ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

บท 13

“จึง​เกิด​การ​โต้​เถียง​กัน​มาก”

“จึง​เกิด​การ​โต้​เถียง​กัน​มาก”

มี​การ​นำ​ประเด็น​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​มา​ให้​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ตัดสิน

จาก​กิจการ 15:1-12

1-3. (ก) มี​เหตุ​การณ์​อะไร​เกิด​ขึ้น​ที่​อาจ​ทำ​ให้​ประชาคม​คริสเตียน​ที่​ตั้ง​ขึ้น​ไม่​นาน​แตก​แยก​กัน? (ข) เรา​อาจ​ได้​ประโยชน์​อะไร​จาก​การ​ทบทวน​เรื่อง​นี้​ใน​หนังสือ​กิจการ?

 เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​เพิ่ง​กลับ​มา​ถึง​เมือง​อันทิโอก​ใน​แคว้น​ซีเรีย​ด้วย​ความ​ยินดี​หลัง​จาก​การ​เดิน​ทาง​ประกาศ​ใน​ต่าง​ประเทศ​รอบ​แรก พวก​เขา​ทั้ง​สอง​รู้สึก​ตื่นเต้น​ที่​พระ​ยะโฮวา “เปิด​โอกาส​ให้​คน​ต่าง​ชาติ​เข้า​มา​เชื่อ” (กจ. 14:26, 27) ยิ่ง​กว่า​นั้น มี​การ​ประกาศ​ข่าว​ดี​ตลอด​ทั่ว​เมือง​อันทิโอก และ​มี​คน​ต่าง​ชาติ “มาก​มาย” ได้​เข้า​มา​สมทบ​กับ​ประชาคม​ที่​นั่น—กจ. 11:20-26

2 หลัง​จาก​นั้น​ไม่​นาน เมื่อ​คริสเตียน​ใน​ยูเดีย​ได้​ยิน​ว่า​มี​หลาย​คน​รับ​บัพติศมา พวก​เขา​บาง​คน​กลับ​รู้สึก​ไม่​สบาย​ใจ พวก​เขา​คิด​ว่า​คริสเตียน​ทุก​คน​ควร​เข้า​สุหนัต แต่​บาง​คน​กลับ​ไม่​ได้​คิด​อย่าง​นั้น แล้ว​คริสเตียน​ชาว​ยิว​ควร​มอง​คริสเตียน​ที่​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว​ยังไง? คริสเตียน​ที่​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว​ควร​เชื่อ​ฟัง​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ไหม? ประเด็น​นี้​ทำ​ให้​เกิด​ความ​ขัด​แย้ง​อย่าง​รุนแรง​จน​อาจ​ส่ง​ผล​ให้​ประชาคม​คริสเตียน​แตก​แยก​กัน เรื่อง​นี้​จะ​ได้​รับ​การ​จัด​การ​ยังไง?

3 ตอน​ที่​เรา​ทบทวน​เรื่อง​ราว​นี้​ใน​หนังสือ​กิจการ เรา​จะ​ได้​เรียน​บทเรียน​ที่​มี​ค่า​หลาย​อย่าง ซึ่ง​อาจ​ช่วย​เรา​ให้​รู้​วิธี​จัด​การ​กับ​เรื่อง​ต่าง ๆ ที่​อาจ​ส่ง​ผล​ให้​เกิด​ความ​แตก​แยก​กัน​ใน​ประชาคม

“ถ้า​พวก​คุณ​ไม่​เข้า​สุหนัต” (กิจการ 15:1)

4. คริสเตียน​บาง​คน​มี​ความ​คิด​ผิด ๆ อะไร และ​นี่​ทำ​ให้​เกิด​คำ​ถาม​อะไร?

4 ลูกา​เขียน​ว่า “มี​บาง​คน​มา​จาก​แคว้น​ยูเดีย​และ​สอน​พี่​น้อง​ที่​เมือง​อันทิโอก​ว่า ‘ถ้า​พวก​คุณ​ไม่​เข้า​สุหนัต​ตาม​ธรรมเนียม​ของ​โมเสส พวก​คุณ​จะ​ไม่​รอด​นะ’” (กจ. 15:1) เรา​ไม่​รู้​ว่า “บาง​คน . . . จาก​แคว้น​ยูเดีย” ที่​พูด​ถึง​ใน​ข้อ​นี้​เคย​เป็น​พวก​ฟาริสี​ก่อน​ที่​พวก​เขา​เข้า​มา​เป็น​คริสเตียน​หรือ​ไม่ แต่​อย่าง​น้อย ดู​เหมือน​ว่า​พวก​เขา​ได้​รับ​อิทธิพล​จาก​แนว​คิด​ของ​พวก​ฟาริสี เพราะ​คน​พวก​นี้​เคร่งครัด​ใน​กฎ​ข้อ​บังคับ นอกจากนั้น พวก​เขา​อาจ​อ้าง​ว่า​สิ่ง​ที่​พวก​เขา​สอน​มา​จาก​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม (กจ. 15:23, 24) แต่​ทั้ง ๆ ที่​พระเจ้า​ช่วย​ให้​เปโตร​เห็น​ชัดเจน​มา 13 ปี​แล้ว​ว่า พระองค์​ยอม​รับ​คน​ต่าง​ชาติ​ที่​ไม่​ได้​เข้า​สุหนัต​ให้​เข้า​มา​เป็น​คริสเตียน แล้ว​ทำไม​ชาว​ยิว​ที่​เป็น​คริสเตียน​หลาย​คน​ยัง​คง​อยาก​ให้​คริสเตียน​ทุก​คน​เข้า​สุหนัต? aกจ. 10:24-29, 44-48

