ตอน 2
ความวิตกกังวล—“ถูกกดดันจากทุกด้าน”
“หลังจากแต่งงานมา 25 ปี ฉันก็หย่ากับสามี ลูก ๆ เลิกรับใช้พระยะโฮวา สุขภาพฉันแย่ลง ป่วยหลายโรค ฉันเริ่มซึมเศร้า หมดหวัง รู้สึกว่าชีวิตไม่เหลืออะไรแล้วและรับมือต่อไปไม่ไหว ฉันเลยเลิกไปประชุมและเลิกประกาศ”—จูน
ความวิตกกังวลเกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้แต่ผู้รับใช้พระเจ้า ผู้เขียนหนังสือสดุดีบอกว่า “ผมวิตกกังวล” (สดุดี 94:19) พระเยซูก็บอกด้วยว่าในสมัยสุดท้าย การที่เรา “กังวลกับชีวิต” อาจเป็นอุปสรรคในการรับใช้พระยะโฮวา (ลูกา 21:34) แล้วคุณล่ะ? คุณกังวลเรื่องเงิน เรื่องครอบครัว หรือสุขภาพไหม? พระยะโฮวาจะช่วยคุณให้รับมือกับเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร?
“กำลังที่มากกว่าปกติ”
เราต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อจะรับมือกับความวิตกกังวลของเราเอง อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “เราถูกกดดันจากทุกด้าน . . . เรารู้สึกสับสน . . . เราเจ็บปวดมาก” ถึงอย่างนั้น เขาบอกว่าเรา “ยังไม่ถึงกับจนมุม” “ยังมีทางออก” และ “ไม่ถึงตาย” สิ่งที่จะช่วยเราให้อดทนได้คือ “กำลังที่มากกว่าปกติ” จากพระยะโฮวา พระเจ้าผู้มีพลังอำนาจสูงสุด—2 โครินธ์ 4:7-9
ลองนึกถึงตอนที่คุณเคยได้รับ “กำลังที่มากกว่าปกติ” คุณจำได้ไหมว่า คำบรรยายที่ให้กำลังใจช่วยให้คุณเห็นค่าความรักของพระยะโฮวามากขนาดไหน? เมื่อสอนคนอื่นเกี่ยวกับความหวังเรื่องชีวิตในอุทยาน คุณก็เชื่อมากขึ้นว่าคำสัญญาของพระยะโฮวาจะเป็นจริงใช่ไหม? เมื่อเข้าร่วมการประชุมและออกความเห็นซึ่งเป็นการพูดถึงความเชื่อ เราได้รับกำลังที่จะอดทนกับความกังวลในชีวิตและทำให้ใจสงบ เราเลยรับใช้พระยะโฮวาได้อย่างมีความสุข
“ลองชิมดู แล้วจะรู้ว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน”
ในความเป็นจริง ชีวิตคุณอาจมีหลายอย่างต้องทำในเวลาเดียวกัน เช่น พระยะโฮวาบอกให้เราทำให้การปกครองของพระองค์สำคัญที่สุดในชีวิต และให้ทำกิจกรรมที่เสริมความเชื่ออย่างสม่ำเสมอ (มัทธิว 6:33; ลูกา 13:24) นอกจากนั้น คุณอาจเจอการต่อต้าน สุขภาพไม่ดี หรือมีปัญหาครอบครัว ซึ่งทำให้หมดแรง คุณอาจต้องทำงานอาชีพจนไม่มีเวลาและกำลังสำหรับทำกิจกรรมร่วมกับพี่น้องในประชาคม ถ้าเป็นแบบนี้ คุณอาจรู้สึกรับไม่ไหวหรืออาจถึงกับคิดว่าพระยะโฮวาเรียกร้องจากคุณมากเกินไป
พระยะโฮวาเข้าใจเรา พระองค์ไม่เคยเรียกร้องมากเกินกว่าที่เราจะทำได้ พระองค์รู้ว่าต้องใช้เวลาเพื่อเราจะหายเครียดไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรืออารมณ์—สดุดี 103:13, 14
