ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

คุณจะเสียสละเพื่อราชอาณาจักรไหม?

คุณจะเสียสละเพื่อราชอาณาจักรไหม?

“พระเจ้าทรงรักผู้ที่ให้ด้วยใจยินดี.”—2 โค. 9:7

1. หลายคนเสียสละอะไร และทำไม?

คนเรายินดีเสียสละเพื่อสิ่งที่สำคัญสำหรับพวกเขา. พ่อแม่ยอมเสียเงิน ทุ่มเทเวลาและกำลัง เพื่อสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูก. นักกีฬาวัยเยาว์ที่ตั้งเป้าจะแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกใช้เวลาหลายชั่วโมงฝึกซ้อมอย่างหนักในแต่ละวัน ในขณะที่เพื่อนเล่นและใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน. พระเยซูเองก็เสียสละเพื่อสิ่งที่สำคัญสำหรับพระองค์. พระองค์ไม่ได้ตั้งเป้าที่จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยหรือมีครอบครัวมีลูก. แทนที่จะทำอย่างนั้น พระองค์ต้องการใช้กำลังทั้งหมดของพระองค์สนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้า. (มัด. 4:17; ลูกา 9:58) เหล่าสาวกของพระองค์ก็เสียสละมากด้วยเช่นกัน. ราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเขา พวกเขาจึงเสียสละเพื่อราชอาณาจักร. (มัด. 4:18-22; 19:27) เราควรถามตัวเองว่า ‘อะไรสำคัญที่สุดในชีวิตของฉัน?’

2. (ก) คริสเตียนแท้ทุกคนต้องทำอะไรที่เป็นการเสียสละ? (ข) บางคนได้ทำอะไรที่เป็นการเสียสละเป็นพิเศษ?

2 มีการเสียสละบางอย่างที่คริสเตียนแท้ทุกคนต้องทำเพื่อจะรักษาสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าได้. เวลาและกำลังที่เราเองใช้ในการอธิษฐาน อ่านคัมภีร์ไบเบิล นมัสการประจำครอบครัว เข้าร่วมการประชุมและการประกาศเป็นการเสียสละที่เราทุกคนต้องทำ. * (ยโฮ. 1:8; มัด. 28:19, 20; ฮีบรู 10:24, 25) ผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากความพยายามของเราและการอวยพรจากพระยะโฮวาก็คือ งานประกาศกำลังก้าวรุดหน้าไปและมีผู้คนมากขึ้นเรื่อยหลั่งไหลมาที่ “ภูเขาแห่งพระนิเวศของพระเจ้า.” (ยซา. 2:2, ฉบับ 1971 ) เพื่อจะสนับสนุนราชอาณาจักร หลายคนได้เสียสละเพื่อรับใช้ที่เบเธล ช่วยก่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักรและหอประชุมใหญ่ ช่วยจัดการประชุมใหญ่ หรือทำงานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติ. แม้ว่าการเสียสละเป็นพิเศษในเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ข้อเรียกร้อง ที่ต้องทำเพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดร์ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อสนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้าในทุกวันนี้.

3. (ก) เราได้รับประโยชน์อย่างไรเมื่อเราเสียสละเพื่อราชอาณาจักร? (ข) เราควรพิจารณาคำถามอะไร?

3 ในทุกวันนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องสนับสนุนราชอาณาจักรมากยิ่งกว่าแต่ก่อน. เรายินดีที่เห็นหลายคนเต็มใจเสียสละเพื่อพระยะโฮวา! (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 54:6 ) ถ้าเราทำอย่างนี้ด้วย เราก็จะมีความสุขและได้รับพระพรขณะที่เราคอยให้ราชอาณาจักรของพระเจ้ามา. (บัญ. 16:15; กิจ. 20:35) เราทุกคนควรตรวจสอบตัวเองอย่างถี่ถ้วนและถามตัวเองว่า มีวิธีใดบ้างที่เราจะทำมากขึ้นเพื่อราชอาณาจักร? เรากำลังใช้เวลา เงิน กำลัง และความสามารถของเราอย่างไร? มีอะไรบ้างที่เราต้องระวัง? ขอให้เราพิจารณาว่าเราจะเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของบางคนที่ได้เสียสละด้วยความสมัครใจ. การพิจารณานี้จะช่วยเราให้มีความยินดีมากขึ้น.

