เซปตัวจินต์
คือพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูที่แปลเป็นภาษากรีกฉบับแรก ทำขึ้นเพื่อชาวยิวที่พูดภาษากรีก งานแปลนี้เริ่มขึ้นในอียิปต์ประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. และแปลเสร็จในศตวรรษต่อมา
ตามคำสอนสืบปาก มีผู้เชี่ยวชาญชาวยิวประมาณ 70 คนเข้าร่วมในงานแปลนี้ ชื่อเซปตัวจินต์ จึงมาจากภาษาละติน Septuaginta ที่แปลว่า “70” และมีการกำหนดสัญลักษณ์ของพระคัมภีร์ฉบับนี้ว่า LXX ซึ่งเป็นเลขโรมันสำหรับ 70 และในสำเนาของฉบับเซปตัวจินต์ ยุคแรก ๆ มีการใช้อักษรกรีกหรือไม่ก็อักษรฮีบรู 4 ตัวที่เรียกว่าเททรากรัมมาทอน (ภาษาไทย ยฮวฮ) เพื่อแปลชื่อพระเจ้า แต่หลังจากแปลหนังสือในสารบบพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูเสร็จแล้ว ได้มีการเพิ่มหนังสือนอกสารบบพระคัมภีร์เข้าไปในฉบับเซปตัวจินต์ ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลยุคคริสเตียนยอมรับหนังสือนอกสารบบเหล่านี้โดยยกข้อความในนั้นมาอ้างทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็อ้างถึงข้อความจากหนังสือในสารบบพระคัมภีร์ของฉบับเซปตัวจินต์ บ่อย ๆ นอกจากนั้น พลังบริสุทธิ์ยังช่วยคริสเตียนบางคนในศตวรรษแรกให้สามารถแยกแยะได้ว่าหนังสือเล่มไหนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า—1คร 12:4, 10
ทุกวันนี้ ฉบับเซปตัวจินต์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาและเข้าใจข้อความพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู และยังช่วยให้เข้าใจความหมายของบางคำในภาษาฮีบรูและอาราเมอิกมากขึ้นด้วย