จากคำบอกเล่าสู่ข้อความศักดิ์สิทธิ์—การเขียนและคริสเตียนยุคแรก
จากคำบอกเล่าสู่ข้อความศักดิ์สิทธิ์—การเขียนและคริสเตียนยุคแรก
ผู้เชื่อถือรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้อุทิศเวลามากมายเพื่ออ่าน, ศึกษา, และวิเคราะห์บางส่วนของข้อเขียนซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเท่าที่เคยมีการเขียนขึ้น นั่นคือ ข้อความในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก หรือที่เรียกกันว่าพันธสัญญาใหม่. ข้อเขียนเหล่านี้ รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของคัมภีร์ไบเบิลมีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกของเรา ทั้งกำหนดขอบเขตทางศีลธรรมและจริยธรรม และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดผลงานทางวรรณกรรมและศิลปะ. เหนือสิ่งอื่นใด ข้อเขียนเหล่านี้ได้ช่วยให้ผู้คนนับล้าน ๆ ซึ่งอาจรวมถึงคุณด้วยให้ได้รับความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้าและพระเยซู.—โยฮัน 17:3.
กิตติคุณสี่เล่มรวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกไม่ได้เขียนขึ้นทันทีหลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์. ดูเหมือนว่า มัดธายเขียนกิตติคุณหลังจากนั้นประมาณ 7 หรือ 8 ปี ส่วนโยฮันก็เขียนกิตติคุณหลังจากนั้นประมาณ 65 ปี. เป็นไปได้อย่างไรที่พวกเขาสามารถบันทึกคำตรัสและการงานของพระเยซูได้อย่างถูกต้องทุกประการ? เห็นได้ชัดว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้ามีบทบาทสำคัญในการชี้นำพวกเขา. (โยฮัน 14:16, 26) แต่คำสอนของพระเยซูถูกถ่ายทอดมาอย่างถูกต้องจนมาเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ได้โดยวิธีใด?
“เรียกได้ว่าเป็นคนไม่รู้หนังสือ” หรือ?
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา มีบางคนได้ตั้งข้อสงสัยว่า สาวกรุ่นแรกของพระเยซูอาจไม่ได้บันทึกคำสอนและกิจการงานของพระเยซูไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นโดยใช้วิธีบอกเล่าต่อ ๆ กัน. ตัวอย่างเช่น ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่งกล่าวว่า “มีช่วงห่างอยู่หลายสิบปีระหว่างงานสั่งสอนสาธารณชนของพระเยซูกับการบันทึกคำตรัสของพระองค์โดยเหล่าผู้เขียนกิตติคุณ. ในระหว่างนั้นเรื่อง * พวกเขายังกล่าวอีกว่า ในช่วงหลายสิบปีที่มีการถ่ายทอดข้อมูลแบบปากต่อปากนั้น เรื่องราวการเผยแพร่ของพระเยซูได้ถูกขยายความ, ดัดแปลง, หรือแต่งเติม. พวกเขาอ้างว่า ผลคือ เรื่องราวเหล่านั้นจึงห่างไกลจากความเป็นจริง.
ราวเกี่ยวกับพระเยซูได้ถูกถ่ายทอดโดยการบอกเล่า.” นักวิจัยบางคนถึงกับหาเหตุผลว่า สาวกรุ่นแรกของพระเยซู “เรียกได้ว่าเป็นคนไม่รู้หนังสือ.”อีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งผู้คงแก่เรียนบางคนเสนอแนะคือ สาวกชาวยิวที่ใกล้ชิดพระเยซูอาจใช้วิธีเดียวกับที่พวกรับบีใช้สอน คือการท่องจำจนขึ้นใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้การถ่ายทอดข้อมูลแบบปากต่อปากมีความถูกต้องแม่นยำ. พวกสาวกอาศัยข้อมูลจากคำบอกเล่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไหม? หรือการเขียนอาจมีบทบาทในการเก็บบันทึกเรื่องราวการเผยแพร่ของพระเยซู? แม้ว่าเราไม่อาจแน่ใจได้เต็มที่ แต่เป็นไปได้ว่าการเขียนมีบทบาทสำคัญทีเดียว.
