บทแปด
แม้จะผิดหวังแต่เขายังอดทน
1. เหตุใดมีความเศร้าสลดอยู่ทั่วเมืองชีโลห์?
ซามูเอลรู้สึกได้ถึงความเศร้าสลดที่มีอยู่ทั่วเมืองชีโลห์. ดูเหมือนว่าทั้งเมืองจะเจิ่งนองไปด้วยน้ำตา. เราไม่รู้ว่ามีผู้หญิงและเด็กมากเพียงใดที่ร้องไห้คร่ำครวญกับข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับมาของบิดา สามี ลูกชาย และพี่ชายน้องชาย. เรารู้แต่เพียงว่าชาวอิสราเอลเสียทหารไป 4,000 นายและไม่นานหลังจากนั้นก็สูญเสียทหารไปอีก 30,000 นายหลังจากพ่ายแพ้กองทัพฟิลิสตินอย่างราบคาบ.—1 ซามู. 4:1, 2, 10
2, 3. เสี้ยวหนึ่งของโศกนาฏกรรมที่นำความอับอายและพรากสง่าราศีไปจากชีโลห์คืออะไร?
2 นั่นเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของโศกนาฏกรรมที่เกิดกับชาตินี้. มหาปุโรหิตเอลีมีลูกชายที่ชั่วช้าสองคนชื่อฮฟนีกับฟีนะฮาศ. พวกเขาหามหีบสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์นำหน้ากองทัพออกจากชีโลห์. โดยปกติแล้วหีบนี้จะเก็บไว้ในห้องบริสุทธิ์ของพลับพลาซึ่งมีลักษณะคล้ายกระโจม. หีบที่มีค่านี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการประทับของพระเจ้า. ประชาชนที่ออกรบจึงนำหีบไปด้วยเพราะคิดอย่างโง่เขลาว่าหีบนี้จะเป็นเหมือนเครื่องรางที่ช่วยปกป้องคุ้มครองและทำให้พวกเขาได้รับชัยชนะ. แต่ชาวฟิลิสตินได้ยึดหีบนั้นไปและฆ่าฮฟนีกับฟีนะฮาศเสีย.—1 ซามู. 4:3-11
3 พลับพลาที่ชีโลห์เป็นที่เก็บหีบศักดิ์สิทธิ์นี้มานานหลายศตวรรษแล้ว. แต่บัดนี้ไม่มีหีบนั้นอีกแล้ว. เมื่อได้ยินว่าเกิดอะไรขึ้นกับหีบสัญญา เอลีซึ่งอายุ 98 ปีก็หงายหลังตกจากที่นั่งถึงแก่ความตาย. ลูกสะใภ้ของเขาซึ่งเพิ่งเป็นม่ายในวันนั้นก็เสียชีวิตหลังจากคลอดบุตร. ก่อนสิ้นใจนางกล่าวว่า “สง่าราศีได้พรากจากอิสราเอลแล้ว.” จริงทีเดียว ชีโลห์ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป.—1 ซามู. 4:12-22, ฉบับคิงเจมส์
4. เราจะพิจารณาอะไรในบทนี้?
4 ซามูเอลจะรับมือกับความผิดหวังและความทุกข์ใจครั้งนี้ได้อย่างไร? เขาจะรักษาความเชื่อที่เข้มแข็งไว้ได้ไหมเมื่อต้องช่วยประชาชนที่สูญเสียความโปรดปรานและไม่ได้รับการคุ้มครองจากพระยะโฮวาอีกต่อไป? บางครั้งบางคราว พวกเราในทุกวันนี้อาจเผชิญความยากลำบากและความผิดหวังซึ่ง
ทดสอบความเชื่อ. ดังนั้น ให้เรามาดูว่าเราจะเรียนอะไรได้บ้างจากตัวอย่างของซามูเอล.เขา “ทำการชอบธรรม”
5, 6. บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลพูดถึงอะไรในช่วง 20 ปีที่ไม่ได้กล่าวถึงซามูเอล และในช่วงเวลานั้นซามูเอลทำอะไร?
