จงเรียนจากพระยะโฮวาและพระเยซูในเรื่องความอดทน
“จงถือว่าความอดทนขององค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นความรอด.”—2 เป. 3:15
1. ผู้ซื่อสัตย์บางคนสงสัยเรื่องอะไร?
พี่น้องหญิงที่ซื่อสัตย์คนหนึ่งซึ่งอดทนความลำบากตลอดหลายสิบปีถามอย่างถ่อมใจว่า “ดิฉันจะตายก่อนที่จะได้เห็นอวสานไหม?” บางคนที่รับใช้พระยะโฮวามานานก็สงสัยอย่างเดียวกัน. เราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้เห็นวันที่พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งขึ้นใหม่และขจัดปัญหาทั้งหลายที่เราประสบอยู่ในเวลานี้. (วิ. 21:5) แม้ว่ามีเหตุผลมากมายที่เราจะเชื่อว่าระบบของซาตานใกล้จะถึงอวสานอยู่แล้ว แต่การคอยท่าวันนั้นอย่างอดทนอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย.
2. เราจะพิจารณาคำถามอะไรเกี่ยวกับความอดทน?
2 ถึงกระนั้น คัมภีร์ไบเบิลชี้ว่าเราต้องอดทน. เช่นเดียวกับผู้รับใช้ของพระเจ้าในสมัยอดีต เราจะได้รับสิ่งที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ถ้าเรามีความเชื่อที่เข้มแข็งและคอยท่าเวลาที่พระองค์จะทำให้คำสัญญาเหล่านั้นสำเร็จเป็นจริงอย่างอดทน. (อ่านฮีบรู 6:11, 12) พระยะโฮวาเองทรงอดทน. พระองค์ทรงสามารถทำให้ความชั่วสิ้นสุดลงเมื่อไรก็ได้ แต่พระองค์ทรงคอยให้ถึงเวลาที่เหมาะสม. (โรม 9:20-24) เหตุใดพระองค์จึงทรงอดทนมากเช่นนั้น? พระเยซูทรงเลียนแบบความอดทนของพระบิดาและวางแบบอย่างไว้ให้เราอย่างไร? เราจะได้รับประโยชน์อะไรถ้าเราคอยอย่างอดทนเช่นเดียวกับพระเจ้า? คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้จะช่วยเราให้อดทนและมีความเชื่อที่เข้มแข็งขึ้น แม้แต่ถ้าเรารู้สึกว่าพระยะโฮวาทรงล่าช้า.
เหตุใดพระยะโฮวาทรงแสดงความอดทน?
3, 4. (ก) เหตุใดพระยะโฮวาจึงทรงแสดงความอดทนในการทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำหรับแผ่นดินโลกสำเร็จ? (ข) พระยะโฮวาทรงทำอะไรเมื่อเกิดการขืนอำนาจในสวนเอเดน?
3 พระยะโฮวาทรงมีเหตุผลที่ดีที่จะแสดงความอดทน. เป็นความจริงที่ว่าพระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือเอกภพตลอดมาทุกยุคทุกสมัย. แต่การขืนอำนาจในสวนเอเดนทำให้เกิดคำถามที่สำคัญซึ่งต้องได้รับคำตอบเพื่อประโยชน์ของสิ่งทรงสร้างทั้งสิ้นทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก. พระยะโฮวาทรงอดทน เพราะพระองค์ทรงรู้ฮีบรู 4:13
ว่าต้องใช้เวลาจึงจะตอบคำถามเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์. เนื่องจากพระองค์ทรงทราบดีเกี่ยวกับการกระทำและทัศนคติของแต่ละบุคคลทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก สิ่งที่พระองค์กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้จึงเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับเราอย่างแน่นอน.—4 พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้อาดามและฮาวามีลูกหลานเต็มแผ่นดินโลก. เมื่อซาตานล่อลวงฮาวา และต่อมาอาดามไม่เชื่อฟังพระเจ้า พระองค์ไม่ได้ทิ้งพระประสงค์ดั้งเดิมนั้น. พระองค์ไม่ทรงตื่นตระหนก ด่วนตัดสินพระทัย หรือแสดงปฏิกิริยามากเกินไป แล้วก็เลิกล้มพระประสงค์ของพระองค์สำหรับครอบครัวมนุษย์. แทนที่จะทำอย่างนั้น พระองค์ทรงคิดวิธีที่จะทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำหรับมนุษย์และแผ่นดินโลกสำเร็จ. (ยซา. 55:11) เพื่อจะทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จและพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะปกครอง พระยะโฮวาทรงควบคุมพระองค์เองและทรงอดทนอย่างยิ่ง โดยทรงคอยเป็นเวลาหลายพันปีเพื่อจะทำให้บางแง่มุมที่เกี่ยวกับพระประสงค์ของพระองค์สำเร็จเป็นจริงในวิธีที่ดีที่สุด.
