พระยะโฮวาทรงรวบรวมประชาชนที่มีความยินดีให้มาประชุมกัน
“จงให้คนทั้งปวงมาประชุมกัน, ทั้งชายหญิงกับเด็กทั้งปวง, และคนต่างชาติ.”—บัญ. 31:12
1, 2. เราจะพิจารณาอะไรเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ในบทความนี้?
การประชุมนานาชาติและการประชุมภาคเป็นสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันของพยานพระยะโฮวามานานแล้ว. หลายคนในพวกเราได้เข้าร่วมการประชุมที่น่ายินดีเหล่านี้แล้วหลายครั้ง และบางคนอาจได้เข้าร่วมมาหลายสิบปีแล้ว.
2 เมื่อหลายพันปีที่แล้ว ประชาชนของพระเจ้าก็มีการประชุมใหญ่เพื่อการนมัสการด้วย. ตอนนี้ เราจะพิจารณาการประชุมใหญ่ที่มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์และดูว่าการประชุมเหล่านั้นคล้ายกับการประชุมภาคในสมัยปัจจุบันอย่างไร. เราจะพิจารณาด้วยว่าทำไมจึงเป็นประโยชน์ที่เราจะเข้าร่วมการประชุมภาค.—เพลง. 44:1; โรม 15:4
การประชุมครั้งสำคัญในสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน
3. (ก) เกิดอะไรขึ้น ณ การประชุมครั้งแรกของประชาชนของพระยะโฮวาที่มีกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล? (ข) มีการเรียกชาวอิสราเอลให้ประชุมกันโดยวิธีใด?
3 การประชุมใหญ่ครั้งแรกที่มีการกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิลเกิดขึ้นเมื่อชาวอิสราเอลทั้งหมดประชุมกันที่เชิงเขาไซนายเพื่อรับการสอนจากพระยะโฮวา. นั่นเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญอย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์ของการนมัสการบริสุทธิ์. ในโอกาสที่น่าตื่นเต้นนี้ พระยะโฮวาทรงสำแดงฤทธิ์อำนาจของพระองค์ให้ชาวอิสราเอลเห็นเมื่อพระองค์ประทานพระบัญญัติแก่พวกเขา. นั่นเป็นวันที่พวกเขาจะไม่ลืมเลย. (เอ็ก. 19:2-9, 16-19; อ่านเอ็กโซโด 20:18; พระบัญญัติ 4:9, 10) นับแต่วันนั้น ความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับชาวอิสราเอลเปลี่ยนไป. ไม่นานหลังจากนั้น พระยะโฮวาได้กำหนดวิธีที่จะเรียกประชาชนของพระองค์ให้มาประชุมกัน. พระองค์ทรงสั่งให้โมเซทำแตรเงินสองตัวเพื่อใช้เป่าเรียก “คนทั้งปวงมาประชุมพร้อมกันที่ประตูพลับพลาชุมนุม.” (อาฤ. 10:1-4) ขอให้นึกภาพดูว่าประชาชนที่มาประชุมในโอกาสเหล่านั้นคงจะตื่นเต้นมากขนาดไหน!
4, 5. เหตุใดการประชุมที่โมเซและยะโฮซูอะจัดขึ้นจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ?
