เขียนโดยลูกา 8:1-56
เชิงอรรถ
ข้อมูลสำหรับศึกษา
ประกาศ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 3:1
มารีย์ที่เรียกกันว่ามักดาลา: มีการพูดถึงมารีย์มักดาลาครั้งแรกในข้อนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ช่วงปีที่ 2 ที่พระเยซูทำงานประกาศ ชื่อมักดาลา (แปลตรงตัวว่า “จากมักดาลา หรือเป็นของมักดาลา”) น่าจะมาจากชื่อเมืองมักดาลาซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของทะเลสาบกาลิลี ประมาณครึ่งทางระหว่างเมืองคาเปอร์นาอุมกับเมืองทิเบเรียส เชื่อกันว่ามักดาลาเป็นบ้านเกิดของมารีย์หรือเป็นที่ที่เธออาศัยอยู่ มารีย์มักดาลาถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงที่พระเยซูตายและฟื้นขึ้นจากตาย—มธ 27:55, 56, 61; มก 15:40; ลก 24:10; ยน 19:25
โยอันนา: เป็นชื่อแบบสั้นสำหรับผู้หญิงซึ่งมาจากชื่อฮีบรูเยโฮฮานันที่หมายความว่า “พระยะโฮวาแสดงความโปรดปราน, พระยะโฮวากรุณา” โยอันนาเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่พระเยซูรักษาโรคให้เธอ มีการพูดถึงเธอแค่ 2 ครั้งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก และทั้ง 2 ครั้งอยู่ในหนังสือข่าวดีของลูกา—ลก 24:10
คูซา: เป็นพ่อบ้านหรือผู้ดูแลวังของเฮโรดอันทีพาส ซึ่งอาจเป็นคนดูแลเรื่องต่าง ๆ ในวัง
รับใช้พระเยซูกับอัครสาวก: หรือ “ให้การสนับสนุน (จัดเตรียมให้) พวกเขา” คำกรีก เดียคอเนะโอ อาจหมายถึงการช่วยเหลือคนอื่น ๆ ด้านร่างกายโดยจัดหาอาหาร ทำอาหาร ยกอาหารมาให้และอื่น ๆ มีการใช้คำนี้ในความหมายคล้ายกันที่ ลก 10:40 (“ทำงาน”) ลก 12:37; 17:8 (“คอยรับใช้”) และ กจ 6:2 (“แจกอาหาร”) และคำนี้ยังหมายถึงการรับใช้คนอื่นในแบบที่คล้ายกันนี้ด้วย ในข้อ 2 และ 3 พูดถึงพวกผู้หญิงที่สนับสนุนพระเยซูและสาวกเพื่อช่วยพวกเขาให้ทำงานที่พระเจ้ามอบหมายได้สำเร็จ การทำแบบนี้เป็นวิธีที่พวกเธอยกย่องสรรเสริญพระเจ้า และพระองค์ก็เห็นคุณค่าสิ่งที่พวกเธอทำโดยให้บันทึกเรื่องราวที่พวกเธอแสดงความเอื้อเฟื้ออย่างใจกว้างไว้ในคัมภีร์ไบเบิลเพื่อให้คนรุ่นหลังได้อ่าน (สภษ 19:17; ฮบ 6:10) มีการใช้คำกริยากรีกนี้กับพวกผู้หญิงที่พูดถึงใน มธ 27:55; มก 15:41 ด้วย—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ลก 22:26 ซึ่งพูดถึงคำนาม เดียคอนอส ที่เกี่ยวข้องกัน
ตัวอย่างเปรียบเทียบ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:3
บนพื้นหิน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:5
กลางพุ่มไม้มีหนาม: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:7
ความลับ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 13:11
ตะเกียง: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 5:15
พวกน้องชาย: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 12:46
