คุณกำลังสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาไหม?
คุณกำลังสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาไหม?
“เรา . . . สะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาเหมือนกระจก.”—2 โค. 3:18
คุณจะตอบอย่างไร?
แม้ว่าเราเป็นคนบาป เราจะยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาได้อย่างไร?
การอธิษฐานและการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนช่วยเราอย่างไรให้สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า?
อะไรจะช่วยเราให้ยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป?
1, 2. ทำไมจึงมีเหตุผลที่จะคาดหมายว่าเราสามารถเลียนแบบคุณลักษณะของพระยะโฮวาได้?
เราทุกคนมีอะไรบางอย่างคล้ายพ่อแม่. ด้วยเหตุนั้น จึงไม่แปลกที่ได้ยินใครบางคนพูดกับเด็กผู้ชายว่า ‘เธอนี่เหมือนพ่อจริง ๆ.’ หรืออาจมีคนพูดกับเด็กผู้หญิงว่า ‘เห็นหนูแล้วทำให้ฉันคิดถึงแม่ของหนู.’ และเด็ก ๆ มักเลียนแบบสิ่งที่พวกเขาเห็นพ่อแม่ทำ. แต่จะว่าอย่างไรสำหรับเรา? เราจะเลียนแบบพระยะโฮวา พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ ได้ไหม? แม้ว่าเราไม่เคยเห็นพระองค์ แต่เรารู้คุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมของพระองค์ได้โดยศึกษาพระคำของพระองค์ สังเกตดูสิ่งที่พระองค์สร้าง และใคร่ครวญเรื่องที่เราอ่านในพระคัมภีร์ โดยเฉพาะคำตรัสและการกระทำของพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้า. (โย. 1:18; โรม 1:20) ดังนั้น เราสามารถสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาได้.
2 ก่อนจะสร้างอาดามและฮาวา พระเจ้าทรงเชื่อมั่นว่ามนุษย์จะสามารถทำตามพระประสงค์ของพระองค์ สะท้อนคุณลักษณะของพระองค์ และนำคำสรรเสริญมาสู่พระองค์. (อ่านเยเนซิศ 1:26, 27) ในฐานะคริสเตียน เราควรเลียนแบบคุณลักษณะของพระเจ้าผู้ทรงสร้างเรา. ถ้าเราทำอย่างนั้น เราก็จะมีสิทธิพิเศษที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า ไม่ว่าเรามีภูมิหลังเช่นไรในด้านวัฒนธรรม การศึกษา หรือเชื้อชาติ. เพราะเหตุใด? เพราะ “พระเจ้าไม่ทรงลำเอียง แต่พระองค์ทรงชอบพระทัยคนที่ยำเกรงพระองค์และประพฤติชอบธรรมไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด.”—กิจ. 10:34, 35
3. คริสเตียนรู้สึกอย่างไรขณะที่รับใช้พระยะโฮวา?
3 คริสเตียนผู้ถูกเจิมสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวา. อัครสาวกเปาโลซึ่งกำเนิดโดยพระวิญญาณจึงเขียนว่า “เมื่อเราทุกคนซึ่งไม่มีผ้าคลุมหน้าสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาเหมือนกระจก เราจึงถูกเปลี่ยนแปลงให้มีลักษณะเดียวกันโดยให้มีเกียรติมากขึ้นเรื่อย ๆ.” (2 โค. 3:18) เมื่อผู้พยากรณ์โมเซลงมาจากภูเขาไซนายพร้อมกับแผ่นหินที่จารึกพระบัญญัติสิบประการ ใบหน้าของท่านก็มี รัศมีเปล่งออกมาเพราะพระยะโฮวาได้ตรัสกับท่าน. (เอ็ก. 34:29, 30) แม้ว่าคริสเตียนไม่มีประสบการณ์เช่นนั้นและใบหน้าก็ไม่มีรัศมีเปล่งออกมา แต่ใบหน้าพวกเขาฉายแววแห่งความสุขเมื่อพวกเขาบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพระยะโฮวา คุณลักษณะของพระองค์ และพระประสงค์อันยอดเยี่ยมสำหรับมนุษยชาติ. เช่นเดียวกับโลหะขัดเงาที่ใช้เป็นกระจกในสมัยโบราณ ผู้ถูกเจิมและสหายที่อยู่บนแผ่นดินโลกสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาในชีวิตและการรับใช้ของพวกเขา. (2 โค. 4:1) คุณกำลังสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาด้วยการกระทำที่เลื่อมใสพระเจ้าและด้วยการทำงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรเป็นประจำไหม?
เราปรารถนาจะสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวา
4, 5. (ก) เช่นเดียวกับเปาโล เราต้องต่อสู้กับอะไร? (ข) บาปส่งผลเสียหายต่อเราอย่างไร?
4 ในฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวา ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราต้องการทำให้พระผู้สร้างของเราได้รับเกียรติและคำสรรเสริญ. แต่บ่อยครั้งเราไม่ได้ทำอย่างที่เราอยากทำ. เปาโลเองก็ต้องต่อสู้กับปัญหาแบบนี้. (อ่านโรม 7:21-25) เปาโลอธิบายว่าทำไมเราต้องต่อสู้ในเรื่องนี้ โดยเขียนว่า “ทุกคนได้ทำบาปและไม่ได้แสดงคุณลักษณะอันยอดเยี่ยมของพระเจ้าอย่างที่ควรจะแสดง.” (โรม 3:23) เพราะเราได้รับบาปตกทอดมาจากอาดาม บาปจึงมีอำนาจครอบงำเราเหมือนกับเป็นกษัตริย์ที่โหดร้าย.—โรม 5:12; 6:12
5 บาปคืออะไร? บาปคือสิ่งใดก็ตามที่ขัดกับบุคลิกภาพ วิถีทาง มาตรฐาน และพระประสงค์ของพระยะโฮวา. บาปทำลายสายสัมพันธ์ของคนเรากับพระเจ้า. บาปทำให้เราพลาดเป้า เหมือนกับนักยิงธนูที่ยิงลูกธนูแต่ไม่ตรงเป้า. เราอาจทำบาปโดยเจตนาหรือโดยไม่เจตนา. (อาฤ. 15:27-31) บาปฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์เราและเป็นเหมือนกำแพงที่ขวางกั้นพวกเขาไว้จากพระผู้สร้าง. (เพลง. 51:5; ยซา. 59:2; โกโล. 1:21) ด้วยเหตุนั้น มนุษยชาติโดยทั่วไปจึงดำเนินชีวิตอย่างที่ไม่ประสานกันเลยกับพระประสงค์ของพระยะโฮวาและพลาดโอกาสที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า. ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะส่งผลเสียหายต่อมนุษย์ยิ่งไปกว่าบาป.
6. แม้ว่าเราอยู่ในสภาพที่ผิดบาป เราจะยกย่องสรรเสริญพระเจ้าได้อย่างไร?
6 แม้ว่าเราอยู่ในสภาพที่เป็นคนบาป พระยะโฮวาทรงพิสูจน์แล้วว่าทรงเป็น “พระเจ้าผู้ทรงประทานความหวัง.” (โรม 15:13) พระองค์ทรงจัดให้มีวิธีลบล้างบาป ซึ่งก็คือเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์. โดยแสดงความเชื่อในเครื่องบูชานั้น เรา “ไม่เป็นทาสบาปอีกต่อไป” แต่เราอยู่ในฐานะที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาได้. (โรม 5:19; 6:6; โย. 3:16) ถ้าเรารักษาสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า เรามั่นใจได้เลยว่าพระยะโฮวาจะทรงอวยพรเราในเวลานี้และในอนาคตเราจะได้รับความสมบูรณ์และชีวิตนิรันดร์. แม้ว่าเรายังคงเป็นมนุษย์ที่ผิดบาป นับเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าทรงถือว่าเราแต่ละคนสามารถสะท้อนพระรัศมีของพระองค์!
สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า
7. เราต้องยอมรับอะไรเกี่ยวกับตัวเราเองเพื่อจะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า?
7 เพื่อจะมีคุณสมบัติที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าได้ เราต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเราทุกคนเป็นคนบาป. (2 โคร. 6:36) เราจำเป็นต้องยอมรับข้ออ่อนแอของตัวเองและพยายามเอาชนะข้ออ่อนแอนั้นเพื่อเราจะยกย่องสรรเสริญพระเจ้าได้อย่างแท้จริง. ตัวอย่างเช่น ถ้าเราพลาดพลั้งทำบาปด้วยการดูสื่อลามก เราต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าเราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อจะฟื้นตัวฝ่ายวิญญาณ แล้วก็ดำเนินการเพื่อจะได้รับความช่วยเหลือนั้น. (ยโก. 5:14, 15) นี่เป็นสิ่งแรกที่เราต้องทำเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างที่ทำให้พระเจ้าได้รับการสรรเสริญอย่างแท้จริงได้. ในฐานะผู้นมัสการพระยะโฮวา เราต้องตรวจสอบตัวเองต่อ ๆ ไปเพื่อจะรู้ว่าเรากำลังทำตามมาตรฐานอันชอบธรรมของพระองค์อยู่หรือไม่. (สุภา. 28:18; 1 โค. 10:) ไม่ว่าเรามีข้ออ่อนแอแบบใดก็ตาม เราต้องพยายามแก้ไขข้ออ่อนแอนั้นต่อ ๆ ไปเพื่อเราจะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าได้. 12
8. แม้ว่าเราเป็นคนไม่สมบูรณ์ เราควรทำอะไร?
8 พระเยซูทรงเป็นมนุษย์เพียงผู้เดียวที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกที่ทำให้พระเจ้าพอพระทัยและสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าเสมอ. แม้ว่าเราไม่สมบูรณ์เหมือนพระเยซู แต่เราควรพยายามจริง ๆ ที่จะทำตามแบบอย่างของพระองค์. (1 เป. 2:21) พระยะโฮวาไม่เพียงสังเกตความก้าวหน้าของเราแต่ทรงเห็นความพยายามของเราที่จะนำคำสรรเสริญมาสู่พระองค์ด้วย และพระองค์ทรงอวยพรความพยายามดังกล่าว.
9. คัมภีร์ไบเบิลมีบทบาทอะไรในชีวิตของคริสเตียนที่ปรารถนาจะบรรลุข้อเรียกร้องของพระเจ้า?
9 พระคำของพระยะโฮวาสามารถช่วยเราให้เข้าใจวิธีที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าให้ดีขึ้น. การศึกษาพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้งและการใคร่ครวญสิ่งที่เราอ่านเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. (เพลง. 1:1-3) การอ่านพระคัมภีร์ทุกวันจะช่วยให้เราแก้ไขและปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น. (อ่านยาโกโบ 1:22-25) ความรู้ในคัมภีร์ไบเบิลเป็นรากฐานความเชื่อของเราและช่วยทำให้เราตั้งใจแน่วแน่ยิ่งขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงบาปร้ายแรงและทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย.—เพลง. 119:11, 47, 48
10. การอธิษฐานจะช่วยเราให้รับใช้พระยะโฮวาอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้นได้อย่างไร?