5, 6. (ก) ทำไม​คริสเตียน​ชาว​ยิว​บาง​คน​ยัง​มอง​ว่า​คริสเตียน​ทุก​คน​ต้อง​เข้า​สุหนัต? (ข) สัญญา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​สัญญา​ที่​พระเจ้า​ทำ​กับ​อับราฮัม​ไหม? (ดู​เชิงอรรถ)

5 อาจ​มี​เหตุ​ผล​หลาย​อย่าง อย่าง​แรก พระ​ยะโฮวา​เป็น​ผู้​ริเริ่ม​ให้​มี​การ​เข้า​สุหนัต และ​การ​เข้า​สุหนัต​เป็น​เครื่องหมาย​แสดง​ว่า​พวก​เขา​มี​ความ​สัมพันธ์​ที่​พิเศษ​กับ​พระองค์ พระองค์​สั่ง​ให้​อับราฮัม​และ​ผู้​ชาย​ทุก​คน​ใน​ครอบครัว​ของ​เขา​เข้า​สุหนัต แล้ว​หลัง​จาก​นั้น​พระองค์​ก็​สั่ง​ให้​ชาว​อิสราเอล​ทุก​คน​ทำ​แบบ​เดียว​กัน b (ลนต. 12:2, 3) ภาย​ใต้​กฎหมาย​ของ​โมเสส แม้​แต่​คน​ต่าง​ชาติ​ก็​ต้อง​เข้า​สุหนัต​ก่อน​ที่​พวก​เขา​จะ​ได้​รับ​สิทธิ​พิเศษ​บาง​อย่าง เช่น การ​กิน​อาหาร​ปัสกา (อพย. 12:43, 44, 48, 49) ที่​จริง ชาว​ยิว​มอง​ว่า​ผู้​ชาย​ที่​ไม่​ได้​เข้า​สุหนัต​เป็น​คน​ไม่​สะอาด​และ​น่า​รังเกียจ—อสย. 52:1

6 ดังนั้น ชาว​ยิว​ที่​เข้า​มา​เป็น​คริสเตียน​ทุก​คน​ต้อง​มี​ความ​เชื่อ​และ​ความ​ถ่อม เพื่อ​พวก​เขา​จะ​ปรับ​เปลี่ยน​ความ​คิด​ให้​ตรง​กับ​พระ​ยะโฮวา สัญญา​ใหม่​ได้​เข้า​มา​แทน​ที่​สัญญา​ที่​เกี่ยว​กับ​กฎหมาย​ของ​โมเสส ดังนั้น ผู้​ที่​เกิด​เป็น​คน​ยิว​ก็​ไม่​ได้​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ประชาชน​ของ​พระเจ้า​โดย​อัตโนมัติ​อีก​ต่อ​ไป นอกจากนั้น ชาว​ยิว​ที่​เข้า​มา​เป็น​คริสเตียน​หลาย​คน​ยัง​อาศัย​อยู่​ใน​ชุมชน​ชาว​ยิว ดังนั้น พวก​เขา​ต้อง​มี​ความ​กล้า​หาญ​เพื่อ​จะ​เข้า​มา​เป็น​สาวก​ของ​พระ​เยซู และ​นมัสการ​พระเจ้า​ด้วย​กัน​กับ​คน​ต่าง​ชาติ​ที่​ไม่​ได้​เข้า​สุหนัต—ยรม. 31:31-33; ลก. 22:20

7. “บาง​คน . . . จาก​แคว้น​ยูเดีย” ไม่​เข้าใจ​ความ​จริง​อะไร?

7 แน่นอน เรา​รู้​ว่า​พระเจ้า​ไม่​เปลี่ยน​แปลง​มาตรฐาน​ของ​พระองค์ เพราะ​หลักการ​พื้น​ฐาน​ใน​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ก็​รวม​อยู่​ใน​สัญญา​ใหม่​ด้วย (มธ. 22:36-40) ตัวอย่าง​เช่น ต่อ​มา​เปาโล​ได้​เขียน​เกี่ยว​กับ​การ​เข้า​สุหนัต​ว่า “คน​ยิว​แท้​เป็น​คน​ยิว​จาก​ภาย​ใน และ​การ​เข้า​สุหนัต​ของ​เขา​ก็​ทำ​ที่​หัวใจ ด้วย​พลัง​ของ​พระเจ้า ไม่​ใช่​แค่​ทำ​ตาม​ตัว​บท​กฎหมาย” (รม. 2:29; ฉธบ. 10:16) “บาง​คน . . . จาก​แคว้น​ยูเดีย” ไม่​เข้าใจ​ความ​จริง​นี้ แต่​พวก​เขา​กลับ​ยืนกราน​ว่า​พระเจ้า​ไม่​เคย​ยก​เลิก​กฎหมาย​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต พวก​เขา​จะ​ยอม​ฟัง​เหตุ​ผล​ไหม?

“ไม่​เห็น​ด้วย . . . จึง​เกิด​การ​โต้​เถียง​กัน” (กิจการ 15:2)

8. ทำไม​จึง​มี​การ​นำ​ประเด็น​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​ไป​ถาม​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม?