5. ความอดทนของพระยะโฮวาทำให้เกิดพระพรอะไร?
5 เหตุผลอีกประการหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงคอยอย่างอดทนก็คือเพื่อจะมีคนได้รับชีวิตนิรันดร์มากขึ้น. ในเวลานี้ พระองค์กำลังเตรียมการเพื่อจะช่วย “ชนฝูงใหญ่” ให้รอดชีวิต. (วิ. 7:9, 14; 14:6) โดยทางงานประกาศของเรา พระยะโฮวาทรงเชิญประชาชนให้มาเรียนรู้เกี่ยวกับราชอาณาจักรและมาตรฐานอันชอบธรรมของพระองค์. ข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรเป็น “ข่าวดี” สำหรับมนุษยชาติ และไม่มีข่าวใดที่ดีกว่านี้อีกแล้ว! (มัด. 24:14) แต่ละคนที่พระยะโฮวาทรงชักนำได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมทั่วโลกซึ่งมีแต่คนที่เป็นเพื่อนแท้และรักสิ่งที่ถูกต้อง. (โย. 6:44-47) พระเจ้าของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักทรงช่วยคนเหล่านั้นให้ได้รับความโปรดปรานจากพระองค์. นอกจากนั้น พระองค์ทรงเลือกมนุษย์บางคนที่อยู่บนโลกให้มาเป็นสมาชิกของรัฐบาลในสวรรค์. เมื่อขึ้นไปทำหน้าที่ในสวรรค์ ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้จะช่วยมนุษย์ที่เชื่อฟังให้บรรลุความสมบูรณ์และมีชีวิตที่ไม่รู้สิ้นสุด. เห็นได้ชัดว่าแม้แต่ขณะที่พระยะโฮวาทรงคอยอย่างอดทน พระองค์ทรงดำเนินการเพื่อทำให้คำสัญญาของพระองค์สำเร็จเป็นจริง. และทั้งหมดนั้นก็เพื่อประโยชน์ของเรา.
6. (ก) พระยะโฮวาทรงแสดงความอดทนอย่างไรในสมัยโนอาห์? (ข) พระยะโฮวาทรงแสดงความอดทนอย่างไรในสมัยของเรา?
6 พระยะโฮวาทรงอดทนแม้ว่ามีการทำสิ่งเลวร้ายที่ทำให้พระองค์ขุ่นเคือง ดังที่เราเห็นได้จากวิธีที่พระองค์ทรงจัดการความชั่วในช่วงก่อนน้ำท่วมโลก. แผ่นดินโลกเต็มด้วยการทำผิดศีลธรรมและความรุนแรง และพระยะโฮวา “ทรงปวดร้าวพระทัย” เพราะความเสื่อมทรามของมนุษย์. (เย. 6:2-8, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ) แน่นอน พระองค์จะไม่ยอมให้เป็นแบบนั้นตลอดไป. ดังนั้น พระองค์ทรงตัดสินพระทัยจะทำลายมนุษยชาติที่ไม่เชื่อฟังด้วยน้ำท่วมใหญ่. แม้ว่า “พระเจ้าทรงอดทนรอในสมัยโนอาห์” แต่พระองค์ทรงเตรียมการเพื่อช่วยโนอาห์กับครอบครัวให้รอดชีวิต. (1 เป. 3:20) เมื่อถึงเวลาที่เหมาะ พระยะโฮวาทรงแจ้งให้โนอาห์ทราบการตัดสินพระทัยดังกล่าวและมอบหมายให้ท่านสร้างเรือ. (เย. 6:14-22) นอกจากนั้น โนอาห์ยังเป็น “ผู้ประกาศความชอบธรรม” โดยบอกเพื่อนมนุษย์ให้ทราบเกี่ยวกับการทำลายล้างที่กำลังจะเกิดขึ้น. (2 เป. 2:5) พระเยซูตรัสว่าสมัยของเราจะคล้ายกับสมัยของโนอาห์. พระยะโฮวาทรงกำหนดไว้แล้วว่าพระองค์จะนำอวสานมาสู่ระบบชั่วนี้เมื่อไร. ไม่มีใครรู้ว่า “วันเวลานั้น” จะมาถึงเมื่อไร. (มัด. 24:36) ในเวลานี้ พระเจ้าทรงมอบหมายงานให้เราเตือนผู้คนและบอกให้พวกเขารู้วิธีที่จะรอด.
