เขา ‘เติบโตขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา’
จงเลียนแบบความเชื่อของเขา
เขา ‘เติบโตขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา’
ซามูเอลมองดูหน้าชนร่วมชาติของเขา. ชายผู้มีความเชื่อคนนี้ซึ่งทำหน้าที่ผู้พยากรณ์และผู้พิพากษามาหลายสิบปีแล้วได้เรียกชนทั้งชาติให้มารวมกันที่เมืองกิลกาล (ฆีละฆาล). ตอนนั้นเป็นเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินสมัยปัจจุบัน และเข้าฤดูแล้งมาได้ระยะหนึ่งแล้ว. ทุ่งข้าวสาลีเหลืองอร่ามพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว. ฝูงชนทั้งหมดต่างเงียบเสียงลง. ซามูเอลจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้เปลี่ยนใจ?
ประชาชนเหล่านี้ไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นร้ายแรงแค่ไหน. พวกเขายืนกรานขอกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์. พวกเขาไม่เข้าใจว่าได้ดูหมิ่นพระยะโฮวาพระเจ้าของพวกเขาและผู้พยากรณ์ของพระองค์. พวกเขาทำเหมือนกับว่าไม่ต้องการให้พระยะโฮวาเป็นกษัตริย์ของพวกเขาอีกต่อไป! ซามูเอลจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้กลับใจ?
แล้วซามูเอลก็พูดออกมา. เขาพูดกับฝูงชนว่า “ข้าพเจ้าก็ชราไป, ผมก็หงอก.” ผมสีดอกเลาของเขายืนยันคำพูดของเขาได้เป็นอย่างดี. เขาพูดต่อว่า “ข้าพเจ้าเคยอาศัยอยู่กับท่าน; แต่เด็กมาจนทุกวันนี้.” (1 ซามูเอล 11:14, 15; 12:2) แม้ซามูเอลจะชราแล้วแต่เขาก็ไม่ลืมชีวิตวัยเยาว์ของตน. ความทรงจำเกี่ยวกับชีวิตในช่วงนั้นยังแจ่มชัดในความคิดของเขา. การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในขณะที่เติบโตขึ้นทำให้เขากลายเป็นผู้พยากรณ์ที่มีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมและทุ่มเทตัวเพื่อรับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าของเขา.
มีหลายครั้งหลายหนที่ซามูเอลต้องพยายามรักษาความเชื่อให้เข้มแข็งเอาไว้เนื่องจากอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ขาดความเชื่อและไม่ภักดี. ทุกวันนี้ การรักษาความเชื่อให้เข้มแข็งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะเราอยู่ในโลกที่ขาดความเชื่อและเสื่อมทราม. ให้เรามาดูว่าเราจะเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของซามูเอลโดยเริ่มตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นเด็ก.
‘เมื่อยังเป็นเด็กอยู่ได้ปฏิบัติ เฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา’
ซามูเอลมีชีวิตในวัยเด็กที่ต่างไปจากเด็กคนอื่น. เมื่ออายุสี่ขวบหรือราว ๆ นั้นหลังจากหย่านมได้ไม่นาน เขาก็เริ่มชีวิตการทำงานรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ที่พลับพลาของพระยะโฮวาที่ชีโลห์ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของเขาในรามาห์มากกว่า 30 กิโลเมตร. เอ็ลคานาและฮันนาพ่อแม่ของซามูเอลได้ถวายลูกชายให้กับพระยะโฮวาเพื่อทำงานรับใช้แบบพิเศษ เขาจึงเป็นนาษารีษตลอดชีวิตของเขา. * นี่หมายความไหมว่าซามูเอลถูกพ่อแม่ทอดทิ้งอย่างไม่ไยดี?