4 ในช่วงท้าย ๆ ของ 40 ปีที่ชาติอิสราเอลรอนแรมในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เป็นจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ของชาติที่ค่อนข้างใหม่นี้ โมเซเรียกเพื่อนร่วมชาติชาวอิสราเอลมาประชุมกัน. พวกเขากำลังจะเข้าสู่แผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญา. นี่จึงเป็นเวลาอันเหมาะที่โมเซเตือนพี่น้องของท่านให้ระลึกถึงทุกสิ่งที่พระยะโฮวาได้ทำเพื่อพวกเขาและทุกสิ่งที่พระองค์จะทำเพื่อพวกเขา.—5 อาจจะเป็นในโอกาสเดียวกันนี้ที่โมเซกล่าวถึงการจัดเตรียมอย่างหนึ่งซึ่งจะมีขึ้นเป็นประจำเพื่อประชาชนของพระเจ้าจะประชุมกันและรับการสอน. ในปีซะบาโต ระหว่างเทศกาลตั้งทับอาศัย ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก และคนต่างชาติต้องมาประชุมกันในสถานที่ที่พระยะโฮวาทรงเลือกไว้ ‘เพื่อให้เขาทั้งหลายได้ยินฟัง และกลัวเกรงพระยะโฮวาพระเจ้า และเชื่อฟังประพฤติตามพระบัญญัติทั้งปวงนี้.’ (อ่านพระบัญญัติ 31:1, 10-12) ดังนั้น ในช่วงแรกนี้ในประวัติศาสตร์ของประชาชนของพระเจ้า จึงเห็นได้ชัดว่าพวกเขาต้องประชุมด้วยกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะพิจารณาพระดำรัสและพระประสงค์ของพระยะโฮวา. ต่อมา หลังจากที่ชาวอิสราเอลพิชิตแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญาได้ทั้งหมดแล้วแต่ว่าชาตินอกรีตทั้งหลายยังคงอยู่รอบ ๆ พวกเขา ยะโฮซูอะได้เรียกชาติอิสราเอลให้มาประชุมกันเพื่อจะเสริมความตั้งใจของพวกเขาให้แน่วแน่ที่จะภักดีต่อพระยะโฮวาอยู่เสมอ. ประชาชนตอบรับด้วยการกล่าวปฏิญาณว่าจะรับใช้พระเจ้า.—ยโฮ. 23:1, 2; 24:1, 15, 21-24
6, 7. มีการประชุมที่สำคัญเป็นพิเศษอะไรบ้างซึ่งจัดขึ้นในสมัยปัจจุบัน?
6 ในประวัติของประชาชนของพระยะโฮวาสมัยปัจจุบัน มีการประชุมภาคครั้งสำคัญหลายครั้งด้วย. ในการประชุมเหล่านี้มีการประกาศการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีดำเนินการขององค์การและความเข้าใจบางอย่างในพระคัมภีร์. (สุภา. 4:18) ในปี 1919 นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลจัดการประชุมภาคขนาดใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1. การประชุมภาคนี้จัดขึ้นที่ซีดาร์พอยต์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาและมีผู้เข้าร่วมประมาณ 7,000 คน. ในการประชุมภาคนี้ มีการประกาศว่าประชาชนของพระเจ้าจะพยายามเป็นพิเศษเพื่อให้มีการประกาศไปทั่วโลก. ในปี 1922 ระหว่างการประชุมภาคเก้าวัน ซึ่งจัดขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ บราเดอร์โจเซฟ เอฟ. รัทเทอร์ฟอร์ดบรรยายอย่างมีพลังและกระตุ้นใจผู้ฟังให้ทำงานนี้โดยกล่าวว่า “จงเป็นพยานที่จริงแท้และซื่อสัตย์เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า. จงต่อสู้ต่อไปจนกว่าทุกส่วนของบาบิโลนจะเริศร้างว่างเปล่า. จงประกาศข่าวสารนี้ออกไปให้กว้างไกล. มนุษย์โลกต้องรู้ว่า พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหลายและเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งเจ้านายทั้งหลาย. บัดนี้เป็นเวลาสำคัญที่สุด. ดูเถิด พระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์แล้ว! คุณเป็นผู้เผยแพร่ของพระองค์. เหตุฉะนั้น จงโฆษณา โฆษณา โฆษณาพระมหากษัตริย์และราชอาณาจักรของพระองค์.” ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นรวมทั้งประชาชนของพระเจ้าที่อยู่ทั่วโลกได้ตอบรับการกระตุ้นนี้ด้วยความยินดี.
