ก3
คัมภีร์ไบเบิลตกทอดมาถึงเราได้อย่างไร
พระเจ้าผู้เป็นต้นกำเนิดและผู้แต่งคัมภีร์ไบเบิลได้คอยดูแลรักษาพระคัมภีร์ไว้ด้วย พระองค์ดลใจให้เขียนไว้ว่า
“คำพูดของพระเจ้าจะคงอยู่ตลอดไป”—อิสยาห์ 40:8
ข้อความนี้เป็นความจริงแม้จะไม่มีต้นฉบับพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูและอาราเมอิก aหรือพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเหลือรอดมาจนถึงสมัยของเรา แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อความในคัมภีร์ไบเบิลที่เรามีในทุกวันนี้ตรงกับข้อความที่พระเจ้าดลใจให้เขียนขึ้นในตอนแรกจริง ๆ?
ผู้คัดลอกเก็บรักษาถ้อยคำของพระเจ้า
สิ่งหนึ่งที่ช่วยรักษาข้อความของพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูไว้คือ ธรรมเนียมเก่าแก่ในการคัดลอกพระคัมภีร์ที่พระเจ้ากำหนดไว้ b ตัวอย่างเช่น พระยะโฮวาสั่งให้กษัตริย์ของอิสราเอลคัดลอกหนังสือกฎหมายด้วยตัวเอง (เฉลยธรรมบัญญัติ 17:18) พระเจ้ายังสั่งให้คนเลวีคอยดูแลรักษากฎหมายของพระองค์และสอนกฎหมายเหล่านั้นให้ประชาชนด้วย (เฉลยธรรมบัญญัติ 31:26; เนหะมีย์ 8:7) หลังจากชาวยิวไปเป็นเชลยที่บาบิโลนก็เริ่มมีคนกลุ่มหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้คัดลอก (โซเฟริม) (เอสรา 7:6) เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คัดลอกเหล่านี้ได้ทำสำเนาหนังสือ 39 เล่มของพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูไว้มากมาย
ตลอดหลายร้อยปี พวกผู้คัดลอกพยายามคัดลอกข้อความในพระคัมภีร์อย่างระมัดระวัง ในช่วงยุคกลางมีผู้คัดลอกชาวยิวกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ามาโซเรตได้สืบต่อธรรมเนียมนี้ สำเนาพระคัมภีร์ที่ครบถ้วนและเก่าแก่ที่สุดของพวกมาโซเรตคือโคเดกซ์เลนินกราด ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศักราช 1008/1009 แต่พอถึงกลางศตวรรษที่ 20 มีการค้นพบม้วนหนังสือทะเลตาย ซึ่งมีสำเนาข้อความหรือชิ้นส่วนของคัมภีร์ไบเบิลประมาณ 220 ชิ้น สำเนาพระคัมภีร์เหล่านี้มีอายุเก่าแก่กว่าโคเดกซ์เลนินกราด
1,000 กว่าปี การเปรียบเทียบข้อความในม้วนหนังสือทะเลตายกับโคเดกซ์เลนินกราดทำให้ได้ข้อสรุปสำคัญว่า ถึงแม้ในม้วนหนังสือทะเลตายจะใช้คำหรือสำนวนแตกต่างไปบ้าง แต่ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เนื้อหาสาระของพระคัมภีร์เปลี่ยนไปเลยแล้วหนังสือ 27 เล่มของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกล่ะ? ตอนแรก อัครสาวกของพระเยซูบางคนกับสาวกรุ่นแรกคนอื่น ๆ เป็นผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ และคริสเตียนในยุคแรกที่สืบต่อธรรมเนียมของผู้คัดลอกชาวยิวได้ทำสำเนาหนังสือเหล่านี้เอาไว้ (โคโลสี 4:16) แม้ว่าจักรพรรดิโรมันที่ชื่อดิโอเคลเชียนและคนอื่น ๆ จะพยายามทำลายข้อเขียนทั้งหมดของคริสเตียนยุคแรก แต่ก็ยังมีสำเนาและชิ้นส่วนพระคัมภีร์หลายพันชิ้นเหลือรอดมาจนถึงสมัยของเรา
มีการแปลข้อเขียนของคริสเตียนเหล่านี้เป็นภาษาอื่น ๆ ด้วย คัมภีร์ไบเบิลยุคแรกมีในภาษาโบราณหลายภาษา เช่น ภาษาอาร์เมเนีย ภาษาคอปติก ภาษาเอธิโอปิก ภาษาจอร์เจีย ภาษาละติน และภาษาซีรีแอก
จะรู้ได้อย่างไรว่าข้อความภาษาฮีบรูและกรีกดั้งเดิมเป็นอย่างไร?
