด้วย. ในบางกรณี พระองค์ถึงกับตรัสถึงบางคน และในแต่ละกรณี พระองค์ทรงชมเชยหรือแนะนำอย่างเหมาะสม. นี่แสดงถึงอะไร? ในความสำเร็จเป็นจริงตามนิมิตนั้น ประชาคมทั้งเจ็ดนี้หมายถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิมหลังปี 1914 และหลักการในคำแนะนำที่ให้แก่ประชาคมทั้งเจ็ดนี้ใช้ได้กับทุกประชาคมแห่งประชาชนของพระเจ้าในทุกวันนี้ที่อยู่ทั่วโลก. ด้วยเหตุนั้น เราจึงลงความเห็นได้อย่างถูกต้องว่าพระยะโฮวากำลังนำประชาชนของพระองค์อย่างขันแข็งโดยทางพระบุตร. เราจะรับประโยชน์จากการชี้นำนั้นได้อย่างไร?
12. เราจะให้พระยะโฮวาชี้นำก้าวเดินของเราได้อย่างไร?
12 วิธีหนึ่งที่เราจะรับประโยชน์จากการชี้นำด้วยมัด. 24:45) แต่เพื่อจะได้รับประโยชน์จากคำแนะนำเหล่านั้น เราต้องใช้เวลาศึกษาและนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิต. การศึกษาส่วนตัวเป็นวิธีหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงสามารถ “ป้องกัน [เรา] ไม่ให้หลงผิด.” (ยูดา 24) คุณเคยศึกษาบางเรื่องในหนังสือของเราที่ดูเหมือนเขียนขึ้นเพื่อเราโดยตรงไหม? จงยอมรับการว่ากล่าวแก้ไขที่มาจากพระยะโฮวา. เช่นเดียวกับเพื่อนที่สะกิดไหล่คุณเพื่อให้คุณสนใจ พระยะโฮวาทรงสามารถใช้พระวิญญาณของพระองค์เพื่อชักนำคุณให้สนใจแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับความประพฤติหรือบุคลิกภาพที่คุณจำเป็นต้องปรับปรุง. และไม่ต้องสงสัยว่าเป็นเช่นนั้นกับคนอื่น ๆ ด้วย. โดยพร้อมจะตอบรับการนำของพระวิญญาณ เราให้พระยะโฮวาชี้นำก้าวเดินของเรา. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 139:23, 24) เมื่อเป็นอย่างนี้ นับว่าดีที่เราจะตรวจสอบนิสัยของเราในการศึกษา.
ความรักของพระยะโฮวาก็คือโดยการศึกษาส่วนตัว. พระยะโฮวาประทานคำแนะนำตามหลักพระคัมภีร์ไว้มากมายโดยทางหนังสือที่ชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมจัดพิมพ์. (13. เหตุใดเราควรตรวจสอบนิสัยของเราในการศึกษา?
13 การใช้เวลามากเกินไปกับความบันเทิงอาจทำให้เราไม่มีเวลาจะศึกษาส่วนตัว. พี่น้องชายคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า “เป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะพลาดการศึกษาส่วนตัว. ความบันเทิงที่มีอยู่ในเวลานี้มีมากยิ่งกว่าแต่ก่อน และไม่แพงเหมือนเมื่อก่อน. ความบันเทิงเหล่านั้นมีอยู่ในโทรทัศน์ ในคอมพิวเตอร์ และในโทรศัพท์. ความบันเทิงมีอยู่รอบตัวเรา.” ถ้าเราไม่ระวัง เวลาที่จะใช้สำหรับการศึกษาส่วนตัวอย่างลึกซึ้งก็อาจค่อย ๆ ลดน้อยลงจนกระทั่งหมดไป. (เอเฟ. 5:15-17) เราแต่ละคนควรถามตัวเองว่า ‘ฉันใช้เวลาศึกษาอย่างเจาะลึกในพระคำของพระเจ้าบ่อยขนาดไหน? ฉันทำอย่างนั้นเฉพาะเมื่อต้องบรรยายหรือเตรียมส่วนการประชุมไหม?’ ถ้าเป็นอย่างนั้น เราน่าจะใช้เวลาในเย็นวันที่เรากันไว้เพื่อนมัสการประจำครอบครัวหรือศึกษาส่วนตัวให้ละเอียดและลึกซึ้งยิ่งขึ้น. นั่นเป็นการสะสมสติปัญญาที่พระยะโฮวาทรงจัดให้เพื่ออารักขาเราไว้ให้ได้รับความรอด.—สุภา. 2:1-5
ค้ำจุนเราด้วยการหนุนใจ
14. พระคัมภีร์แสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระยะโฮวาทรงสนพระทัยความรู้สึกของเรา?
