ผู้แก้ต่าง—ผู้ปกป้องศาสนาคริสเตียนหรือนักปรัชญากันแน่?
ผู้แก้ต่าง—ผู้ปกป้องศาสนาคริสเตียนหรือนักปรัชญากันแน่?
เพศสัมพันธ์ระหว่างญาติใกล้ชิด, การฆ่าเด็ก, การกินมนุษย์ ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างข้อกล่าวหาที่เหลวไหลซึ่งมุ่งโจมตีคริสเตียนในศตวรรษที่สองสากลศักราช. การกล่าวหาเช่นนั้นก่อให้เกิดการข่มเหงไปทั่วจนผู้ที่เรียกตัวว่านักเขียนคริสเตียนรู้สึกว่าจำเป็นต้องปกป้องความเชื่อของตน. นักเขียนเหล่านี้ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักว่าผู้แก้ต่างหรือผู้ปกป้องความเชื่อ ตั้งใจจะพิสูจน์ว่าศาสนาของตนไม่มีพิษภัยเพื่อที่รัฐบาลโรมันและคนทั่วไปจะมองคริสเตียนในแง่ที่ดีขึ้น. งานของพวกเขาเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย เนื่องจากตามปกติแล้วทางเดียวที่จะทำให้จักรวรรดิและประชาชนพอใจก็คือยอมทำตามคนเหล่านั้น. นอกจากนั้น งานนี้ยังเสี่ยงที่จะปลุกเร้าให้เกิดการข่มเหงมากขึ้นและทำให้ความเชื่อของคริสเตียนถูกบั่นทอนเนื่องจากการอะลุ่มอล่วยโดยไม่สมควร. พวกผู้แก้ต่างเหล่านี้ปกป้องความเชื่อของตนอย่างไร? พวกเขาใช้วิธีหาเหตุผลแบบไหน? และความพยายามของพวกเขาก่อผลเช่นไร?
ผู้แก้ต่างและจักรวรรดิโรมัน
ผู้แก้ต่างคือพวกผู้ชายที่มีการศึกษาดีในศตวรรษที่สองและต้นศตวรรษที่สามสากลศักราช. คนที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้ได้แก่จัสติน มาร์เทอร์, เคลเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรีย, และเทอร์ทูลเลียน. * ข้อเขียนของพวกเขามุ่งเป้าไปที่คนนอกศาสนาและเจ้าหน้าที่รัฐบาลโรมันโดยมีเจตนาที่จะอธิบายความเชื่อของคริสเตียน และได้ยกข้อความอ้างอิงจากคัมภีร์ไบเบิลบ่อยครั้งด้วย. ที่สำคัญคือ พวกผู้แก้ต่างยืนหยัดต่อต้านผู้ที่ข่มเหงคริสเตียน, ปฏิเสธข้อกล่าวหาของคนเหล่านั้น, และทำให้คนรู้จักคริสเตียนในด้านดี.
เรื่องหนึ่งที่พวกผู้แก้ต่างให้ความสำคัญมากที่สุดคือการทำให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเชื่อว่าคริสเตียนไม่ได้เป็นศัตรูของจักรพรรดิหรือจักรวรรดิ. เทอร์ทูลเลียนกล่าวถึงจักรพรรดิว่า “พระเจ้าของเราได้แต่งตั้งท่าน” และอเทนนาโกรัสได้ปกป้องธรรมเนียมการสืบบัลลังก์ตามสายเลือด ซึ่งเป็นการนำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองในสมัยนั้น. ด้วยการทำเช่นนั้น พวกเขาได้เพิกเฉยต่อคำตรัสของพระเยซูที่ว่า โยฮัน 18:36
“ราชอาณาจักรของเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้.”—นอกจากนั้น พวกผู้แก้ต่างยังได้แนะว่าควรมีการสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างโรมและศาสนาคริสเตียน. ตามคำกล่าวของเมลีโต ทั้งสองฝ่ายควรร่วมมือกันเพื่อสวัสดิภาพของจักรวรรดิ. นักเขียนที่ไม่เปิดเผยชื่อซึ่งเขียนหนังสือจดหมายถึงดีออกเนทุส ได้เปรียบคริสเตียนเป็นเหมือนจิตวิญญาณ ‘ที่ยึดโลกไว้ด้วยกัน.’ เทอร์ทูลเลียนเขียนว่าคริสเตียนอธิษฐานขอให้จักรวรรดิเจริญรุ่งเรืองและอวสานของระบบเลื่อนออกไปก่อน. ผลคือการมาของราชอาณาจักรของพระเจ้ากลายเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นนัก.—มัดธาย 6:9, 10
“ศาสนาคริสเตียน” กลายเป็นหลักปรัชญา
นักปรัชญาชื่อเซลซุสกล่าวถึงคริสเตียนในเชิงเย้ยหยันว่าเป็น “พวกคนใช้แรงงาน, ช่างซ่อมรองเท้า, ชาวนา, คนที่โง่เขลาและน่าขันที่สุด.” การเย้ยหยันเช่นนี้เป็นสิ่งที่พวกผู้แก้ต่างไม่อาจทนรับได้. พวกเขาจึงมุ่งมั่นที่จะชนะใจประชาชนโดยใช้กลยุทธ์ใหม่. พวกเขาหันมาใช้ปรัชญาของมนุษย์ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยปฏิเสธ. ตัวอย่างเช่น เคลเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรีย มองว่าปรัชญาเป็น “เทววิทยาแท้.” ส่วนจัสตินซึ่งแม้จะอ้างว่าปฏิเสธปรัชญาของชนนอกรีตก็กลายเป็นคนแรกที่ใช้สำนวนภาษาและแนวคิดแบบนักปรัชญาในการอธิบายความเชื่อ “ของคริสเตียน” โดยถือว่าปรัชญาในรูปแบบใหม่นี้ “ไม่มีพิษภัยและให้ประโยชน์.”
