รักษาจุดยืนของเราในฐานะ “ผู้อาศัยชั่วคราว”
“ข้าพเจ้าขอกระตุ้นเตือนท่านทั้งหลายที่เป็นคนต่างด้าวและผู้อาศัยชั่วคราวให้ละเว้นจากความปรารถนาต่าง ๆ ทางกาย.”—1 เป. 2:11
1, 2. เปโตรหมายถึงใครเมื่อท่านกล่าวถึง “ผู้ถูกเลือก” และทำไมท่านเรียกพวกเขาว่า “ผู้อาศัยชั่วคราว”?
ประมาณ 30 ปีหลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์ อัครสาวกเปโตรเขียนจดหมายถึง “ผู้อาศัยชั่วคราวที่กระจัดกระจายอยู่ในแคว้นปนโทส แคว้นกาลาเทีย แคว้นกัปปะโดเกีย แคว้นเอเชีย และแคว้นบิทีเนีย ซึ่งเป็นผู้ถูกเลือก.” (1 เป. 1:1) โดยใช้คำ “ผู้ถูกเลือก” เห็นได้ชัดว่าเปโตรกำลังกล่าวถึงพี่น้องที่ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และ “บังเกิดใหม่เพื่อให้มีความหวังที่มีชีวิต” ที่จะปกครองกับพระคริสต์ในสวรรค์. (อ่าน 1 เปโตร 1:3, 4) แต่ทำไมในภายหลังท่านเรียกผู้ถูกเลือกเหล่านี้ว่าเป็น “คนต่างด้าวและผู้อาศัยชั่วคราว”? (1 เป. 2:11) และทำไมเราทุกคนควรสนใจเรื่องนี้ในเมื่อมีคนจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในท่ามกลางพยานฯ ทั่วโลกที่บอกว่าพวกเขาได้รับการเจิมหรือเป็นผู้ถูกเลือก?
2 เป็นเรื่องเหมาะสมที่จะใช้คำ “ผู้อาศัยชั่วคราว” กับผู้ถูกเจิมในศตวรรษแรก. เช่นเดียวกับชนที่เหลือของคนกลุ่มนี้ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาไม่อยู่บนแผ่นดินโลกนี้ตลอดไป. อัครสาวกเปาโลซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ “แกะฝูงน้อย” ที่ได้รับการเจิมอธิบายว่า “ส่วนพวกเรามีฐานะเป็นพลเมืองในสวรรค์ และเราตั้งตาคอยผู้ช่วยให้รอดที่เสด็จมาจากที่นั่น คือ พระเยซูคริสต์เจ้า.” (ลูกา 12:32; ฟิลิป. 3:20) นี่หมายความว่าเมื่อผู้ถูกเจิมเสียชีวิต พวกเขาจะไปจากโลกนี้ที่อยู่ใต้อำนาจของซาตาน และรับเอาชีวิตอมตะในสวรรค์. (อ่านฟิลิปปอย 1:21-23) เนื่องจากพวกเขาอยู่บนแผ่นดินโลกเพียงสั้น ๆ พวกเขาจึงเป็น “ผู้อาศัยชั่วคราว” จริง ๆ.
3. เราควรถามคำถามอะไรเกี่ยวกับ “แกะอื่น”?
3 แต่จะว่าอย่างไรสำหรับ “แกะอื่น”? (โย. 10:16) พวกเขามีความหวังตามที่มีบอกไว้ในพระคัมภีร์ที่จะเป็นผู้อาศัยบนแผ่นดิน โลกอย่างถาวร มิใช่หรือ? ที่จริง แผ่นดินโลกจะเป็นบ้านของพวกเขาตลอดไป! แต่ทำไมเราจึงกล่าวได้ว่าในเวลานี้พวกเขาเป็นผู้อาศัยชั่วคราวด้วย?
“สิ่งทรงสร้างทั้งปวงล้วนคร่ำครวญ”
4. พวกผู้นำของโลกไม่สามารถทำอะไรได้?
4 ตราบเท่าที่พระยะโฮวาทรงยอมให้ระบบชั่วของซาตานดำรงอยู่ ทุกคนซึ่งรวมถึงคริสเตียนด้วยจะยังคงได้รับผลกระทบต่อไปจากการที่ซาตานขืนอำนาจพระยะโฮวา. เราอ่านที่โรม 8:22 ว่า “เรารู้ว่าสิ่งทรงสร้างทั้งปวงล้วนคร่ำครวญด้วยกันและเจ็บปวดด้วยกันจนบัดนี้.” แม้พวกผู้นำของโลก นักวิทยาศาสตร์ และคนที่ทำงานเพื่อมนุษยธรรมมีความจริงใจ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความทุกข์ยากของมนุษย์ได้.