14 ดาวิดเผชิญเหตุการณ์หลายอย่างในชีวิตที่ทำให้เป็นทุกข์. (1 ซามู. 30:3-6) พระคำของพระเจ้าซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจเปิดเผยว่าพระยะโฮวาทรงรู้ว่าท่านรู้สึกอย่างไร. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 34:18; 56:8) พระเจ้าทรงทราบความรู้สึกของเราด้วย. เมื่อเรามี “ใจชอกช้ำ” หรือ “ใจสุภาพ [“สำนึกผิด,” ล.ม.]” พระองค์ทรงเข้ามาใกล้เรา. เพียงทราบข้อเท็จจริงนี้ก็อาจทำให้เรามีกำลังใจขึ้นแล้ว เช่นเดียวกับดาวิดซึ่งร้องเพลงว่า “ข้าพเจ้าจะชื่นใจยินดีในพระกรุณาของพระองค์; ด้วยพระองค์ได้ทรงเห็นความทุกข์ของข้าพเจ้า; และทรงทราบความยากในใจของข้าพเจ้าแล้ว.” (เพลง. 31:7) แต่พระยะโฮวาไม่เพียงแค่สังเกตเห็นความทุกข์ของเรา. พระองค์ทรงค้ำจุนเราโดยประทานการปลอบโยนและการหนุนใจ. วิธีหนึ่งที่พระองค์ทรงทำอย่างนี้ก็คือโดยทางประชาคมคริสเตียน.
15. เราเรียนอะไรได้จากประสบการณ์ของอาซาฟ?
15 ผลประโยชน์อย่างหนึ่งของการเข้าร่วมการประชุมนั้นเห็นได้จากประสบการณ์ของอาซาฟผู้เพลง. 73:2, 13-22, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) บางครั้ง เราอาจรู้สึกเช่นเดียวกับอาซาฟ. ความเครียดที่เกิดจากความไม่ยุติธรรมในโลกของซาตานอาจทำให้เราอ่อนระอาใจ. การประชุมร่วมกับพี่น้องทำให้เราสดชื่นและช่วยเราให้รักษาความยินดีในการรับใช้พระยะโฮวา.
ประพันธ์เพลงสรรเสริญ. การครุ่นคิดถึงความไม่ยุติธรรมทำให้อาซาฟสงสัยในเรื่องคุณค่าของการรับใช้พระเจ้า. อาซาฟรู้สึกท้อใจ. เขาพรรณนาความรู้สึกของเขาไว้อย่างนี้: “ใจของข้าพระองค์ขมขื่น . . . ข้าพระองค์เสียวแปลบถึงหัวใจ.” ผลก็คือ เขาเกือบเลิกรับใช้พระยะโฮวา. อะไรช่วยอาซาฟให้กลับมามีความสมดุลอีกครั้ง? เขากล่าวว่า “ข้าพระองค์เข้าไปในสถานนมัสการของพระเจ้า.” ที่นั่น เมื่ออยู่ท่ามกลางผู้นมัสการพระยะโฮวา เขากลับมามีมุมมองที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง. เขาได้มาเข้าใจว่าความสำเร็จของคนชั่วนั้นไม่ยั่งยืน และพระยะโฮวาจะทรงจัดการตามความยุติธรรมอย่างแน่นอน. (16. เราอาจได้ประโยชน์อย่างไรจากตัวอย่างของฮันนา?