ไม่ใช่อย่างนั้นเลย! พ่อแม่ของซามูเอลรู้ว่าลูกชายของพวกเขาจะได้รับการดูแลอย่างดีที่ชีโลห์. มหาปุโรหิตเอลีคงได้เอาใจใส่ดูแลซามูเอลในทุกเรื่องเพราะซามูเอลทำงานใกล้ชิดกับเขา และมีพวกผู้หญิงทำงานรับใช้อยู่ที่พลับพลาด้วย.—เอ็กโซโด 38:8
ฮันนากับเอ็ลคานาเองก็ไม่เคยลืมลูกชายคนแรกที่พวกเขารักมากเช่นกัน เพราะเขาเป็นลูกที่พระเจ้าประทานให้ตามคำอธิษฐานขอ. ฮันนาได้ทูลขอลูกชายจากพระเจ้าและสัญญาว่าจะถวายเขาให้ทำงานรับใช้พระองค์ตลอดชีวิต. ทุกปีเมื่อไปเยี่ยมซามูเอล ฮันนาจะนำเสื้อคลุมไม่มีแขนตัวใหม่ที่นางเย็บไปให้เขาสำหรับใส่ในการรับใช้ที่พลับพลา. เด็กน้อยคงจะมีความสุขมากและไม่ลืมช่วงเวลาที่ได้อยู่กับพ่อแม่. แน่นอนว่าเขาคงต้องเติบโตขึ้นอย่างดีด้วยความรักและกำลังใจจากพ่อแม่ รวมทั้งคำแนะนำสั่งสอนที่ช่วยให้เขาเห็นคุณค่างานรับใช้พระยะโฮวาในสถานที่พิเศษแห่งนี้.
ตัวอย่างของฮันนาและเอ็ลคานาเป็นประโยชน์มากสำหรับสุภาษิต 22:6
พ่อแม่ในทุกวันนี้. พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะเป็นห่วงเรื่องการเอาใจใส่ดูแลลูกด้านวัตถุจนละเลยการสอนลูกให้เห็นคุณค่าการรับใช้พระเจ้า. แต่พ่อแม่ของซามูเอลให้ความสำคัญอันดับแรกกับการรับใช้พระเจ้าและสิ่งนี้เองมีส่วนหล่อหลอมให้ซามูเอลเติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้า.—เราคงนึกภาพได้ว่าเด็กน้อยซามูเอลค่อย ๆ เติบโตขึ้นและมักจะออกไปสำรวจเนินเขารอบ ๆ ชีโลห์อยู่บ่อย ๆ. เมื่อเขามองลงไปยังเมืองชีโลห์และมองต่ำลงไปที่หุบเขากว้างใหญ่ซึ่งอยู่ด้านหนึ่งของเมือง หัวใจของเขาก็เปี่ยมไปด้วยความยินดีและภูมิใจเมื่อได้เห็นพลับพลาของพระเจ้า. พลับพลาแห่งนี้เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ซึ่งไม่มีที่ใดเหมือน. * พลับพลานี้ซึ่งสร้างขึ้นเกือบ 400 ปีมาแล้วโดยมีโมเซเป็นผู้ควบคุมเป็นศูนย์กลางการนมัสการอันบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในโลก.
ขณะที่เด็กน้อยซามูเอลเติบโตขึ้นเขาก็รักพลับพลาแห่งนี้มากขึ้น. เราอ่านบันทึกที่เขาเขียนในเวลาต่อมาว่า “ซามูเอลเมื่อยังเป็นกุมารอยู่, ใช้เสื้อเอโฟดผ้าป่านคาดเอวไว้, ได้ปฏิบัติเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา.” (1 ซามูเอล 2:18) เสื้อคลุมไม่มีแขนแบบเรียบ ๆ ที่ซามูเอลใส่คงเป็นสิ่งที่บอกให้รู้ว่าเขามีหน้าที่ช่วยงานพวกปุโรหิตที่พลับพลา. แม้ว่าซามูเอลไม่ได้เกิดในตระกูลปุโรหิต แต่เขามีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการเปิดประตูที่ออกไปยังลานพลับพลาในตอนเช้าและคอยรับใช้เอลีซึ่งชราแล้ว. ถึงแม้เขาจะยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานพิเศษนี้ แต่ต่อมาใจที่ใสบริสุทธิ์ของเด็กน้อยก็เริ่มหม่นหมอง. มีสิ่งที่เลวร้ายมากเกิดขึ้นในสถานนมัสการของพระยะโฮวา.
