ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

“อย่าหวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ”!

“อย่าหวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ”!

“พี่น้องทั้งหลาย . . . เราขอให้พวกท่านอย่าหวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ.”—2 เทส. 2:1, 2

1, 2. ทำไมการโกหกหลอกลวงจึงมีแพร่หลาย และเราเห็นการหลอกลวงแบบใดบ้างในทุกวันนี้? (ดูภาพข้างชื่อเรื่อง)

การโกหกหลอกลวงมีแพร่หลายจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้. เราไม่ควรแปลกใจที่เป็นอย่างนี้. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างชัดเจนว่าซาตานพญามารเป็นผู้ล่อลวงมนุษย์และมันเป็นผู้ปกครองโลกนี้. (1 ติโม. 2:14; 1 โย. 5:19) ยิ่งใกล้อวสานของระบบชั่วนี้ ซาตานก็ยิ่งโกรธมากขึ้นเพราะมันรู้ว่า “เวลาของมันมีน้อย.” (วิ. 12:12) ดังนั้น เราคาดหมายได้ว่าคนที่ได้รับอิทธิพลจากพญามารจะไม่ซื่อสัตย์มากขึ้นเรื่อยๆ. คนเหล่านี้จะพยายามล่อลวงคนที่รับใช้พระยะโฮวาเป็นพิเศษ.

2 เมื่อสื่อต่างกล่าวถึงผู้รับใช้ของพระยะโฮวาและความเชื่อของพวกเขา บางครั้งสื่อเหล่านั้นรายงานความจริงเพียงบางส่วนหรือรายงานเรื่องที่ไม่เป็นความจริงเลย. พาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และเว็บเพจต่างถูกใช้เพื่อแพร่เรื่องเท็จ. บางคนรู้สึกหงุดหงิดหรือแม้แต่โกรธด้วยซ้ำเพราะพวกเขาเชื่อคำโกหกเหล่านั้นโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน.

3. อะไรจะช่วยเราไม่ให้ถูกหลอก?

3 เรารู้สึกขอบคุณพระยะโฮวาที่ช่วยเราไม่ให้ถูกซาตานหลอกด้วยคำโกหก. คัมภีร์ไบเบิลที่พระองค์มอบให้เรา “มีประโยชน์เพื่อ . . . จัดการเรื่องราวให้ถูกต้อง.” (2 ติโม. 3:16) สิ่งที่อัครสาวกเปาโลเขียนแสดงให้เห็นว่าคริสเตียนบางคนในเมืองเทสซาโลนิเกถูกหลอกด้วยคำโกหกบางอย่าง. ท่านเขียนถึงพวกเขาว่า “เราขอให้พวกท่าน อย่าหวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ.” (2 เทส. 2:1, 2) เราเรียนอะไรได้บ้างจากคำเตือนอันเปี่ยมด้วยความรักของเปาโล และเราจะใช้บทเรียนเหล่านั้นได้อย่างไร?

 คำเตือนที่เหมาะกับเวลา

4. คริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเกได้รับคำเตือนอย่างไรเกี่ยวกับ “วันของพระยะโฮวา” และเราได้รับคำเตือนอย่างไร?

4 ในจดหมายฉบับแรกที่เขียนไปถึงคริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเก เปาโลเตือนพวกเขาเกี่ยวกับ “วันของพระยะโฮวา.” ท่านไม่ต้องการให้พี่น้องสับสนหรือไม่ได้เตรียมพร้อม. ท่านบอกพวกเขาว่าพวกเขาเป็น “ลูกของความสว่าง” แล้วก็กล่าวต่อไปอีกว่า “ให้เราตื่นอยู่และมีสติอยู่เสมอ.” (อ่าน 1 เทสซาโลนิเก 5:1-6 ) ในทุกวันนี้ เรากำลังคอยที่จะได้เห็นการทำลายบาบิโลนใหญ่ ซึ่งก็คือศาสนาเท็จทั้งหมด. การทำลายดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นของวันใหญ่ของพระยะโฮวา. เรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิธีที่พระยะโฮวาจะทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จเป็นจริง. โดยทางประชาคม เราได้รับข้อเตือนใจที่ดีเป็นประจำซึ่งช่วยเราให้เตรียมพร้อมสำหรับวันของพระยะโฮวา. ถ้าเราเอาใจใส่ฟังคำเตือนเหล่านี้ที่เตือนเราครั้งแล้วครั้งเล่า เราก็จะมีความตั้งใจแน่วแน่มากขึ้นที่จะรับใช้พระเจ้าด้วย “ความสามารถในการใช้เหตุผล” ของเรา.—โรม 12:1