5. ตั้งแต่ปี 1914 หลายล้านคนเลือกทำอะไร และเพราะเหตุใด?
5 ตั้งแต่ปี 1914 เป็นต้นมาหลายล้านคนจึงได้เลือกที่จะเป็นพลเมืองของพระคริสต์เยซู ผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหากษัตริย์. พวกเขาไม่ปรารถนาที่จะเป็นส่วนของระบบโลกที่ซาตานปกครอง. พวกเขาไม่สนับสนุนโลกของซาตาน. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขาใช้ชีวิตและทรัพย์สินของตนเพื่อสนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้า.—โรม 14:7, 8
6. ทำไมจึงเรียกพยานพระยะโฮวาทั้งหมดได้ว่าเป็นคนต่างด้าวหรือผู้อาศัยชั่วคราว?
6 พยานพระยะโฮวาซึ่งอยู่ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 200 ประเทศเป็นพลเมืองที่เคารพกฎหมาย. แต่ไม่ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน พวกเขาเป็นเหมือนคนต่างด้าวหรือผู้อาศัยชั่วคราว. พวกเขารักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดในประเด็นทางการเมืองและทางสังคม. แม้แต่ขณะนี้ พวกเขาถือว่าตัวเขาเองเป็นพลเมืองของโลกใหม่ที่พระเจ้าทรงสัญญา. พวกเขามีความสุขที่รู้ว่าพวกเขาจะเป็นผู้อาศัยชั่วคราว ในโลกที่ไม่สมบูรณ์นี้แค่อีกไม่นาน.
7. ผู้รับใช้ของพระเจ้าจะเป็นผู้อาศัยถาวรในโลกอย่างไร?
7 ในไม่ช้าพระคริสต์จะทรงใช้อำนาจของพระองค์ทำลายระบบชั่วของซาตาน. รัฐบาลที่สมบูรณ์แบบของพระคริสต์จะขจัดบาปและความทุกข์ยากให้หมดไป. รัฐบาลนี้จะทำลายใครก็ตามที่ขืนอำนาจวิวรณ์ 21:1-5) เมื่อถึงตอนนั้น สิ่งทรงสร้างทั้งหลายก็จะ “ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสความเสื่อมและจะมีเสรีภาพอันรุ่งโรจน์แห่งเหล่าบุตรของพระเจ้า.”—โรม 8:21
การปกครองของพระยะโฮวา. ผู้รับใช้ที่ภักดีของพระเจ้าจะอยู่ในฐานะผู้อาศัยถาวร ในอุทยานบนแผ่นดินโลก. (อ่านคริสเตียนแท้ต้องประพฤติเช่นไร?
8, 9. เปโตรหมายถึงอะไรเมื่อกล่าวว่า “ให้ละเว้นจากความปรารถนาทางกาย”?
8 เปโตรอธิบายว่าคริสเตียนควรประพฤติอย่างไรเมื่อท่านกล่าวว่า “พี่น้องที่รัก ข้าพเจ้าขอกระตุ้นเตือนท่านทั้งหลายที่เป็นคนต่างด้าวและผู้อาศัยชั่วคราวให้ละเว้นจากความปรารถนาต่าง ๆ ทางกาย ซึ่งก็คือความปรารถนาเหล่านั้นที่เป็นปฏิปักษ์กับชีวิต.” (1 เป. 2:11) ในที่นี้ท่านกำลังกล่าวกับคริสเตียนผู้ถูกเจิม แต่แกะอื่นของพระเยซูจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ด้วย.
9 ความปรารถนาบางอย่างไม่ใช่เรื่องผิดเสมอไปตราบใดที่เราสนองความปรารถนาเหล่านั้นในวิธีที่พระผู้สร้างทรงประสงค์ให้เราทำ. ที่จริง ความปรารถนาเหล่านั้นให้ความเพลิดเพลินในชีวิต. ตัวอย่างเช่น เป็นความปรารถนาตามธรรมดาที่จะชื่นชมกับการกินการดื่ม ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้สดชื่น และชื่นชมกับมิตรภาพที่ดีงาม. เป็นเรื่องปกติธรรมดาด้วยที่คนเรามีความปรารถนาจะได้รับความเพลิดเพลินทางเพศกับคู่สมรส. (1 โค. 7:3-5) แต่เปโตรกล่าวอย่างชัดเจนถึง “ความปรารถนาทางกาย” ที่ “เป็นปฏิปักษ์กับชีวิต.” นี่หมายถึงความปรารถนาทางกายที่ไม่ถูกต้อง. เพื่อให้เห็นชัดว่าคำนี้หมายถึงอะไร คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลบางฉบับจึงแปลคำนี้ว่า “ตัณหาของเนื้อหนัง” (ฉบับคิงเจมส์ ) หรือ “ตัณหาชั่ว” (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ). เห็นได้ชัดว่าเราต้องควบคุมความปรารถนาใด ๆ ที่ขัดกับพระประสงค์ของพระยะโฮวา รวมทั้งความปรารถนาที่อาจส่งผลเสียต่อสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระองค์. ถ้าเราสนองความปรารถนาทางกายอย่างผิด ๆ นั่นอาจทำให้เราสูญเสียความหวังที่จะมีชีวิตนิรันดร์ได้.
