กุญแจสู่ความสุขในครอบครัว
เมื่อคู่สมรสต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
เนื่องจากหมอวินิจฉัยว่าฉันเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง สามีจึงต้องทำงานอาชีพอยู่คนเดียว. แต่เขาไม่เคยพูดกับฉันเรื่องค่าใช้จ่ายของเรา. ทำไมเขาไม่บอกอะไรฉันเลย? สภาพทางการเงินของเราคงต้องแย่มากจนเขาคิดว่าถ้าฉันรู้ฉันคงจะคิดมากแน่ ๆ.—แนนซี *
ชีวิตสมรสอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อคนหนึ่งเกิดป่วยเรื้อรังขณะที่อีกคนหนึ่งสุขภาพแข็งแรงก็ยิ่งทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นไปอีก. * คุณกำลังดูแลเอาใจใส่คู่สมรสที่เจ็บป่วยเรื้อรังอยู่ไหม? ถ้าเช่นนั้น คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อไปนี้ไหม เช่น ‘ผมจะรับมืออย่างไรถ้าสุขภาพของคู่สมรสแย่ลงกว่านี้? ผมจะดูแลคู่สมรสและขณะเดียวกันก็ทำอาหาร, ทำความสะอาด, และทำงานอาชีพไปได้อีกนานแค่ไหน? ทำไมผมจึงรู้สึกผิดที่ตัวเองมีสุขภาพดี?’
อีกด้านหนึ่ง ถ้าคุณเป็นฝ่ายที่เจ็บป่วย คุณอาจสงสัยว่า ‘ฉันจะนับถือตัวเองได้อย่างไรในเมื่อไม่สามารถทำหน้าที่รับผิดชอบของตนได้เลย? สามีไม่พอใจฉันไหมที่ฉันป่วย? ชีวิตสมรสของเราจะหมดความสุขแล้วไหม?’
น่าเศร้าที่คู่สมรสบางคู่ไปไม่รอดเพราะความตึงเครียดอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยเรื้อรัง. แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตสมรสของคุณจะเป็นเช่นนั้น.
หลายคู่ยังใช้ชีวิตร่วมกันต่อไปได้และราบรื่นดีด้วยซ้ำแม้ฝ่ายหนึ่งจะเจ็บป่วยเรื้อรัง. ขอพิจารณาตัวอย่างของโยชิอะกิและคาซุโกะ. การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังทำให้โยชิอะกิไม่สามารถจะขยับตัวได้เลย. คาซุโกะอธิบายว่า “ฉันต้องช่วยเหลือสามีทุกอย่าง. การดูแลเขาทำให้คอ, ไหล่, และแขนของฉันปวดไปหมด ฉันจึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลกระดูกเป็นประจำ. บ่อยครั้งฉันรู้สึกว่าการดูแลสามีเป็นงานหนักมากจนแทบจะรับไม่ไหว.” ถึงแม้จะยุ่งยากลำบากแต่คาซุโกะบอกว่า “ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาของเรากลับแน่นแฟ้นขึ้น.”
อะไรเป็นกุญแจที่ทำให้ชีวิตสมรสมีความสุขแม้อยู่ในสภาพการณ์เช่นนั้น? ประการหนึ่งคือ สามีภรรยาที่รักษาความอิ่มใจพอใจกับชีวิตสมรสได้ในระดับหนึ่งจะมองว่าความเจ็บป่วยนั้นไม่เพียงคุกคามฝ่ายที่ป่วยเท่านั้นแต่คุกคามเยเนซิศ 2:24 ว่า “ผู้ชายจึงจะละบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา: และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อหนังอันเดียวกัน.” ด้วยเหตุนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งเจ็บป่วยเรื้อรังจึงนับว่าสำคัญอย่างยิ่งที่ทั้งสามีและภรรยาจะรับมือกับข้อท้าทายนั้นร่วมกัน.
เขาทั้งคู่. ที่จริง เมื่อฝ่ายหนึ่งป่วย พวกเขาทั้งคู่ก็ได้รับผลกระทบอย่างมากแม้ว่าจะเป็นคนละด้านก็ตาม. ความสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันระหว่างสามีและภรรยาเช่นนี้มีพรรณนาไว้ที่นอกจากนั้น ผลการวิจัยแสดงว่าคู่สมรสที่รักษาสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันขณะเผชิญกับความเจ็บป่วยเรื้อรังจะยอมรับสภาพของตนและเรียนรู้วิธีที่จะปรับตัวได้อย่างประสบผลสำเร็จ. วิธีรับมือหลายอย่างที่พวกเขาได้เรียนรู้ตรงกับคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย. ให้เราพิจารณาข้อชี้แนะสามประการต่อไปนี้.