รักษาความสะอาดบริสุทธิ์แม้อยู่ท่ามกลางความเสื่อมทราม
แม้ยังเด็กอยู่แต่ซามูเอลก็ได้รู้เห็นความชั่วช้าและความเสื่อมทรามที่เลวร้ายอย่างยิ่ง. เอลีมีบุตรชายสองคนคือฮฟนีและฟีนะฮาศ. บันทึกของซามูเอลกล่าวว่า “บุตรชายของเอลีเป็นคนชั่วช้า, หารู้จักพระยะโฮวาไม่.” (1 ซามูเอล 2:12) คำพรรณนาทั้งสองอย่างในข้อนี้เกี่ยวข้องกัน. ฮฟนีและฟีนะฮาศเป็น “คนชั่วช้า” ซึ่งตามตัวอักษรหมายความว่า “ลูกแห่งความไร้ค่า” เนื่องจากพวกเขา “หารู้จักพระยะโฮวาไม่” หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือพวกเขาไม่มีความนับถือต่อพระยะโฮวา. พวกเขาถือว่ามาตรฐานและข้อกฎหมายต่าง ๆ ของพระองค์ไม่มีค่าอะไรเลย. เพราะความคิดผิด ๆ เช่นนั้น พวกเขาจึงทำสิ่งชั่วช้าได้สารพัด.
พระบัญญัติของพระเจ้าบอกไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ของเหล่าปุโรหิตและสิ่งที่เขาต้องปฏิบัติเมื่อถวายเครื่องบูชาที่พลับพลาของพระองค์. ข้อกำหนดที่ชัดเจนเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเครื่องบูชาเหล่านั้นหมายถึงการจัดเตรียมของพระเจ้าสำหรับการอภัยบาป เพื่อชาวอิสราเอลจะอยู่ในฐานะที่พระเจ้ายอมรับได้ และมีโอกาสที่จะได้รับพระพรและการชี้นำจากพระองค์. แต่ฮฟนีกับฟีนะฮาศปฏิบัติต่อเครื่องบูชาอย่างที่ขาดความนับถืออย่างยิ่งทำให้ปุโรหิตหลายคนพลอยทำเช่นนั้นด้วย. *
ลองนึกภาพเด็กน้อยซามูเอลกำลังมองดูอย่างไม่เชื่อสายตาตนเอง ขณะที่มีการทำผิดร้ายแรงเช่นนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่มีผู้ใดจัดการแก้ไข. กี่ครั้งกี่หนแล้วที่เขาได้เห็นทั้งคนยากจน, คนถ่อมใจ, คนที่ถูกกดขี่ เข้ามาที่พลับพลาศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความหวังว่าจะได้รับกำลังและการปลอบโยนจิตใจ แต่แล้วก็ต้องกลับออกไปด้วยความผิดหวัง, เจ็บปวด, และถูกเหยียดหยาม? และซามูเอลจะรู้สึกอย่างไรเมื่อรู้ว่าฮฟนีและฟีนะฮาศได้ดูหมิ่นกฎหมายของพระเจ้าในเรื่องศีลธรรมทางเพศโดยหลับนอนกับผู้หญิงซึ่งรับใช้ที่พลับพลา? (1 ซามูเอล 2:22) เขาคงได้แต่หวังว่าเอลีจะทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้.
เอลีเป็นคนที่เหมาะที่สุดที่จะจัดการกับสถานการณ์เลว1 ซามูเอล 2:23-25) แต่ลูกทั้งสองคนของเอลีสมควรถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงยิ่งกว่านั้นมาก. พวกเขาได้ทำบาปที่สมควรได้รับโทษถึงตาย!