นับแต่นั้นมา กุศโลบายของพวกเขาคือไม่ต่อต้านหลักปรัชญา แต่พยายามทำให้แนวคิดที่ถือว่าเป็นแบบคริสเตียนกลายเป็นปรัชญาที่สูงส่งกว่าปรัชญาของคนนอกรีต. จัสตินเขียนว่า “บางเรื่องเราสอนเหมือนกับกวีและนักปรัชญาที่พวกท่านยกย่อง และบางเรื่องคำสอนของเราก็ดีกว่า.” พวกเขาไม่เพียงแต่ใช้ศัพท์สูง ๆ แบบนักปรัชญาแต่ถึงกับอ้างว่าคำสอน “ของคริสเตียน” มีมานานแล้ว. พวกผู้แก้ต่างชี้ว่าหนังสือของคริสเตียนนั้นเก่าแก่กว่าหนังสือของพวกกรีกและผู้พยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลก็มีชีวิตอยู่ก่อนนักปรัชญาชาวกรีก. ผู้แก้ต่างบางคนถึงกับสรุปว่านักปรัชญาทั้งหลายเอาคำกล่าวของผู้พยากรณ์มาพูด. พวกเขาถึงกับอ้างว่าเพลโตก็เป็นสาวกคนหนึ่งของโมเซ!
ศาสนาคริสเตียนถูกบิดเบือน
กลยุทธ์ใหม่นี้ได้ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างศาสนาคริสเตียนและหลักปรัชญานอกรีต. มีการนำเทพเจ้าของกรีกมาเปรียบเทียบกับบุคคลในคัมภีร์ไบเบิล. พระเยซูถูกเปรียบกับเพอร์ซิอุสและการตั้งครรภ์ของมาเรียถูกเปรียบกับการตั้งครรภ์ของนางดาเนอี มารดาของเพอร์ซิอุส ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพรหมจารีเช่นกัน.
โยฮัน 1:1-3, 14-18; วิวรณ์ 19:11-13) คำว่าโลโกส ในภาษากรีกมีสองความหมายคือ “วาทะ” และ “เหตุผล” และจัสตินได้บิดเบือนคำสอนนี้ด้วยวิธีแบบนักปรัชญาตั้งแต่แรกทีเดียว โดยเอาความหมายสองอย่างนั้นมาใช้ด้วยกัน. เขากล่าวว่าคริสเตียนยอมรับว่าพระวาทะก็คือพระคริสต์. แต่โลโกส ในความหมายว่าเหตุผลนั้นมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน รวมทั้งคนที่ไม่ใช่คริสเตียนด้วย. ดังนั้น เขาสรุปว่าคนที่ดำเนินชีวิตประสานกับหลักเหตุผลก็ถือว่าเป็นคริสเตียน แม้แต่คนที่ประกาศตัวหรือถูกมองว่าเป็นนักอเทวนิยม เช่น โสกราตีสและคนอื่น ๆ.