5, 6. (ก) เปาโลกล่าวถึงอะไรในจดหมายฉบับที่สองถึงพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเก? (ข) ในไม่ช้าพระเยซูจะทำอะไร และเราควรถามตัวเองอย่างไร?

5 เปาโลเขียนจดหมายฉบับที่สองไปถึงพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเก. ในจดหมายฉบับนี้ ท่านกล่าวถึงความทุกข์ลำบากที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นพระเยซูจะสำเร็จโทษ “คนที่ไม่รู้จักพระเจ้าและคนที่ไม่เชื่อฟังข่าวดี” ตามการพิพากษาของพระเจ้า. (2 เทส. 1:6-8) ในบท 2 ของจดหมายนี้ เปาโลกล่าวว่าบางคนในประชาคม “ตื่นตระหนก” ในเรื่องวันของพระยะโฮวาถึงขนาดที่พวกเขาเชื่อว่าวันนั้นใกล้จะถึงอยู่แล้ว. (อ่าน 2 เทสซาโลนิเก 2:1, 2 ) คริสเตียนในยุคแรกไม่เข้าใจอย่างครบถ้วนว่าพระประสงค์ของพระยะโฮวาจะสำเร็จเป็นจริงอย่างไร. เปาโลยอมรับเรื่องนี้เมื่อท่านเขียนในเวลาต่อมาเกี่ยวกับคำพยากรณ์ว่า “เรามีความรู้และคำพยากรณ์ที่ไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเรามีความรู้และคำพยากรณ์ที่ครบถ้วน ความรู้และคำพยากรณ์ที่ไม่ครบถ้วนนั้นก็จะหมดไป.” (1 โค. 13:9, 10) แต่พวกเขาสามารถรักษาความซื่อสัตย์ต่อไปได้ด้วยการฟังคำเตือนที่พระยะโฮวาให้เปาโล เปโตร และพี่น้องผู้ถูกเจิมที่ซื่อสัตย์คนอื่นในสมัยนั้นบันทึกไว้.

 6 เพื่อแก้ไขความคิดของพวกเขาให้ถูกต้อง พระเจ้าดลใจเปาโลให้อธิบายว่าก่อน ที่วันของพระยะโฮวาจะมาถึง จะมีการออกหากครั้งใหญ่และ “ผู้ละเมิดกฎหมายของพระเจ้า” จะปรากฏตัว. * หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลากำหนดของพระเจ้า พระเยซูจะ “ทำลาย” ทุกคนที่ถูกหลอก. เปาโลอธิบายว่าที่พวกเขาถูกตัดสินอย่างนั้นเป็นเพราะพวกเขา “ไม่ยอมรักความจริง.” (2 เทส. 2:3, 8-10) เราควรถามตัวเองว่า ‘ฉันรักความจริงมากขนาดไหน? ฉันศึกษาวารสารนี้และหนังสืออื่นที่พระเจ้าจัดเตรียมให้แก่ประชาชนของพระองค์ทั่วโลกเพื่อจะเข้าใจคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลที่เป็นความเข้าใจล่าสุดอยู่เสมอไหม?’