ร้ายซึ่งกำลังแย่ลงเรื่อย ๆ. ในฐานะมหาปุโรหิตเขาต้องรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นในพลับพลา. ในฐานะพ่อเขามีพันธะที่จะต้องว่ากล่าวสั่งสอนลูก. ที่จริง ลูกทั้งสองคนของเอลีกำลังทำให้ตัวเองเดือดร้อนและทำให้ประชาชนอีกมากมายในแผ่นดินนี้ทุกข์ใจด้วย. แต่เอลีก็บกพร่องในหน้าที่ทั้งในฐานะพ่อและในฐานะมหาปุโรหิต. เขาเพียงแต่ดุว่าลูกชายนิด ๆ หน่อย ๆ เท่านั้น. (เหตุการณ์มาถึงจุดที่พระยะโฮวาส่ง “คนของพระเจ้า” ซึ่งเป็นผู้พยากรณ์ที่พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุชื่อให้มาหาเอลีเพื่อประกาศคำพิพากษาอันรุนแรงแก่ท่าน. พระยะโฮวาตรัสกับเอลีว่า “[เจ้า] ให้เกียรติแก่บุตรทั้งสองของเจ้าเหนือเรา.” แล้วพระองค์ก็บอกล่วงหน้าว่าบุตรชายที่ชั่วช้าของเอลีจะตายในวันเดียวกันและครอบครัวของเอลีจะประสบความทุกข์อย่างหนักถึงขนาดที่จะไม่มีใครในครอบครัวของเขาได้เป็นมหาปุโรหิตอีก. คำเตือนที่รุนแรงนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในครอบครัวนี้ไหม? บันทึกเปิดเผยว่าไม่มีใครในพวกเขากลับใจเลย.—1 ซามูเอล 2:27–3:1, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
สภาพที่เสื่อมทรามเหล่านี้มีผลอย่างไรต่อซามูเอลผู้เยาว์วัย? ในบางตอนของบันทึกเกี่ยวกับช่วงที่มืดมนนี้ ยังมีข่าวดีที่เปรียบเหมือนแสงแห่งความหวังคือเรื่องที่น่าชื่นใจเกี่ยวกับการเติบโตและความก้าวหน้าของซามูเอล. เราคงจำได้ว่าที่ 1 ซามูเอล 2:18 กล่าวว่าซามูเอล ‘เมื่อยังเป็นเด็กอยู่ได้ปฏิบัติเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา’ อย่างซื่อสัตย์. แม้จะยังเป็นเด็กแต่ซามูเอลทุ่มเทชีวิตให้กับการรับใช้พระเจ้า. ในข้อ 21 ของบทเดียวกันเราอ่านพบถ้อยคำที่ทำให้เรายินดีมากขึ้นไปอีกว่า ‘กุมารซามูเอลนั้นก็เติบโตขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา.’ ขณะที่เขาเติบโตขึ้นเขาก็ยิ่งใกล้ชิดกับพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์มากขึ้น. ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาเช่นนั้นเป็นเครื่องป้องกันที่ดีที่สุดที่ช่วยซามูเอลให้พ้นจากความเสื่อมทรามทุกรูปแบบ.
เป็นเรื่องง่ายที่ซามูเอลจะคิดว่า ถ้ามหาปุโรหิตและลูกชายทั้งสองยังทำบาปได้เขาก็น่าจะทำอะไรตามใจตัวเองได้เหมือนกัน. แต่ความประพฤติที่เสื่อมทรามของคนอื่นแม้แต่คนที่อยู่ในตำแหน่งสูงไม่ใช่ข้ออ้างที่ฟังขึ้นสำหรับการทำบาป. ทุกวันนี้ เยาวชนคริสเตียนหลายคนเลียนแบบตัวอย่างของซามูเอล และ ‘เติบโตขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระยะโฮวา’ แม้ว่าคนรอบข้างบางคนไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพวกเขา.