คำสอนบางอย่างได้ถูกเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม. ตัวอย่างเช่น ในคัมภีร์ไบเบิล พระเยซูถูกเรียกว่า “โลโกส” ซึ่งแปลว่า “พระวาทะ” หรือโฆษกของพระเจ้า. (นอกจากนั้น โดยการพยายามจะทำให้พระเยซูและโลโกส ของนักปรัชญากรีก (ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ว่าพระเจ้าเป็นเช่นไร) มาเกี่ยวข้องกันให้ได้ พวกผู้แก้ต่างซึ่งรวมถึงเทอร์ทูลเลียนได้เริ่มแนวคิดหนึ่งซึ่งในที่สุดได้เปิดทางให้คำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพเข้ามาในศาสนาคริสเตียน. *
นอกจากนี้ พวกผู้แก้ต่างยังได้บิดเบือนคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หลังจากตาย. พวกเขาเชื่อมโยงคำสอนนี้เข้ากับหลักปรัชญาของเพลโตที่สอนว่ามีบางสิ่งที่มองไม่เห็นในตัวคนเราซึ่งยังคงอยู่หลังจากร่างกายตายแล้ว. (ท่านผู้ประกาศ 9:5, 10) มินูซิอุส เฟลิกซ์ถึงกับอ้างว่าความเชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายมีต้นตอมาจากคำสอนของพีทาโกรัสเรื่องการโยกย้ายของจิตวิญญาณ. ปรัชญากรีกได้ชักนำพวกเขาให้ออกห่างจากคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลมากเพียงไร!
ทางเลือกที่ผิด
ผู้แก้ต่างบางคนตระหนักว่าหลักปรัชญาอาจเป็นอันตรายต่อศาสนาคริสเตียน. ถึงแม้พวกเขาจะวิพากษ์วิจารณ์พวกนักปรัชญา แต่พวกเขายังคงชื่นชอบวิธีคิดแบบนักปรัชญา. ตัวอย่างเช่น ทาเชียนได้ประณามว่าพวกนักปรัชญาไม่ได้สร้างผลงานที่ดีอะไรเลย แต่ขณะเดียวกันเขาก็เรียกศาสนาคริสเตียนว่า “หลักปรัชญาของเรา” และชอบคาดเดาเรื่องต่าง ๆ แบบนักปรัชญา. ส่วนเทอร์ทูลเลียนก็ติเตียนอิทธิพลของหลักปรัชญานอกรีตที่มีต่อคำสอนของคริสเตียน. แต่ในขณะเดียวกันเขาก็กล่าวว่าเขาต้องการเดินตามรอย “จัสติน ผู้เป็นนักปรัชญาและผู้พลีชีพเพื่อความเชื่อกับมิลเทียเดสนักปรัชญาแห่งคริสตจักร.” อเทนนาโกรัสเรียกตัวเองว่า “นักปรัชญาคริสเตียนแห่งเอเธนส์.” ตามคำกล่าวของบางคน เคลเมนต์รู้สึกว่า “คริสเตียนสามารถนำปรัชญามาใช้อย่างสุขุมเพื่อประเทืองปัญญาและเพื่อปกป้องความเชื่อ.”
ไม่ว่าพวกผู้แก้ต่างอาจประสบความสำเร็จอย่างไรก็ตามในการปกป้องความเชื่อของตน แต่ในการปกป้องนั้นพวกเขาได้ทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง. ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น? ก็เนื่องจากอัครสาวกเปาโลเตือนคริสเตียนว่า ในบรรดาอาวุธที่จะใช้ปกป้องความเชื่อนั้น ไม่มีอาวุธใดที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งกว่า “พระคำของพระเจ้า” ซึ่ง ‘มีชีวิตและทรงพลัง.’ เปาโลกล่าวว่า ด้วยอาวุธนี้ “เรากำลังหักล้างการหาเหตุผลผิด ๆ และโค่นสิ่งสูงส่งทุกอย่างที่ขัดกับความรู้ของพระเจ้า.”—ฮีบรู 4:12; 2 โครินท์ 10:4, 5; เอเฟโซส์ 6:17