7 ในปี 1931 ณ การประชุมภาคที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลรู้สึกตื่นเต้นอย่างยิ่งเมื่อพวกเขารับเอาชื่อพยานพระยะโฮวา. ต่อมา ในปี 1935 ที่วอชิงตัน ดี.ซี. บราเดอร์รัทเทอร์ฟอร์ดอธิบายว่าใครคือ “ชนฝูงใหญ่” ที่หนังสือวิวรณ์พรรณนาไว้ว่า “ยืนอยู่ตรงหน้าราชบัลลังก์และเฉพาะพระพักตร์พระเมษโปดก.” (วิ. 7:9-17) ในปี 1942 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 บราเดอร์นาทาน เอช. นอรร์ บรรยายเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่ชื่อว่า “สันติสุข—จะยั่งยืนไหม?” ในคำบรรยายนี้ ท่านอธิบายว่า “สัตว์ร้ายสีแดงเข้ม” ในวิวรณ์บท 17 หมายถึงอะไร และชี้ว่ายังมีงานประกาศอีกมากที่ต้องทำหลังสงครามยุติลง.
8, 9. เหตุใดการประชุมภาคบางแห่งจึงเป็นวาระที่ทำให้ประชาชนของพระเจ้าตื้นตันใจเป็นพิเศษ?
8 ณ การประชุมภาคที่ชื่อว่า “ประชาชาติทั้งยิระ. 16:21
หลายจงชื่นใจยินดี” ในปี 1946 ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ บราเดอร์นอรร์บรรยายเรื่องที่น่าสนใจมากที่ชื่อว่า “ปัญหาในโครงการก่อสร้างและการแผ่ขยาย.” พี่น้องชายคนหนึ่งเขียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาของผู้ฟังว่า “ผมมีสิทธิพิเศษได้อยู่หลังเวทีตอนที่ท่านบรรยายในเย็นวันนั้น และขณะที่ท่านบอกเกี่ยวกับแผนงานต่าง ๆ ในการขยายบ้านเบเธลและโรงงานที่บรุกลินก็มีเสียงปรบมือดังกึกก้องเป็นระลอก ๆ จากผู้ฟังจำนวนมากมาย. แม้ว่าเมื่อมองจากเวทีไม่สามารถเห็นหน้าผู้ฟังได้ชัด แต่ก็รู้สึกได้ถึงความยินดีของพวกเขา.” ณ การประชุมนานาชาติที่กรุงนิวยอร์กในปี 1950 ผู้ฟังต่างก็ดีใจที่ได้รับพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกฉบับแปลโลกใหม่ ซึ่งเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลที่ใช้ภาษาอังกฤษสมัยใหม่ซึ่งมีการนำพระนามของพระเจ้ากลับมาใส่ไว้ในพระคำของพระองค์อย่างที่ควรจะเป็น.—9 การประชุมภาคที่พระยะโฮวาทรงรวบรวมเหล่าพยานที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ภายหลังช่วงเวลาที่พวกเขาถูกข่มเหงหรือถูกสั่งห้ามก็เป็นเหตุการณ์ที่น่าตื้นตันใจอย่างยิ่งด้วย. อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์เคยลั่นวาจาไว้ว่าจะทำลายพยานพระยะโฮวาในเยอรมนี แต่มีพยานฯ ถึง 107,000 คนเข้าร่วมการประชุมภาคในปี 1955 ณ สถานที่ที่เขาเคยใช้เป็นที่ตรวจพลดูการสวนสนามในนือเรมเบิร์ก. หลายคนที่อยู่ที่นั่นไม่อาจกลั้นน้ำตาแห่งความยินดีไว้ได้! ในปี 1989 มีพี่น้องทั้งหมด 166,518 คนเข้าร่วมการประชุมภาค “ความเลื่อมใสในพระเจ้า” สามแห่งซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศโปแลนด์. หลายคนมาจากประเทศที่ในอดีตคือสหภาพโซเวียตและเชโกสโลวะเกีย และจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตะวันออก. สำหรับบางคนแล้ว นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เข้าร่วมการประชุมที่มีประชาชนของพระเจ้าเข้าร่วมมากกว่า 15 คนหรือ 20 คน. และขอให้นึกภาพถึงความยินดี ณ การประชุมนานาชาติ “การสอนจากพระเจ้า” ในปี 1993 ที่เมืองเคียฟ สาธารณรัฐยูเครน. ในการประชุมนี้มีผู้รับบัพติสมาถึง 7,402 คน ซึ่งเป็นยอดสูงสุดของการรับบัพติสมาของพยานพระยะโฮวาที่เคยมีการบันทึกไว้.—ยซา. 60:22; ฮาฆี 2:7
10. การประชุมภาคครั้งใดที่น่าจดจำเป็นพิเศษสำหรับคุณ และเพราะเหตุใด?