5 ต่อจากนั้น บันทึกของคัมภีร์ไบเบิลเปลี่ยนจากเรื่องของซามูเอลไปเป็นเรื่องหีบศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกชาวฟิลิสตินยึดไป โดยเล่าว่าพวกเขาประสบความเดือดร้อนอย่างหนักจนต้องส่งหีบนั้นกลับคืน. เมื่อเรื่องราวย้อนกลับมาที่ซามูเอลอีกครั้ง เวลาก็ผ่านไปประมาณ 20 ปีแล้ว. (1 ซามู. 7:2) ตลอดช่วงเวลานั้นซามูเอลทำอะไร? คัมภีร์ไบเบิลบอกให้เราทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้.
6 เรารู้ว่าก่อนที่หีบจะถูกยึดไป ซามูเอลได้ “ถ่ายทอดคำตรัสของพระองค์แก่ชาวอิสราเอลทั้งปวงอยู่เรื่อย ๆ.” (1 ซามู. 4:1, ล.ม.) บันทึกเล่าเรื่องราวหลังจาก 20 ปีผ่านไปว่า ซามูเอลไปเยี่ยมเมือง 3 เมืองในอิสราเอลเป็นประจำทุกปีเพื่อพิจารณาคดีความและตอบข้อสงสัยต่าง ๆ. ทุกครั้งที่เยี่ยมเมืองเหล่านั้นเสร็จ เขาจะกลับไปเมืองรามาห์บ้านเกิดของเขา. (1 ซามู. 7:15-17) เห็นได้ชัดว่า ซามูเอลยังคงรับใช้พระยะโฮวาอย่างขันแข็ง และในช่วง 20 ปีนั้นเขาคงมีงานมากมายเช่นกัน.
แม้ว่าบันทึกของคัมภีร์ไบเบิลไม่ได้กล่าวถึงซามูเอลเป็นเวลา 20 ปี แต่เรามั่นใจว่าตลอดช่วงเวลานั้นเขายังคงรับใช้พระยะโฮวาอย่างขันแข็ง
7, 8. (ก) หลังจากทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนตลอด 20 ปี ซามูเอลแจ้งข่าวอะไรแก่ชาวอิสราเอล? (ข) ประชาชนตอบรับอย่างไรกับคำรับรองของซามูเอล?
7 การประพฤติผิดประเวณีและการทุจริตฉ้อโกงที่ลูกชายสองคนของเอลีทำไปนั้นได้บั่นทอนความเชื่อของประชาชนทั้งชาติ. ดูเหมือนว่าการกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้คนมากมายหันไปไหว้รูปเคารพ. แต่หลังจากทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนตลอด 20 ปี ในที่สุดซามูเอลก็แจ้งข่าวแก่ชาวอิสราเอลว่า “ถ้าท่านทั้งหลายจะกลับมาหาพระยะโฮวาด้วยสิ้นสุดใจ, ก็ให้ละทิ้งพระต่างประเทศและรูปอัศธาโรธจากท่ามกลางท่านทั้งหลาย, จงตั้งใจแสวงหาและปฏิบัติพระยะโฮวาองค์เดียว, พระองค์จึงจะทรงช่วยท่านทั้งหลายให้พ้นจากเงื้อมมือพวกฟะลิศตีม.”—1 ซามู. 7:3
8 ชาวอิสราเอลประสบความเดือดร้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้ “เงื้อมมือพวกฟะลิศตีม.” หลังจากทำลายกองทัพของชาวอิสราเอลอย่างราบคาบ พวกฟิลิสตินรู้สึกฮึกเหิมและกดขี่ประชาชนของพระเจ้าโดยไม่หวั่นเกรงผู้ใด. แต่1 ซามูเอล 7:4-6
ซามูเอลรับรองกับประชาชนว่าสภาพการณ์จะเปลี่ยนไป ถ้าพวกเขาหันกลับมาหาพระยะโฮวา. พวกเขาเต็มใจจะกลับมาหาพระองค์ไหม? ซามูเอลดีใจที่พวกเขาทิ้งรูปเคารพและเริ่ม “ปฏิบัติพระยะโฮวาแต่องค์เดียว.” ซามูเอลเรียกประชาชนให้มาชุมนุมกันที่เมืองมิซพาห์ซึ่งอยู่แถบภูเขาทางเหนือของเยรูซาเลม. ผู้คนก็มาชุมนุมกัน อดอาหาร และกลับใจจากบาปหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการไหว้รูปเคารพ.—อ่านเมื่อพวกฟิลิสตินเห็นประชาชนของพระยะโฮวาที่กลับใจมาชุมนุมกัน พวกเขาคิดว่านั่นเป็นโอกาสดีที่จะบุกโจมตี
9. ชาวฟิลิสตินเห็นโอกาสอะไร และประชาชนของพระเจ้าทำอย่างไร?