10. ซาตานใช้วิธีอะไรบ้างเพื่อทำให้คริสเตียนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลก?
10 ซาตานมีเป้าหมายในการทำให้คริสเตียนแท้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะถือว่าตัวเองเป็น “ผู้อาศัยชั่วคราว” ในระบบปัจจุบันนี้. เสน่ห์ที่ชวนให้ลุ่มหลงของวัตถุนิยม ความเย้ายวนของการทำผิดศีลธรรม แรงดึงดูดของการเป็นคนเด่นดัง ความพึงพอใจของการเป็นที่หนึ่งเสมอ พลังของความรักชาติ—ทั้งหมดนี้คือกับดักของซาตานที่เราต้องมองให้ออก. ถ้าเราตั้งใจแน่วแน่ที่จะไม่ปล่อยให้ตัวเองมีความปรารถนาผิด ๆ เหล่านี้ เราก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของโลกชั่วของซาตาน. เราพิสูจน์ให้เห็นว่าเราอยู่ในโลกนี้ในฐานะ “ผู้อาศัยชั่วคราว.” สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ คือการได้เป็นผู้อาศัยอย่างถาวรในโลกใหม่อันชอบธรรมของพระเจ้า. และเราพยายามอย่างแท้จริงที่จะบรรลุเป้าหมายนี้.
ความประพฤติที่ดี
11, 12. บางคนมองคนต่างชาติอย่างไร และบางคนมีทัศนะเช่นไรต่อพยานพระยะโฮวา?
11 เปโตรอธิบายต่อไปเกี่ยวกับความหมายของการที่คริสเตียนเป็น “ผู้อาศัยชั่วคราว” โดยกล่าวในข้อ 12 ว่า “จงประพฤติอย่างดีงามท่ามกลางชนต่างชาติต่อ ๆ ไป เพื่อว่าในเรื่องที่พวกเขากล่าวร้ายท่านทั้งหลายว่าเป็นคนทำชั่วนั้น เมื่อพวกเขาเห็นการดีของพวกท่าน พวกเขาจะสรรเสริญพระเจ้าในวันที่พระองค์ทรงตรวจตรา.” บางครั้งคนต่างชาติ ซึ่งเป็นผู้อาศัยชั่วคราวในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศของตัวเอง ถูกตำหนิติเตียน. พวกเขาอาจถูกมองราวกับว่าเป็นคนไม่ดีเพียงเพราะพวกเขาแตกต่างจากเพื่อนบ้าน. วิธีที่พวกเขาพูด ทำ แต่งกาย หรือแม้แต่รูปร่างหน้าตาอาจแตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่อยู่ ในประเทศนั้น. แต่ความประพฤติที่ดีของพวกเขาอาจทำให้คนอื่นสำนึกว่าพวกเขาไม่ใช่คนไม่ดี.
12 ในทำนองเดียวกัน คริสเตียนแท้แตกต่างจากเพื่อนบ้านหลายคนในบางเรื่อง เช่น การพูดหรือการเลือกความบันเทิง. เสื้อผ้าและการแต่งกายของพวกเขามักทำให้ผู้คนมองเห็นได้ว่าพวกเขาแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในชุมชน. บางครั้ง ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้บางคนที่ได้รับข้อมูลมาอย่างผิด ๆ กล่าวหาพยานฯ ว่าเป็นคนไม่ดี. อย่างไรก็ตาม อาจมีคนอื่นที่ยกย่องชมเชยพยานฯ เมื่อเห็นว่าพวกเขามีความประพฤติที่ดี.
13, 14. สติปัญญา “ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องโดยผลของสติปัญญานั้นเอง” หมายความเช่นไร? จงยกตัวอย่าง.
