กุญแจสู่ความสุขในครอบครัว
สอนลูกให้รู้จักรับผิดชอบ
จอร์จ: * “เหตุการณ์เป็นอย่างนี้ทุกคืน. ไมเคิลลูกชายวัยสี่ขวบของผมทิ้งของเล่นไว้ทั่วบ้าน. ผมพยายามบอกให้เขาเก็บของเล่นให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน. แต่ไมเคิลจะอาละวาดกรีดร้องไม่หยุด. บางครั้งผมหงุดหงิดมากจนตวาดใส่ลูก แต่การทำอย่างนั้นมีแต่ทำให้เราทั้งคู่รู้สึกแย่. ผมอยากให้เวลาเข้านอนเป็นเวลาแห่งความสุข. ผมจึงเลิกเคี่ยวเข็ญเขาและเก็บของเล่นนั้นเสียเอง.”
เอมิลี: “ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อเจนนีลูกสาวอายุ 13 ปีของฉันไม่เข้าใจการบ้านที่ครูให้. เจนนีร้องไห้เป็นชั่วโมงหลังกลับจากโรงเรียน. ฉันบอกให้เธอถามครูที่โรงเรียน แต่เจนนียืนยันว่าครูดุ เธอจึงไม่กล้าพูดกับครู. ฉันเกือบจะไปที่โรงเรียนเดี๋ยวนั้นเลยและต่อว่าครูของลูก. ฉันคิดว่าใคร ๆ ก็ไม่มีสิทธิ์ทำให้ลูกสาวตัวน้อยของฉันเสียใจขนาดนี้!”
คุณเคยรู้สึกเหมือนกับจอร์จและเอมิลีไหม? เช่นเดียวกับสองคนนี้ พ่อแม่หลายคนรู้สึกไม่สบายใจเมื่อเห็นลูกมีปัญหาหรือไม่มีความสุข. เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่จะพยายามปกป้องลูกของตน. แต่สถานการณ์ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นแท้จริงแล้วเปิดโอกาสให้พ่อแม่สอนบทเรียนที่มีค่าแก่ลูกในเรื่องการรู้จักรับผิดชอบ. แน่ละ บทเรียนสำหรับเด็ก 4 ขวบกับ 13 ปีย่อมแตกต่างกัน.
แต่ความจริงก็คือ คุณไม่อาจปกป้องลูกไว้จากปัญหาในชีวิตได้เสมอไป. ในที่สุด เด็กจะต้องจากพ่อแม่ไปและ “แบกภาระของตนเอง” ในเรื่องความรับผิดชอบต่าง ๆ. (กาลาเทีย 6:5; เยเนซิศ 2:24) เพื่อช่วยให้ลูกดูแลตัวเองได้ พ่อแม่ต้องมุ่งมั่นที่จะสอนลูกให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เห็นแก่ตัว, ห่วงใยผู้อื่น, และมีความรับผิดชอบ. นี่ไม่ใช่งานง่ายเลย!
มัดธาย 28:19, 20) สิ่งที่พระเยซูได้ทำสำเร็จมาแล้วคล้ายกันกับเป้าหมายที่พ่อแม่ทุกคนต้องการทำให้ได้ นั่นคือการสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ. ให้เราพิจารณาสามแนวทางที่พ่อแม่จะเลียนแบบพระเยซูได้.
น่ายินดีที่พ่อแม่สามารถเลียนแบบตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของพระเยซูและวิธีที่พระองค์อบรมสั่งสอนเหล่าสาวก. พระเยซูไม่เคยมีลูก. แต่เป้าหมายของพระองค์ในการเลือกและฝึกอบรมเหล่าสาวกคือเพื่อช่วยพวกเขาให้สามารถทำงานได้ต่อไป แม้กระทั่งหลังจากพระองค์จากไปแล้ว. (“วางแบบอย่าง” ให้ลูก
เมื่อพระเยซูใกล้จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เราวางแบบอย่างไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าเราได้ทำต่อพวกเจ้าอย่างไร พวกเจ้าจะทำต่อกันอย่างนั้นด้วย.” (โยฮัน 13:15) เช่นเดียวกับพระเยซู พ่อแม่จำเป็นต้องอธิบายและวางตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่าการเป็นคนมีความรับผิดชอบนั้นหมายถึงอะไรจริง ๆ.
จงถามตัวเองว่า ‘ฉันมักจะพูดถึงหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ ของฉันในแง่ดีไหม? ฉันพูดถึงความพอใจยินดีที่ได้จากการทำงานหนักเพื่อคนอื่นไหม? หรือฉันมักจะบ่นและเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่ดูเหมือนว่ามีชีวิตที่สบายกว่าไหม?’