การเขียนในชีวิตประจำวัน
ในศตวรรษแรก ผู้คนทุกชนิดสามารถอ่านและเขียนได้. อลัน มิลลาร์ด ศาสตราจารย์ด้านภาษาฮีบรูและภาษาเซมิติกโบราณให้ข้อสังเกตว่า “การเขียนในภาษากรีก, อาระเมอิกและฮีบรูมีแพร่หลายและสามารถพบได้ในสังคมทุกระดับชั้น.” เขากล่าวเสริมว่า “พระเยซูทรงทำงานสั่งสอนในสภาพแวดล้อมเช่นนี้แหละ.”
สำหรับคำกล่าวอ้างที่ว่าข้อความในกิตติคุณ “เขียนขึ้นในสังคมของคนที่ไม่รู้หนังสือเลย” นั้น ศาสตราจารย์มิลลาร์ดเขียนว่า “ความจริงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น [เนื่องจาก] ผู้คนที่ไหน ๆ ในสมัยนั้นต่างก็คุ้นเคยกับการเขียน . . . ฉะนั้น ตามปกติแล้วจะมีคนที่สามารถเขียนสิ่งซึ่งพวกเขาได้ยินได้ฟังเอาไว้ได้ ไม่ว่าเขาจะเขียนเพื่อตนเองหรือเพื่อแจ้งแก่คนอื่น.”
ข้อ 63 บอกว่า “เขาจึงขอ [ดูเหมือนว่าโดยทำท่าทาง] กระดานชนวนมาเขียนว่า ‘ชื่อโยฮัน.’ ” พจนานุกรมศัพท์คัมภีร์ไบเบิลอธิบายว่า คำ “กระดานชนวน” อาจหมายถึงแผ่นไม้ที่ใช้สำหรับเขียนซึ่งอาจเคลือบด้วยขี้ผึ้ง. บางคนที่นั่นอาจมีกระดานสำหรับเขียนติดมาด้วย เซคาระยาห์จึงใช้เขียนได้.
ดูเหมือนว่า กระดานเคลือบขี้ผึ้งเป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไปและสามารถใช้จดข้อมูลต่าง ๆ ได้. ตัวอย่างหนึ่งในเรื่องนี้พบที่บทแรกของหนังสือลูกา. มีคนถามเซคาระยาห์ซึ่งกลายเป็นใบ้อยู่ระยะหนึ่งว่าเขาต้องการจะตั้งชื่อบุตรชายว่าอย่างไร.อีกตัวอย่างหนึ่งแสดงให้เห็นว่ากระดานสำหรับเขียนและการใช้กระดานเหล่านี้ดูเหมือนเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้น. ในหนังสือกิจการ เราอ่านว่าเปโตรกำลังพูดกับฝูงชนในบริเวณพระวิหารและกระตุ้นเตือนพวกเขาว่า “จงกลับใจ . . . บาปของพวกท่านจะถูกลบล้าง.” (กิจการ 3:11, 19) คำว่า “ถูกลบล้าง” มาจากคำกริยาภาษากรีกที่หมายความว่า “เช็ดออก, ลบออก.” พจนานุกรมนานาชาติฉบับใหม่เกี่ยวกับเทววิทยาแห่งพันธสัญญาใหม่ (ภาษาอังกฤษ) อธิบายว่า “ภาพที่คำกริยานี้ถ่ายทอดออกมาในท้องเรื่องนี้และอาจจะในท้องเรื่องอื่นด้วยน่าจะเป็นการทำให้ผิวกระดานสำหรับเขียนซึ่งเคลือบด้วยขี้ผึ้งสะอาดเกลี้ยงเกลาเพื่อจะใช้ได้อีก.”