8 ลูกา​เล่า​ต่อ​ไป​ว่า “เปาโล​และ​บาร์นาบัส​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​พวก​เขา [บาง​คน​จาก​แคว้น​ยูเดีย] จึง​เกิด​การ​โต้​เถียง​กัน​มาก แล้ว​เปาโล บาร์นาบัส กับ​พี่​น้อง​บาง​คน​ก็​ได้​รับ​มอบหมาย​ให้​ไป​ถาม​พวก​อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้” c (กจ. 15:2) คำ​ว่า ‘ไม่​เห็น​ด้วย​และ​โต้​เถียง​กัน’ ทำ​ให้​เรา​เข้าใจ​ว่า​ตอน​นั้น​พวก​เขา​เชื่อ​มั่น​ว่า​ความ​คิด​ของ​ตัว​เอง​เป็น​ฝ่าย​ถูก และ​มี​ความ​รู้สึก​ที่​รุนแรง​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้ ประชาคม​ใน​อันทิโอก​จัด​การ​กับ​เรื่อง​นี้​ไม่​ได้ ดังนั้น เพื่อ​รักษา​ความ​สงบ​สุข​และ​ความ​เป็น​หนึ่ง​เดียว​กัน ประชาคม​ได้​ใช้​วิธี​ที่​ฉลาด​สุขุม​จัด​การ​กับ​เรื่อง​นี้ พวก​เขา​เสนอ​ว่า​ควร​เอา​เรื่อง​นี้​ไป​ถาม “อัครสาวก​และ​ผู้​ดู​แล​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม” ซึ่ง​คน​กลุ่ม​นี้​เป็น​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​สมัย​นั้น เรา​ได้​เรียน​อะไร​จาก​พวก​ผู้​ดู​แล​ใน​เมือง​อันทิโอก?

บาง​คน​ยืนกราน​ว่า “ต้อง​ให้​คน​ต่าง​ชาติ​พวก​นั้น​เข้า​สุหนัต และ​สั่ง​ให้​ทำ​ตาม​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ด้วย”

9, 10. พวก​พี่​น้อง​ใน​เมือง​อันทิโอก และ​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ได้​วาง​ตัวอย่าง​ที่​ดี​อะไร​สำหรับ​พวก​เรา​ใน​ทุก​วัน​นี้?

9 บทเรียน​ที่​มี​ค่า​อย่าง​หนึ่ง​ที่​เรา​ได้​เรียน​ก็​คือ เรา​ต้อง​ไว้​วางใจ​องค์การ​ของ​พระเจ้า ลอง​คิด​ดู​สิ​ว่า พวก​พี่​น้อง​ใน​อันทิโอก​เอง​ก็​รู้​ดี​ว่า​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ทุก​คน​เป็น​คริสเตียน​ชาว​ยิว แต่​พวก​เขา​ก็​ไว้​วางใจ​ว่า​พี่​น้อง​กลุ่ม​นี้​จะ​ตัดสิน​ปัญหา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​ตาม​หลัก​พระ​คัมภีร์ ทำไม​พวก​เขา​ถึง​มั่น​ใจ​อย่าง​นั้น? พี่​น้อง​ใน​ประชาคม​มั่น​ใจ​ว่า​พระ​ยะโฮวา​จะ​ชี้​นำ​เรื่อง​ต่าง ๆ โดย​ทาง​พลัง​บริสุทธิ์​ของ​พระองค์ และ​โดย​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์ ผู้​นำ​ของ​ประชาคม​คริสเตียน (มธ. 28:18, 20; อฟ. 1:22, 23) คล้าย​กัน เมื่อ​เกิด​ประเด็น​สำคัญ​ขึ้น​ใน​ทุก​วัน​นี้ ขอ​ให้​เรา​เลียน​แบบ​ตัวอย่าง​ที่​ดี​ของ​พี่​น้อง​ใน​เมือง​อันทิโอก เรา​ต้อง​วางใจ​องค์การ​ของ​พระเจ้า และ​วางใจ​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ที่​ประกอบ​ด้วย​คริสเตียน​ผู้​ถูก​เจิม พวก​เขา​เป็น​ทาส​ที่​ซื่อสัตย์​และ​สุขุม​ที่​พระ​เยซู​แต่ง​ตั้ง

10 เรา​ยัง​ได้​เรียน​ด้วย​ว่า​ความ​ถ่อม​ตัว​และ​ความ​อดทน​เป็น​คุณลักษณะ​ที่​สำคัญ เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ได้​รับ​การ​แต่ง​ตั้ง​โดย​พลัง​บริสุทธิ์​เพื่อ​ให้​ไป​หา​คน​ต่าง​ชาติ​โดย​เฉพาะ แต่​ตอน​อยู่​ที่​อันทิโอก พวก​เขา​ทั้ง​สอง​ก็​ไม่​ได้​คิด​ว่า​ตัว​เอง​มี​สิทธิ์​ที่​จะ​ตัดสิน​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต (กจ. 13:2, 3) ยิ่ง​กว่า​นั้น เปาโล​ได้​เขียน​ใน​ภาย​หลัง​ว่า “ผม​ไป​ที่​นั่น [เยรูซาเล็ม] ตาม​ที่​ได้​รับ​การ​เปิด​เผย​จาก​สวรรค์” นี่​แสดง​ว่า​เปาโล​ก็​ได้​รับ​การ​ชี้​นำ​จาก​พระเจ้า​ใน​เรื่อง​นั้น (กท. 2:2) เมื่อ​มี​ปัญหา​ที่​อาจ​ทำ​ให้​เกิด​ความ​แตก​แยก​ขึ้น ผู้​ดู​แล​ใน​ทุก​วัน​นี้​ต้อง​พยายาม​เลียน​แบบ​ความ​ถ่อม​ตัว​และ​ความ​อดทน​อย่าง​เดียว​กัน แทน​ที่​จะ​โต้​เถียง​กัน พวก​เขา​พึ่ง​พระ​ยะโฮวา​โดย​ค้น​ดู​คัมภีร์​ไบเบิล และ​ค้นคว้า​คำ​แนะ​นำ​ที่​มา​จาก​ทาส​ที่​ซื่อสัตย์​และ​สุขุม—ฟป. 2:2, 3