จงเลือกคนที่คุณคบหาอย่างสุขุม

7, 8. (ก) มีอะไรบ้างที่เป็นอันตรายสำหรับคริสเตียนในยุคแรก? (ข) อาจมีอะไรโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายสำหรับคริสเตียนในปัจจุบัน?

7 คำสอนของพวกผู้ออกหากจะไม่ได้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่เป็นอันตรายสำหรับคริสเตียน. เปาโลเขียนถึงติโมเธียวว่า “การรักเงินเป็นรากของสิ่งที่ก่อความเสียหายทุกชนิด.” ท่านยังกล่าวด้วยว่า “เนื่องจากการขวนขวายหาเงิน บางคนจึงถูกชักนำให้หลงจากความเชื่อ และได้ทิ่มแทงตัวเองทั่วทั้งตัวด้วยสิ่งที่ก่อความทุกข์มากมาย.” (1 ติโม. 6:10) “การกระทำที่เกิดจากความปรารถนาของกายที่มีบาป” จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งด้วยที่เป็นอันตรายต่อคริสเตียนอยู่เสมอ.—กลา. 5:19-21

8 เปาโลเตือนพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเกอย่างหนักแน่นให้ระวังคนที่ท่านเรียกว่า “อัครสาวกปลอม.” คนพวกนี้บางคนพูด “บิดเบือนความจริงเพื่อชักนำเหล่าสาวกให้ติดตามพวกเขาไป.” (2 โค. 11:4, 13; กิจ. 20:30) พระเยซูชมเชยพี่น้องในประชาคมเอเฟโซส์เพราะพวกเขาไม่ยอมรับ “คนเลว” ในประชาคม. พวกเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าที่แท้แล้วคนเหล่านี้เป็นอัครสาวกปลอมและเป็นคนโกหก. (วิ. 2:2) ในจดหมายฉบับที่สองถึงพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเก เปาโลเตือนดังนี้: “พี่น้องทั้งหลาย ในพระนามของพระเยซูคริสต์เจ้า เราขอสั่งพวกท่านให้ปลีกตัวจากพี่น้องทุกคนที่ประพฤติเกะกะ.” หลังจากนั้น ท่านก็กล่าวอย่างเจาะจงว่าคริสเตียนเหล่านั้นเป็นคนที่ “ไม่อยากทำงาน.” (2 เทส. 3:6, 10) ถ้าคนที่เกียจคร้านถูกมองว่าเป็นคนที่ประพฤติเกะกะ ก็ย่อมถือได้ว่าคนที่เริ่มประพฤติเหมือนผู้ออกหากเป็นคนที่ประพฤติเกะกะยิ่งกว่านั้นเสียอีก. การคบหาใกล้ชิดกับคนเช่นนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับพี่น้องในสมัยนั้น และพวกเขาจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการคบหาดังกล่าว. ในทุกวันนี้ เราก็ต้องหลีกเลี่ยงการคบหากับคนที่เริ่มประพฤติเหมือนผู้ออกหากด้วย.—สุภา. 13:20

9. ทำไมเราควรระวังหากมีใครเริ่มคาดเดาในเรื่องต่างที่คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้อธิบายไว้หรือวิพากษ์วิจารณ์องค์การของพระยะโฮวา?

9 ในเวลานี้ เรากำลังเข้าไปใกล้ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่และอวสานของโลกชั่วนี้มากขึ้นเรื่อยๆ. คำเตือนจากพระยะโฮวาที่ให้ไว้ในศตวรรษแรกมีความสำคัญสำหรับเราในทุกวันนี้มากยิ่งกว่าแต่ก่อน. เราไม่ต้องการ “รับพระกรุณาอันใหญ่หลวงของพระเจ้าแล้วพลาดจุดมุ่งหมายของพระกรุณานั้น” อย่างแน่นอน. เพราะหากเป็นอย่างนั้น เราจะพลาดโอกาสที่จะมีชีวิตตลอดไป. (2 โค. 6:1) เราควรระวังถ้ามีใครที่เข้าร่วมการประชุมกับเราพยายามชักชวนเราให้คาดเดาในเรื่องต่างที่คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้อธิบายไว้หรือให้วิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองและคนอื่นในองค์การของพระเจ้า.—2 เทส. 3:13-15

 ‘จงยึดถือคำสอน’

10. คำสอนอะไรที่เปาโลบอกคริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเกให้ทำตาม?