การดำเนินชีวิตเช่นนั้นส่งผลเช่นไรต่อซามูเอล? เราอ่านว่า “ฝ่ายกุมารซามูเอลก็เติบโตขึ้นและเป็นที่ชอบมากขึ้นเฉพาะพระเจ้าและต่อหน้าคนทั้งปวงด้วย.” (1 ซามูเอล 2:26, ฉบับ R73) ดังนั้น ซามูเอลเป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่ง อย่างน้อยก็ในสายตาของบุคคลที่มีความสำคัญจริง ๆ. พระยะโฮวาเองทรงรักเด็กชายคนนี้มากเพราะเขาดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ต่อพระองค์. และซามูเอลมั่นใจว่าพระเจ้าของเขาจะลงมือจัดการกับความชั่วที่กำลังเกิดขึ้นในชีโลห์ แต่ที่เขาอาจสงสัยก็คือพระองค์จะจัดการเมื่อไร.
“ขอทรงตรัสเถิด, ผู้ทาสของพระองค์คอยฟังอยู่”
แล้วคืนหนึ่งซามูเอลก็รู้คำตอบ. ตอนนั้นใกล้เช้าแล้วแต่ยังมืดอยู่ แสงจากตะเกียงใหญ่ในพลับพลายังไม่ดับ. ในความเงียบสงบนั้นซามูเอลได้ยินเสียงใครคนหนึ่งเรียกเขา. เขาคิดว่าเป็นเสียงของเอลีซึ่งตอนนี้ชรามากแล้วและตาแทบจะมองไม่เห็น. ซามูเอลลุกขึ้นและ “วิ่ง” ไปหาเอลี. คุณนึกภาพเด็กชายคนนี้ออกไหมตอนที่เขารีบวิ่งเท้าเปล่าไปดูว่าเอลีต้องการอะไร? น่าประทับใจจริง ๆ ที่เห็นว่าซามูเอลให้ความนับถือและเป็นห่วงเอลีมากเพียงไร. แม้ว่าเอลีทำผิดร้ายแรง แต่เขาก็ยังเป็นมหาปุโรหิตของพระยะโฮวา.—1 ซามูเอล 3:2-5
ซามูเอลปลุกเอลีแล้วพูดว่า “ข้าพเจ้าอยู่นี่, ด้วยท่านร้องเรียกข้าพเจ้า.” แต่เอลีบอกว่าไม่ได้เรียกและบอกให้เด็กชายกลับไปนอน. แต่แล้วก็มีเสียงเรียกเช่นนั้นอีกครั้ง แล้วก็อีกครั้ง! ในที่สุดเอลีก็เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น. พระยะโฮวาไม่ได้ให้นิมิตหรือข่าวสารเชิงพยากรณ์แก่ประชาชนของพระองค์มานานแล้ว และสาเหตุของเรื่องนี้ก็เข้าใจได้ไม่ยาก. แต่เอลีรู้ว่าพระยะโฮวากำลังจะตรัสอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้จะตรัสกับเด็กชายคนนี้! เอลีบอกให้ซามูเอลกลับไปนอนและสอนเขาว่าควรจะตอบเสียงเรียกนั้นอย่างไร. ซามูเอลก็ทำตามที่เอลีบอก. ไม่นาน เขาก็ได้ยินเสียงเรียกอีกว่า “ซามูเอล ๆ.” เขาตอบว่า “ขอทรงตรัสเถิด, ผู้ทาสของพระองค์คอยฟังอยู่.”—1 ซามูเอล 3:1, 5-10
ในที่สุด พระยะโฮวาก็มีผู้รับใช้คนหนึ่งในชีโลห์ที่ฟังพระองค์ตรัส. ตั้งแต่นั้นมาพระยะโฮวาก็ตรัสกับซามูเอลและซามูเอล