คำนึงถึงกันและกัน
ท่านผู้ประกาศ 4:9 กล่าวว่า “สองคนก็ดีกว่าคนเดียว.” เพราะเหตุใด? ข้อ 10 อธิบายว่า เพราะ “ถ้าคนหนึ่งล้มลง, อีกคนหนึ่งจะได้พยุงยกเพื่อนของตนให้ลุกขึ้น.” คุณ ‘พยุงยกคู่ของคุณให้ลุกขึ้น’ ด้วยคำพูดที่แสดงว่าคุณเห็นคุณค่าเขาไหม?
คุณจะคิดหาวิธีต่าง ๆ ที่ทำได้จริงเพื่อช่วยเหลือกันได้ไหม? ยอง ซึ่งภรรยาป่วยเป็นอัมพาตบางส่วนกล่าวว่า “ผมพยายามจะคำนึงถึงภรรยาในทุกเรื่อง. เมื่อผมหิวน้ำ ผมก็คิดว่าเธอคงหิวน้ำด้วย. ถ้าผมอยากจะไปข้างนอกและชมวิวสวย ๆ ผมก็จะชวนเธอไปด้วย. เราเจ็บปวดด้วยกันและอดทนด้วยกัน.”
ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าคุณเป็นฝ่ายได้รับ การดูแลเอาใจใส่จากคู่สมรส มีอะไรไหมที่คุณสามารถทำเองได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ? ถ้าทำได้ คุณก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากขึ้นและอาจช่วยให้คู่ของคุณสามารถดูแลคุณต่อ ๆ ไปได้.
แทนที่จะคิดเอาเองว่าคุณรู้ดีที่สุดว่าควรดูแลคู่สมรสอย่างไร คงจะดีกว่าที่จะถามคู่ของคุณว่าเขาต้องการอะไรมากที่สุด. แนนซีซึ่งกล่าวถึงในตอนต้น ในที่สุดก็บอกสามีว่าเธอรู้สึกอย่างไรที่ไม่รู้สภาพการเงินของครอบครัว. ตอนนี้สามีพยายามพูดคุยกับเธอมากขึ้นในเรื่องนี้.
ลองวิธีนี้: เขียนวิธีต่าง ๆ ที่คุณคิดว่าคู่ของคุณจะช่วยให้คุณรับมือกับสภาพการณ์ในขณะนี้ได้ง่ายขึ้น และให้คู่ของคุณเขียนวิธีของเขาด้วย. จากนั้นก็แลกกันดู. แต่ละคนควรเลือกหนึ่งหรือสองวิธีที่คิดว่าจะทำได้จริง.
มีตารางเวลาที่สมดุล
กษัตริย์โซโลมอนผู้ชาญฉลาดเขียนว่า “มีวาระกำหนดไว้สำหรับทุกสิ่ง.” (ท่านผู้ประกาศ 3:1) อย่างไรก็ตาม อาจดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาตารางเวลาที่สมดุลอยู่เสมอเพราะความเจ็บป่วยเรื้อรังอาจทำให้กิจวัตรของครอบครัวเปลี่ยนไป. คุณจะทำอะไรได้เพื่อรักษาความสมดุลเอาไว้อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง?
คุณอาจหาเวลาทำกิจกรรมอื่นด้วยกันเป็นประจำแทนที่จะคิดกังวลเรื่องความเจ็บป่วยตลอดเวลา. คุณยังสามารถทำสิ่งที่เคยทำด้วยกันก่อนที่จะป่วยได้ไหม? ถ้าไม่ได้ มีกิจกรรมอย่างอื่นไหมที่คุณจะทำร่วมกันได้? อาจจะทำอะไรง่าย ๆ เช่น อ่านหนังสือให้กันฟัง หรืออะไรที่ยาก เช่น เรียนภาษาใหม่. การทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยกันเท่าที่ทำได้แม้เจ็บป่วยจะเสริมสายสัมพันธ์ของ “เนื้อหนังอันเดียวกัน” ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และจะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นด้วย.
อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้รักษาความสมดุลไว้ได้คือการคบหาสมาคมกับคนอื่น ๆ. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ที่สุภาษิต 18:1 ว่า “คนที่ปลีกตัวออกไปจากผู้อื่นจงใจจะทำตามตนเอง, และค้านคติแห่งปัญญาอันถูกต้องทั้งหลาย.” คุณสังเกตไหมว่าในข้อนี้กล่าวว่าการปลีกตัวอยู่โดดเดี่ยวก่อผลเสียต่อความคิดจิตใจได้? ตรงกันข้าม การคบหาสมาคมกับคนอื่นเป็นครั้งคราวสามารถช่วยให้คุณสดชื่นขึ้นและช่วยให้คุณกลับมีทัศนะที่สมดุลดังเดิมได้. จะดีไหมถ้าคุณเป็นฝ่ายริเริ่มเชิญบางคนมาเยี่ยมคุณ?
* บางคนพบว่าการระบายความรู้สึกวิตกกังวลกับเพื่อนเพศเดียวกันที่ไว้ใจได้เป็นครั้งคราวก็ช่วยได้.