จริงอยู่ ไม่มีใครสมบูรณ์พร้อม. บางครั้งเราทุกคนรู้สึกว่าแบกภาระหนักเกินไป. แต่แบบอย่างของคุณอาจเป็นวิธีสอนที่มีพลังที่สุดเพื่อให้ลูกเห็นความสำคัญและคุณค่าของการรู้จักรับผิดชอบ.
ลองวิธีนี้: ถ้าเป็นไปได้ ให้พาลูกไปทำงานด้วยเป็นครั้งคราวและให้เขาได้เห็นว่าคุณทำอะไรเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว. จงเข้าร่วมในงานอาสาสมัครแบบที่ลูกสามารถร่วมด้วยได้. หลังจากนั้น จงพูดคุยกันว่าคุณได้รับความสุขความยินดีอย่างไรบ้างจากการทำงานนั้น.—กิจการ 20:35
คาดหมายอย่างสมเหตุสมผล
พระเยซูทรงยอมรับว่าจำเป็นต้องใช้เวลากว่าที่สาวกของพระองค์จะพร้อมรับหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างที่พระองค์คาดหมาย. ครั้งหนึ่งพระองค์ได้บอกพวกเขาว่า “เรายังมีอีกหลายเรื่องที่จะบอกพวกเจ้า แต่ตอนนี้พวกเจ้ายังไม่อาจเข้าใจได้.” (โยฮัน 16:12) พระเยซูไม่ได้รีบร้อนให้พวกสาวกทำสิ่งใด ๆ ด้วยตัวเขาเอง. แทนที่จะทำเช่นนั้น พระเยซูทรงใช้เวลาสอนพวกเขาหลายเรื่อง. เฉพาะเมื่อพระองค์คิดว่าพวกเขาพร้อมแล้วจึงส่งพวกเขาออกไปทำงานด้วยตัวเอง.
ทำนองเดียวกัน คงเป็นเรื่องไม่สมเหตุผลที่พ่อแม่จะขอให้ลูกรับเอาหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใหญ่ก่อนที่เขาจะพร้อมจริง ๆ. กระนั้น เมื่อลูกโตขึ้นพ่อแม่ควรดูว่าหน้าที่รับผิดชอบอะไรที่เหมาะกับเขา. ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ต้องสอนลูกให้รับผิดชอบเรื่องความสะอาดส่วนตัว, ทำความสะอาดห้องของตัวเอง, ตรงต่อเวลา, และใช้จ่ายอย่างสุขุม. เมื่อลูกเริ่มเข้าโรงเรียน พ่อแม่ควรช่วยลูกให้มองว่าการบ้านเป็นความรับผิดชอบสำคัญที่เด็กต้องเอาใจใส่.
พ่อแม่ต้องไม่เพียงแต่มอบหน้าที่รับผิดชอบให้ลูกเท่านั้น. เขาต้องให้การสนับสนุนด้วยเมื่อลูกพยายามจะทำหน้าที่รับผิดชอบนั้นให้สำเร็จ. จอร์จ คุณพ่อที่กล่าวถึงในตอนต้นได้ตระหนักว่าที่ไมเคิลอารมณ์เสียเมื่อต้องเก็บของเล่น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะงานนั้นดูเหมือนเป็นงานใหญ่สำหรับเขา. จอร์จกล่าวว่า “แทนที่จะตวาดใส่ไมเคิลให้เก็บของเล่น ผมพยายามสอนเขาให้รู้วิธีเก็บของเล่นเหล่านั้น.”
เขาสอนอย่างไร? จอร์จบอกว่า “ก่อนอื่น ผมจะกำหนดเวลาเก็บของเล่นไว้ทุกคืน. และผมก็จะช่วยไมเคิลเก็บของเล่น โดยค่อย ๆ ทำทีละส่วนของห้อง. ผมทำให้มันเป็นเกม และถึงกับแข่งกันว่าใครจะเก็บได้หมดก่อน. ไม่ช้า การเก็บของเล่นก็กลายเป็นกิจวัตรก่อนเข้านอน. ผมสัญญากับไมเคิลว่าถ้าเขาเก็บของเล่นได้เร็ว ผมจะอ่านหนังสือให้เขาฟังเพิ่มอีกเรื่องหนึ่ง. แต่ถ้าเขามัวชักช้า ผมก็จะอ่านให้เขาฟังน้อยลง.”