16 แต่จะว่าอย่างไรถ้ามีบางสิ่งบางอย่างในประชาคมที่ทำให้คุณไม่อยากเข้าร่วมการประชุม? คุณอาจจำเป็นต้องเลิกรับใช้ในหน้าที่บางอย่างและรู้สึกอาย หรือคุณมีเรื่องขัดแย้งกับพี่น้องคนหนึ่ง. ถ้าอย่างนั้น คุณอาจเห็นว่าตัวอย่างของฮันนาเป็นประโยชน์. (อ่าน 1 ซามูเอล 1:4-8) นางเป็นทุกข์ร้อนใจอย่างมากด้วยเรื่องในครอบครัวซึ่งเกี่ยวข้องกับพะนีนา ภรรยาอีกคนหนึ่งของสามีซึ่งมีปัญหากัน. สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นทุก ๆ ปีเมื่อครอบครัวนี้ไปถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวาที่เมืองชีโลห์. ฮันนาเป็นทุกข์อย่างยิ่งจนถึงกับ “ร้องไห้ไม่รับประทานอาหาร.” ถึงกระนั้น นางไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ทำให้นางไม่ไปร่วมนมัสการพระยะโฮวา. พระยะโฮวาทรงสังเกตเห็นความซื่อสัตย์ของนางและทรงอวยพรนาง.—1 ซามู. 1:11, 20
17, 18. (ก) เราได้รับกำลังใจ ณ การประชุมที่ประชาคมโดยวิธีใดบ้าง? (ข) คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการดูแลอันอ่อนละมุนที่พระยะโฮวาทรงจัดให้เพื่อช่วยเราได้รับความรอด?
17 คริสเตียนในทุกวันนี้ควรเลียนแบบตัวอย่างของฮันนา. เราจำเป็นต้องเข้าร่วมประชุมเป็นประจำ. ดังที่เราทุกคนเคยประสบด้วยตัวเอง การประชุมให้กำลังใจเราซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง. (ฮีบรู 10:24, 25) ความอบอุ่นของมิตรภาพในหมู่คริสเตียนช่วยปลอบโยนเรา. เราอาจประทับใจคำพูดธรรมดา ๆ ในคำบรรยายหรือความคิดเห็นในการประชุม. ในการสนทนากันก่อนหรือหลังการประชุม เพื่อนร่วมความเชื่ออาจรับฟังเราหรือพูดปลอบใจเรา. (สุภา. 15:23; 17:17) เมื่อเราเปล่งเสียงร้องเพลงสรรเสริญพระยะโฮวา เรารู้สึกสดชื่นขึ้น. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราถูกรุมเร้าด้วย “ความสาละวนในใจ” เราก็ยิ่งต้องได้รับกำลังใจจากการประชุม ซึ่งเป็นที่ที่พระยะโฮวาค้ำจุนเราด้วย “ความประเล้าประโลมของพระองค์” และช่วยเหลือเราให้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาความซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป.—เพลง. 94:18, 19
18 เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัยที่อยู่ในการดูแลอันอ่อนละมุนของพระเจ้าเช่นเดียวกับอาซาฟผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งร้องเพลงถวายพระยะโฮวาว่า “พระองค์ได้ทรงยึดมือขวาของข้าพเจ้าไว้. พระองค์จะทรงนำข้าพเจ้าด้วยคำแนะนำของพระองค์.” (เพลง. 73:23, 24) เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่พระยะโฮวาทรงอารักขาเราไว้เพื่อให้ได้รับความรอด!
[คำถาม]
[ภาพหน้า 28]
พระยะโฮวาทรงชักนำคุณด้วย
[ภาพหน้า 30]
เราได้รับการปกป้องเมื่อทำตามคำแนะนำของพระเจ้า
[ภาพหน้า 31]
การหนุนใจที่เราได้รับช่วยค้ำจุนเรา