การถวายเครื่องบูชาในอิสราเอลโบราณ

4. ชาวอิสราเอลได้รับประโยชน์อย่างไรจากการถวายเครื่องบูชา?

4 ประชาชนในอิสราเอลโบราณต้องถวายเครื่องบูชาเพื่อจะได้รับการอภัยบาป. การถวายเครื่องบูชาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อจะได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวา. เครื่องบูชาบางอย่างต้องถวายตามที่พระยะโฮวากำหนด แต่เครื่องบูชาบางอย่างสามารถถวายได้ตามความสมัครใจ. (เลวี. 23:37, 38, ฉบับ 1971 ) เครื่องบูชาเผาอาจถวายเป็นเครื่องบูชาหรือของกำนัลแด่พระยะโฮวาด้วยใจสมัคร. ตัวอย่างหนึ่งของการถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวาคือการถวายเครื่องบูชาในการอุทิศพระวิหารของโซโลมอน.—2 โคร. 7:4-6

5. พระยะโฮวาทำอย่างไรซึ่งทำให้แม้แต่คนจนก็ถวายเครื่องบูชาได้?

5 พระยะโฮวาผู้เปี่ยมด้วยความรักเข้าใจดีว่าแต่ละคนไม่สามารถถวายได้เท่ากัน. พระองค์กำหนดให้ชาวอิสราเอลถวายเฉพาะสิ่งที่พวกเขาสามารถถวายได้. พระบัญญัติของพระยะโฮวากำหนดให้ถวายเครื่องบูชาที่เป็นสัตว์และให้เทเลือดสัตว์นั้นลงดิน. เครื่องบูชาเหล่านี้เป็น “เงาของสิ่งดีที่จะมีมา” โดยทางพระเยซู. (ฮีบรู 10:1-4) แต่พระยะโฮวาใช้กฎหมายนี้อย่างมีเหตุผล. ตัวอย่างเช่น ถ้าบางคนไม่สามารถถวายสัตว์ใหญ่ เช่น แกะหรือแพะ พระเจ้าก็ยอมรับเครื่องบูชาที่ถวายโดยใช้นกเขาแทน. ดังนั้น แม้แต่คนจนก็สามารถถวายเครื่องบูชาแด่ พระยะโฮวาและมีความชื่นชมยินดี. (เลวี. 1:3, 10, 14; 5:7) แม้ว่าพระยะโฮวายอมรับเครื่องบูชาที่เป็นสัตว์ชนิดต่างแต่พระองค์คาดหมายสองสิ่งจากทุกคนที่ถวายเครื่องบูชาด้วยใจสมัคร.

6. สองสิ่งที่ต้องทำเมื่อถวายเครื่องบูชาคืออะไร? การทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวสำคัญขนาดไหน?

6 ประการแรกคือ เขาต้องถวายสิ่งที่ดีที่สุดเป็นเครื่องบูชา. ถ้าเขานำสัตว์ที่ป่วยหรือมีตำหนิมาถวายเป็นเครื่องบูชา พระยะโฮวาจะไม่ยอมรับเครื่องบูชานั้น. (เลวี. 22:18-20) ประการที่สอง คนที่ถวายเครื่องบูชาต้องสะอาดตามที่พระบัญญัติระบุไว้. ถ้าเขาไม่สะอาดหรือเป็นมลทิน เขาต้องถวายเครื่องบูชาไถ่บาปหรือไถ่ความผิดก่อนเพื่อจะกลับมาอยู่ในฐานะที่พระยะโฮวาพอใจ. เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว พระยะโฮวาจึงจะยอมรับเครื่องบูชาของเขาที่ถวายด้วยความสมัครใจ. (เลวี. 5:5, 6, 15) นี่เป็นเรื่องที่จริงจังอย่างยิ่ง. พระยะโฮวาระบุไว้อย่างชัดเจนในพระบัญญัติว่าถ้าใครก็ตามที่เป็นมลทินกินเครื่องบูชาเชื่อมสัมพันธไมตรี ซึ่งรวมถึงเครื่องบูชาที่ถวายด้วยใจสมัครด้วย เขาต้องถูกประหารชีวิต. (เลวี. 7:20, 21) แต่ถ้าผู้ถวายสะอาดและเครื่องบูชาของเขาไม่มีตำหนิ เขาก็จะมีสติรู้สึกผิดชอบที่ดีและยินดีอย่างยิ่ง.—อ่าน 1 โครนิกา 29:9

การถวายเครื่องบูชาหรือการเสียสละของเราในปัจจุบัน

7, 8. (ก) คนที่เสียสละเพื่อราชอาณาจักรมีความยินดีอย่างไร? (ข) มีอะไรบ้างที่เราจะเสียสละเพื่อพระยะโฮวาได้?