9 อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวฟิลิสตินรู้เรื่องการชุมนุมใหญ่นี้ก็ถือโอกาสบุกโจมตี. พวกเขาส่งกองทหารมายังมิซพาห์เพื่อจะกำราบผู้นมัสการพระยะโฮวา. ชาวอิสราเอลได้ยินข่าวว่ากองทัพของศัตรูบุกมาใกล้แล้ว. ด้วยความหวาดกลัว พวกเขาขอให้ซามูเอลทูลอธิษฐานเพื่อพวกเขา. ซามูเอลก็อธิษฐานและถวายเครื่องบูชาด้วย. แต่ขณะที่กำลังถวายเครื่องบูชาอันศักดิ์สิทธิ์นั้นกองทัพฟิลิสตินก็มาโจมตีมิซพาห์. แล้วพระยะโฮวาก็ตอบคำอธิษฐานของซามูเอลโดยให้มีเสียงดังสนั่นหวั่นไหวซึ่งแสดงถึงพระพิโรธของพระองค์. พระองค์ “บันดาลให้เกิดฟ้าร้องเสียงดังต่อพวกฟะลิศตีม.”—1 ซามู. 7:7-11
10, 11. (ก) ทำไมเสียงฟ้าร้องที่พระยะโฮวาใช้ในการรบกับทหารฟิลิสตินคงเป็นเสียงที่แปลกประหลาด? (ข) การสู้รบที่มิซพาห์ก่อผลอย่างไร?
10 เราไม่ควรนึกภาพชาวฟิลิสตินเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่วิ่งเข้าไปหลบหลังแม่ด้วยความกลัวเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า. ทหารเหล่านี้ล้วนเป็นชายฉกรรจ์ที่ผ่านศึกสงครามมาแล้วมากมาย. แต่เสียงฟ้าร้องนี้คงต้องดังสนั่นอย่างที่พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน. นั่นอาจเป็นเสียงฟ้าร้องแบบแปลก ๆ ที่ “ดัง” กึกก้องที่สุดไหม? เสียงนั้นดังมาจากท้องฟ้าที่ไร้เมฆหมอก หรือเป็นเสียงสะท้อนที่ดังก้องไปทั่วหุบเขาไหม? ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เสียงนั้นได้ทำให้พวกฟิลิสตินตกใจกลัวจนทำอะไรไม่ถูก. เมื่อเกิดความสับสนอลหม่านอย่างหนัก พวกเขากลับกลายเป็นฝ่ายถูกไล่ล่าทันที. ชาวอิสราเอลวิ่งกรูลงมาจากมิซพาห์ ไล่ตีพวกฟิลิสตินไปจนถึงเมืองหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยรูซาเลม.
11 การรบครั้งนี้ทำให้สถานการณ์พลิกผัน. ชาวฟิลิสตินไม่มารุกรานชาวอิสราเอลอีกเลยตลอดช่วงเวลาที่ซามูเอลทำหน้าที่พิพากษา. เมืองต่าง ๆ ที่ถูกยึดไปก็กลับมาเป็นของชาวอิสราเอลอีกครั้ง.—1 ซามู. 7:13, 14
12. ซามูเอล “ทำการชอบธรรม” อะไร และคุณลักษณะอะไรช่วยเขาให้ทำเช่นนั้นได้?
ฮีบรู 11:32, 33) ซามูเอลได้ช่วยเหลือประชาชนให้กลับมาทำสิ่งที่ดีและถูกต้องในสายพระเนตรของพระเจ้า. เขาสามารถช่วยชาวอิสราเอลให้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไปได้แม้จะประสบความผิดหวังหลายอย่างเพราะเขารอคอยพระยะโฮวาด้วยความอดทน. นอกจากนั้น เขายังเป็นคนสำนึกบุญคุณด้วย. หลังจากได้รับชัยชนะที่มิซพาห์ ซามูเอลเอาศิลาก้อนหนึ่งตั้งไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงการที่พระยะโฮวาได้ช่วยประชาชนของพระองค์.—1 ซามู. 7:12
12 หลายศตวรรษต่อมา อัครสาวกเปาโลได้เอ่ยชื่อซามูเอลพร้อมกับผู้พิพากษาและผู้พยากรณ์ที่ซื่อสัตย์คนอื่น ๆ ซึ่งได้ “ทำการชอบธรรม.” (13. (ก) เราจำเป็นต้องมีคุณลักษณะอะไรถ้าเราอยากเลียนแบบซามูเอล? (ข) คุณคิดว่าควรพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเหมือนซามูเอลตั้งแต่เมื่อไร?