บางครั้งบางคราว ฝ่ายที่ต้องดูแลคู่สมรสอาจรู้สึกว่ายากที่จะรักษาความสมดุล. บางคนทำงานหนักเกินไป ค่อย ๆ หมดเรี่ยวแรง และตัวเองแทบจะล้มป่วย. ในที่สุด เขาอาจถึงกับไม่สามารถดูแลคู่สมรสที่เขารักได้อีกต่อไป. ดังนั้น ถ้าคุณกำลังดูแลคู่สมรสที่เจ็บป่วยเรื้อรัง อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย. จงหาเวลาอยู่เงียบ ๆ เป็นประจำเพื่อให้ตัวเองได้ผ่อนคลาย.ลองวิธีนี้: เขียนใส่กระดาษว่าคุณพบอุปสรรคอะไรบ้างในการดูแลคู่สมรสของคุณ. แล้วเขียนว่าคุณจะทำอะไรได้บ้างเป็นขั้น ๆ เพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น หรือเพื่อรับมือกับอุปสรรคเหล่านั้นได้ดีขึ้น. แทนที่จะเขียนรายละเอียดยืดยาว ขอให้ถามตัวเองว่า ‘อะไรเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเป็นไปได้มากที่สุดที่จะช่วยให้สภาพการณ์ดีขึ้น?’
พยายามรักษาทัศนะในแง่บวก
คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า “อย่าว่า, อะไรหนอเป็นเหตุทำให้กาลก่อนดีกว่ากาลบัดนี้?” (ท่านผู้ประกาศ 7:10) ดังนั้น อย่าเอาแต่คิดว่าชีวิตจะเป็นเช่นไรถ้าไม่เจ็บป่วย. จำไว้ว่าในโลกนี้ไม่อาจจะหาความสุขที่สมบูรณ์แบบได้. เคล็ดลับก็คือ ยอมรับสภาพของคุณและทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้.
อะไรจะช่วยคุณและคู่สมรสให้ทำเช่นนั้นได้? พูดคุยกันเกี่ยวกับสิ่งดี ๆ ในชีวิตของคุณ. เมื่อสุขภาพของคุณดีขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็จงยินดีกับเรื่องนั้น. คิดถึงเรื่องดี ๆ ที่จะเกิดขึ้น ร่วมกันตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุได้.
คู่สมรสชื่อโชจิและอะกิโกะได้ทำตามคำแนะนำดังที่กล่าวมาและประสบผลดี. หลังจากที่หมอวินิจฉัยว่าอะกิโกะเป็นโรคปวดเส้นใยกล้ามเนื้อ (fibromyalgia) มาได้ระยะหนึ่ง พวกเขาต้องหยุดจากหน้าที่มอบหมายพิเศษในงานประกาศเผยแพร่เต็มเวลาของคริสเตียน. พวกเขาผิดหวังไหม? แน่นอน. แต่โชจิแนะนำใคร ๆ ที่อยู่ในสภาพการณ์คล้ายกับเขาว่า “อย่าทำให้ตัวเองท้อใจโดยคิดถึงสิ่งที่คุณทำไม่ได้อีกต่อไป. จงมีทัศนะในแง่บวก. แม้คุณทั้งคู่จะหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้กลับไปมีชีวิตแบบปกติ แต่ตอนนี้ขอให้มุ่งสนใจชีวิตอย่างที่เป็นอยู่นี้. สำหรับผม นั่นหมายถึงการมุ่งความสนใจไปที่ภรรยาและการช่วยเหลือเธอ.” คำแนะนำที่ใช้การได้ดังกล่าวก็สามารถช่วยคุณได้ด้วยถ้าคู่ของคุณต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ.
^ วรรค 3 บางชื่อเป็นชื่อสมมุติ.
^ วรรค 4 บทความนี้กำลังพิจารณาสภาพการณ์ที่คู่สมรสเจ็บป่วยเรื้อรัง. แต่คู่สมรสที่กำลังรับมือกับปัญหาเรื่องสุขภาพเนื่องจากอุบัติเหตุหรือปัญหาด้านอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า ก็สามารถได้รับประโยชน์จากการนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ด้วยเช่นกัน.
^ วรรค 20 ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของคุณ อาจเป็นประโยชน์ที่จะหาผู้มีอาชีพดูแลผู้ป่วยโดยตรงมาช่วยอย่างน้อยเป็นครั้งคราว หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐถ้ามี.
ถามตัวคุณเองว่า . . .
ฉันกับคู่สมรสจำเป็นต้องทำอะไรมากที่สุดในขณะนี้?
-
พูดเรื่องความเจ็บป่วยให้มากขึ้น
-
พูดเรื่องความเจ็บป่วยให้น้อยลง
-
กังวลให้น้อยลง
-
คำนึงถึงกันให้มากขึ้น
-
สนใจทำสิ่งอื่นที่ทำได้ร่วมกันแม้จะเจ็บป่วย
-
ติดต่อคบหากับคนอื่นให้มากขึ้น
-
มีเป้าหมายร่วมกัน