7 ปัจจุบัน พี่น้องหลายคนยินดีทำงานหนักในการรับใช้พระยะโฮวา. นี่ทำให้พระยะโฮวาพอใจยินดี. การทำงานหนักเพื่อช่วยพี่น้องก็ทำให้เรามีความยินดีด้วย. พี่น้องชายคนหนึ่งซึ่งช่วยสร้างหอประชุมราชอาณาจักรและช่วยพี่น้องที่ได้รับผลเสียหายจากภัยธรรมชาติกล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะพรรณนาว่าเขารู้สึกดีขนาดไหนเมื่อได้ช่วยพี่น้องด้วยวิธีนี้. เขาบอกว่า “การได้เห็นว่าพี่น้องในท้องถิ่นมีความสุขและแสดงความรู้สึกขอบคุณตอนที่พวกเขายืนอยู่ในหอประชุมหลังใหม่ หรือตอนที่พวกเขารับความช่วยเหลือหลังจากที่เกิดภัยธรรมชาติ ทำให้งานและความพยายามทุกอย่างที่เราได้ทำไปเป็นเรื่องคุ้มค่าจริงๆ.”

8 องค์การของพระยะโฮวาบนแผ่นดินโลกมองหาวิธีต่างที่จะสนับสนุนราชอาณาจักรอยู่เสมอ. ในปี 1904 ซี. ที. รัสเซลล์ เขียนไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งว่าเราทุกคนควรพยายามใช้เวลา อำนาจหรืออิทธิพล เงิน และสิ่งอื่นที่เรามีเพื่อทำให้พระยะโฮวา ได้รับคำสรรเสริญ. แม้ว่าเราต้องเสียสละอะไรบางอย่างเพื่อพระยะโฮวา แต่ก็ทำให้เราได้รับพระพรมากมาย. (2 ซามู. 24:21-24) เราจะใช้สิ่งที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นได้ไหม?

9. มีหลักการอะไรในลูกา 10:2-4 ที่เราจะนำมาใช้ได้เกี่ยวกับการใช้เวลาของเรา?

9 เวลาของเรา. ต้องใช้เวลาและความพยายามมากมายเพื่อจะแปลและพิมพ์หนังสือต่างของเรา สร้างหอประชุมราชอาณาจักรและหอประชุมใหญ่ จัดการประชุมใหญ่ ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และทำงานอื่นที่จำเป็น. เรามีเวลาเพียง 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน แต่พระเยซูให้หลักการข้อหนึ่งแก่เราที่ช่วยเราให้ใช้เวลาอย่างฉลาดสุขุม. เมื่อพระเยซูส่งสาวกไปประกาศ พระองค์บอกพวกเขาว่าอย่า “หยุดทักทายใครนานระหว่างทาง.” (ลูกา 10:2-4) ทำไมพระเยซูจึงสั่งอย่างนั้น? ในสมัยของพระเยซู เมื่อผู้คนทักทายกัน พวกเขาไม่เพียงแค่โค้งตัวหรือจับมือกัน. แทนที่จะทำแค่นั้น พวกเขาจะกอดกันหลายครั้งและแม้แต่หมอบลงกับพื้นเพื่อแสดงความนับถือ. ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลามาก. พระเยซูไม่ได้บอกให้เหล่าสาวกทำตัวเป็นคนไม่มีมารยาท. แต่พระองค์ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขามีเวลาไม่มาก ดังนั้น พวกเขาจำเป็นต้องใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและทำสิ่งที่สำคัญที่สุด. (เอเฟ. 5:16) เราจะใช้หลักการนี้เพื่อจะมีเวลามากขึ้นในการสนับสนุนงานราชอาณาจักรได้ไหม?

10, 11. (ก) เงินบริจาคของเราสำหรับงานทั่วโลกถูกใช้ไปโดยวิธีใดบ้าง? (ข) หลักการอะไรใน 1 โครินท์ 16:1, 2 ที่ช่วยเราได้?