สำเนาคัมภีร์ไบเบิลมากมายที่มีการคัดลอกไว้ในสมัยโบราณไม่ได้มีข้อความเหมือนกันทุกตัวอักษร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้นฉบับเขียนไว้อย่างไร?
เรื่องนี้อาจเปรียบได้กับครูที่สั่งให้นักเรียน 100 คนคัดลอกบทหนึ่งจากหนังสือเรียน ถึงแม้ต่อมาหนังสือที่เป็นต้นฉบับจะหายไป แต่ถ้าเอาสำเนาที่นักเรียน 100 คนคัดลอกไว้มาเปรียบเทียบกันก็จะรู้ได้ว่าข้อความต้นฉบับเป็นอย่างไร นักเรียนแต่ละคนอาจคัดลอกผิดพลาดไปบ้าง แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่นักเรียนทุกคนจะผิดพลาดจุดเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน เมื่อผู้เชี่ยวชาญเอาสำเนาโบราณนับพัน ๆ ชิ้นของคัมภีร์ไบเบิลที่มีอยู่มาเปรียบเทียบกัน พวกเขาก็สามารถบอกได้ว่าตรงไหนเป็นข้อผิดพลาดของผู้คัดลอกและรู้ว่าข้อความในต้นฉบับเขียนไว้อย่างไร
“กล้าพูดได้เลยว่า ไม่มีงานเขียนยุคโบราณชิ้นไหนที่มีการถ่ายทอดมาอย่างถูกต้องขนาดนี้”
เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าแนวคิดในข้อความต้นฉบับถ่ายทอดมาถึงเราอย่างถูกต้อง? ผู้เชี่ยวชาญชื่อวิลเลียม เอช. กรีน ให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูว่า “กล้าพูดได้เลยว่า ไม่มีงานเขียนยุคโบราณชิ้นไหนที่มีการถ่ายทอดมาอย่างถูกต้องขนาดนี้” และผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ไบเบิล เอฟ. เอฟ. บรูซ ให้ความเห็นเกี่ยวกับพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกหรือที่เรียกกันว่าภาคพันธสัญญาใหม่ว่า “หลักฐานยืนยันพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่มีมากกว่าหลักฐานยืนยันงานเขียน
ของพวกนักเขียนยุคโบราณหลายเท่า ซึ่งไม่เคยมีใครคิดสงสัยเลยว่าผลงานของนักเขียนเหล่านั้นถ่ายทอดมาอย่างถูกต้องหรือไม่” เขายังบอกด้วยว่า “ถ้าพันธสัญญาใหม่เป็นข้อเขียนทางโลก ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คงจะยอมรับความถูกต้องของข้อเขียนนี้ไปแล้วโดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ”ข้อความภาษาฮีบรู พระคัมภีร์ฉบับแปลโลกใหม่ภาคภาษาฮีบรู (ปี 1953-1960) แปลจากบิบลิอา เฮบรายกา โดยรูดอล์ฟ คิตเทล หลังจากพระคัมภีร์ฉบับนี้พิมพ์ออกมาแล้วได้มีผู้จัดทำข้อความภาษาฮีบรูที่ปรับปรุงใหม่ขึ้นมาอีก คือบิบลิอา เฮบรายกา สตุทท์การ์เทนเซีย และบิบลิอา เฮบรายกา ควินตา ซึ่งมีข้อมูลใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าม้วนหนังสือทะเลตายและสำเนาโบราณอื่น ๆ ทั้งสองฉบับนี้ใช้ข้อความจากโคเดกซ์เลนินกราดเป็นเนื้อความหลักและใส่ข้อความจากฉบับอื่นไว้ในเชิงอรรถเพื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข้อความจากเพนทาทุกของสะมาเรีย ม้วนหนังสือทะเลตาย เซปตัวจินต์ ภาษากรีก ทาร์กุมภาษาอาราเมอิก วัลเกต ภาษาละติน และเพชิตตา ภาษาซีรีแอก เมื่อมีการจัดทำคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่ ภาษาอังกฤษฉบับปรับปรุงปี 2013 ก็มีการค้นคว้าจากฉบับบิบลิอา เฮบรายกา สตุทท์การ์เทนเซีย และบิบลิอา เฮบรายกา ควินตา นี้ด้วย