13 คุณอยาก “ทำการชอบธรรม” ด้วยไหม? ถ้าเช่นนั้น คุณน่าจะเรียนจากตัวอย่างของซามูเอลในเรื่องความอดทน ความถ่อมใจ และการสำนึกบุญคุณ. (อ่าน 1 เปโตร 5:6 ) นี่เป็นคุณลักษณะที่เราทุกคนจำเป็นต้องมีมิใช่ หรือ? นับว่าดีที่ซามูเอลได้พัฒนาคุณลักษณะเช่นนั้นตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเขาต้องเจอกับเรื่องที่ทำให้เป็นทุกข์และผิดหวังมากกว่านี้ในเวลาต่อมา.
“บุตรของท่านหาดำเนินตามเยี่ยงอย่างของท่านไม่”
14, 15. (ก) อะไรทำให้ซามูเอลผิดหวังเมื่อเขา “ชราแล้ว”? (ข) ซามูเอลเป็นบิดาที่สมควรถูกตำหนิเหมือนเอลีไหม? จงอธิบาย.
14 เมื่อบันทึกกล่าวถึงซามูเอลอีกครั้ง เขาก็ “ชราแล้ว.” ตอนนั้นซามูเอลมีบุตรชายที่เป็นผู้ใหญ่แล้วสองคนคือโยเอลกับอะบิยา และเขาได้มอบหมายให้ทั้งสองช่วยทำหน้าที่ผู้พิพากษา. แต่น่าเสียดายที่ทั้งสองทำให้ซามูเอลผิดหวัง. แม้ซามูเอลจะเป็นคนซื่อสัตย์และชอบธรรม แต่บุตรชายของเขากลับใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว ทั้งทุจริตคดโกงและรับสินบน.—1 ซามู. 8:1-3
15 วันหนึ่งพวกผู้เฒ่าผู้แก่ของอิสราเอลมาร้องเรียนต่อผู้พยากรณ์ซามูเอล. พวกเขากล่าวว่า “บุตรของท่านหาดำเนินตามเยี่ยงอย่างของท่านไม่.” (1 ซามู. 8:4, 5) ซามูเอลรู้ปัญหานี้อยู่แล้วไหม? บันทึกไม่ได้บอก. แต่ซามูเอลไม่ใช่บิดาแบบเอลีที่สมควรถูกตำหนิ. พระยะโฮวาตำหนิและลงโทษเอลีเพราะเขาไม่ได้ว่ากล่าวแก้ไขบุตรชายที่ทำชั่วแถมยังนับถือบุตรยิ่งกว่าพระเจ้า. (1 ซามู. 2:27-29) แต่พระยะโฮวาไม่เคยตำหนิซามูเอลเช่นนั้น.
16. พ่อแม่จะรู้สึกอย่างไรถ้ามีลูกขืนอำนาจ และตัวอย่างของซามูเอลให้กำลังใจและแง่คิดที่ดีอะไร?
16 พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่าซามูเอลปวดร้าวใจ อับอาย กังวล หรือผิดหวังมากแค่ไหนเมื่อรู้ว่าบุตรชายประพฤติชั่ว. แต่พ่อแม่หลายคนคงเข้าใจดีว่าเขารู้สึกอย่างไร. ในสมัยที่ชั่วช้านี้ การขืนอำนาจและการไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่มีให้เห็นอยู่ทั่วไป. (อ่าน 2 ติโมเธียว 3:1-5 ) พ่อแม่ที่ต้องทุกข์ใจเพราะมีลูกเช่นนั้นอาจได้กำลังใจและได้แง่คิดที่ดีจากตัวอย่างของซามูเอล. เขาไม่ได้ปล่อยให้การประพฤติที่ไม่ซื่อสัตย์ของบุตรชายส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแม้แต่น้อย. ถ้าคำพูดหรือการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ไม่อาจทำให้หัวใจของลูกอ่อนลงได้ ตัวอย่างของพ่อแม่ก็ยังมีพลังในการสอนลูก. พ่อแม่เองยังสามารถทำให้พระยะโฮวาพระเจ้าผู้เป็นพระบิดาของพวกเขาปลื้มใจได้เสมอเช่นเดียวกับซามูเอล.