13 ความประพฤติที่ดีอาจช่วยให้คนอื่นเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่จะตำหนิติเตียนเรา. แม้แต่พระเยซู ซึ่งเป็นมนุษย์เพียงคนเดียวที่ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าอย่างสมบูรณ์แบบ ก็ยังถูกกล่าวหาอย่างผิด ๆ. บางคนพูดว่าพระองค์เป็น “คนตะกละและชอบดื่มเหล้าองุ่น ทั้งเป็นเพื่อนกับคนเก็บภาษีและคนบาป.” แต่พระองค์ทรงแสดงให้เห็นด้วยความประพฤติที่ดีว่าพระองค์ไม่ใช่คนแบบนั้น. พระเยซูตรัสว่า “สติปัญญาก็ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องโดยผลของสติปัญญานั้นเอง.” (มัด. 11:19) เป็นอย่างนั้นด้วยในทุกวันนี้. ตัวอย่างเช่น บางคนที่อยู่ใกล้ ๆ กับเบเธลในเมืองเซลเทอร์ส ประเทศเยอรมนี คิดว่าวิธีดำเนินชีวิตของสมาชิกครอบครัวเบเธลนั้นแปลก. แต่นายกเทศมนตรีของเขตนั้นกล่าวปกป้องพวกเขาว่า “พยานพระยะโฮวาที่ทำงานที่นั่นมีวิถีชีวิตของพวกเขาเอง แต่ก็เป็นวิถีชีวิตที่ไม่รบกวนการดำรงชีพของคนอื่นแต่อย่างใด.”
14 อีกตัวอย่างหนึ่ง พยานพระยะโฮวาในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซียถูกกล่าวหาว่าทำสิ่งที่ไม่ดีหลายอย่าง. บางคนกล่าวหาว่าพยานฯ ทำลายครอบครัว ยุยงส่งเสริมให้ฆ่าตัวตาย และไม่ยอมรับการรักษาทางการแพทย์. แต่ในเดือนมิถุนายน 2010 ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ซึ่งอยู่ที่เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ตัดสินว่าทางการของกรุงมอสโกมีความผิดที่เข้าไปแทรกแซงการนมัสการของพยานพระยะโฮวาที่นั่นและไม่มีสิทธิ์ห้ามพวกเขาไม่ให้ประชุม. ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปกล่าวว่าศาลของรัสเซียไม่ได้พิสูจน์ว่าพยานฯ มีความผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหา และยังกล่าวด้วยว่าศาลของรัสเซียบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดของกรุงมอสโกอย่างไม่ยุติธรรมต่อพยานพระยะโฮวา.
เราควรยอมเชื่อฟัง
15. คริสเตียนแท้ทั่วโลกปฏิบัติตามหลักการอะไรของคัมภีร์ไบเบิล?
15 นอกจากนั้น พยานพระยะโฮวาทั่วโลกยังทำสิ่งอื่นที่เปโตรกล่าวว่าคริสเตียนต้องทำ. ท่านเขียนว่า “เพื่อเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ท่านทั้งหลายจงยอมเชื่อฟังทุกสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงกว่า หรือผู้ว่าราชการ.” (1 เป. 2:13, 14) เราไม่เป็นส่วนของโลกชั่ว. แต่ดังที่เปาโลบอก คริสเตียนแท้เต็มใจเชื่อฟังเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ “อยู่ในตำแหน่งสูงต่ำ” เมื่อไรก็ตามที่กฎหมาย บ้านเมืองไม่ขัดกับกฎหมายของพระเจ้า.—อ่านโรม 13:1, 5-7
16, 17. (ก) อะไรพิสูจน์ว่าเราไม่ต้องการขืนอำนาจรัฐบาล? (ข) เจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนยอมรับในเรื่องใด?
16 พยานพระยะโฮวาอยู่ในฐานะ “ผู้อาศัยชั่วคราว” ในระบบปัจจุบัน แต่นี่ไม่ใช่เพราะพวกเขาต้องการต่อต้านรัฐบาลหรือตำหนิติเตียนประชาชนคนอื่น. พวกเขาเข้าใจว่าคนอื่นมีความคิดของตนเองในเรื่องที่ว่าใครควรจะอยู่ในรัฐบาลหรือควรแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างไร. บางศาสนาเข้าไปมีส่วนกับการเมือง แต่พยานพระยะโฮวาไม่ทำเช่นนั้น. พวกเขาไม่พยายามกดดันผู้นำทางการเมืองให้เปลี่ยนวิธีปกครองประชาชน. พยานพระยะโฮวาไม่ต้องการขืนอำนาจรัฐบาลหรือสนับสนุนคนอื่น ๆ ให้ขืนอำนาจ.
