เขียนโดยมาระโก 11:1-33
ข้อมูลสำหรับศึกษา
เดินทาง: เหตุการณ์ที่พูดถึงใน มก 11:1-11 เกิดขึ้นในช่วงกลางวันของวันที่ 9 เดือนนิสาน—ดูภาคผนวก ก7 และ ข12
เบธฟายี: ชื่อหมู่บ้านบนภูเขามะกอก มาจากคำฮีบรูที่อาจหมายความว่า “บ้านมะเดื่อต้นฤดู” เชื่อกันว่าหมู่บ้านนี้อยู่ระหว่างกรุงเยรูซาเล็มกับหมู่บ้านเบธานี และอยู่บนไหล่เขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขามะกอกใกล้กับยอดเขา ห่างจากกรุงเยรูซาเล็มประมาณ 1 กม.—มธ 21:1; ลก 19:29; ดูภาคผนวก ก7, แผนที่ 6
เบธานี: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:17
ลูกลา: ในบันทึกเหตุการณ์นี้ มาระโก ลูกา (19:35) และยอห์น (12:14, 15) พูดถึงแต่ลูกลาเท่านั้น แต่บันทึกของมัทธิว (21:2-7) บอกว่ามีแม่ลาอยู่กับลูกของมันด้วย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:2, 5
ขอให้ท่านอายุยืนยาว: แปลตรงตัวว่า “โฮซานนา” เป็นคำกรีกที่มาจากสำนวนฮีบรูซึ่งมีความหมายว่า “เราอธิษฐาน ขอช่วยให้รอด” หรือ “โปรดช่วยให้รอด” ผู้คนมักใช้คำนี้เพื่อขอการช่วยให้รอดหรือขอชัยชนะจากพระเจ้า ในเวลาต่อมามีการใช้สำนวนนี้ทั้งในการอธิษฐานและสรรเสริญพระเจ้า ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูใช้สำนวนนี้ที่ สด 118:25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเพลงฮัลเลลที่ร้องกันในช่วงเทศกาลปัสกา ผู้คนจึงคิดถึงสำนวนนี้ในช่วงเหตุการณ์นี้ด้วย วิธีหนึ่งที่พระเจ้าตอบคำขอนี้ก็คือการปลุกพระเยซูซึ่งเป็นลูกหลานดาวิดให้ฟื้นขึ้นจากตาย ในบันทึกที่ มก 12:10, 11 พระเยซูยกข้อความที่ สด 118:22, 23 ขึ้นมาและใช้หมายถึงตัวท่านที่เป็นเมสสิยาห์
พระยะโฮวา: ข้อความนี้ยกมาจาก สด 118:25, 26 ซึ่งในต้นฉบับภาษาฮีบรูมีชื่อของพระเจ้าเขียนด้วยอักษรฮีบรู 4 ตัว (ตรงกับเสียงอักษรไทย ยฮวฮ)
รัฐบาลที่จะมาปกครอง ซึ่งเป็นรัฐบาลของดาวิดพ่อของเรา: สำเนาพระคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุดสนับสนุนการแปลแบบนี้ แต่สำเนาพระคัมภีร์บางฉบับใช้ข้อความว่า “อาณาจักรของดาวิด บรรพบุรุษของเรา ที่มาตั้งอยู่ในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลบางฉบับก็มีข้อความลักษณะนี้ ฉบับแปลหลายฉบับของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกที่แปลเป็นภาษาฮีบรู ใช้เททรากรัมมาทอนหรือตัวย่อของเททรากรัมมาทอนในข้อนี้ ทำให้แปลได้ว่า “อาณาจักรของดาวิด บรรพบุรุษของเรา ที่มาตั้งอยู่ในพระนามของพระยะโฮวา”
วันรุ่งขึ้น: คือวันที่ 10 เดือนนิสาน—ดูภาคผนวก ก7 และ ข12