แม่และพี่น้องของผม: พระเยซูกำลังแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างพี่น้องจริง ๆ ของท่านซึ่งบางคนไม่มีความเชื่อในตัวท่าน (ยน 7:5) กับพี่น้องร่วมความเชื่อซึ่งก็คือสาวกของท่าน พระเยซูแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ความสัมพันธ์กับญาติพี่น้องจะมีค่ามากสำหรับท่าน แต่ความสัมพันธ์กับคนที่ฟังคำสอนของพระเจ้าและทำตามมีค่ามากกว่า
อีกฝั่งหนึ่ง: คือฝั่งตะวันออกของทะเลสาบกาลิลี
ลมพายุรุนแรง: มาจากคำกรีก 2 คำที่แปลตรงตัวว่า “ลมเฮอร์ริเคนใหญ่” (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 4:37) ทะเลสาบกาลิลีจะมีพายุแบบนี้เกิดขึ้นเป็นปกติ ผิวน้ำของทะเลสาบนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 210 เมตรและมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นภูเขาและที่ราบสูง ทำให้อากาศแปรปรวนและเกิดลมแรงที่ทำให้มีคลื่นฉับพลัน
เขตแดนของชาวเกราซา: เขตแดนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามซึ่งก็คือฝั่งตะวันออกของทะเลสาบกาลิลี ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเขตแดนนี้อยู่ที่ไหนในปัจจุบันและมีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน บางคนบอกว่า “เขตแดนของชาวเกราซา” คือบริเวณรอบ ๆ เคอร์ซีใกล้กับไหล่เขาที่สูงชันทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบกาลิลี แต่บางคนบอกว่าเขตแดนนี้คือพื้นที่กว้างใหญ่รอบ ๆ เมืองเกราซา (เจราช) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบกาลิลี 55 กม. มธ 8:28 เรียกบริเวณนี้ว่า “เขตแดนของชาวกาดารา” (ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:28; มก 5:1) แม้จะมีการใช้ชื่อต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วทั้ง 2 คำนี้หมายถึงเขตแดนเดียวกันที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบกาลิลี และสองเขตแดนนี้อาจมีบางส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ ดังนั้น บันทึกในส่วนนี้จึงไม่ขัดแย้งกัน—ดูภาคผนวก ก7, แผนที่ 3ข, “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณทะเลสาบกาลิลี” และและภาคผนวก ข10 ด้วย
ชาวเกราซา: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 5:1
ผู้ชายคนหนึ่ง . . . ถูกปีศาจสิง: ผู้เขียนหนังสือข่าวดีมัทธิว (8:28) พูดถึงผู้ชาย 2 คน แต่มาระโก (5:2) กับลูกาพูดถึงผู้ชายที่ถูกปีศาจสิงแค่คนเดียว ที่เป็นแบบนั้นอาจเป็นเพราะพระเยซูพูดกับผู้ชายคนนี้และเรื่องราวของเขาเด่นกว่า หรืออาจเป็นเพราะผู้ชายคนนี้ก้าวร้าวกว่าหรือต้องทนทุกข์เพราะถูกปีศาจสิงมานานกว่า นอกจากนั้น อาจเป็นไปได้ว่าแม้มีผู้ชาย 2 คนได้รับการรักษาให้หาย แต่มีแค่คนเดียวอยากติดตามพระเยซู—ลก 8:37-39
สุสาน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:28
มายุ่งกับผมทำไม?: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 5:7
ทรมานผม: คำว่า “ผู้คุม” ใน มธ 18:34 มาจากคำกรีกที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ ดังนั้น ในท้องเรื่องนี้คำว่า “ทรมาน” จึงน่าจะหมายถึงการคุมขังหรือกักขังไว้ใน “ขุมลึก” ที่พูดถึงใน ลก 8:31—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 18:34