ก็ฟังพระองค์เสมอ. จะว่าอย่างไรสำหรับคุณ? เราไม่จำเป็นต้องรอให้มีเสียงพูดกับเราตอนกลางคืน. ทุกวันนี้ กล่าวได้ว่ามีเสียงตรัสจากพระเจ้ามาถึงเราเสมอ. เสียงตรัสนั้นมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลครบชุดซึ่งเป็นพระคำของพระองค์. ยิ่งเราฟังพระเจ้าและทำตามคำตรัสของพระองค์ เราก็จะยิ่งมีความเชื่อมากขึ้น. นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับซามูเอล.เหตุการณ์สำคัญในคืนนั้นเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของซามูเอล เพราะนับแต่นั้นมาเขาก็มีสัมพันธภาพพิเศษกับพระยะโฮวา คือได้กลายมาเป็นผู้พยากรณ์และโฆษกของพระองค์. ในตอนแรก ซามูเอลไม่กล้าบอกเอลีว่าพระยะโฮวาตรัสอะไรเพราะสิ่งที่พระเจ้าตรัสนั้นเป็นคำเตือนครั้งสุดท้ายว่าคำพยากรณ์เกี่ยวกับครอบครัวเอลีจะเป็นจริงในไม่ช้า. แต่ซามูเอลก็รวบรวมความกล้าและเอลีก็ยอมรับคำพิพากษาจากพระเจ้าแต่โดยดี. ไม่นาน ทุกสิ่งที่พระยะโฮวาตรัสไว้ก็เป็นจริง. ชาวอิสราเอลทำสงครามกับชาวฟิลิสติน และฮฟนีกับฟีนะฮาศก็ถูกฆ่าในวันเดียวกัน. ส่วนเอลีก็ล้มลงตายเมื่อได้รู้ว่าหีบสัญญาศักดิ์สิทธิ์ถูกชิงเอาไป.—1 ซามูเอล 3:10-18; 4:1-18
อย่างไรก็ตาม ซามูเอลกลับมีชื่อเสียงมากขึ้นในฐานะผู้พยากรณ์ที่เปี่ยมด้วยความเชื่อในพระเจ้า. บันทึกกล่าวว่า “พระยะโฮวาได้ทรงสถิตอยู่” กับซามูเอล และกล่าวด้วยว่าพระยะโฮวาทรงทำให้คำพยากรณ์ทั้งสิ้นของซามูเอลสำเร็จเป็นจริง.—1 ซามูเอล 3:19
“ซามูเอล กราบทูลพระยะโฮวา”
ชาวอิสราเอลได้ติดตามตัวอย่างของซามูเอล และเป็นชาติที่มีความเชื่อในพระเจ้าและซื่อสัตย์ต่อพระองค์เสมอไหม? ไม่เลย. ในที่สุด พวกเขาตัดสินใจว่าไม่ต้องการจะมีแค่ผู้พยากรณ์คนหนึ่งมาพิพากษาพวกเขา. พวกเขาต้องการเป็นเหมือนชาติอื่น ๆ ซึ่งมีกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์. ซามูเอลยอมฟังคำขอของพวกเขาตามที่พระยะโฮวาชี้นำ. แต่เขาจะต้องบอกให้ชาวอิสราเอลรู้ว่าการร้องขอเช่นนั้นเป็นบาปร้ายแรงเพียงไร. พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น แต่ผู้ที่พวกเขาปฏิเสธคือพระยะโฮวา! ดังนั้น ซามูเอลจึงเรียกประชาชนมารวมกันที่กิลกาล.