10 เปาโลกระตุ้นพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเกให้ “ยืนหยัดมั่นคง” และทำตามคำสอนที่พวกเขาได้เรียนรู้ต่อไป. (อ่าน 2 เทสซาโลนิเก 2:15 ) “คำสอน” ที่พวกเขาได้เรียนคืออะไร? คำสอนดังกล่าวคือคำสอนของพระเยซูและสิ่งที่พระเจ้าดลใจเปาโลและคนอื่นให้เขียนไว้. ท่านไม่ได้หมายถึงคำสอนที่มาจากศาสนาเท็จ. เปาโลชมเชยพี่น้องในประชาคมโครินท์เพราะพวกเขาระลึกถึงท่านในทุกเรื่องและถือปฏิบัติตามคำแนะนำที่ท่านถ่ายทอดแก่พวกเขา. (1 โค. 11:2) คำสอนเหล่านี้มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้.

11. บางคนได้รับผลกระทบอย่างไรเมื่อพวกเขาถูกหลอก?

11 เมื่อเปาโลเขียนถึงคริสเตียนชาวฮีบรู ท่านกล่าวถึงสองวิธีที่อาจทำให้คริสเตียนสูญเสียความเชื่อและไม่ภักดีต่อพระยะโฮวา. (อ่านฮีบรู 2:1; 3:12 ) ท่านเขียนถึง ‘การลอยห่าง’ และ ‘การเอาตัวออกห่าง.’ อาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตเห็นว่าเรือกำลังลอยห่างออกไปจากฝั่ง. เรืออาจค่อยลอยไกลออกไปจากฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ. แต่คนที่นั่งอยู่บนเรืออาจถีบเรือให้ออกจากฝั่งเอง. ตัวอย่างเปรียบเทียบทั้งสองอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าอาจเกิดอะไรขึ้นถ้าคนเราปล่อยให้ตัวเองถูกหลอกและปล่อยให้ความเชื่อมั่นที่มีต่อความจริงอ่อนลงไป.

12. มีอะไรบ้างที่อาจทำลายสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวา?

12 พี่น้องชาวเทสซาโลนิเกบางคนอาจปล่อยให้ตัวเองถูกหลอก. อาจเป็นอย่างนั้นได้ไหมในทุกวันนี้? มีกิจกรรมหลายอย่างที่อาจทำให้เราเสียเวลาได้มาก. ขอให้คิดดูว่าเราอาจใช้เวลาไปมากขนาดไหนกับงานอดิเรก การติดต่อสื่อสารทางเครือข่ายสังคม การอ่านและตอบอีเมล์ หรือการติดตามผลการแข่งขันกีฬา. กิจกรรมเหล่านี้อาจทำให้คริสเตียนเขวและทำให้ความกระตือรือร้นในการรับใช้พระยะโฮวาลดน้อยลง. ผลอาจเป็นอย่างไร? เขาอาจเลิกอธิษฐานจากหัวใจ. เขาอาจใช้เวลาน้อยลงในการศึกษาพระคัมภีร์ การประชุม และการประกาศข่าวดี. เราอาจทำอะไรได้เพื่อจะไม่หวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ?

สิ่งที่ช่วยเราไม่ให้หวั่นไหว

13. ดังที่บอกไว้ล่วงหน้าในคัมภีร์ไบเบิล หลายคนคิดอย่างไร และอะไรจะช่วยปกป้องความเชื่อของเราไว้?