“ขอโปรดตั้งกษัตริย์” ให้พวกข้าพเจ้า
17. ผู้เฒ่าผู้แก่ของอิสราเอลขอให้ซามูเอลทำอะไร และเขารู้สึกอย่างไร?
17 บุตรชายสองคนของซามูเอลคงนึกไม่ถึงว่าความโลภและความเห็นแก่1 ซามู. 8:5, 6
ตัวของพวกเขาส่งผลกระทบมากแค่ไหน. ผู้เฒ่าผู้แก่ของอิสราเอลยังบอกซามูเอลอีกว่า “ขอโปรดตั้งกษัตริย์, เพื่อจะได้ทรงพิพากษาพวกข้าพเจ้าทั้งหลายเหมือนชาวนานาประเทศ.” ซามูเอลจะคิดว่าคำขอนั้นเป็นการปฏิเสธเขาไหม? ที่จริงซามูเอลทำหน้าที่ผู้พิพากษาประชาชนของพระยะโฮวามาหลายทศวรรษแล้ว. ตอนนี้พวกเขาไม่ต้องการแค่ผู้พยากรณ์อย่างซามูเอลอีกต่อไป แต่ต้องการจะมีกษัตริย์เป็นผู้พิพากษาพวกเขา. ชาติต่าง ๆ รอบข้างล้วนแต่มีกษัตริย์ และชาติอิสราเอลก็อยากมีกษัตริย์ด้วย. ซามูเอลรู้สึกอย่างไร? บันทึกกล่าวว่า “ซามูเอลไม่เห็นชอบด้วย.”—18. พระยะโฮวาตรัสอะไรซึ่งทำให้ซามูเอลรู้สึกดีขึ้น และขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นว่าชาวอิสราเอลทำบาปร้ายแรง?
18 ขอสังเกตว่าพระยะโฮวาตอบอย่างไรเมื่อซามูเอลทูลเรื่องนี้ต่อพระองค์ในคำอธิษฐาน. พระองค์ตรัสว่า “[จง] ฟังถ้อยคำทุกประการที่ประชาชนพูดกับเจ้าเถิด เขาไม่ได้ละทิ้งเจ้า แต่ปฏิเสธเรา ไม่ยอมให้เราเป็นกษัตริย์ของเขา.” คำกล่าวนี้คงทำให้ซามูเอลรู้สึกดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการที่ประชาชนร้องขอเช่นนั้นเป็นการดูถูกดูหมิ่นพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ใหญ่ยิ่ง. พระยะโฮวาบอกผู้พยากรณ์ซามูเอลให้เตือนชาวอิสราเอลว่า ถ้ามีกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์พวกเขาจะประสบความลำบากหลายอย่าง. เมื่อซามูเอลแจ้งแก่ประชาชนตามที่พระเจ้าสั่ง พวกเขายืนกรานว่า “พวกเราต้องการกษัตริย์ เราจะได้เหมือนชาติอื่น มีกษัตริย์ปกครอง.” ซามูเอลก็เชื่อฟังพระเจ้าเช่นเคยและไปเจิมผู้ที่พระเจ้าเลือกให้เป็นกษัตริย์.—1 ซามู. 8:7-19, ฉบับประชานิยม
19, 20. (ก) ในเรื่องการเจิมซาอูลเป็นกษัตริย์ของชาติอิสราเอล ซามูเอลเชื่อฟังคำชี้นำของพระยะโฮวาอย่างไร? (ข) ซามูเอลยังคงช่วยประชาชนของพระยะโฮวาเช่นไร?