กองพัน: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 5:9
ขุมลึก: หรือ “ที่ลึก” คำกรีก อาบูสซอส ที่แปลว่า “ลึกมาก ๆ” หรือ “ลึกจนหยั่งไม่ถึง, ไร้ขอบเขต” หมายถึงสถานที่สำหรับกักขังหรือสภาพที่ถูกกักขัง ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมีการใช้คำนี้ 9 ครั้ง คือในข้อนี้ และที่ รม 10:7 และอีก 7 ครั้งอยู่ในหนังสือวิวรณ์ บันทึกที่ วว 20:1-3 พูดถึงการเหวี่ยงซาตานลงไปในขุมลึกและขังไว้เป็นเวลา 1,000 ปี พวกปีศาจที่ขอร้องพระเยซูไม่ให้ส่งพวกมัน “ไปขุมลึก” อาจคิดถึงเหตุการณ์นี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และในข้อ 28 ปีศาจตนหนึ่งขอร้องพระเยซูว่าอย่า “ทรมาน” มัน ในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มธ 8:29 พวกปีศาจถามพระเยซูว่า “จะมาทรมานพวกเราก่อนเวลาที่พระเจ้ากำหนดไว้หรือ?” ดังนั้น การ “ทรมาน” ที่พวกปีศาจกลัวน่าจะหมายถึงการถูกขังใน “ขุมลึก”—ดูส่วนอธิบายศัพท์ และข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 8:29
หมู: หมูเป็นสัตว์ที่ไม่สะอาดตามกฎหมายของโมเสส (ลนต 11:7) แต่มีตลาดขายหมูอยู่ในชุมชนของคนต่างชาติในเขตเดคาโปลิสเพราะทั้งชาวกรีกและชาวโรมันถือว่าหมูเป็นอาหารชั้นเลิศ พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า “คนเลี้ยงหมู” เป็นคนยิวที่ทำผิดกฎหมายหรือเป็นคนต่างชาติ—ลก 8:34
ไปเล่าให้คนอื่นฟังว่าพระเจ้าช่วยคุณยังไง: ปกติแล้วพระเยซูจะห้ามไม่ให้ป่าวประกาศเรื่องการอัศจรรย์ที่ท่านทำ (มก 1:44; 3:12; 7:36; ลก 5:14) แต่คราวนี้พระเยซูสั่งให้ผู้ชายคนนี้ไปเล่าให้ญาติ ๆ ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น นี่อาจเป็นเพราะท่านถูกขอให้ออกไปจากเขตนั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะประกาศกับคนที่นั่นด้วยตัวเอง และเรื่องที่ผู้ชายคนนี้เล่าคงช่วยแก้ข่าวลือในแง่ลบที่ว่าพระเยซูทำให้หมูตายทั้งฝูง
ทั่วเมืองนั้น: ในบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ มก 5:20 ใช้คำว่า “ในเขตเดคาโปลิส” ดังนั้น เมืองที่พูดถึงในข้อนี้น่าจะหมายถึงเมืองหนึ่งที่อยู่ในเขตเดคาโปลิส—ดูส่วนอธิบายศัพท์คำว่า “เดคาโปลิส”
คนเดียว: คำกรีก มอนอเกะเนส ที่มักจะแปลว่า “ที่ได้รับกำเนิดเพียงคนเดียว” มีความหมายว่า “มีเพียงหนึ่งเดียว, ไม่มีใครเหมือน” คำนี้ใช้ได้กับทั้งลูกชายและลูกสาว ในท้องเรื่องนี้คำนี้หมายถึงลูกคนเดียว มีการใช้คำกรีกนี้กับลูกชาย “คนเดียว” ของแม่ม่ายในเมืองนาอินและลูกชาย “คนเดียว” ของผู้ชายคนหนึ่งที่พระเยซูไล่ปีศาจออกไป (ลก 7:12; 9:38) ฉบับกรีกเซปตัวจินต์ ใช้คำ มอนอเกะเนส เมื่อพูดถึงลูกสาวของเยฟธาห์ว่า “เธอเป็นลูกคนเดียวของเขา นอกจากเธอแล้วเขาไม่มีลูกชายหรือลูกสาวอีกเลย” (วนฉ 11:34) ในหนังสือที่อัครสาวกยอห์นเขียน เขาใช้คำ มอนอเกะเนส 5 ครั้งเมื่อพูดถึงพระเยซู—สำหรับความหมายของคำนี้เมื่อใช้กับพระเยซู ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ ยน 1:14; 3:16