10 อาจมีการประชุมภาคหรือการประชุมนานาชาติที่ทำให้คุณประทับใจเป็นพิเศษ. คุณจำการประชุมภาคครั้งแรกที่คุณเข้าร่วมหรือการประชุมที่คุณรับบัพติสมาได้ไหม? การประชุมเหล่านี้เป็นโอกาสที่สำคัญมากสำหรับคุณในการนมัสการพระยะโฮวา และคุณคงไม่มีวันลืมการประชุมเหล่านี้ซึ่งเป็นความทรงจำที่ล้ำค่าจริง ๆ!—เพลง. 42:4
วาระที่น่ายินดีซึ่งมีเป็นประจำ
11. พระเจ้าทรงกำหนดให้ชาวอิสราเอลเข้าร่วมเทศกาลอะไรทุกปี?
11 พระยะโฮวาทรงกำหนดให้ชาวอิสราเอลประชุมกันในกรุงเยรูซาเลมทุกปี ปีละสามครั้ง ในเทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อ เทศกาลสัปดาห์ (ภายหลังเรียกว่าเพนเทคอสต์) และเทศกาลตั้งทับอาศัย. พระเจ้าทรงสั่งชาวอิสราเอลว่า “ให้ชายทั้งหลายเฝ้าพระยะโฮวาปีละสามครั้ง.” (เอ็ก. 23:14-17) ผู้ชายหลายคนเห็นคุณค่าของเทศกาลเหล่านี้มาก พวกเขาจึงพาทุกคนในครอบครัวไปร่วมเทศกาลเหล่านี้.—1 ซามู. 1:1-7; ลูกา 2:41, 42
12, 13. ชาวอิสราเอลหลายคนต้องทำอะไรเพื่อเข้าร่วมเทศกาลต่าง ๆ ในแต่ละปี?
12 ขอให้คิดถึงว่านั่นจะหมายถึงอะไรสำหรับลูกา 2:44-46
ครอบครัวชาวอิสราเอลที่เดินทางไปร่วมเทศกาลเหล่านั้น. ตัวอย่างเช่น โยเซฟและมาเรียคงเดินทางราว 100 กิโลเมตรจากนาซาเรทเพื่อไปกรุงเยรูซาเลม. คุณคิดว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไรถ้าคุณต้องพาเด็กเล็ก ๆ เดินไปด้วยในการเดินทางไกลขนาดนั้น? เมื่อเราอ่านบันทึกเกี่ยวกับการเดินทางของพระเยซูไปกรุงเยรูซาเลมตอนที่พระองค์ยังเด็ก เรารู้ว่าญาติ ๆ และเพื่อน ๆ อาจเดินทางไปด้วยกันเป็นกลุ่ม. นั่นคงต้องเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพวกเขาที่ได้เดินทางไปด้วยกัน ทำอาหารกินด้วยกัน และหาที่หลับที่นอนในที่ที่พวกเขาไม่คุ้นเคย. แต่การเดินทางในตอนนั้นคงปลอดภัยมากพอสมควรเพราะโยเซฟและมาเรียให้อิสระในระดับหนึ่งแก่พระเยซูซึ่งมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา. ขอให้คิดดูว่านั่นคงเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำสักเพียงไร โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ๆ!—13 หลังจากที่ชาวอิสราเอลกระจัดกระจายไปอยู่นอกเขตแดนมาตุภูมิของพวกเขา คนที่มาร่วมเทศกาลเหล่านั้นก็มาจากหลายชาติ. ในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 ชาวยิวและผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนายิวที่เห็นคุณค่าของเทศกาลเหล่านี้ได้เดินทางจากที่ต่าง ๆ มายังกรุงเยรูซาเลม เช่น จากอิตาลี ลิเบีย ครีต เอเชียไมเนอร์ และเมโสโปเตเมีย.—กิจ. 2:5-11; 20:16
14. ชาวอิสราเอลได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเข้าร่วมเทศกาลในแต่ละปี?