19 ซามูเอลเชื่อฟังแบบไหน? เขาเชื่อฟังแบบจำใจและรู้สึกขุ่นเคืองไหม? เขาปล่อยให้ความผิดหวังครอบงำจิตใจจนรู้สึกขมขื่นไหม? หลายคนอาจเป็นอย่างนั้นหากอยู่ในสภาพการณ์เดียวกัน แต่ไม่ใช่ซามูเอล. เขาเจิมซาอูลเป็นกษัตริย์และยอมรับว่าพระยะโฮวาได้เลือกชายผู้นี้. เขาจูบซาอูล แสดงว่าเขายอมรับและเต็มใจอยู่ใต้อำนาจของกษัตริย์องค์ใหม่. ซามูเอลยังพูดกับประชาชนว่า “ท่านเห็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกไว้แล้วหรือ ในท่ามกลางประชาชนไม่มีใครเหมือนท่าน?”—1 ซามู. 10:1, 24, ฉบับ 1971
20 ซามูเอลไม่ได้เพ่งมองข้อบกพร่องของผู้ที่พระยะโฮวาเลือก เขามองแต่คุณสมบัติที่ดี. ทำนองเดียวกัน ซามูเอลไม่ได้สนใจว่าประชาชนที่มีจิตใจ1 ซามู. 12:1-4) นอกจากนั้น ซามูเอลยังทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างซื่อสัตย์ คอยแนะนำสั่งสอนประชาชนให้หลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจทำลายสายสัมพันธ์ของพวกเขากับพระเจ้า และสนับสนุนพวกเขาให้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป. ประชาชนซาบซึ้งในคำสั่งสอนนั้นและขอให้ซามูเอลอธิษฐานเพื่อพวกเขา. ซามูเอลตอบพวกเขาด้วยถ้อยคำที่ทำให้อบอุ่นใจว่า “ส่วนข้าพเจ้า, ขอพระยะโฮวาทรงห้ามปรามอย่าให้ข้าพเจ้ากระทำผิดต่อพระองค์, โดยเว้นคำอธิษฐานเพื่อท่านทั้งหลาย, แต่ข้าพเจ้าจะสั่งสอนให้ท่านทั้งหลายรู้ทางดี, และทางชอบธรรม.”—1 ซามู. 12:21-24
โลเลจะคิดอย่างไรกับเขา เพราะเขารู้ว่าได้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์จงรักภักดีมาโดยตลอด. (ตัวอย่างของซามูเอลเตือนใจว่าเราต้องไม่ปล่อยให้ความอิจฉาหรือความรู้สึกขมขื่นเกิดขึ้นในใจ
21. ตัวอย่างของซามูเอลอาจช่วยคุณอย่างไรถ้าคุณรู้สึกผิดหวังเมื่อคนอื่นได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างแทนที่จะเป็นคุณ?
21 คุณรู้สึกผิดหวังไหมเมื่อคนอื่นได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างแทนที่จะเป็นคุณ? ตัวอย่างของซามูเอลเตือนใจเราได้อย่างดีเยี่ยมว่าเราต้องไม่ปล่อยให้ความอิจฉาหรือความรู้สึกขมขื่นเกิดขึ้นในใจ. (อ่านสุภาษิต 14:30 ) พระเจ้ามีงานที่ดีและน่าพอใจมากมายสำหรับผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ทุกคน.
“ท่านจะเป็นทุกข์ร้อนด้วยซาอูลนานเท่าไร?”
22. ทำไมตอนแรกซามูเอลคิดว่าซาอูลเหมาะกับตำแหน่งนี้?
22 ซามูเอลคิดว่าซาอูลเหมาะกับตำแหน่งนี้มาก เพราะนอกจากรูปร่างสูงสง่าแล้วซาอูลยังมีคุณลักษณะที่โดดเด่นด้วย. ซาอูลเป็นคนกล้าหาญและเฉลียวฉลาด แต่ขณะเดียวกันก็เจียมตัวและไม่มักใหญ่ใฝ่สูง. (1 ซามู. 10:22, 23, 27) นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้ ซาอูลยังมีสิ่งที่ล้ำค่ามาก นั่นคือเจตจำนงเสรี. เขาสามารถเลือกแนวทางชีวิตของตนและตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง. (บัญ. 30:19) เขาใช้เจตจำนงเสรีอย่างถูกต้องไหม?
23. ซาอูลสูญเสียคุณลักษณะอะไร และอะไรแสดงว่าเขากลายเป็นคนหยิ่งยโส?