ไม่เห็นมีผลมะเดื่อ มีแต่ใบ: แม้ตอนนั้นไม่ใช่ฤดูออกผลมะเดื่อ แต่การที่ต้นนี้มีใบเยอะทำให้คิดว่าผลมะเดื่อรุ่นแรกออกมาแล้ว เมื่อพระเยซูเห็นแต่ใบไม่เห็นผลท่านก็รู้ว่ามะเดื่อต้นนี้เป็นมะเดื่อที่ไม่มีผล และใบของมันหลอกให้คนที่เห็นเข้าใจผิดว่ามีผลอยู่ด้วย พระเยซูจึงแช่งต้นมะเดื่อนี้ไม่ให้ออกผลอีกเลย และมันก็เหี่ยวแห้งตายไป—มก 11:19-21
วิหาร: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:12
ไล่คนที่กำลังซื้อขาย: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ลก 19:45
คนรับแลกเงิน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:12
แบกข้าวของเครื่องใช้ผ่านไปมาในเขตวิหาร: ดูเหมือนบางคนใช้ลานวิหารเป็นทางลัดเพื่อขนข้าวของของตัวเองหรือขนของไปขาย พระเยซูไม่ยอมให้ทำแบบนี้เพราะเป็นการไม่แสดงความนับถือต่อวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เฉพาะมาระโกเท่านั้นที่บันทึกเรื่องนี้
วิหารสำหรับการอธิษฐานของคนทุกชาติ: ผู้เขียนหนังสือข่าวดี 3 คนยกข้อความนี้จาก อสย 56:7 แต่มาระโกเป็นคนเดียวที่ใส่ข้อความ “ของคนทุกชาติ” ไว้ด้วย (มธ 21:13; ลก 19:46) วิหารในกรุงเยรูซาเล็มสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ที่ชาวอิสราเอลและคนต่างชาติที่เกรงกลัวพระเจ้าจะมานมัสการและอธิษฐานถึงพระยะโฮวา (1พก 8:41-43) เพราะเหตุผลนี้ พระเยซูจึงตำหนิชาวยิวที่ใช้วิหารเป็นที่ค้าขายหรือทำเหมือนกับวิหารเป็นถ้ำโจร การที่ชาวยิวทำอย่างนี้ทำให้คนจากชาติต่าง ๆ ไม่อยากมาอธิษฐานถึงพระยะโฮวาที่วิหารนี้ พวกเขาจึงไม่มีโอกาสได้รู้จักพระองค์
ถ้ำโจร: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 21:13
ตกเย็น: คือช่วงเย็นของวันที่ 10 เดือนนิสาน พระเยซูกับสาวกออกจากกรุงเยรูซาเล็มกลับไปที่หมู่บ้านเบธานีซึ่งอยู่บนไหล่เขาทางตะวันออกของภูเขามะกอก ท่านอาจพักค้างคืนที่บ้านเพื่อนของท่านคือลาซารัส มารีย์ และมาร์ธา—ดูภาคผนวก ก7 และ ข12
เช้าตรู่: คือวันที่ 11 เดือนนิสาน พระเยซูกับสาวกเดินทางกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่พระเยซูทำงานรับใช้ก่อนที่ท่านจะฉลองปัสกา ตั้งการฉลองเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตของท่าน เจอการทดสอบและถูกประหาร—ดูภาคผนวก ก7 และ ข12
อธิษฐาน: แปลตรงตัวว่า “ยืนอธิษฐาน” ตามปกติแล้วชาวฮีบรูและคนหลายชาติที่พูดถึงในคัมภีร์ไบเบิลไม่มีท่าทางเฉพาะในการอธิษฐาน แต่ทุกครั้งที่อธิษฐานพวกเขาจะมีท่าทางที่แสดงความนับถืออย่างสูง การยืนอธิษฐานเป็นท่าทางปกติในสมัยนั้น