11, 12. ทำไม​สำคัญ​ที่​เรา​จะ​รอ​พระ​ยะโฮวา?

11 บาง​ครั้ง เรา​อาจ​ต้อง​รอ​ให้​พระ​ยะโฮวา​เปิด​เผย​ความ​เข้าใจ​บาง​อย่าง​ให้​ชัดเจน​ขึ้น ขอ​จำ​ไว้​ว่า​พวก​พี่​น้อง​ใน​สมัย​ของ​เปาโล​ต้อง​รอ​จน​ถึง​ประมาณ​ปี ค.ศ. 49 ตั้งแต่​ตอน​ที่​โคร์เนลิอัส​ถูก​เจิม​ใน​ปี ค.ศ. 36 ต้อง​ใช้​เวลา​ถึง​ประมาณ 13 ปี​ก่อน​ที่​พระ​ยะโฮวา​จะ​ช่วย​ทุก​คน​ให้​เข้าใจ​ว่า คน​ที่​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว​ทุก​คน​ไม่​ต้อง​เข้า​สุหนัต​แล้ว ทำไม​ถึง​ต้อง​ใช้​เวลา​นาน​ขนาด​นั้น? เป็น​ไป​ได้​ว่า​พระ​ยะโฮวา​อยาก​ให้​คริสเตียน​ชาว​ยิว​มี​เวลา​มาก​พอ​ที่​พวก​เขา​จะ​เปลี่ยน​ความ​คิด ที่​จริง สัญญา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​มี​ผล​บังคับ​ใช้​มา​เป็น​เวลา 1,900 ปี​แล้ว และ​นี่​เป็น​สัญญา​ที่​พระเจ้า​ทำ​กับ​อับราฮัม​บรรพบุรุษ​ที่​พวก​เขา​รัก​และ​เคารพ​ด้วย นี่​จึง​เป็น​การ​ปรับ​เปลี่ยน​ครั้ง​ใหญ่​สำหรับ​พวก​เขา​จริง ๆ—ยน. 16:12

12 เป็น​สิทธิ​พิเศษ​จริง ๆ ที่​พระ​ยะโฮวา​อดทน​สอน​เรา และ​ช่วย​เรา​ด้วย​ความ​รัก​ให้​คิด​เหมือน​กับ​พระองค์ ถ้า​เรา​เชื่อ​ฟัง​พระเจ้า เรา​ก็​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​อย่าง​แน่นอน (อสย. 48:17, 18; 64:8) ดังนั้น ขอ​เรา​อย่า​หยิ่ง​และ​ยึด​ติด​กับ​ความ​คิด​เห็น​ของ​ตัว​เอง หรือ​วิพากย์​วิจารณ์​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยน​แปลง​บาง​อย่าง​ใน​องค์การ หรือ​เมื่อ​มี​การ​ปรับ​เปลี่ยน​ความ​เข้าใจ​ใหม่ (ปญจ. 7:8) ถ้า​เรา​รู้สึก​ว่า​ตัว​เรา​มี​แนว​โน้ม​แบบ​นี้ เรา​ควร​คิด​อย่าง​จริงจัง​เกี่ยว​กับ​สิ่ง​ที่​เรา​ได้​เรียน​ใน​หนังสือ​กิจการ​บท 15 และ​อธิษฐาน​ขอ​ให้​พระ​ยะโฮวา​ช่วย​เรา​ให้​เอา​บทเรียน​ที่​ได้​ไป​ใช้ d

13. เรา​จะ​เลียน​แบบ​ความ​อดทน​ของ​พระ​ยะโฮวา​ใน​งาน​รับใช้​ของ​เรา​ได้​ยังไง?

13 เรา​อาจ​ต้อง​อดทน​ตอน​ที่​นัก​ศึกษา​รู้สึก​ว่า​ยาก​จะ​ทิ้ง​ความ​เชื่อ​ผิด ๆ หรือ​เลิก​ทำ​ตาม​ธรรมเนียม​ที่​พวก​เขา​ทำ​มา​นาน​ซึ่ง​ขัด​กับ​คัมภีร์​ไบเบิล เมื่อ​มี​เรื่อง​แบบ​นี้​เกิด​ขึ้น เรา​อาจ​ต้อง​พยายาม​ช่วย​เขา​อย่าง​อดทน​ต่อ ๆ ไป และ​ดู​ว่า​พวก​เขา​จะ​ยอม​ให้​พลัง​บริสุทธิ์​ช่วย​พวก​เขา​ให้​เปลี่ยน​ไหม (1 คร. 3:6, 7) นอกจากนั้น เรา​ควร​อธิษฐาน​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้​ด้วย เพราะ​ใน​ที่​สุด​พระ​ยะโฮวา​จะ​ช่วย​เรา​ให้​เห็น​ชัดเจน​ว่า​อะไร​เป็น​วิธี​ที่​ดี​ที่​สุด​ที่​จะ​ช่วย​เขา​ได้—1 ยน. 5:14

พวก​เขา​เล่า​ประสบการณ์​ที่​ให้​กำลังใจ “อย่าง​ละเอียด” (กิจการ 15:3-5)

14, 15. (ก) ประชาคม​ใน​เมือง​อันทิโอก​ได้​ให้​เกียรติ​เปาโล บาร์นาบัส และ​เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​คน​อื่น ๆ ยังไง? (ข) เปาโล​กับ​เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​ของ​เขา​ได้​ให้​กำลังใจ​คน​อื่น​ยังไง?