23 น่าเสียดาย เมื่อคนเราลุ่มหลงในอำนาจที่ตนเพิ่งได้รับ ความเจียมตัวที่เคยมีก็จะหมดไป. ไม่นานซาอูลก็กลายเป็นคนหยิ่งยโส. เขาเลือกที่จะไม่เชื่อฟังคำสั่งของพระยะโฮวาที่ตรัสผ่านซามูเอล. ครั้งหนึ่ง ซาอูลใจร้อนไม่ยอมคอยซามูเอลและได้ถวายเครื่องบูชาที่ซามูเอลตั้งใจจะถวายแด่พระเจ้า. 1 ซามู. 13:8, 9, 13, 14
ซามูเอลจำต้องว่ากล่าวซาอูลอย่างแรงและบอกล่วงหน้าว่าเชื้อวงศ์ของเขาจะไม่ได้เป็นกษัตริย์ต่อไป. แทนที่จะสำนึกตัวเมื่อถูกว่ากล่าว ซาอูลกลับทำชั่วด้วยการขัดขืนพระบัญชาของพระเจ้ามากยิ่งขึ้น.—24. (ก) ซาอูลไม่เชื่อฟังพระยะโฮวาอย่างไรในคราวที่ยกทัพไปต่อสู้กับชาวอะมาเล็ค? (ข) ซาอูลหาเหตุผลเช่นไรเมื่อถูกว่ากล่าว และพระยะโฮวาตัดสินพระทัยอย่างไร?
24 พระยะโฮวาใช้ซามูเอลไปบอกซาอูลให้ยกทัพไปต่อสู้กับชาวอะมาเล็ค. นอกจากคำสั่งอื่น ๆ แล้วพระยะโฮวายังบัญชาให้ฆ่ากษัตริย์อะฆาฆที่ชั่วช้าด้วย. แต่ซาอูลกลับไว้ชีวิตอะฆาฆและเก็บของดี ๆ ที่ยึดมาจากเมืองนั้นไว้แทนที่จะทำลายให้หมดตามที่พระเจ้าสั่ง. เมื่อถูกซามูเอลว่ากล่าว ซาอูลแสดงให้เห็นว่าเขาเปลี่ยนไปมากจริง ๆ. แทนที่จะยอมรับการว่ากล่าวแก้ไขอย่างถ่อมใจ เขากลับหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองและพยายามแก้ตัวว่าเขาทำถูกแล้ว. นอกจากนั้น เขายังเบี่ยงเบนประเด็นและโยนความผิดให้ประชาชน. ซาอูลพยายามพูดบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับผิดโดยอ้างว่ายึดสัตว์และสิ่งของบางอย่างมาเพื่อถวายเป็นเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวา. ซามูเอลจึงกล่าวถ้อยคำซึ่งเราคุ้นเคยกันดีที่ว่า “ดูกรท่าน, การเชื่อฟังก็ประเสริฐกว่าเครื่องบูชา.” ซามูเอลตำหนิซาอูลโดยไม่หวั่นเกรงและบอกให้เขารู้ว่าพระยะโฮวาตัดสินพระทัยที่จะริบเอาตำแหน่งกษัตริย์ไปจากซาอูลและยกให้ผู้อื่นที่เหมาะสมกว่า. *—1 ซามู. 15:1-33
25, 26. (ก) เหตุใดซามูเอลเป็นทุกข์โศกเศร้าเพราะซาอูล และพระยะโฮวาแก้ไขความคิดของเขาอย่างไร? (ข) ซามูเอลได้บทเรียนอะไรตอนไปบ้านยิซัย?