ในข้อนี้สำเนาพระคัมภีร์เก่าแก่บางฉบับมีข้อความว่า “แต่ถ้าท่านทั้งหลายไม่ยกความผิด พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะไม่ทรงโปรดยกความผิดของท่านเหมือนกัน” ข้อความนี้ไม่มีในสำเนาพระคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุดและดูเหมือนไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของข้อความต้นฉบับในหนังสือมาระโก แต่มีข้อความคล้ายกันอยู่ที่ มธ 6:15 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจ—ดูภาคผนวก ก3
ปุโรหิตใหญ่: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4
ครูสอนศาสนา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 2:4
ผู้นำ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 8:31
วีดีโอและรูปภาพ
วีดีโอนี้ช่วยให้เห็นเส้นทางเข้ากรุงเยรูซาเล็มจากทิศตะวันออก โดยเริ่มจากบริเวณที่ปัจจุบันคือหมู่บ้านเอ็ททูร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่เดียวกับหมู่บ้านเบธฟายีในสมัยพระคัมภีร์ไปจนถึงจุดที่สูงกว่าบนภูเขามะกอก ด้านตะวันออกของหมู่บ้านเบธฟายีคือหมู่บ้านเบธานี ซึ่งทั้งสองอยู่บนไหล่เขาทางตะวันออกของภูเขามะกอก ตอนที่พระเยซูกับสาวกไปที่กรุงเยรูซาเล็ม พวกเขามักจะค้างคืนที่หมู่บ้านเบธานี ปัจจุบันที่นั่นมีหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีชื่อภาษาอาหรับว่า เอล อะซาริเยห์ (El ʽEizariya) ซึ่งมีความหมายว่า “ที่อยู่ของลาซารัส” พระเยซูคงพักที่บ้านของมาร์ธา มารีย์ และลาซารัส (มธ 21:17; มก 11:11; ลก 21:37; ยน 11:1) ตอนเดินทางจากบ้านนี้ไปกรุงเยรูซาเล็ม ท่านอาจใช้เส้นทางที่เห็นในวีดีโอ และตอนที่ท่านขี่ลูกลาข้ามภูเขามะกอกไปที่กรุงนี้ในวันที่ 9 เดือนนิสาน ปี ค.ศ. 33 ท่านคงใช้เส้นทางเดียวกันนี้จากหมู่บ้านเบธฟายีไปตามถนนที่เข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม
1. ถนนจากเบธานีไปเบธฟายี
2. เบธฟายี
3. ภูเขามะกอก
4. หุบเขาขิดโรน
5. ภูเขาที่วิหารตั้งอยู่
ลามีกีบเท้าแข็งและอยู่ในตระกูลเดียวกับม้า แต่ต่างกันตรงที่ลาจะตัวเล็กกว่า แผงคอสั้นกว่า หูยาวกว่า มีขนที่หางสั้นกว่าและมีขนเฉพาะตรงปลายหางเท่านั้น แม้จะมีคำเปรียบว่าลาเป็นสัตว์ที่โง่และดื้อ แต่จริง ๆ แล้วมันฉลาดกว่าม้าและเป็นสัตว์ที่อดทนมาก ผู้ชายและผู้หญิงชาวอิสราเอลและแม้แต่คนที่มีชื่อเสียงก็ขี่ลา (ยชว 15:18; วนฉ 5:10; 10:3, 4; 12:14; 1ซม 25:42) ตอนที่โซโลมอนลูกชายของดาวิดได้รับการเจิมเป็นกษัตริย์เขาก็ขี่ล่อของดาวิด ล่อตัวเมียนี้เป็นลูกผสมระหว่างม้ากับลา (1พก 1:33-40) จึงเหมาะสมที่สุดที่พระเยซูผู้ยิ่งใหญ่กว่าโซโลมอนจะขี่ลูกลาไม่ใช่ม้า และนี่ทำให้คำพยากรณ์ที่ ศคย 9:9 เป็นจริง