14 ลูกา​เล่า​ต่อ​ไป​ว่า “หลัง​จาก​พี่​น้อง​ใน​ประชาคม​เดิน​ทาง​ไป​ส่ง​พวก​เขา​ช่วง​หนึ่ง​แล้ว พวก​เขา​ก็​เดิน​ทาง​ต่อ​ไป​ผ่าน​ฟีนิเซีย​กับ​แคว้น​สะมาเรีย ระหว่าง​ทาง​พวก​เขา​เล่า​เรื่อง​ที่​คน​ต่าง​ชาติ​เปลี่ยน​มา​เชื่อ​พระเจ้า​ให้​พี่​น้อง​ฟัง​อย่าง​ละเอียด ทำ​ให้​ทุก​คน​ดีใจ​มาก” (กจ. 15:3) การ​ที่​ประชาคม​เดิน​ทาง​ไป​ส่ง​เปาโล บาร์นาบัส และ​เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​คน​อื่น ๆ ช่วง​หนึ่ง​นั้น เป็น​การ​แสดง​ให้​เห็น​ว่า พี่​น้อง​ใน​ประชาคม​รัก และ​ให้​เกียรติ​พวก​เขา นอกจากนั้น ยัง​เป็น​การ​แสดง​ว่า​พี่​น้อง​อยาก​ให้​พระเจ้า​อวยพร​พวก​เขา​ด้วย พวก​พี่​น้อง​ใน​อันทิโอก​ได้​วาง​ตัวอย่าง​ที่​ดี​สำหรับ​พวก​เรา​จริง ๆ! คุณ​ให้​เกียรติ​พี่​น้อง​ชาย​หญิง​คริสเตียน “โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​คน​ที่​ทำ​งาน​หนัก [ผู้​ดู​แล] ใน​การ​พูด​และ​การ​สอน” ไหม?—1 ทธ. 5:17

15 ระหว่าง​เดิน​ทาง เปาโล​กับ​เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​ของ​เขา​ได้​ให้​กำลังใจ​เพื่อน​คริสเตียน​ใน​แคว้น​ฟีนิเซีย​กับ​แคว้น​สะมาเรีย​โดย​การ​เล่า​ประสบการณ์​ให้​พวก​เขา​ฟัง “อย่าง​ละเอียด” ว่า​คน​ต่าง​ชาติ​ได้​เข้า​มา​เป็น​คริสเตียน​ยังไง พวก​พี่​น้อง​ที่​ได้​ยิน​ประสบการณ์​เหล่า​นี้​อาจ​เป็น​คริสเตียน​ชาว​ยิว​ที่​ได้​หนี​ไป​ยัง​แคว้น​เหล่า​นั้น​หลัง​จาก​ที่​สเทเฟน​ตาย​เพราะ​ความ​เชื่อ พวก​เรา​ใน​ทุก​วัน​นี้​ก็​เหมือน​กัน เรา​ได้​กำลังใจ​จริง ๆ เมื่อ​ได้​ยิน​ว่า​พระ​ยะโฮวา​อวยพร​งาน​สอน​ที่​พี่​น้อง​ของ​เรา​ทำ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ตอน​ที่​เรา​ต้อง​เจอ​กับ​ความ​ลำบาก คุณ​ได้​รับ​ประโยชน์​อย่าง​เต็ม​ที่​จาก​ประสบการณ์​เหล่า​นั้น โดย​เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​ประชาคม ประชุม​ใหญ่​ต่าง ๆ หรือ​อ่าน​ประสบการณ์ และ​เรื่อง​ราว​ชีวิต​จริง​ใน​หนังสือ​ของ​เรา​ไหม? มี​ประสบการณ์​ดี ๆ แบบ​นั้น​ทั้ง​ใน​หนังสือ​ของ​เรา​หรือ​ใน​เว็บไซต์ jw.org

16. อะไร​แสดง​ว่า​ปัญหา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​ได้​กลาย​เป็น​ประเด็น​สำคัญ?