10 เพื่อจะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า เราจำเป็นต้อง “หมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ” ด้วย. (โรม 12:12) เราควรอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาช่วยเรารับใช้พระองค์อย่างที่พระองค์ทรงยอมรับ. เพื่อจะทำเช่นนั้นได้ เราสามารถทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ ขอให้มีความเชื่อมากขึ้น ขอให้มีความเข้มแข็งเพื่อจะต้านทานการล่อใจ และขอให้สามารถ “ใช้คำแห่งความจริงอย่างถูกต้อง.” (2 ติโม. 2:15; มัด. 6:13; ลูกา 11:13; 17:5) เช่นเดียวกับเด็กที่ต้องพึ่งพาพ่อ เราก็จำเป็นต้องพึ่งพระยะโฮวา พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์. ถ้าเราขอให้พระองค์ช่วยเรารับใช้พระองค์อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น เราเชื่อมั่นได้เลยว่าพระองค์จะทรงทำเช่นนั้น. ขอเราอย่าคิดว่าการทำอย่างนั้นเป็นการรบกวนพระองค์! แทนที่จะคิดอย่างนั้น เมื่อเราอธิษฐานเราควรสรรเสริญพระองค์ ขอบคุณพระองค์ ขอการชี้นำจากพระองค์โดยเฉพาะเมื่อถูกทดลอง และขอพระองค์ทรงช่วยเราให้รับใช้อย่างที่จะเป็นการยกย่องสรรเสริญพระนามอันบริสุทธิ์ของพระองค์.—เพลง. 86:12; ยโก. 1:5-7
11. การประชุมประจำประชาคมช่วยเราให้สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าอย่างไร?
11 พระเจ้าทรงมอบแกะที่มีค่ามากของพระองค์ไว้ให้ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ดูแล. (มัด. 24:45-47; เพลง. 100:3) ชนชั้นทาสสนใจอย่างยิ่งว่าเพื่อนร่วมความเชื่อกำลังสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาอย่างไร. การประชุมช่วยให้เราปรับเปลี่ยนชีวิตและปรับปรุงคุณลักษณะแบบคริสเตียนให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับที่ช่างตัดเสื้อปรับแก้เสื้อผ้าเพื่อให้เราดูดีขึ้น. (ฮีบรู 10:24, 25) ดังนั้น ขอให้เราไปประชุมให้ทันเวลา เพราะถ้าเราไปสายเป็นประจำอย่างน้อยที่สุดเราก็จะพลาด ‘การปรับแก้’ ฝ่ายวิญญาณบางอย่างที่จะช่วยให้เราดูดีขึ้นในฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวา.
ขอให้เราเลียนแบบพระเจ้า
12. เราจะเลียนแบบพระเจ้าได้อย่างไร?
12 ถ้าเราต้องการสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวา เราต้อง “เป็นผู้เลียนแบบพระเจ้า.” (เอเฟ. 5:1) วิธีหนึ่งที่จะเลียนแบบพระยะโฮวาก็คือการรับเอาทัศนะของพระองค์ในเรื่องต่าง ๆ. เมื่อเราพยายามดำเนินชีวิตตามวิธีของเราเองและไม่สอดคล้องกับทัศนะของพระเจ้า เราก็หลู่เกียรติพระองค์และเป็นผลเสียต่อตัวเราเอง. เนื่องจากโลกรอบตัวเราอยู่ใต้อิทธิพลของตัวชั่วร้าย คือซาตานพญามาร เราจึงต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะเกลียดสิ่งที่พระยะโฮวาทรงเกลียดและรักสิ่งที่พระองค์ทรงรัก. (เพลง. 97:10; 1 โย. 5:19) เราต้องเชื่อมั่นจริง ๆ ว่าวิธีเดียวเท่านั้นที่จะรับใช้พระเจ้าได้อย่างถูกต้องก็คือโดยทำทุกสิ่งเพื่อทำให้พระเจ้าได้รับการสรรเสริญ.—อ่าน 1 โครินท์ 10:31
13. เหตุใดเราต้องเกลียดบาป และนั่นจะกระตุ้นเราให้ทำอะไร?