ข้อความภาษากรีก ตอนปลายศตวรรษที่ 19 ผู้เชี่ยวชาญสองคนคือ บี. เอฟ. เวสต์คอตต์ และ เอฟ. เจ. เอ. ฮอร์ต ได้เปรียบเทียบสำเนาและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคัมภีร์ไบเบิลเพื่อจะจัดทำข้อความภาษากรีกที่พวกเขาคิดว่าใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด พอถึงกลางศตวรรษที่ 20 คณะกรรมการการแปลคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่ภาษาอังกฤษได้ใช้ข้อความที่สองคนนี้จัดทำขึ้นเป็นพื้นฐานในการแปล รวมทั้งสำเนาพาไพรัสโบราณอื่น ๆ ที่คิดกันว่ามีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่สองและสาม ตั้งแต่นั้นมาก็ยังมีสำเนาพาไพรัสฉบับอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก และผู้เชี่ยวชาญได้ศึกษาสำเนาพระคัมภีร์ภาษากรีกโบราณอีกหลายฉบับ มีการใช้ข้อมูลใหม่เหล่านี้ในข้อความพระคัมภีร์ฉบับต่าง ๆ เช่น ฉบับของเนสต์เลและอลันด์ รวมทั้งฉบับของสหสมาคมพระคริสตธรรม และข้อมูลบางอย่างจากการค้นคว้าเหล่านี้ก็มีในคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่ ภาษาอังกฤษฉบับปี 2013 ด้วย
ข้อความภาษากรีกที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ทำขึ้นช่วยให้รู้ว่าข้อความบางตอนของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกในฉบับแปลเก่าแก่บางฉบับ เช่น ฉบับคิงเจมส์ เป็นส่วนที่ผู้คัดลอกเพิ่มเข้ามาทีหลังและไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจ แต่เนื่องจากมีการแบ่งพระคัมภีร์เป็นข้อ ๆ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 แล้ว การตัดมัทธิว 17:21; 18:11; 23:14; มาระโก 7:16; 9:44, 46; 11:26; 15:28; ลูกา 17:36; 23:17; ยอห์น 5:4; กิจการ 8:37; 15:34; 24:7; 28:29 และโรม 16:24 ดังนั้น คัมภีร์ไบเบิลฉบับนี้จึงใส่เครื่องหมายเชิงอรรถไว้ในข้อเหล่านี้เพื่อให้รู้ว่ามีข้อความขาดหายไป
ข้อความเหล่านั้นออกไปจึงทำให้มีบางข้อขาดหายไปในฉบับแปลส่วนใหญ่ คือเนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนว่าคำลงท้ายของมาระโกบท 16 ทั้งแบบยาว (ข้อ 9-20) และแบบสั้น รวมทั้งข้อความใน ยอห์น 7:53-8:11 ไม่ได้มีอยู่ในต้นฉบับของคัมภีร์ไบเบิล ข้อความเหล่านี้จึงถูกตัดออกจากพระคัมภีร์ฉบับนี้
นอกจากนั้น มีการปรับข้อความบางตอนให้ตรงกับข้อมูลที่พวกผู้เชี่ยวชาญยอมรับกันว่ามีอยู่ในต้นฉบับด้วย ตัวอย่างเช่น ในสำเนาพระคัมภีร์บางฉบับ มัทธิว 7:13 เขียนว่า “ให้คุณเข้าไปทางประตูแคบ เพราะประตู ที่เปิดกว้างและทางที่กว้างใหญ่นั้นนำไปถึงความพินาศ” ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกฉบับแปลโลกใหม่ ภาษาไทยปี 2007 ไม่มีคำว่า “ประตู” ในวลีนี้ แต่เมื่อศึกษาพบว่าต้นฉบับดั้งเดิมของคัมภีร์ไบเบิลมีคำว่า “ประตู” จึงมีการเพิ่มคำนี้เข้ามาในพระคัมภีร์ฉบับนี้ ข้อความบางส่วนของพระคัมภีร์ก็มีการปรับคล้าย ๆ กัน แต่เป็นการปรับเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ได้ทำให้ความหมายหลักของถ้อยคำของพระเจ้าเปลี่ยนไป