13 เราต้องจำไว้ว่าอวสานของโลกของซาตานใกล้จะถึงแล้วและการคบหากับคนที่ไม่ยอมรับว่าเราอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” อาจเป็นอันตราย. อัครสาวกเปโตรเขียนเกี่ยวกับสมัยของเราว่า “จะมีคนชอบเยาะเย้ยมาเยาะเย้ย โดยทำตามความปรารถนาของพวกเขาเอง และพูดว่า ‘การประทับของพระองค์ตามที่สัญญาไว้อยู่ไหนล่ะ? เพราะตั้งแต่สมัยที่บรรพบุรุษของเราล่วงลับไป ทุกสิ่งก็ยังดำเนินต่อไปเหมือนตอนเริ่มต้นการทรงสร้าง.’” (2 เป. 3:3, 4) การอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวันและการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำจะช่วยเราให้จำไว้เสมอว่าเรามีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย.” การออกหากตามที่บอกไว้ล่วงหน้าในคัมภีร์ไบเบิลเริ่มมีมานานแล้ว และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้. “ผู้ละเมิดกฎหมาย” ยังมีอยู่เรื่อยและต่อต้านผู้รับใช้ของพระเจ้า. เนื่องด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ เราไม่ควรลืมว่าใกล้จะถึงวันของพระยะโฮวาแล้ว.—ซฟัน. 1:7

14. เราได้รับการปกป้องอย่างไรถ้าเราขยันขันแข็งในการรับใช้พระเจ้า?

14 อีกวิธีหนึ่งที่หลายคนพบว่าเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการป้องกันไม่ให้เราหวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณคือการประกาศข่าวดีเป็นประจำ. ดังนั้น เมื่อพระเยซูคริสต์สั่งเหล่าสาวกของพระองค์ให้สอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวกและสอนพวกเขาให้ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์สอน จึงเป็นการให้คำแนะนำที่จะช่วยให้เหล่าสาวกได้รับการปกป้อง. (มัด. 28:19, 20) เพื่อจะทำตามคำสั่งนี้ เราต้องกระตือรือร้นในงานประกาศ. คุณคิดว่าพี่น้องชาวเทสซาโลนิเกทำ งานประกาศและสอนเพียงเพราะนั่นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องทำเท่านั้นไหม? อย่าลืมว่าเปาโลเขียนถึงพวกเขาว่า “อย่าดับพระวิญญาณ. อย่าดูหมิ่นคำพยากรณ์.” (1 เทส. 5:19, 20) คำพยากรณ์ที่เราได้เรียนและบอกคนอื่นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นจริงๆ!

15. มีอะไรบ้างที่เราจะพิจารณาด้วยกันได้ในการนมัสการประจำครอบครัว?

15 เราทุกคนต้องการช่วยครอบครัวของเราให้มีความสามารถมากขึ้นในการประกาศข่าวดี. เพื่อจะทำอย่างนี้ พี่น้องหลายคนใช้เวลาส่วนหนึ่ง ในการนมัสการประจำครอบครัวเพื่อซ้อมวิธีประกาศด้วยกัน. คุณอาจพิจารณากับคนในครอบครัวเกี่ยวกับวิธีที่จะกลับเยี่ยมเยียนผู้สนใจ. จะคุยกับผู้สนใจเรื่องอะไร? จะพูดอย่างไรให้เจ้าของบ้านอยากเรียนรู้มากขึ้น? จะกลับเยี่ยมเมื่อไรจึงจะดีที่สุด? นอกจากนั้น หลายคนยังได้ใช้เวลาส่วนหนึ่ง ในการนมัสการประจำครอบครัวเพื่อเตรียมตัวสำหรับการประชุมด้วย. ครอบครัวของคุณจะทำอย่างนั้นได้ไหม? ถ้าคุณมีส่วนร่วมในการประชุม ความเชื่อของคุณจะมั่นคงเข้มแข็ง และนั่นจะช่วยป้องกันคุณไว้ไม่ให้หวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ. (เพลง. 35:18) การนมัสการประจำครอบครัวจะป้องกันเราไว้ไม่ให้คาดเดาเรื่องต่างที่ไม่ได้อธิบายไว้ในคัมภีร์ไบเบิลและช่วยเราไม่ให้สงสัย.