บัญ. 13:6-9) ด้วยเหตุนั้น ขอเราอย่าเข้าไปเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งกับผู้ออกหากหรือใครก็ตามที่อ้างว่าเป็นพี่น้องแต่ทำสิ่งที่หลู่เกียรติพระเจ้า. เราควรทำอย่างนั้นแม้ว่าคนนั้นเป็นสมาชิกในครอบครัว. (1 โค. 5:11) ไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามหักล้างความคิดเห็นของผู้ออกหากหรือคนที่วิพากษ์วิจารณ์องค์การของพระยะโฮวา. ที่จริง เป็นอันตรายและไม่เหมาะที่จะพินิจพิจารณาข้อมูลของคนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปข้อเขียนหรือเป็นข้อความที่เราพบในอินเทอร์เน็ต.—อ่านยะซายา 5:20; มัดธาย 7:6
13 พระยะโฮวาทรงเกลียดบาป เราจึงควรเกลียดบาปเช่นเดียวกัน. ที่จริง เราควรอยู่ให้ห่างที่สุดเท่าที่จะห่างได้จากสิ่งใดก็ตามที่อาจทำให้เราทำบาป. ตัวอย่างเช่น เราต้องระวังอย่ายอมแพ้แก่การออกหาก ซึ่งเป็นบาปที่จะทำให้เราไม่เหมาะจะเป็นผู้สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า. (14. ในการสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า เราควรมีคุณลักษณะอะไรอย่างเด่นชัด และเพราะเหตุใด?
14 การแสดงความรักเป็นวิธีที่โดดเด่นอย่างหนึ่งในการเลียนแบบพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์. เช่นเดียวกับพระองค์ เราควรแสดงความรัก. (1 โย. 4:16-19) ที่จริง ความรักในท่ามกลางพวกเราเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าเราเป็นสาวกของพระเยซูและเป็นผู้รับใช้ของพระยะโฮวา. (โย. 13:34, 35) แม้ว่าบางครั้งความไม่สมบูรณ์ของเราที่มีมาแต่กำเนิดอาจเป็นอุปสรรค แต่เราต้องพยายามแสดงความรักอยู่เสมอ. การพัฒนาความรักและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่พระเจ้าทรงพอพระทัยจะป้องกันเราไว้ไม่ให้ทำบาปและปฏิบัติอย่างไม่กรุณา.—2 เป. 1:5-7
15. ความรักมีผลต่อสายสัมพันธ์ของเรากับคนอื่น ๆ อย่างไร?
15 ความรักทำให้เราต้องการทำดีต่อคนอื่น ๆ. (โรม 13:8-10) ตัวอย่างเช่น ความรักที่มีต่อคู่สมรสจะช่วยให้ซื่อสัตย์ต่อกัน. ความรักที่มีต่อผู้ปกครอง รวมถึงความนับถือต่องานที่พวกเขาทำ จะช่วยเราให้เชื่อฟังและทำตามการชี้นำของพวกเขา. เด็ก ๆ ที่รักพ่อแม่จะเชื่อฟัง นับถือพ่อแม่ และไม่พูดถึงพ่อแม่ในแง่ไม่ดี. ถ้าเรารักเพื่อนมนุษย์ เราจะไม่มองว่าพวกเขาด้อยกว่าเราหรือพูดกับพวกเขาอย่างไม่นับถือ. (ยโก. 3:9) และผู้ปกครองที่รักแกะของพระเจ้าจะปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างอ่อนโยน.—กิจ. 20:28, 29
16. ความรักจะช่วยเราในงานรับใช้อย่างไร?
16 ความรักควรเห็นได้เด่นชัดในงานรับใช้ของเราด้วย. เนื่องจากเรารักพระยะโฮวาอย่างยิ่ง เราจะไม่ท้อใจเมื่อเจ้าของบ้านไม่แยแสหรือแสดงปฏิกิริยาที่ไม่ดี. แทนที่จะท้อใจ เราจะประกาศข่าวดีต่อ ๆ ไป. ความรักจะกระตุ้นเราให้เตรียมตัวอย่างดีและพยายามทำงานรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ. ถ้าเรารักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้านอย่างแท้จริง เราจะไม่มองว่างานประกาศเรื่องราชอาณาจักรเป็นงานที่น่าเบื่อหรือเป็นเพียงหน้าที่. แทนที่จะมองอย่างนั้น เราจะถือว่างานนี้เป็นสิทธิพิเศษใหญ่หลวงและจะทำงานนี้ด้วยความยินดี.—มัด. 10:7
จงยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป
17. เมื่อรู้ว่าบาปทำให้เราไม่ได้สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าอย่างที่ควรทำ เราจำเป็นต้องทำอะไร?