7. พระยะโฮวาทรงล่าช้าในการทำให้คำสัญญาของพระองค์สำเร็จเป็นจริงไหม? จงอธิบาย.
7 เห็นได้ชัด ความอดทนของพระยะโฮวาไม่ได้หมายความว่าพระองค์เพียงแต่คอยให้เวลาผ่านไป. และเราไม่ควรคิดว่าพระองค์ไม่สนใจไยดีเรา! แต่เมื่อเราอายุมากขึ้นหรือประสบความทุกข์ยากในระบบชั่วนี้ อาจเป็นเรื่องง่ายที่จะคิดอย่างนั้น. เราฮีบรู 10:36) อย่าลืมว่าพระองค์ทรงมีเหตุผลที่ดีที่จะอดทนและพระองค์กำลังใช้เวลาในขณะนี้อย่างที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้รับใช้ที่ภักดีของพระองค์. (2 เป. 2:3; 3:9) นอกจากนั้น ขอให้พิจารณาด้วยว่าพระเยซูทรงแสดงความอดทนเช่นเดียวกับพระบิดาอย่างไร.
อาจท้อใจหรือรู้สึกว่าพระเจ้าทรงล่าช้าในการทำให้คำสัญญาของพระองค์สำเร็จเป็นจริง. (พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่ดีเช่นไรในเรื่องความอดทน?
8. พระเยซูทรงแสดงความอดทนในสถานการณ์เช่นไร?
8 พระเยซูกำลังทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า และพระองค์ทรงทำอย่างนี้ด้วยความกระตือรือร้นมาเป็นเวลานานสุดคณานับ. เมื่อซาตานขืนอำนาจ พระยะโฮวาทรงตัดสินพระทัยให้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์มายังแผ่นดินโลกในฐานะพระมาซีฮา. ขอให้คิดดูว่าพระเยซูต้องแสดงความอดทนมากสักเพียงไรขณะที่คอยเป็นเวลาหลายพันปีจนกว่าจะถึงเวลาดังกล่าว. (อ่านกาลาเทีย 4:4) ระหว่างที่คอยอยู่นั้นพระองค์ไม่ได้อยู่เฉย ๆ. พระองค์ทรงหมกมุ่นในการทำงานที่พระบิดามอบหมายให้พระองค์ทำ. เมื่อมายังแผ่นดินโลก พระองค์ทรงรู้ว่าจะต้องสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำมือของซาตานตามคำพยากรณ์. (เย. 3:15; มัด. 16:21) พระองค์ทรงทนรับความเจ็บปวดแสนสาหัสเช่นนั้นเพราะทรงรู้ว่านั่นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า. พระองค์ทรงภักดีอย่างยิ่ง. พระองค์ไม่มุ่งความสนใจไปที่พระองค์เองและตำแหน่งของพระองค์ และเราควรเลียนแบบพระองค์.—ฮีบรู 5:8, 9
9, 10. (ก) พระเยซูทรงทำอะไรขณะคอยให้ถึงเวลาที่พระยะโฮวาลงมือปฏิบัติการ? (ข) เราจะเลียนแบบทัศนคติของพระเยซูได้อย่างไร?