16. อะไรกระตุ้นคริสเตียนผู้ถูกเจิมให้รักษาความสามารถในการใช้เหตุผลของตน?

16 พระยะโฮวาอวยพรประชาชนของพระองค์มาโดยตลอดให้เข้าใจคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้น. นี่ทำให้เราเชื่อมั่นว่าเราจะได้รับรางวัลอันยอดเยี่ยมในอนาคต. ผู้ถูกเจิมมองไปถึงวันที่จะได้อยู่กับพระคริสต์ในสวรรค์. ความหวังนี้กระตุ้นพวกเขาให้รักษาความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อจะไม่หวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ! ข้อความที่เปาโลเขียนถึงพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเกใช้ได้กับผู้ถูกเจิมในทุกวันนี้ด้วย ที่ว่า “เราต้องขอบพระคุณพระเจ้าเพื่อพวกท่านเสมอ เพราะพระเจ้าทรงเลือกพวกท่าน . . . โดยทำให้พวกท่านบริสุทธิ์ด้วยพระวิญญาณและโดยความเชื่อที่พวกท่านมีต่อความจริง.”—2 เทส. 2:13

17. คุณได้รับกำลังใจอย่างไรจากข้อความที่เขียนไว้ใน 2 เทสซาโลนิเก 3:1-5?

17 คนที่คอยท่าที่จะมีชีวิตตลอดไปบนแผ่นดินโลกควรพยายามรักษาความสามารถในการใช้เหตุผลไว้เพื่อจะไม่หวั่นไหวง่ายจนขาดวิจารณญาณ เช่นเดียวกับที่ผู้ถูกเจิมต้องทำ. เพื่อคุณจะมีความหวังที่จะอยู่ตลอดไปบนแผ่นดินโลก คุณต้องทำตามคำแนะนำอันเปี่ยมด้วยความรักของเปาโลที่เขียนไปถึงเพื่อนผู้ถูกเจิมในเมืองเทสซาโลนิเก. (อ่าน 2 เทสซาโลนิเก 3:1-5 ) เราควรขอบคุณสำหรับถ้อยคำดังกล่าวที่เปี่ยมด้วยความรัก. จดหมายที่เปาโลเขียนถึงพี่น้องชาวเทสซาโลนิเกเตือนเราว่าอย่าคาดเดาเรื่องต่างที่ไม่ได้อธิบายไว้ในคัมภีร์ไบเบิลและอย่าเชื่อแนวคิดบางอย่างที่น่าสงสัย. เนื่องจากเรามีชีวิตอยู่ในช่วงที่ใกล้จะถึงอวสานเต็มทีแล้ว เรารู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งที่ได้รับคำเตือนอย่างนี้.

^ วรรค 6 ที่กิจการ 20:29, 30 เราอ่านคำเตือนของเปาโลที่เขียนถึงประชาคมคริสเตียนว่า “จะมี . . . บางคนพูดบิดเบือนความจริงเพื่อชักนำเหล่าสาวกให้ติดตามพวกเขาไป.” ในเวลาต่อมา ก็เริ่มมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างคนที่นำหน้ากับสมาชิกคนอื่นของประชาคม. เมื่อถึงศตวรรษที่สาม ก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าเหล่านักบวชแห่งคริสต์ศาสนจักรโดยรวมทั้งหมดเป็น “ผู้ละเมิดกฎหมายของพระเจ้า.”—ดูหอสังเกตการณ์ 1 กุมภาพันธ์ 1990 หน้า 10-14