14 สำหรับชาวอิสราเอลที่มีความเชื่อ สิ่งที่สำคัญและน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการเดินทางดังกล่าวก็คือการนมัสการพระยะโฮวาร่วมกับผู้คนมากมายที่รักพระยะโฮวาเช่นเดียวกับพวกเขา. คนเหล่านั้นที่เข้าร่วมรู้สึกอย่างไร? เราพบคำตอบได้จากพระบัญชาของพระยะโฮวาที่ตรัสกับประชาชนของพระองค์เกี่ยวกับเทศกาลตั้งทับอาศัย ที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจงยินดีในการเลี้ยงของเจ้า, ทั้งตัวเจ้า บุตรชายหญิงของเจ้า, ทาสชายหญิงของเจ้า, คนตระกูลเลวี, คนแขกเมือง, คนกำพร้า, และหญิงหม้ายที่อยู่ในประตูเมืองของเจ้า. และเจ้าทั้งหลายจงถือการเลี้ยงอยู่เจ็ดวันแก่พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า ในสถานที่ซึ่งพระยะโฮวาจะทรงเลือกนั้น; เพราะพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าทรงอวยพรแก่เจ้าทั้งหลายในซึ่งได้จำเริญบริบูรณ์, และในบรรดาการงานซึ่งมือของเจ้ากระทำ, เจ้าทั้งหลายจงมีความยินดีอย่างยิ่ง.”—บัญ. 16:14, 15; อ่านมัดธาย 5:3
เหตุใดเราควรเห็นคุณค่าการประชุมภาค?
15, 16. คุณต้องเสียสละอะไรบ้างเพื่อจะเข้าร่วมการประชุมภาคได้ และเหตุใดจึงคุ้มค่าที่จะเสียสละเช่นนั้น?
15 เทศกาลเหล่านั้นในกรุงเยรูซาเลมเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมสำหรับประชาชนของพระเจ้าในทุกวันนี้! การประชุมภาคของเรามีหลายอย่างที่คล้ายกับเทศกาลเหล่านั้นในสมัยโบราณ. เช่นเดียวกับประชาชนของพระเจ้าในสมัยคัมภีร์ไบเบิล พวกเราหลายคนต้องเสียสละเพื่อจะเข้าร่วมการประชุมภาคได้. แต่เราได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับการเสียสละ. เหตุการณ์เหล่านี้เคยเป็นโอกาสที่สำคัญในการนมัสการ และยังคงเป็นเช่นนั้นในปัจจุบัน. การประชุมภาคให้ความรู้และความเข้าใจแก่เราเพื่อช่วยเรารักษาสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระเจ้า. การประชุมภาคกระตุ้นเราให้นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในชีวิต ช่วยเราให้หลีกเลี่ยงปัญหา และสนับสนุนเราให้มุ่งทำกิจกรรมฝ่ายวิญญาณซึ่งจะทำให้เราสดชื่น ไม่ใช่ทำให้เราหมดเรี่ยวแรง.—เพลง. 122:1-4
16 การประชุมภาคทำให้ผู้เข้าร่วมมีความยินดีเสมอ. รายงานหนึ่งเกี่ยวกับการประชุมภาคขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในปี 1946 กล่าวว่า “ช่างเป็นภาพที่น่าตื่นเต้นจริง ๆ เมื่อได้เห็นพยานฯ ที่มีความสุขหลายหมื่นคนมาอยู่ด้วยกันและได้รับการบริการที่จำเป็น. เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อได้ยินเสียงเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ประสานกับเสียงของมหาชนที่ร้องเพลงราชอาณาจักรสรรเสริญพระยะโฮวาดังกระหึ่มจนอัฒจันทร์สั่นสะเทือนไปหมด.” รายงานนั้นบอกต่ออีกว่า “พี่น้องจำนวนมากมาลงชื่อที่แผนกอาสาสมัครเพื่อจะทำงานในแผนกต่าง ๆ ด้วยความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับใช้พี่น้อง.” คุณรู้สึกตื่นเต้นแบบเดียวกันนั้นไหมเพลง. 110:3; ยซา. 42:10-12
เมื่อเข้าร่วมการประชุมภาคหรือการประชุมนานาชาติ?—17. มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีจัดการประชุมภาค?