ให้เรากลับไปดูเหตุการณ์ตอนที่ซามูเอลกำลังจะพูดกับชาวอิสราเอลที่กิลกาล. ซามูเอลผู้ชราได้เตือนชาวอิสราเอลให้ระลึกว่าเขาได้รับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์มั่นคงมานาน. จากนั้นเราอ่านว่า “ซามูเอลกราบทูลพระยะโฮวา.” เขาขอให้พระยะโฮวาบันดาลให้มีฟ้าร้องและฝนตก.—ฟ้าร้องและฝนตกในฤดูแล้งอย่างนี้น่ะหรือ? ไม่เคยมีใครได้ยินว่ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย! หากจะมีใครในท่ามกลางคนเหล่านั้นที่คิดสงสัยหรือดูหมิ่น พวกเขาก็คิดอย่างนั้นได้ไม่นาน. ทันใดนั้น ท้องฟ้าก็มืดครึ้มไปด้วยเมฆ. ข้าวสาลีในทุ่งเอนไปมาตามแรงลม. ฟ้าคำรามเสียงดังสนั่น แล้วฝนก็ตกลงมา. ประชาชนมีปฏิกิริยาอย่างไร? “ประชาชนทั้งปวงจึงพากันเกรงกลัวพระยะโฮวาและซามูเอลเป็นอันมาก.” ในที่สุด พวกเขาก็สำนึกว่าได้ทำบาปร้ายแรงเพียงไร.—1 ซามูเอล 12:18, 19
ไม่ใช่ซามูเอลแต่เป็นพระยะโฮวาพระเจ้าของเขาที่ทำให้ประชาชนที่ดื้อดึงเหล่านี้เปลี่ยนใจ. ตั้งแต่เด็กจนชรา ซามูเอลมีความเชื่อในพระเจ้าเสมอและพระยะโฮวาก็อวยพรเขา. จวบจนทุกวันนี้ พระยะโฮวาไม่เคยเปลี่ยน. พระองค์ยังคอยช่วยเหลือคนที่เลียนแบบความเชื่อของซามูเอลเสมอ.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 นาษารีษคือผู้ที่ได้ปฏิญาณตัวไว้กับพระเจ้า และคำปฏิญาณของเขารวมถึงการละเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่ตัดผม. นาษารีษส่วนใหญ่จะทำตามคำปฏิญาณนั้นอยู่เพียงช่วงเวลาหนึ่ง มีไม่กี่คนเท่านั้นที่เป็นนาษารีษตลอดชีวิต เช่น ซิมโซน, ซามูเอล, และโยฮันผู้ให้บัพติสมา.
^ วรรค 12 สถานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นเต็นท์ขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีโครงเป็นไม้. อย่างไรก็ตาม สถานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหนังปลาโลมา, ผ้าที่เย็บปักอย่างงดงาม, และไม้ที่หุ้มด้วยเงินและทองคำซึ่งมีราคาแพง. พลับพลาตั้งอยู่บนลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งภายในลานยังมีแท่นบูชาขนาดใหญ่สำหรับถวายเครื่องบูชาต่าง ๆ. ดูเหมือนว่าในเวลาต่อมาได้มีการสร้างห้องสำหรับพวกปุโรหิตเพิ่มด้านข้างพลับพลา. ซามูเอลคงนอนในห้องหนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่นี้ด้วย.
^ วรรค 16 บันทึกในพระคัมภีร์พูดถึงสองตัวอย่างดังนี้: ตัวอย่างแรก พระบัญญัติกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าส่วนใดของเครื่องบูชาที่ปุโรหิตจะนำไปกินได้. (พระบัญญัติ 18:3) แต่ที่พลับพลานี้ ปุโรหิตชั่วทั้งหลายได้ทำสิ่งที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง. พวกเขาสั่งให้ผู้ช่วยของเขาเอาสามง่ามจิ้มลงไปในหม้อต้มและไม่ว่าเนื้อส่วนใดที่ดี ๆ ซึ่งติดสามง่ามขึ้นมาพวกเขาก็เอาไปเป็นของตน! อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อประชาชนนำเครื่องบูชามาให้เผาถวายที่แท่น พวกปุโรหิตชั่วก็จะสั่งให้ผู้ช่วยไปขู่บังคับเอาเนื้อที่ยังดิบอยู่ ก่อนจะมีการเผามันสัตว์นั้นถวายเป็นเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวาด้วยซ้ำ.—เลวีติโก 3:3-5; 1 ซามูเอล 2:13-17
[ภาพหน้า 17]
แม้ซามูเอลจะกลัว แต่ก็ทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์โดยถ่ายทอดคำพิพากษาของพระยะโฮวาแก่เอลี
[ภาพหน้า 18]
ซามูเอลอธิษฐานด้วยความเชื่อและพระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานโดยบันดาลให้มีฝนตกและฟ้าร้อง