9 หลังจากถูกปลุกให้คืนพระชนม์ พระเยซูทรงได้รับมอบอำนาจในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก. (มัด. 28:18) พระองค์ทรงใช้อำนาจนั้นเพื่อทำให้พระประสงค์ของพระยะโฮวาสำเร็จตามตารางเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้. พระเยซูทรงคอยอย่างอดทนที่ด้านขวาพระหัตถ์ของพระเจ้าจนกระทั่งปี 1914 เมื่อศัตรูของพระองค์ถูกวางเป็นม้ารองพระบาทพระองค์. (เพลง. 110:1, 2; ฮีบรู 10:12, 13) ในไม่ช้าพระองค์จะทรงลงมือปฏิบัติการเพื่อนำอวสานมาสู่ระบบของซาตาน. ขณะที่คอยอยู่นี้ พระเยซูทรงช่วยเหลือผู้คนอย่างอดทนให้ได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าและนำพวกเขาไปยัง “น้ำแห่งชีวิต.”—วิ. 7:17
10 คุณเห็นวิธีที่คุณจะเลียนแบบทัศนคติของพระเยซูไหม? พระเยซูทรงรู้ว่าพระยะโฮวาทรงมีกำหนดเวลาที่พระองค์จะทรงลงมือปฏิบัติการ. ไม่มีข้อสงสัยว่าพระเยซูทรงกระตือรือร้นที่จะทำสิ่งใดก็ตามที่พระบิดาทรงขอให้พระองค์ทำ. ถึงกระนั้น พระองค์ทรงเต็มพระทัยที่จะคอยให้ถึงเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนด. ขณะที่เราคอยให้ระบบชั่วของซาตานสิ้นสุดลง เราทุกคนจำเป็นต้องอดทน ไม่ล้ำหน้าพระเจ้าหรือเลิกรับใช้พระองค์เพราะท้อใจ. เราอาจทำอะไรได้เพื่อจะมีความอดทนแบบนี้?
ฉันจะเลียนแบบพระเจ้าในเรื่องความอดทนได้อย่างไร?
11. (ก) ความอดทนเกี่ยวข้องกับความเชื่ออย่างไร? (ข) เหตุใดเราจึงมีเหตุผลหนักแน่นที่จะมีความเชื่อที่เข้มแข็ง?
11 ก่อนพระเยซูเสด็จมายังแผ่นดินโลก ผู้พยากรณ์และผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์คนอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าแม้แต่มนุษย์ไม่สมบูรณ์ก็สามารถอดทนได้. การที่พวกเขามีความอดทนเช่นนั้นเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ของพวกเขา. (อ่านยาโกโบ 5:10, 11) ถ้าพวกเขาขาดความเชื่อหรือไม่เชื่อจริง ๆ ในสิ่งที่พระยะโฮวาทรงสัญญา พวกเขาจะคอยอย่างอดทนให้คำสัญญาของพระองค์สำเร็จเป็นจริงไหม? พวกเขาเผชิญการทดสอบความเชื่อที่น่ากลัวหรือความยากลำบากครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเชื่อมั่นว่าในที่สุดพระเจ้าจะทรงทำตามคำสัญญาของพระองค์. (ฮีบรู 11:13, 35-40) เรามีเหตุผลมากยิ่งกว่านั้นอีกที่จะมีความเชื่อที่มั่นคงเข้มแข็ง เพราะในเวลานี้พระเยซูทรงทำหน้าที่เป็น “ผู้ทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์.” (ฮีบรู 12:2) พระองค์ทรงทำให้คำพยากรณ์สำเร็จเป็นจริงและเปิดเผยพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างที่ทำให้เรามีเหตุผลหนักแน่นที่จะมีความเชื่อ.
12. เราอาจทำอะไรได้เพื่อจะมีความเชื่อมากขึ้น?