17 ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกไม่ตระหนักว่าการทำบาปเป็นเรื่องร้ายแรง แต่เราถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง. นี่ทำให้เราสำนึกว่าเราจำเป็นต้องต่อสู้กับแนวโน้มที่ผิดบาปของเรา. การยอมรับว่าเราเป็นคนบาปทำให้เราเห็นความจำเป็นที่จะฝึกสติรู้สึกผิดชอบเพื่อสติรู้สึกผิดชอบจะกระตุ้นเราให้ลงมือทำอย่างเหมาะสมเมื่อเราเริ่มมีความปรารถนาที่จะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง. (โรม 7:22, 23) จริงอยู่ เราอาจอ่อนแอ แต่พระเจ้าทรงสามารถเสริมกำลังเราให้ทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม.—2 โค. 12:10
18, 19. (ก) อะไรจะช่วยเราให้ต่อสู้กับซาตานและพวกปิศาจได้? (ข) เราควรตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำอะไร?
18 เพื่อจะยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาได้ เราต้องต่อสู้กับซาตานและพวกปิศาจด้วย. ยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณที่เราได้รับจากพระเจ้าช่วยให้เราต่อสู้กับพวกมันได้. (เอเฟ. 6:11-13) ซาตานพยายามอย่างไม่หยุดหย่อนที่จะแย่งชิงเกียรติยศที่พระยะโฮวาเพียงผู้เดียวเท่านั้นสมควรได้รับ. พญามารยังคงทำทุกวิถีทางที่จะทำลายสายสัมพันธ์ของเรากับ พระยะโฮวา. แต่จะเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่สำหรับซาตานเมื่อพวกเรากับคนอื่น ๆ อีกหลายล้านคนที่เป็นคนไม่สมบูรณ์ ทั้งผู้ชายผู้หญิงและเด็ก รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดีและยกย่องสรรเสริญพระเจ้า! ด้วยเหตุนั้น ขอให้เราสรรเสริญพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป เช่นเดียวกับเหล่ากายวิญญาณในสวรรค์ที่กล่าวว่า “พระยะโฮวา พระเจ้าของพวกข้าพเจ้า พระองค์ทรงคู่ควรจะได้รับเกียรติยศ ความนับถือ และอำนาจ เพราะพระองค์ทรงสร้างทุกสิ่ง สิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่และถูกสร้างขึ้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์.”—วิ. 4:11
19 ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม. พระองค์ทรงยินดีอย่างแน่นอนที่เหล่าผู้ภักดีมากมายกำลังพยายามสุดความสามารถที่จะเลียนแบบพระองค์และสะท้อนพระรัศมีของพระองค์. (สุภา. 27:11) เราควรรู้สึกแบบเดียวกับดาวิดที่ร้องเพลงว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจะยกย่องสรรเสริญพระองค์ด้วยสุดใจ และจะถวายเกียรติยศแก่พระนามของพระองค์เป็นนิตย์.” (เพลง. 86:12) เราเฝ้าคอยให้ถึงวันนั้นที่เราจะสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาได้อย่างสมบูรณ์แบบและสามารถสรรเสริญพระองค์ตลอดไป! มนุษยชาติที่เชื่อฟังจะประสบความชื่นชมยินดีเช่นนั้น. คุณกำลังสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาพระเจ้าโดยมีความหวังที่จะทำอย่างนั้นตลอดไปเป็นนิตย์ไหม?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 27]
คุณกำลังสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาด้วยวิธีเหล่านี้ไหม?