ลองวิธีนี้: จงวิเคราะห์ว่าลูกแต่ละคนของคุณสามารถรับผิดชอบงานอะไรได้บ้างตามความเหมาะ
สมเพื่อช่วยให้งานต่าง ๆ ในบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น. ถามตัวเองว่า ‘มีงานอะไรไหมที่ฉันยังทำให้ลูกอยู่ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถทำเองได้แล้ว?’ ถ้ามี ก็ให้ลูกทำงานนั้นกับคุณจนกว่าจะแน่ใจว่าเขาสามารถทำงานนั้นเองได้. อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า สิ่งที่เขาทำย่อมมีผลตามมาไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเขาเอาใจใส่งานที่ได้รับมอบหมายมากแค่ไหน. แล้วคุณก็ต้องให้เป็นไปตามนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำโทษหรือให้รางวัล.ให้คำแนะนำที่เจาะจง
เช่นเดียวกับครูที่ดีทั้งหลาย พระเยซูทรงทราบว่าวิธีเรียนรู้ที่ได้ผลที่สุดคือเรียนจากการกระทำ. ตัวอย่างเช่น เมื่อพระเยซูเห็นว่าถึงเวลาแล้ว พระองค์ก็ส่งสาวกออกไป “เป็นคู่ ๆ ให้เข้าไปทุกเมืองและทุกที่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จไป.” (ลูกา 10:1) อย่างไรก็ตาม พระองค์ไม่ได้ปล่อยให้พวกเขาออกไปโดยไม่แนะนำอะไร. ก่อนจะส่งพวกเขาออกไปพระองค์ได้ให้คำแนะนำที่เจาะจงหลายอย่าง. (ลูกา 10:2-12) เมื่อพวกสาวกกลับมารายงานความสำเร็จ พระเยซูทรงชมเชยและให้กำลังใจพวกเขา. (ลูกา 10:17-24) พระองค์แสดงให้เห็นว่าพระองค์มั่นใจในความสามารถของพวกเขาทั้งยังพอพระทัยพวกเขาด้วย.
เมื่อลูกของคุณต้องรับผิดชอบงานที่ท้าทาย คุณทำอย่างไร? คุณพยายามปกป้องลูกจากสิ่งที่เขากลัว หรือปกป้องเขาไม่ให้พบกับความผิดหวังและความล้มเหลวไหม? โดยสัญชาตญาณ คุณอาจรีบเข้าช่วยลูกหรือแบกรับภาระนั้นเสียเอง.
แต่ขอให้คิดดูว่า ถ้าทุกครั้งคุณรีบเข้าช่วยลูกโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง นั่นจะบ่งบอกถึงอะไร? คุณกำลังแสดงให้เห็นว่าคุณมั่นใจในตัวเขาและเชื่อมั่นในความสามารถของเขาไหม? หรือคุณกำลังบอกลูกว่าคุณคิดว่าเขายังเป็นเด็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งต้องพึ่งคุณอยู่ร่ำไป?
ตัวอย่างเช่น เอมิลีที่กล่าวถึงข้างต้นทำอย่างไรเมื่อลูกสาวของเธอมีปัญหา? แทนที่จะเข้าไปจัดการเอง เธอให้เจนนีไปคุยกับครูด้วยตัวเอง. เอมิลีกับเจนนีช่วยกันเขียนคำถามต่าง ๆ ที่จะนำไปถามครูที่โรงเรียน. แล้วคุยกันว่าจะเข้าพบครูเมื่อไร. พวกเขาถึงกับฝึกซ้อมวิธีพูดกับครู. เอมิลีบอกว่า “เจนนีรวบรวมความกล้าเพื่อเข้าไปคุยกับครู และครูก็ชมเชยเธอที่เข้ามาปรึกษา. เจนนีภูมิใจในตัวเองมาก และฉันก็ภูมิใจในตัวเธอด้วย.”
ลองวิธีนี้: เขียนปัญหาที่ลูกของคุณเผชิญอยู่ในขณะนี้. ใกล้ ๆ กันก็เขียนว่าคุณจะทำอะไรได้เพื่อช่วยลูกรับมือกับปัญหานั้นโดยที่คุณไม่เข้าไปจัดการเสียเอง. ฝึกซ้อมกับลูกเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อเอาชนะปัญหา. แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณมั่นใจในความสามารถของเขา.
ถ้าคุณปกป้องลูกจากปัญหายุ่งยากอยู่ร่ำไป แท้จริงแล้ว คุณก็อาจกำลังปิดกั้นความสามารถของเขาที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต. แทนที่จะทำอย่างนั้น จงช่วยลูกให้เข้มแข็งโดยสอนเขาให้รับเอาหน้าที่รับผิดชอบ. เมื่อคุณทำเช่นนั้นคุณก็ได้ให้ของขวัญที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งแก่ลูกของคุณ.
^ วรรค 3 ชื่อในบทความนี้เป็นชื่อสมมุติ.
ถามตัวเองว่า . . .
-
ฉันคาดหมายจากลูกตามความเป็นจริงไหม?
-
ฉันบอกลูกอีกทั้งแสดงให้ลูกเห็นไหมว่าควรทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ?
-
ฉันให้กำลังใจและชมเชยลูกครั้งสุดท้ายเมื่อไร?