25 ซามูเอลผิดหวังมากกับการกระทำของซาอูล. เขาทูลอธิษฐานต่อพระยะโฮวาถึงเรื่องที่ทุกข์ใจนั้นตลอดทั้งคืน. เขาถึงกับเป็นทุกข์โศกเศร้าเพราะกษัตริย์. ซามูเอลเคยคิดว่าซาอูลเป็นคนที่มีความสามารถมากและมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ตอนนี้ความหวังนั้นสูญสลายไป. ผู้ที่เขาเคยรู้จักได้เปลี่ยนไปแล้ว คุณสมบัติที่ดีของเขาหายไปหมดและกลายเป็นคนที่ต่อ1 ซามู. 15:34, 35; 16:1
ต้านขัดขืนพระยะโฮวา. ซามูเอลไม่ยอมไปพบซาอูลอีกเลย. แต่ต่อมาพระยะโฮวาได้แก้ไขความคิดของซามูเอลโดยตรัสอย่างนุ่มนวลว่า “ท่านจะเป็นทุกข์ร้อนด้วยซาอูลนานเท่าไร, เราได้ถอดออกจากตำแหน่งกษัตริย์ยิศราเอลแล้ว? จงเอาน้ำมันเติมในขวดเขาสัตว์ของท่านให้เต็มแล้วก็ไป, เราจะให้ท่านไปหายิซัยชาวเบธเลเฮ็ม, เหตุว่าในพวกบุตรชายของเขานั้น, เราจัดเลือกผู้หนึ่งไว้แล้วให้เป็นกษัตริย์.”—26 พระประสงค์ของพระยะโฮวาไม่ได้ขึ้นอยู่กับมนุษย์ไม่สมบูรณ์ที่มีจิตใจโลเล. ถ้าคนหนึ่งไม่ซื่อสัตย์ พระยะโฮวาก็จะหาอีกคนหนึ่งมาทำหน้าที่แทนเพื่อทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ. ดังนั้น ซามูเอลผู้ชราจึงเลิกเป็นทุกข์เพราะซาอูล. ซามูเอลไปที่บ้านของยิซัยในเบทเลเฮมตามบัญชาของพระยะโฮวาและพบบุตรชายหลายคนของยิซัยซึ่งล้วนแต่มีรูปร่างสง่างาม. พระยะโฮวาเตือนซามูเอลตั้งแต่แรกว่าอย่ามองที่รูปร่างภายนอก. (อ่าน 1 ซามูเอล 16:7 ) ในที่สุด ซามูเอลได้พบดาวิด บุตรชายคนสุดท้องของยิซัย และเขาคือผู้ที่พระยะโฮวาเลือก.
ซามูเอลเห็นว่าไม่มีปัญหาหรือความผิดหวังใด ๆ เกินความสามารถของพระยะโฮวาที่จะแก้ไขเยียวยาหรือถึงกับเปลี่ยนให้กลายเป็นความยินดีด้วยซ้ำ
27. (ก) อะไรช่วยให้ซามูเอลมีความเชื่อเข้มแข็งยิ่งขึ้น? (ข) คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับตัวอย่างของซามูเอล?
27 ในช่วงบั้นปลายชีวิต ซามูเอลได้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่าพระยะโฮวาทรงตัดสินใจถูกแล้วที่เลือกดาวิดเป็นกษัตริย์แทนซาอูล. ซาอูลกลายเป็นคนอิจฉาริษยาถึงขั้นวางแผนฆ่าดาวิดและต่อต้านพระเจ้า. แต่ดาวิดแสดงคุณลักษณะที่ดีงามหลายอย่าง เช่น ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์มั่นคง ความเชื่อ และความภักดี. เมื่อซามูเอลใกล้จะสิ้นชีพ ความเชื่อของเขาก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น. เขาเห็นว่าไม่มีปัญหาหรือความผิดหวังใด ๆ เกินความสามารถของพระยะโฮวาที่จะแก้ไขเยียวยาหรือถึงกับเปลี่ยนให้กลายเป็นความยินดีด้วยซ้ำ. ในที่สุด ซามูเอลก็สิ้นชีวิต. ช่วงชีวิตที่ยาวนานเกือบร้อยปีของเขาเต็มไปด้วยบทเรียนอันทรงคุณค่าสำหรับคนรุ่นหลัง. ไม่แปลกเลยที่ชาวอิสราเอลทั้งปวงจะร่ำไห้กับการจากไปของบุรุษผู้ซื่อสัตย์คนนี้. ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาทุกคนควรถามตัวเองว่า ‘ฉันจะเลียนแบบความเชื่อของซามูเอลไหม?’
^ วรรค 24 ซามูเอลเป็นคนลงมือสังหารอะฆาฆ. กษัตริย์ที่ชั่วช้าและครอบครัวของเขาไม่สมควรได้รับความเมตตาใด ๆ. หลายศตวรรษต่อมาลูกหลานของอะฆาฆซึ่งอาจรวมถึง “ฮามานชาวอะฆาฆ” ได้พยายามทำลายล้างประชาชนของพระเจ้าทั้งหมด.—เอศ. 8:3; ดูบท 15 และ 16