ให้เราดูตอนที่พระยะโฮวาดูแลผู้พยากรณ์เอลียาห์ เมื่อเขาท้อใจและกลัวมากจนต้องหนีไปในที่กันดาร พระยะโฮวาตำหนิเอลียาห์และสั่งให้กลับไปทำงานมอบหมายไหม? เปล่าเลย พระองค์ส่งทูตสวรรค์ไปหาเอลียาห์ 2 ครั้งปลุกเขาเบา ๆ ให้ตื่นแล้วเตรียมอาหารให้กิน แม้จะผ่านไป 40 วัน เอลียาห์ก็ยังกังวลและกลัว พระยะโฮวาทำอะไรอีกเพื่อช่วยเขา? อย่างแรก พระองค์ทำให้เห็นว่าพระองค์ปกป้องเขาได้ อย่างที่สอง พระองค์ปลอบโยนเอลียาห์ด้วย “เสียงเบา ๆ ที่อ่อนโยน” และสุดท้าย 1 พงศ์กษัตริย์ 19:1-19) เราได้เรียนอะไร? ตอนที่เอลียาห์วิตกกังวล พระยะโฮวาเห็นอกเห็นใจและอดทนกับเขา เรามั่นใจว่าพระองค์จะทำอย่างนั้นกับเราเหมือนกัน
ก็บอกเขาว่ายังมีคนซื่อสัตย์อีกหลายพันคนที่นมัสการพระองค์ ในที่สุด เอลียาห์ก็พร้อมจะทำงานมอบหมายอีกครั้ง (เมื่อคิดถึงสิ่งที่คุณให้พระยะโฮวาได้ ขอให้มองตามความเป็นจริง อย่าเปรียบเทียบสิ่งที่คุณทำได้ตอนนี้กับสิ่งที่เคยทำได้ในอดีต เพื่อเป็นตัวอย่าง นักวิ่งที่หยุดฝึกมาหลายเดือนหรือหลายปีจะกลับมาวิ่งแบบที่เคยวิ่งทันทีไม่ได้ เขาต้องตั้งเป้าวิ่งในระยะสั้น ๆ ก่อนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและวิ่งได้นานขึ้น คริสเตียนก็เหมือนนักวิ่ง พวกเขาฝึกอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน (1 โครินธ์ 9:24-27) คุณน่าจะลองตั้งเป้าหมายที่เสริมความเชื่อสักอย่างหนึ่งที่คิดว่าทำได้ในตอนนี้ เช่น ไปประชุม และขอพระยะโฮวาช่วยให้คุณทำตามเป้าหมายนั้นได้ เมื่อความเชื่อเข้มแข็งขึ้น คุณก็จะเข้าใจคำพูดที่ว่า “ลองชิมดู แล้วจะรู้ว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน” (สดุดี 34:8) ขอให้รู้ว่าทุกสิ่งที่คุณทำเพื่อแสดงว่าคุณรักพระยะโฮวา แม้จะเล็กน้อย แต่นั่นมีค่ามากสำหรับพระองค์—ลูกา 21:1-4
“ฉันมีกำลังอีกครั้ง”
พระยะโฮวาช่วยจูนอย่างไรให้กลับมาหาพระองค์? เธอบอกว่า “ฉันอธิษฐานถึงพระยะโฮวาตลอด ขอให้พระองค์ช่วยฉัน แล้ววันหนึ่งลูกสะใภ้ก็มาบอกว่าจะมีการประชุมใหญ่ในเมืองที่ฉันอยู่ ฉันก็เลยตัดสินใจไปเข้าร่วมหนึ่งวัน ฉันดีใจมากที่ได้กลับมาอยู่กับประชาชนของพระยะโฮวา! การประชุมใหญ่ทำให้ฉันมีกำลังอีกครั้ง ตอนนี้ ฉันมีความสุขที่ได้กลับมารับใช้พระยะโฮวา ชีวิตฉันมีความหมายมากขึ้น ฉันรู้แล้วว่าฉันสู้ด้วยตัวเองไม่ได้ ฉันต้องอยู่กับพี่น้องและยอมรับความช่วยเหลือจากพวกเขา ขอบคุณจริง ๆ ที่ยังมีโอกาสกลับมา”