17 มีบางสิ่งเปลี่ยนไปเกี่ยวกับวิธีจัดการประชุมภาค. ตัวอย่างเช่น บางคนยังจำได้ถึงตอนที่เราเคยประชุมกันแปดวันในการประชุมภาค. มีระเบียบวาระการประชุมในภาคเช้า ภาคบ่าย และภาคเย็น. การประกาศเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบวาระการประชุมเสมอ. บางครั้งระเบียบวาระเริ่มตั้งแต่เก้าโมงเช้าและมักจะประชุมจนถึงสามทุ่ม. อาสาสมัครทำงานหนักหลายชั่วโมงในการเตรียมอาหารเช้า เที่ยง และเย็นสำหรับผู้เข้าร่วมการประชุม. แต่การประชุมภาคในปัจจุบันไม่ได้ประชุมกันหลายวันเหมือนเมื่อก่อน. และพี่น้องสามารถเอาใจใส่ระเบียบวาระการประชุมได้มากขึ้นเพราะทุกคนจัดการเรื่องอาหารสำหรับตัวเอง.
18, 19. คุณชอบส่วนไหนของการประชุมภาคเป็นพิเศษ และเพราะเหตุใด?
18 มีบางสิ่งในระเบียบวาระการประชุมภาคที่เราคอยท่าทุก ๆ ปีและเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมภาคมานานแล้ว. ‘อาหารฝ่ายวิญญาณในเวลาอันเหมาะ’ ซึ่งทำให้เราเข้าใจคำพยากรณ์และคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลดีขึ้น ไม่ได้มาจากคำบรรยายต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังมาจากหนังสือใหม่ที่ออก ณ การประชุมภาคด้วย. (มัด. 24:45) เราสามารถใช้หนังสือใหม่หลายเล่มเพื่อช่วยคนที่สุจริตใจให้เข้าใจความจริงในคัมภีร์ไบเบิล. ละครที่กระตุ้นใจซึ่งอาศัยเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลช่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ตรวจสอบแรงกระตุ้นของตนและป้องกันตัวเองจากแนวคิดของโลก. คำบรรยายบัพติสมาทำให้เราทุกคนมีโอกาสได้ทบทวนว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเรา. และเรามีความสุขที่เห็นหลายคนแสดงการอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาด้วยการรับบัพติสมา.
19 การประชุมใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการบริสุทธิ์มาหลายพันปีแล้ว. การประชุมภาคช่วยเราให้มีความชื่นชมยินดีและรักษาความซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวาในสมัยที่ยากลำบากและส่งเสริมให้เราทำมากขึ้นในการรับใช้พระองค์. การประชุมเหล่านี้ทำให้เรามีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ ๆ และช่วยเราให้เห็นคุณค่าสังคมพี่น้องทั่วโลก และเป็นวิธีสำคัญอย่างหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงใช้เพื่ออวยพรและดูแลประชาชนของพระองค์. แน่นอน เราแต่ละคนต้องการจัดกิจธุระต่าง ๆ เพื่อจะสามารถเข้าร่วมและรับประโยชน์จากระเบียบวาระการประชุมภาคครบทุกรายการ.—สุภา. 10:22