16 หลัง​จาก​เดิน​ทาง​ลง​ใต้​ไป​ประมาณ 550 กิโลเมตร ตัว​แทน​ของ​พี่​น้อง​จาก​อันทิโอก​ก็​มา​ถึง​จุด​หมาย​ปลาย​ทาง ลูกา​บอก​ว่า “พอ​มา​ถึง​กรุง​เยรูซาเล็ม ประชาคม​ที่​นั่น​และ​พวก​อัครสาวก​รวม​ทั้ง​ผู้​ดู​แล​ก็​ต้อนรับ​พวก​เขา​อย่าง​อบอุ่น แล้ว​เปาโล​กับ​บาร์นาบัส​ก็​เล่า​เรื่อง​ทั้ง​หมด​ที่​พระเจ้า​ใช้​ให้​ทั้ง​สอง​คน​ทำ” (กจ. 15:4) อย่างไร​ก็​ตาม “สาวก​บาง​คน​ที่​เคย​นับถือ​นิกาย​ฟาริสี​มา​ก่อน​ได้​ลุก​ขึ้น​พูด​ว่า ‘ต้อง​ให้​คน​ต่าง​ชาติ​พวก​นั้น​เข้า​สุหนัต และ​สั่ง​ให้​ทำ​ตาม​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ด้วย’” (กจ. 15:5) เห็น​ได้​ชัด ปัญหา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​ของ​คริสเตียน​ซึ่ง​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว​ได้​กลาย​เป็น​ประเด็น​สำคัญ​ที่​ต้อง​จัด​การ​ให้​เรียบร้อย

“พวก​อัครสาวก​กับ​ผู้​ดู​แล​จึง​ประชุม​กัน” (กิจการ 15:6-12)

17. มี​ใคร​บ้าง​ที่​อยู่​ใน​กลุ่ม​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม และ​ทำไม​ถึง​มี “ผู้​ดู​แล” รวม​อยู่​ด้วย?

17 สุภาษิต 13:10 บอก​ว่า “คน​ที่​เสาะ​หา​คำ​แนะ​นำ​จะ​มี​สติ​ปัญญา” นี่​คือ​สิ่ง​ที่​พวก​อัครสาวก​กับ​ผู้​ดู​แล​ทำ พวก​เขา “ประชุม​กัน​เพื่อ​พิจารณา​เรื่อง​นี้ [ปัญหา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต]” (กจ. 15:6) เหมือน​กับ​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​ทุก​วัน​นี้ “พวก​อัครสาวก​กับ​ผู้​ดู​แล” ได้​ทำ​หน้า​ที่​เป็น​ตัว​แทน​เพื่อ​ตัดสิน​เรื่อง​ต่าง ๆ ของ​ประชาคม​คริสเตียน​ทั้ง​หมด แต่​ทำไม “ผู้​ดู​แล” จึง​รับใช้​ด้วย​กัน​กับ​พวก​อัครสาวก? เรา​จำ​ได้​ว่า​อัครสาวก​ยากอบ​ได้​ถูก​ประหาร​ชีวิต​ไป​แล้ว และ​อัครสาวก​เปโตร​ได้​ถูก​จำ​คุก​ช่วง​หนึ่ง และ​เป็น​ไป​ได้​ว่า​อัครสาวก​คน​อื่น ๆ อาจ​เจอ​ปัญหา​คล้าย ๆ กัน ดังนั้น การ​มี​พี่​น้อง​ชาย​ผู้​ถูก​เจิม​คน​อื่น ๆ ที่​มี​คุณสมบัติ​เข้า​ร่วม​ประชุม​กัน​เพื่อ​พิจารณา​เรื่อง​นี้​จะ​ช่วย​ให้​พี่​น้อง​ใน​ตอน​นั้น​มั่น​ใจ​ว่า จะ​มี​พี่​น้อง​ชาย​ที่​ถูก​เจิม​ดู​แล​เรื่อง​นี้​ต่อ​ไป​ได้

18, 19. เปโตร​พูด​อย่าง​มี​พลัง​ยังไง และ​คน​ที่​ฟัง​เขา​น่า​จะ​ได้​ข้อ​สรุป​อะไร?

18 ลูกา​เล่า​ต่อ​ไป​ว่า “หลัง​จาก​ที่​คุย​กัน​อย่าง​เคร่ง​เครียด​แล้ว เปโตร​จึง​ลุก​ขึ้น​พูด​กับ​พวก​เขา​ว่า ‘พี่​น้อง​ครับ พวก​คุณ​ก็​รู้​ว่า​ใน​พวก​เรา พระเจ้า​เลือก​ผม​เป็น​คน​แรก​ให้​ประกาศ​ข่าว​ดี​กับ​คน​ต่าง​ชาติ​และ​ช่วย​เขา​ให้​เข้า​มา​เชื่อ และ​พระเจ้า​ซึ่ง​รู้​จัก​หัวใจ​ทุก​คน​ได้​ให้​หลักฐาน​ว่า​พระองค์​ยอม​รับ​คน​ต่าง​ชาติ โดย​ให้​พลัง​บริสุทธิ์​กับ​พวก​เขา​เหมือน​ที่​ให้​กับ​พวก​เรา พระองค์​ไม่​ได้​ถือ​ว่า​พวก​เขา​ต่าง​จาก​พวก​เรา​เลย พระองค์​ได้​ชำระ​ล้าง​ใจ​พวก​เขา​ให้​สะอาด​เพราะ​พวก​เขา​มี​ความ​เชื่อ’” (กจ. 15:7-9) หนังสือ​อ้างอิง​เล่ม​หนึ่ง​บอก​ว่า คำ​ภาษา​กรีก​ที่​ได้​รับ​การ​แปล​ว่า “คุย​กัน​อย่าง​เคร่ง​เครียด” ใน​ข้อ 7 ยัง​หมาย​ถึง “การ​แสวง​หา การ​ซัก​ถาม” ถึง​แม้​พวก​พี่​น้อง​จะ​มี​ความ​คิด​เห็น​ที่​แตกต่าง​กัน แต่​พวก​เขา​ก็​เต็ม​ใจ​พิจารณา​เรื่อง​นั้น​อย่าง​ตรง​ไป​ตรง​มา