โยฮัน 16:33) การทดสอบและความทุกข์ต่าง ๆ ที่พระเยซูประสบในโลกนี้ไม่สามารถทำลายความเชื่อและความภักดีที่พระองค์มีต่อพระบิดาได้. อัครสาวกโยฮันผู้มีชีวิตอยู่นานกว่าอัครสาวกคนอื่น ๆ เขียนไว้ในทำนองเดียวกันว่า “ความเชื่อของเรานี่แหละที่ทำให้เราชนะโลก.” (1 โยฮัน 5:4) ถึงแม้ว่าพวกผู้แก้ต่างต้องการปกป้องความเชื่อของคริสเตียน แต่พวกเขาคิดผิดที่ไปรับเอาแนวคิดและวิธีการแบบปรัชญาของโลกมาใช้. โดยทำเช่นนั้น พวกผู้แก้ต่างได้ปล่อยให้ตัวเองถูกล่อลวงโดยปรัชญาเหล่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นการยอมให้โลกชนะพวกเขาและชนะศาสนาคริสเตียนในแบบของเขา. ดังนั้น แทนที่จะได้ชัยชนะและเป็นผู้ปกป้องความเชื่อแท้ของคริสเตียน พวกผู้แก้ต่างในคริสตจักรยุคแรกได้ติดกับดักของซาตาน ผู้ “ปลอมตัวเป็นทูตแห่งความสว่าง” โดยที่พวกเขาอาจไม่รู้ตัว.—2 โครินท์ 11:14
ในคืนก่อนที่พระเยซูจะถูกประหาร พระองค์ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “จงกล้าหาญเถิด! เราชนะโลกแล้ว.” (นักเทศน์และนักเทววิทยาส่วนใหญ่ของคริสตจักรต่าง ๆ ทุกวันนี้ก็ติดตามแนวทางเดียวกันนั้น. แทนที่จะปกป้องศาสนาคริสเตียนแท้โดยใช้พระคำของพระเจ้า พวกเขามักลดทอนความสำคัญของคัมภีร์ไบเบิลและหันไปใช้หลักปรัชญาของมนุษย์ในการสอนโดยหวังว่าจะทำให้ผู้คนทั่วไปและสังคมยอมรับศาสนาคริสเตียน. แทนที่จะเตือนผู้คนถึงอันตรายของการติดตามความนิยมของมนุษย์ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์ พวกเขากลายเป็นครูที่พยายามสุดความสามารถเพื่อจะ ‘สอนเรื่องที่ผู้คนชอบฟัง’ เพื่อให้คนติดตามมาก ๆ. (2 ติโมเธียว 4:3) น่าเศร้า ครูเหล่านี้เป็นเหมือนพวกผู้แก้ต่างในยุคแรกที่ไม่ใส่ใจคำเตือนของอัครสาวกที่ว่า “ระวังให้ดี อาจมีคนทำให้ท่านทั้งหลายตกเป็นเหยื่อเขาโดยใช้หลักปรัชญาและคำล่อลวงเหลวไหลที่อาศัยประเพณีของมนุษย์และสิ่งต่าง ๆ ที่โลกถือว่าสำคัญ ไม่ใช่อาศัยคำสอนของพระคริสต์.” และเราได้รับคำเตือนว่า “จุดจบของคนเหล่านั้นจะเป็นไปตามการกระทำของพวกเขา.”—โกโลซาย 2:8; 2 โครินท์ 11:15
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 คนอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ ควาดราทุส, อะริสทิเดส, ทาเชียน, อะพอลลินาริส, อเทนนาโกรัส, ทีโอฟิลัส, เมลีโต, มินูคีอุส เฟลิกซ์, และนักเขียนอีกหลายคนซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก. ดูหอสังเกตการณ์ 15 พฤษภาคม 2003 หน้า 27-29 และ 15 มีนาคม 1996 หน้า 28-30.
^ วรรค 13 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อของเทอร์ทูลเลียน โปรดดูหอสังเกตการณ์ 15 พฤษภาคม 2002 หน้า 29-31.
[คำโปรยหน้า 31]
“เรากำลังหักล้างการหาเหตุผลผิด ๆ และโค่นสิ่งสูงส่งทุกอย่างที่ขัดกับความรู้ของพระเจ้า.”—2 โครินท์ 10:5
[ภาพหน้า 28]
สำหรับจัสติน คำสอนคริสเตียนที่เลียนแบบหลักปรัชญา “ไม่มีพิษภัยและให้ประโยชน์”
[ภาพหน้า 29]
เคลเมนต์มองว่าหลักปรัชญาเป็น “เทววิทยาแท้”
[ภาพหน้า 29]
การหาเหตุผลแบบนักปรัชญาของเทอร์ทูลเลียนช่วยปูทางให้กับหลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ
[ภาพหน้า 29]
ทาเชียนเรียกศาสนาคริสเตียนว่า “หลักปรัชญาของเรา”
[ภาพหน้า 30]
นักเทศน์และนักเทววิทยาสมัยปัจจุบันติดตามแนวทางของพวกผู้แก้ต่าง
[ภาพหน้า 31]
อัครสาวกเปาโลเตือนให้ระวังหลักปรัชญาและคำล่อลวงของมนุษย์
[ที่มาของภาพหน้า 29]
Clement: Historical Pictures Service; Tertullian: © Bibliothèque nationale de France