10 เงินของเรา. จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อสนับสนุนงานทั่วโลก. แต่ละปี เงินหลายสิบล้านดอลลาร์ได้ถูกใช้ไปเพื่อสนับสนุนงานของผู้ดูแลเดินทาง ไพโอเนียร์พิเศษ และมิชชันนารี. นับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ได้มีการสร้างหอประชุมราชอาณาจักรมากกว่า 24,500 หลังในประเทศต่างที่พี่น้องของเรามีทรัพย์สินเงินทองไม่มาก. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความจำเป็นต้องสร้างหอประชุมราชอาณาจักรอีกเกือบ 6,400 หลัง. ทุกเดือน มีการพิมพ์วารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ประมาณ 100 ล้านฉบับ. งานทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยการบริจาคด้วยใจสมัครของคุณ.

11 พระยะโฮวาดลใจให้อัครสาวกเปาโลเขียนหลักการที่เราจะนำไปใช้ได้ในเรื่องการบริจาค. (อ่าน 1 โครินท์ 16:1, 2 ) ท่านแนะนำพี่น้องในเมืองโครินท์ว่าอย่าคอยจนถึงสุดสัปดาห์แล้วค่อยดูว่าพวกเขามีเงินเหลืออยู่เท่าไร แต่ให้กันเงินไว้ตั้งแต่ตอนต้นสัปดาห์สำหรับการบริจาค. เช่นเดียวกับพี่น้องในศตวรรษแรก พี่น้องหลายคนในทุกวันนี้ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าว่าพวกเขาจะบริจาคได้เท่าไรตามที่สภาพการณ์ของตนจะให้ได้. (ลูกา 21:1-4; กิจ. 4:32-35) พระยะโฮวาเห็นค่าน้ำใจในการให้อย่างใจกว้างเช่นนั้น!

12, 13. ทำไมบางคนอาจคิดว่าพวกเขาให้กำลังและความสามารถแก่พระยะโฮวามากกว่าที่พวกเขาทำอยู่ไม่ได้ แต่พระยะโฮวาจะช่วยพวกเขาอย่างไร?

12 กำลังและความสามารถของเรา. พระยะโฮวาสนับสนุนเราให้ใช้กำลังและความสามารถของเราเพื่อราชอาณาจักร. พระองค์สัญญาว่าจะช่วยเราเมื่อเรารู้สึกหมดเรี่ยวแรง. (ยซา. 40:29-31) เราคิดว่าเรามีความสามารถไม่มากพอที่จะช่วยงานราชอาณาจักรหรือคิดว่าคนอื่นคงทำได้ดีกว่าเราไหม? ขอให้จำไว้ว่าพระยะโฮวาช่วยให้เรามีความสามารถมากขึ้นได้ เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ช่วยบะซาเล็ลและอาโฮลีอาบ.—เอ็ก. 31:1-6; ดูภาพข้างชื่อเรื่อง

13 พระยะโฮวาสนับสนุนเราที่จะให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่พระองค์และไม่ให้สิ่งใดยับยั้งเราไว้. (สุภา. 3:27) เมื่อมีการสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ พระยะโฮวาบอกชาวยิวในกรุงเยรูซาเลมให้คิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่เพื่อสนับสนุนงานนี้. (ฮาฆี 1:2-5) พวกเขาหันไปสนใจสิ่งอื่นมากกว่าและไม่ ได้ให้งานของพระยะโฮวามาเป็นอันดับแรกในชีวิตของพวกเขา. เราควรถามตัวเองว่า การทำตามพระประสงค์ของพระยะโฮวาสำคัญสำหรับเรายิ่งกว่าสิ่งอื่นใดไหม? เราจะคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับชีวิตของเราและวางแผนที่จะสนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้าในสมัยสุดท้ายนี้ให้มากขึ้นได้ไหม?

เสียสละตามที่เราจะให้ได้

14, 15. (ก) คุณได้รับกำลังใจอย่างไรจากพี่น้องที่มีเงินไม่มาก? (ข) เราควรต้องการทำอะไร?