บันทึกในกิตติคุณแสดงให้เห็นด้วยว่า บางคนในหมู่สาวกและผู้ฟังของพระเยซูทำงานที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเขียนเป็นประจำทุกวัน. ตัวอย่างเช่น มีมัดธายกับซัคเคอุสซึ่งเป็นคนเก็บภาษี. (มัดธาย 9:9; ลูกา 19:2); นายธรรมศาลา (มาระโก 5:22); นายร้อย (มัดธาย 8:5); โยอานา ภรรยาหัวหน้ากรมวังของเฮโรดอันทีพัส (ลูกา 8:3); รวมทั้งพวกอาลักษณ์, ฟาริซาย, ซาดูกาย, และสมาชิกคนอื่น ๆ ของสภาซันเฮดริน. (มัดธาย 21:23, 45; 22:23; 26:59) ไม่ต้องสงสัยว่า อัครสาวกและสาวกของพระเยซูแทบทุกคนเขียนหนังสือได้.
นักศึกษา, ผู้สอน, และผู้เขียน
เพื่อจะเป็นผู้สอนหลักการคริสเตียน สาวกของพระเยซูต้องไม่เพียงรู้ว่าพระเยซูตรัสอะไรเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าใจด้วยว่าพระบัญญัติและคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูใช้กับพระคริสต์อย่างไร. (กิจการ 18:5) น่าสนใจทีเดียว ลูกาบันทึกการพบกันครั้งหนึ่งของพระเยซูกับสาวกบางคนหลังจากพระองค์ทรงคืนพระชนม์ได้ไม่นาน. พระเยซูทรงทำอะไร? “พระองค์ทรงอธิบายเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับพระองค์ซึ่งมีบอกไว้ในพระคัมภีร์ให้เขาฟัง โดยเริ่มที่หนังสือของโมเซและของบรรดาผู้พยากรณ์.” หลังจากนั้นไม่นานพระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกว่า “ ‘ขณะที่เรายังอยู่กับพวกเจ้า เราเคยพูดกับเจ้าทั้งหลายว่า สารพัดสิ่งที่เขียนเกี่ยวกับเราในพระบัญญัติที่ทรงประทานผ่านทางโมเซและในหนังสือของพวกผู้พยากรณ์และในเพลงสรรเสริญจะต้องสำเร็จทั้งสิ้น.’ แล้วพระองค์ทรงโปรดให้พวกเขาเข้าใจความหมายของพระคัมภีร์อย่างแจ่มแจ้ง.” (ลูกา 24:27, 44, 45) ต่อมาภายหลัง พวกสาวกก็ได้ “นึก” ถึงสิ่งที่พระเยซูเคยทรงอธิบายไว้.—โยฮัน 12:16.
บันทึกเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอัครสาวกและสาวกคงต้องทุ่มเทตัวในการศึกษาค้นคว้าเรื่องพระคัมภีร์อย่างขยันขันแข็งเพื่อพวกเขาจะมีความเข้าใจเต็มที่เกี่ยวกับความหมายของสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินซึ่งเกี่ยวข้องกับพระเยซูคริสต์ ลูกา 1:1-4; กิจการ 17:11) แฮร์รี วาย. แกมเบิล อาจารย์ภาควิชาศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เขียนว่า “แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตั้งแต่แรกเลยทีเดียวได้มีคริสเตียนบางคนหรืออาจมีหลายกลุ่มที่ทุ่มเทตัวในการศึกษาและตีความพระคัมภีร์ของชาวยิว แล้วก็รวบรวมข้อความซึ่งยืนยันความเชื่อของคริสเตียนและทำให้ข้อความเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ได้ในงานประกาศของคริสเตียน.”