17 เปโตรกล่าวว่า “จงให้เกียรติกษัตริย์.” ด้วยเหตุนั้น คริสเตียนจึงเชื่อฟังเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเพื่อแสดงความนับถือและให้เกียรติคนเหล่านั้นตามฐานะตำแหน่งของพวกเขา. (1 เป. 2:17) บางครั้ง เจ้าหน้าที่รัฐบาลยอมรับว่าไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าพยานพระยะโฮวาเป็นอันตรายต่อสังคม. ตัวอย่างเช่น สเตฟเฟน ไรเคอ อดีตสมาชิกคณะรัฐมนตรีของรัฐบรันเดนบูร์กและเป็นสมาชิกรัฐสภาของเยอรมนีในเวลาต่อมา กล่าวว่า “ความประพฤติของพยานพระยะโฮวาที่อยู่ในค่ายกักกันและคุกต่าง ๆ นับเป็นคุณความดีที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อจะธำรงไว้ซึ่งรัฐประชาธิปไตย กล่าวคือการที่พวกเขายืนหยัดมั่นคงในการรักษาความเชื่อของตนแม้ถูกพวกเอสเอส [แห่งนาซี] ข่มเหง รวมทั้งความเมตตาที่พวกเขาแสดงต่อเพื่อนนักโทษ. เนื่องจากผู้คนกำลังทำสิ่งที่เป็นความทารุณโหดร้ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อคนต่างชาติและต่อคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองหรือมีอุดมการณ์ที่ต่างออกไป คุณความดีดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพลเมืองทุกคนในประเทศของเรา.”
แสดงความรัก
18. (ก) ทำไมจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เรารักสังคมพี่น้อง? (ข) บางคนพูดอย่างไรเกี่ยวกับพยานพระยะโฮวา?
18 อัครสาวกเปโตรยังเขียนด้วยว่า “จงรักทุกคนในสังคมพี่น้องคริสเตียน จงยำเกรงพระเจ้า.” (1 เป. 2:17) พยานพระยะโฮวายำเกรงพระเจ้า กล่าวคือพวกเขากลัวว่าจะทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย. ความยำเกรงนี้ทำให้พวกเขาต้องการทำตามพระประสงค์ของพระองค์. พวกเขามีความสุขที่ได้รับใช้พระยะโฮวาในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมพี่น้องทั่วโลกที่มีความปรารถนาอย่างเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่พวกเขา “รักทุกคนในสังคมพี่น้อง.” บางครั้งความรักต่อพี่น้องเช่นนี้ ซึ่งหาได้ยากมากในสังคมปัจจุบันที่เห็นแก่ตัว ทำให้คนที่ไม่ใช่พยานฯ ประหลาดใจ. ตัวอย่างเช่น มัคคุเทศก์คนหนึ่งที่ทำงานกับบริษัทท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของอเมริการู้สึกประหลาดใจเมื่อเห็นพี่น้องท้องถิ่นแสดงความรักใคร่และให้ความช่วยเหลือตัวแทนจากต่างประเทศที่เข้าร่วมการประชุมนานาชาติที่ประเทศเยอรมนีในปี 2009. เธอกล่าวว่าตลอดหลายปีที่ทำงานเป็นมัคคุเทศก์ เธอไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้มาก่อนเลย. พยานฯ คนหนึ่งกล่าวในภายหลังว่า “เธอพูดทุกสิ่งที่เกี่ยวกับเราด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้นและประหลาดใจ.” คุณเคยได้ยินผู้คนพูดกันในทำนองนี้ไหมเมื่อพวกเขาสังเกตดูพยานพระยะโฮวาที่เข้าร่วมการประชุมภาค?
19. เราควรตั้งใจแน่วแน่จะทำอะไร และเพราะเหตุใด?
19 ดังที่เราได้พิจารณาไปแล้ว พยานพระยะโฮวาแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็น “ผู้อาศัยชั่วคราว” อย่างแท้จริงในระบบของซาตาน. และพวกเขาทำอย่างนี้ด้วยความยินดีและตั้งใจแน่วแน่ว่าจะรักษาตัวเป็น “ผู้อาศัยชั่วคราว” ต่อ ๆ ไป. พวกเขามีความหวังว่าในอีกไม่ช้าพวกเขาจะเป็นผู้อาศัยถาวร ในโลกใหม่อันชอบธรรมของพระเจ้า. คุณกำลังคอยท่าชีวิตเช่นนั้นมิใช่หรือ?