ตกเลือด: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 9:20
ลูก: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 5:34
ขอให้สบายใจเถอะ: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 5:34
ไม่ได้ตาย แต่นอนหลับอยู่: ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มก 5:39
ชีวิต: คำกรีก พะนือมา ในข้อนี้อาจหมายถึง “ลมหายใจ” หรือ “พลังชีวิต” ที่อยู่ในตัวมนุษย์และสัตว์—ดูข้อมูลสำหรับศึกษาที่ มธ 27:50
วีดีโอและรูปภาพ
นี่คือภาพเชิงตะเกียงในบ้าน (หมายเลข 1) ที่วาดโดยมีต้นแบบจากเชิงตะเกียงโบราณจากศตวรรษแรกที่พบในเมืองเอเฟซัส (ประเทศตุรกี) และประเทศอิตาลี ดูเหมือนว่านี่เป็นเชิงตะเกียงแบบที่ใช้กันในบ้านของคนรวย ในบ้านที่จนกว่าจะแขวนตะเกียงลงมาจากเพดานหรือวางไว้ในช่องที่ผนัง (หมายเลข 2) หรือไม่ก็วางไว้บนเชิงตะเกียงที่ทำจากดินหรือไม้
ภาพจำลองนี้มีต้นแบบมาจากซากเรือหาปลาในศตวรรษแรกที่พบในโคลนใกล้ชายฝั่งทะเลสาบกาลิลี และอาศัยข้อมูลจากภาพโมเสกที่พบในบ้านหลังหนึ่งสมัยศตวรรษแรกในเมืองมิกดัลที่อยู่ติดทะเล เรือแบบนี้อาจมีเสากระโดงหนึ่งต้นและใบเรือ อาจมีชาวประมงอยู่ในเรือ 5 คน มี 4 คนทำหน้าที่พายเรือ และอีก 1 คนคอยคัดท้ายเรือโดยยืนอยู่บนแผ่นไม้เล็ก ๆ ท้ายเรือ เรือนี้ยาวประมาณ 8 เมตร กลางเรือกว้างประมาณ 2.5 เมตรและลึก 1.25 เมตร ดูเหมือนว่าเรือแบบนี้สามารถจุคนได้ 13 คนหรือมากกว่านั้น
ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในปี 1985-1986 ทำให้น้ำในทะเลสาบกาลิลีลดลงจนเห็นซากเรือที่จมอยู่ในโคลน ซากเรือนี้ยาว 8.2 เมตร กว้าง 2.3 เมตร และท้องเรือส่วนที่ลึกที่สุดมีความลึก 1.3 เมตร นักโบราณคดีบอกว่าเรือนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี 100 ก่อน ค.ศ. ถึงปี ค.ศ. 100 วีดีโอนี้แสดงให้เห็นแบบจำลองเรือลำนี้ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในอิสราเอล เรือน่าจะมีลักษณะแบบนี้ตอนที่มันอยู่ในทะเลสาบกาลิลีเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว
เหตุการณ์ที่พระเยซูขับไล่ปีศาจออกจากผู้ชาย 2 คนและให้มันเข้าไปสิงในหมูฝูงหนึ่งเกิดขึ้นทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบกาลิลี
ผู้หญิงคนนี้เงยหน้ามองพระเยซูด้วยความตกใจกลัว เธอกลัวจนตัวสั่นและสารภาพว่าได้แตะชายเสื้อพระเยซูเพราะอยากหายจากโรคที่ทำให้เธอทุกข์ทรมานมา 12 ปี พระเยซูไม่ได้ตำหนิเธอ แต่พูดอย่างอ่อนโยนว่า “ความเชื่อของลูกทำให้ลูกหายโรคแล้ว ขอให้สบายใจเถอะ” (ลก 8:48) พระเยซูทำการอัศจรรย์นี้ตอนที่กำลังเดินทางไปรักษาลูกสาวของไยรอส (ลก 8:41, 42) การอัศจรรย์เหล่านี้แสดงว่าพระเยซูมีอำนาจที่จะรักษาโรคทุกชนิด และเมื่อถึงเวลาที่ท่านปกครองเป็นกษัตริย์ จะไม่มีมนุษย์คนไหนที่อยู่ใต้การปกครองของท่านพูดว่า “ฉันป่วย”—อสย 33:24