มัดธาย 6:33 ได้ไหม? นั่นอาจหมายถึงการใช้เวลามากขึ้นในงานประกาศหรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณ. อย่ามองข้ามวิธีที่พระยะโฮวาทรงอวยพรความพยายามของคุณจนถึงตอนนี้. พระองค์อาจช่วยคุณให้สามารถนำการศึกษาพระคัมภีร์รายใหม่ ๆ ได้หรือช่วยคุณให้มี “สันติสุขของพระเจ้าซึ่งเหนือกว่าความคิดทุกอย่าง.” (อ่านฟิลิปปอย 4:7) เมื่อคุณได้พิจารณาผลประโยชน์ที่คุณเองได้รับจากการทำตามคำสั่งสอนของพระยะโฮวา คุณก็จะเห็นคุณค่าของความอดทนมากขึ้น.—เพลง. 34:8
12 เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเสริมความเชื่อให้เข้มแข็งซึ่งจะทำให้เรามีความอดทนมากขึ้น? สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการทำตามคำแนะนำของพระเจ้า. ตัวอย่างเช่น ขอให้คิดถึงเหตุผลที่คุณควรจัดให้ราชอาณาจักรเป็นอันดับแรกในชีวิตของคุณ. คุณจะพยายามมากขึ้นในการทำตามพระบัญชาที่13. ตัวอย่างเปรียบเทียบอะไรที่แสดงว่าความเชื่อทำให้เรามีความอดทนมากขึ้นได้?
13 ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยเราให้เข้าใจว่าความเชื่อจะทำให้เรามีความอดทนมากขึ้นได้อย่างไร. กสิกรหว่านเมล็ด ปลูกพืช และเก็บเกี่ยว. แต่ละครั้งที่กสิกรเก็บเกี่ยวพืชผลได้มาก เขาก็จะมั่นใจมากขึ้นที่จะหว่านเมล็ดพืชในฤดูถัดไป. เขาอาจหว่านปลูกมากกว่าฤดูก่อนด้วยซ้ำ. เขาเพาะปลูกพืชแม้รู้ว่าเขาต้องคอยอย่างอดทนให้ถึงฤดูเกี่ยว. เขาเชื่อว่าจะได้เก็บเกี่ยวพืชผล. ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราเรียนรู้คำแนะนำของพระยะโฮวา ทำตาม และได้รับผลดี เราก็จะไว้วางใจพระยะโฮวามากขึ้น. ความเชื่อของเราก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน และเป็นเรื่องง่ายที่เราจะคอยท่าพระพรที่เรารู้ว่าจะมีมา.—อ่านยาโกโบ 5:7, 8
14, 15. เราควรมองความทุกข์ยากของมนุษย์อย่างไร?
14 อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราอดทนมากขึ้นก็คือการมองโลกและสภาพการณ์ของตัวเราเองอย่างที่พระยะโฮวาทรงมอง. ตัวอย่างเช่น ขอให้พิจารณาว่าพระยะโฮวาทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความทุกข์ยาก1 โย. 3:8) ในความเป็นจริงแล้ว ความทุกข์ยากจะมีอยู่เพียงชั่วคราว แต่การแก้ไขของพระเจ้าจะยั่งยืนตลอดไป. คล้ายกัน แทนที่จะปล่อยให้ตัวเราเองท้อใจและหมดเรี่ยวแรงเพราะความชั่วในระบบปัจจุบันของซาตานหรือหมดความอดทนในการคอยท่าอวสาน ขอให้เราแสดงความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นซึ่งจะคงอยู่ตลอดไป. พระยะโฮวาทรงกำหนดเวลาที่แน่นอนไว้แล้วที่จะทำให้ความชั่วยุติลง และพระองค์จะลงมือจัดการตรงตามเวลา.—ยซา. 46:13; นาฮูม 1:9
ของมนุษย์. พระองค์ทรงเจ็บปวดมานานที่เห็นมนุษย์เราทนทุกข์. ถึงกระนั้น พระองค์ไม่จมอยู่กับความโศกเศร้า และไม่ปล่อยให้ความโศกเศร้ายับยั้งพระองค์ไว้จากการทำสิ่งดี. พระองค์ทรงส่งพระบุตรองค์เดียวมา ‘เพื่อทำลายการงานของพญามาร’ และลบล้างผลเสียหายทุกอย่างที่ซาตานทำให้เกิดขึ้นกับมนุษย์. (15 ระหว่างสมัยสุดท้ายที่ยากลำบากนี้ เราอาจต้องทนกับสถานการณ์ที่ทำให้ทุกข์ใจอย่างยิ่งซึ่งจะทดสอบความเชื่อของเรา. เราหรือคนที่เรารักอาจทนทุกข์เพราะความรุนแรงหรือเหตุอื่น ๆ. แทนที่จะโกรธ เราต้องตั้งใจแน่วแน่ที่จะไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่. เราเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำอย่างนั้น. แต่ขอให้นึกถึงสิ่งที่พระเยซูทรงทำดังบันทึกไว้ที่มัดธาย 26:39.—อ่าน
16. ระหว่างที่คอยให้อวสานมาถึง เราต้องระวังที่จะไม่ทำอะไร?