19 คำ​พูด​ที่​มี​พลัง​ของ​เปโตร​เตือน​ให้​ทุก​คน​รู้​ว่า ตัว​เขา​ก็​อยู่​ใน​เหตุ​การณ์​ตอน​ที่​คน​ต่าง​ชาติ​ที่​ไม่​ได้​เข้า​สุหนัต​กลุ่ม​แรก​ได้​รับ​การ​เจิม​ด้วย​พลัง​บริสุทธิ์​ใน​ปี ค.ศ. 36 คน​ต่าง​ชาติ​กลุ่ม​นี้​ก็​คือ​โคร์เนลิอัส​และ​ครอบครัว​ของ​เขา ดังนั้น ถ้า​พระ​ยะโฮวา​ไม่​ได้​มอง​ว่า​ชาว​ยิว​กับ​คน​ที่​ไม่​ใช่​ยิว​แตกต่าง​กัน​อีก​ต่อ​ไป แล้ว​มนุษย์​มี​สิทธิ์​อะไร​ที่​จะ​มอง​ว่า​พวก​เขา​แตกต่าง​กัน? ยิ่ง​กว่า​นั้น คำ​พูด​ของ​เปโตร​ยัง​แสดง​ให้​เห็น​ว่า การ​ที่​คน​เรา​จะ​สะอาด​ใน​สายตา​ของ​พระเจ้า ไม่​ได้​เป็น​เพราะ​เขา​ทำ​ตาม​กฎหมาย​ของ​โมเสส แต่​เป็น​เพราะ​เขา​มี​ความ​เชื่อ​ใน​พระ​คริสต์—กท. 2:16

20. พวก​ผู้​ส่ง​เสริม​การ​เข้า​สุหนัต​กำลัง “ลอง​ดี​พระเจ้า” ยังไง?

20 โดย​อาศัย​ถ้อย​คำ​ของ​พระเจ้า​และ​พลัง​บริสุทธิ์ เปโตร​ได้​สรุป​ว่า “ถ้า​อย่าง​นั้น ทำไม​พวก​คุณ​ถึง​ลอง​ดี​พระเจ้า​ด้วย​การ​วาง​ภาระ​หนัก​ให้​พวก​สาวก ซึ่ง​เป็น​ภาระ​ที่​พวก​เรา​เอง​หรือ​บรรพบุรุษ​ของ​พวก​เรา​ก็​แบก​ไม่​ไหว? แต่​พวก​เรา​เชื่อ​ว่า​เรา​รอด​ได้​เพราะ​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ของ​พระ​เยซู​ผู้​เป็น​นาย และ​พวก​เขา​ก็​เชื่อ​อย่าง​นี้​เหมือน​กัน” (กจ. 15:10, 11) ที่​จริง พวก​ผู้​ส่ง​เสริม​การ​เข้า​สุหนัต​กำลัง “ลอง​ดี​พระเจ้า” หรือ​ทดสอบ​ความ​อดทน​ของ​พระองค์ พวก​เขา​พยายาม​กดดัน​ให้​คน​ต่าง​ชาติ​ทำ​ตาม​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ทุก​ข้อ ทั้ง ๆ ที่​ตัว​พวก​เขา​เอง​ที่​เป็น​ชาว​ยิว​ก็​ยัง​ทำ​ไม่​ได้ นี่​ทำ​ให้​พวก​เขา​มี​โทษ​ถึง​ตาย (กท. 3:10) แทน​ที่​จะ​ส่ง​เสริม​การ​เข้า​สุหนัต ชาว​ยิว​ที่​ฟัง​เปโตร​น่า​จะ​ขอบคุณ​พระเจ้า​สำหรับ​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ที่​พระองค์​แสดง​ผ่าน​ทาง​พระ​เยซู

21. บาร์นาบัส​กับ​เปาโล​พูด​อะไร​ที่​ช่วย​ให้​พี่​น้อง​ตัดสิน​ใจ​ได้​ดี​ขึ้น?

21 ดู​เหมือน​ว่า สิ่ง​ที่​เปโตร​พูด​ช่วย​ให้​คน​ที่​ฟัง​เขา​คิด เพราะ​คัมภีร์​ไบเบิล​บอก​ว่า “ทุก​คน​ก็​เงียบ และ​ตั้งใจ​ฟัง” ต่อ​จาก​นั้น บาร์นาบัส​กับ​เปาโล​ได้​เล่า “เรื่อง​ที่​พระเจ้า​ใช้​เขา​สอง​คน​ให้​ทำ​การ​อัศจรรย์​และ​แสดง​ปาฏิหาริย์​หลาย​อย่าง​ใน​หมู่​คน​ต่าง​ชาติ” (กจ. 15:12) ใน​ที่​สุด ก็​ถึง​เวลา​แล้ว​ที่​พวก​อัครสาวก​กับ​ผู้​ดู​แล​จะ​ประเมิน​ดู​หลักฐาน​ทั้ง​หมด และ​ตัดสิน​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​ใน​แบบ​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ

22-24. (ก) คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​ทุก​วัน​นี้​ติด​ตาม​แบบ​อย่าง​ของ​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ใน​ศตวรรษ​แรก​ยังไง? (ข) ผู้​ดู​แล​ทุก​คน​จะ​แสดง​ยังไง​ว่า​พวก​เขา​อยาก​จะ​ตัดสิน​ใจ​เรื่อง​ต่าง ๆ ใน​แบบ​ที่​ทำ​ให้​พระ​ยะโฮวา​พอ​ใจ?