14 หลายคนอยู่ในท้องถิ่นที่ชีวิตลำบากและมีปัญหาความยากจนอยู่ทั่วไป. องค์การของเราพยายามช่วยพี่น้องในประเทศเหล่านี้. (2 โค. 8:14) อย่างไรก็ตาม แม้แต่พี่น้องที่ไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากก็เห็นค่าสิทธิพิเศษในการให้. พระยะโฮวาพอใจเมื่อเห็นพวกเขาให้ตามที่พวกเขาสามารถให้ได้ด้วยใจยินดี.—2 โค. 9:7

15 ที่แอฟริกา ในประเทศที่ยากจนมากประเทศหนึ่ง พี่น้องบางคนกันที่ดินส่วนหนึ่งของสวนไว้เพื่อปลูกพืชขาย แล้วพวกเขาก็ใช้เงินที่ได้จากการขายพืชผลในที่ดินส่วนนั้นเพื่อสนับสนุนงานราชอาณาจักร. ในประเทศเดียวกันนี้ พี่น้องชายหญิงหลายคนอยากช่วยในโครงการก่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักร. แต่โครงการนี้เริ่มต้นกลางฤดูเพาะปลูกของพวกเขาพอดี. ด้วยความตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยงานนี้ พวกเขาจึงทำงานที่หอประชุมราชอาณาจักรตอนกลางวัน แล้วก็ทำงานปลูกพืชผลของพวกเขาตอนค่ำ. นับเป็นน้ำใจในการให้ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ! เรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงพี่น้องในมาซิโดเนียโบราณ. พวกเขา “ยากจนข้นแค้น” แต่ก็ยังวิงวอนขอเปาโลให้พวกเขามีโอกาสได้บริจาคและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพี่น้องของพวกเขา. (2 โค. 8:1-4) ขอให้เราแต่ละคนให้ตามที่เราจะให้ได้เพื่อแสดงว่าเราขอบคุณพระยะโฮวาสำหรับพระพรที่พระองค์ให้เรา.—อ่านพระบัญญัติ 16:17

16. เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพระยะโฮวาพอใจเครื่องบูชาที่เราถวาย?

16 อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังด้วย. เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลโบราณ เราต้องถวายเครื่องบูชาด้วยใจสมัครอย่างที่พระเจ้ายอมรับ. เราต้องจำไว้ว่าครอบครัวของเราและการนมัสการพระยะโฮวาเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของเรา. เราอาจสละเวลาและทรัพย์สินมากมายเพื่อช่วยเหลือคนอื่น. แต่ถ้าเราไม่ดูแลสายสัมพันธ์ของครอบครัวเรากับพระยะโฮวาหรือไม่ดูแลความจำเป็นด้านวัตถุของครอบครัว การทำอย่างนั้นก็เป็นเหมือนการให้สิ่งที่เราไม่มี. (อ่าน 2 โครินท์ 8:12 ) นอกจากนั้น เราจำเป็นต้องเสริมสายสัมพันธ์ของเราเองกับพระยะโฮวา. (1 โค. 9:26, 27) เรามั่นใจได้ว่าถ้าเราดำเนินชีวิตตามมาตรฐานในคัมภีร์ไบเบิล การเสียสละของเราจะทำให้เรามีความสุขและพระยะโฮวาจะ “พอพระทัย.”

การเสียสละของเรามีค่ามาก

17, 18. เรารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับคนที่กำลังเสียสละเพื่อราชอาณาจักร และเราทุกคนควรพิจารณาอะไร?

17 พี่น้องหลายคนให้เวลา กำลัง และทรัพย์ของตนอย่างไม่เห็นแก่ตัวเพื่อสนับสนุนงานราชอาณาจักร. (ฟิลิป. 2:17) เรารู้สึกเห็นคุณค่าพี่น้องที่แสดงน้ำใจในการให้เช่นนั้นจริงๆ. ภรรยาและลูกของพี่น้องชายที่นำหน้าในงานราชอาณาจักรก็สมควรได้รับคำชมเชยด้วยสำหรับน้ำใจเอื้อเฟื้อและการเสียสละของพวกเขา.

18 จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อสนับสนุนงานราชอาณาจักร. ขอให้เราแต่ละคนอธิษฐานและพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับวิธีที่เราจะมีส่วนร่วมให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้. ถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะได้รับพระพรมากมายในขณะนี้และจะได้รับมากยิ่งกว่านั้นอีก “ในยุคหน้า.”—มโก. 10:28-30

^ วรรค 2 ดูบทความ “ถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวาอย่างสุดชีวิต” ในหอสังเกตการณ์ 15 มกราคม 2012 หน้า 21-25.