16 สิ่งหนึ่งที่อาจทำให้เราไม่ได้แสดงความอดทนคือทัศนคติแบบขอรอดูก่อน. นั่นหมายความอย่างไร? คนที่ขาดความเชื่อมั่นว่าอวสานมาใกล้แล้วอาจเริ่มวางแผนบางอย่างไว้สำหรับตัวเอง เผื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างที่พระยะโฮวาตรัสไว้. กล่าวอีกอย่างคือ เขาอาจเริ่มคิดว่า ‘ฉันขอรอดูก่อนว่าพระยะโฮวาจะทรงทำตามที่พระองค์ตรัสจริง ๆ ไหม.’ เมื่อเป็นอย่างนั้น เขาอาจพยายามสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองในโลกนี้ แสวงหาความมั่นคงทางการเงินแทนที่จะแสวงหาราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นอันดับแรก หรือให้ความสำคัญแก่การศึกษาสูงเพื่อจะมีชีวิตที่สะดวกสบายในเวลานี้. แต่นั่นแสดงว่าเขาขาดความเชื่อมิใช่หรือ? ขอให้จำไว้ว่าเปาโลกระตุ้นเราให้เป็นผู้เลียนแบบเหล่าผู้ซื่อสัตย์ที่ได้รับตามที่พระยะโฮวาทรงสัญญา “เนื่องด้วยความเชื่อและความอดทน.” (ฮีบรู 6:12) พระยะโฮวาจะไม่ปล่อยให้ระบบชั่วนี้คงอยู่นานเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์. (ฮบา. 2:3) ในระหว่างนี้ เราต้องระวังที่จะไม่รับใช้พระยะโฮวาแบบพอเป็นพิธี. แทนที่จะทำอย่างนั้น เราจำเป็นต้องตื่นตัวอยู่เสมอและทำงานประกาศข่าวดีอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งจะทำให้เรามีความอิ่มใจยินดีอย่างยิ่งแม้แต่ในขณะนี้.—ลูกา 21:36
ความอดทนทำให้เราได้รับพระพรอะไร?
17, 18. (ก) เรามีโอกาสอะไรขณะที่เราคอยอย่างอดทน? (ข) เราจะได้รับพระพรอะไรจากการแสดงความอดทนในขณะนี้?
17 ไม่ว่าเรารับใช้พระเจ้ามาได้ไม่กี่เดือนหรือรับใช้มาหลายสิบปี เราต้องการรับใช้พระองค์ตลอดไป. ความอดทนช่วยเราให้ยืนหยัดจนกระทั่งเราได้รับความรอด ไม่ว่าเวลาจะเหลืออยู่เท่าไรในระบบนี้. ตอนนี้พระยะโฮวาทรงให้โอกาสเราที่จะพิสูจน์ว่าเราไว้วางใจการตัดสินพระทัยของพระองค์อย่างเต็มที่ และถ้าจำเป็นเราก็พร้อมจะทนทุกข์เพื่อเห็นแก่พระนามของพระองค์. (1 เป. 4:13, 14) นอกจากนั้น พระเจ้าทรงฝึกอบรมเราเพื่อช่วยให้เราสามารถอดทนจนถึงที่สุดและได้รับความรอด.—1 เป. 5:10
18 พระเยซูทรงได้รับอำนาจทั้งสิ้นในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก และไม่มีสิ่งใดจะพรากคุณไปจากการดูแลปกป้องของพระองค์ได้ เว้นแต่คุณจะไปจากพระองค์เอง. (โย. 10:28, 29) ไม่จำเป็นต้องกลัวอนาคตหรือแม้แต่ความตาย. คนที่เพียรอดทนจนถึงที่สุดจะรอด. ดังนั้น เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราไม่ปล่อยให้โลกล่อลวงเราให้หลงและทำให้เราเลิกไว้วางใจพระยะโฮวา. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็งและใช้เวลาที่เรามีอยู่อย่างฉลาดสุขุม.—มัด. 24:13; อ่าน 2 เปโตร 3:17, 18