22 ใน​ทุก​วัน​นี้​ก็​เหมือน​กัน ตอน​ที่​สมาชิก​ของ​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​ประชุม​กัน พวก​เขา​จะ​พึ่ง​การ​ชี้​นำ​จาก​ถ้อย​คำ​ของ​พระเจ้า และ​อธิษฐาน​ขอ​พลัง​บริสุทธิ์​อย่าง​จริงจัง (สด. 119:105; มธ. 7:7-11) เพื่อ​จะ​ทำ​อย่าง​นั้น​ได้ สมาชิก​แต่​ละ​คน​ของ​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​จะ​ได้​รับ​หัวข้อ​การ​ประชุม​ล่วง​หน้า เพื่อ​เขา​จะ​คิด​ใคร่ครวญ​และ​อธิษฐาน​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ต่าง ๆ ที่​พวก​เขา​จะ​พิจารณา​กัน (สภษ. 15:28) ตอน​ที่​ประชุม พี่​น้อง​ชาย​ที่​ถูก​เจิม​เหล่า​นี้​ออก​ความ​เห็น​อย่าง​อิสระ​ด้วย​ความ​นับถือ และ​ระหว่าง​ที่​พูด​คุย​กัน​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ต่าง ๆ พวก​เขา​ก็​จะ​ใช้​คัมภีร์​ไบเบิล​เสมอ

23 ผู้​ดู​แล​ใน​ประชาคม​ก็​ควร​เลียน​แบบ​ตัวอย่าง​นี้​ด้วย และ​หลัง​จาก​การ​ประชุม​ของ​พวก​ผู้​ดู​แล ถ้า​ยัง​มี​เรื่อง​สำคัญ​บาง​เรื่อง​ที่​ยัง​หา​ข้อ​สรุป​ไม่​ได้ คณะ​ผู้​ดู​แล​อาจ​ปรึกษา​สำนักงาน​สาขา หรือ​ปรึกษา​ตัว​แทน​ที่​ได้​รับ​การ​แต่ง​ตั้ง​จาก​สาขา เช่น ผู้​ดู​แล​หมวด หลัง​จาก​นั้น ถ้า​จำเป็น สำนักงาน​สาขา​ก็​อาจ​เขียน​ถึง​คณะ​กรรมการ​ปกครอง

24 เห็น​ได้​ชัด​เลย​ว่า พระ​ยะโฮวา​อวยพร​คน​เหล่า​นั้น​ที่​ทำ​ตาม​การ​ชี้​นำ​ที่​มา​ทาง​องค์การ​ของ​พระองค์​และ​ทาง​ประชาคม และ​พระองค์​อวยพร​คน​ที่​ถ่อม​ตัว ภักดี และ​อดทน ใน​บท​ถัด​ไป เรา​จะ​ดู​ด้วย​กัน​ว่า ถ้า​เรา​ทำ​ตาม​การ​ชี้​นำ​จาก​พระ​ยะโฮวา พระองค์​จะ​ช่วย​ให้​เรา​มี​สันติ​สุข​และ​เป็น​หนึ่ง​เดียว​กัน นอกจากนั้น พระองค์​ยัง​ช่วย​ให้​ประชาคม​ก้าว​หน้า​มาก​ขึ้น​ด้วย

b สัญญา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต​ไม่​ได้​เป็น​ส่วน​ของ​สัญญา​ที่​พระเจ้า​ทำ​กับ​อับราฮัม ซึ่ง​ยัง​คง​มี​ผล​บังคับ​ใช้​จน​ถึง​ทุก​วัน​นี้ สัญญา​ที่​พระเจ้า​ทำ​กับ​อับราฮัม​เริ่ม​มี​ผล​บังคับ​ใช้​ใน​ปี 1943 ก่อน ค.ศ. ซึ่ง​เป็น​ตอน​ที่​อับราฮัม (ตอน​นั้น​ชื่อ​อับราม) ได้​ข้าม​แม่น้ำ​ยูเฟรติส​ไป​ยัง​คานาอัน ตอน​นั้น​เขา​อายุ 75 ปี ต่อ​มา​ได้​มี​การ​ทำ​สัญญา​เรื่อง​การ​เข้า​สุหนัต ใน​ปี 1919 ก่อน ค.ศ. ตอน​นั้น​อับราฮัม​อายุ 99 ปี—ปฐก. 12:1-8; 17:1, 9-14; กท. 3:17

c ดู​เหมือน​ว่า​ทิตัส คริสเตียน​ชาว​กรีก​เป็น​พี่​น้อง​คน​หนึ่ง​ที่​ถูก​ส่ง​ไป​ด้วย ภาย​หลัง​ทิตัส​เป็น​เพื่อน​และ​ตัว​แทน​ที่​ไว้​ใจ​ได้​ของ​เปาโล (กท. 2:1; ทต. 1:4) ผู้​ชาย​คน​นี้​ไม่​ได้​เข้า​สุหนัต แต่​เขา​ก็​ถูก​เจิม​ด้วย​พลัง​บริสุทธิ์ ทิตัส​เป็น​ตัวอย่าง​ที่​ดี​ให้​กับ​พี่​น้อง​คน​อื่น ๆ—กท. 2:3