องค์พระผู้เป็นเจ้า. (ทั้งหมดนี้แสดงว่าสาวกของพระเยซูไม่ได้อาศัยข้อมูลจากการบอกเล่าเท่านั้น แต่พวกเขาใช้เวลามากจริง ๆ ในการศึกษา, การอ่าน, และการเขียน. พวกเขาเป็นทั้งนักศึกษา, ผู้สอน, และผู้เขียน. เหนือสิ่งอื่นใดพวกเขามีความเชื่อเข้มแข็งในพระเจ้าและไว้วางใจให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ชี้นำ. พระเยซูทรงรับรองกับพวกเขาว่า “พระวิญญาณแห่งความจริง” จะ ‘ช่วยพวกเขาให้ระลึกถึงทุกสิ่งที่พระองค์ได้บอกพวกเขาไว้.’ (โยฮัน 14:17, 26) พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าช่วยพวกเขาให้จดจำและบันทึกสิ่งที่พระเยซูทรงทำและตรัส แม้กระทั่งคำตรัสที่ยืดยาวเช่นคำเทศน์บนภูเขา. (มัดธายบท 5-7) พระวิญญาณยังช่วยผู้เขียนกิตติคุณให้บันทึกความรู้สึกของพระเยซูในบางโอกาสรวมทั้งสิ่งที่พระองค์ตรัสในคำอธิษฐานด้วย.—มัดธาย 4:2; 9:36; โยฮัน 17:1-26.
ดังนั้น แม้ว่าผู้เขียนกิตติคุณจะใช้ประโยชน์จากทั้งข้อมูลที่บอกเล่าต่อกันมาและที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่สิ่งที่พวกเขาบันทึกนั้นมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและสูงส่งกว่ามากนัก นั่นคือพระยะโฮวาพระเจ้าเอง. ฉะนั้น เราจึงมั่นใจได้อย่างเต็มที่ว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า” และสามารถสอนและชี้แนะเราให้ทำสิ่งที่พระองค์พอพระทัย.—2 ติโมเธียว 3:16.
[เชิงอรรถ]
[คำโปรยหน้า 14]
บางคนในหมู่สาวกของพระเยซูทำงานที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเขียนเป็นประจำทุกวัน
[คำโปรยหน้า 15]
พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าช่วยสาวกรุ่นแรกของพระเยซูให้จดจำและบันทึกสิ่งที่พระองค์ทรงทำและตรัส
[กรอบ/ภาพหน้า 15]
พวกอัครสาวกเป็นคนไม่รู้หนังสือไหม?
เมื่อผู้ปกครองและผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงเยรูซาเลม “เห็นความกล้าหาญของเปโตรกับโยฮันและรู้ว่าทั้งสองเป็นสามัญชนที่เรียนมาน้อยก็ประหลาดใจ.” (กิจการ 4:13) นี่หมายความว่าพวกอัครสาวกไม่รู้หนังสือเลยอย่างนั้นไหม? ในเรื่องนี้ คัมภีร์ไบเบิลของผู้แปลฉบับใหม่ (ภาษาอังกฤษ) ให้ความเห็นว่า “คำที่ใช้นี้คงไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษรราวกับว่าเปโตร [และโยฮัน] ไม่ได้รับการศึกษาใด ๆ และอ่านเขียนไม่ได้. ถ้อยคำเหล่านี้เพียงแต่กล่าวถึงความแตกต่างที่เด่นชัดอย่างยิ่งในเรื่องฐานะทางสังคมระหว่างพวกผู้พิพากษากับอัครสาวก.”
[ภาพหน้า 13]
“เขาจึงขอกระดานชนวนมาเขียนว่า ‘ชื่อโยฮัน’ ”
[ภาพหน้า 13]
กระดานเคลือบขี้ผึ้งกับอุปกรณ์สำหรับเขียนจากศตวรรษที่หนึ่งหรือสองสากลศักราช
[ที่มาของภาพ]
© British Museum/Art Resource, NY